กรมสรรพากรเปิดรับฟังความเห็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยมีใจความสำคัญคือ สถาบันการเงิน (ธนาคาร) และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งข้อมูลของบุคคลที่มี "ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ" โดยมีเงื่อนไขหนึ่งในสอง ได้แก่
ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ ร้านค้าอาหารที่รับเงินผ่าน QR ก็น่าจะเข้าข่ายแทบทั้งหมด เพราะเฉลี่ยรับโอนวันละ 8.2 ครั้งก็เข้าข่ายแล้ว หรือแม่ค้าออนไลน์ที่ยอดอาจจะสูงสักหน่อย ก็น่าจะเข้าข่ายได้โดยง่าย
ร่างแก้ไขนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 15 เมษายนนี้
ที่มา - กรมสรรพากร
Comments
สายชิงไม่หนีไปเงินสดหมดหรอ
ถ้าเปลี่ยนผ่านไปใช้จ่ายผ่านบัตรกับ QR ได้จนเป็น mainstream เมื่อไหร่
ใครค้าขายเงินสดจะกลายเป็น outlier ที่ต้องสงสัยแทนครับ
จริง ... แต่ก็ไม่เชิง คนไทยยังไช้เงินสดเป็นส่วนมากอยู่ และน่าจะเป็นไปอีกนานเพราะมีข่าวแบบนี้คนที่จะเลี่ยงก็ระวังเรื่องภาษีมากขึ้น
การแก้เกมส์ก็ไม่ยากเย็นอะไร กระจายบัญชีรับเงิน (เช่นเปลี่ยน qr code ที่ไช้รับตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น หรือวันเว้นวัน)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
โดยเอาบัญชีของทุกคนในบ้านมาแบ่งๆ กันรับ?
น่าจะหมายถึงกระจายธนาคาร เพราะแต่ละธนาคารคงไม่รู้จำนวนธุรกรรมของธนาคารอื่น
สรรพากรส่งเมลตูมเดียวทุกแบงก์ก็ต้องถวายมาให้หมดละครับ
ตราบใดที่ยังเปิดบัญชีด้วย เลขบัตรประชาชนใบเดียวกัน
"ทุกบัญชีรวมกัน" ครับ
ในทางปฏิบัติแต่ละธนาคารไม่สามารถรู้จำนวนธุรกรรมของธนาคารอื่น (ที่ใช้เลขบัตรเดียวกัน) ได้ครับ
ในประมวลฯ เขียนว่า ให้..มีหน้าที่รายงานข้อมูลของ....ในปีที่ล่วงมา"ที่อยู่ในความครอบครอง"ให้กรม...
ถ้าเกิดคนนึงไปเปิดบัญชี 15 แบงก์ ประมาณธุรกรรมสักแบงก์ละ 1,000 แห่ง แต่ละแบงก็เห็นเฉพาะข้อมูลในมือตัวเอง เมื่อธุรกรรมไม่เกิน 3,000 ครั้ง ก็จะไม่ส่งข้อมูลให้สรรพากร สรรพากรก็จะไม่เห็นธุรกรรมของคนๆ นี้ครับ (แต่ถ้าสงสัยคนไหน ผมว่าแต่เดิมก็น่าจะมีอำนาจขอข้อมูลอยู่แล้ว มั้ง..)
ปล. อย่าว่างั้นงี้เลย ตอนเคสคุณณิชา เป็นเจ้าของเลขบัตรเองแท้ๆ จะไปขอข้อมูลบัญชีทุกบัญชีจากทุกแบงก์ ยังต้องไปไล่ขอทีละแบงก์เลย หน่วยงานทางการ เช่น ธปท. ตำรวจ ปปง. etc. ถ้าต้องการข้อมูล "ทุกบัญชีของคนๆ นี้" ก็ต้องออกจดหมายส่งถึงทุกแบงก์ทีละแบงก์ ไม่ก็โยนเข้าสมาคมธนาคารไทยให้ไปกระจายต่อให้เหมือนกันครับ ซึ่งจริงๆ มองในมุมรักษาความลับลูกค้าก็ถูกต้องแล้ว แต่จะมองว่าข้อมูลไม่เชื่อมโยงกันก็ได้เหมือนกัน
เข้าใจว่าจากระบบไร้เงินสดที่ใช้นั้นก็ดึงมาจาก transaction บน PromptPay ได้อยู่แล้วนี่ครับ ไม่ต้องผ่านธนาคาร
ทั้งนี้ทั้งนั้นผมมองว่า ITMX เองก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีหน้าที่ตามมาตรานี้นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมอ่านดูแล้วตีความว่า NITMX ไม่เกี่ยวนะครับ แต่จะเกี่ยวหรือไม่ก็ตาม ITMX ก็ไม่มีข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของบัญชีนะครับ ถ้าให้ลูกค้าทั่วไปโอนเข้าบัญชี 1 ที่แบงก์ A (โอนด้วยเลขบัญชี) พันกว่าครั้ง แล้วสลับไปบัญชี 2 ที่แบงก์ B พันกว่าครั้งเรื่อยๆ ITMX ไม่มีข้อมูลนะครับว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน (จะเข้าข่ายน่าสงสัยรึเปล่าก็อีกเรื่องนึง)
แต่ถ้าแบบผูกเลขบัตรไว้ที่ 1 แล้วสลับไป 2 3 เรื่อยๆ อันนี้คงได้ครับ
น่าจะให้คนใช้ qr จนติดก่อน ค่อยออก นี่เดี๋ยวก็ไม่มีคนใช้พอดี
เดี๋ยวเจอพ่อค้าแม่ค้าแปะป้าย รับชำระค่าสินค้าผ่านธนาณัติ เท่านั้น
พร้อมเพย์ ดับเลยทีนี้
รีบร้อนกันแบบนี้ เดี๋ยวสังคมเงินสดจะกลับมา
เห็นด้วยครับ
ร้านค้าก็ฉลาดนะ ยิ่งร้านอาหารขายดีๆ ยิ่งไม่รับแม้แต่บัตรเครดิต
3000 ครั้งต่อปี เดือนละ 250 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 8 ครั้ง...
ก็ควรโดนอยู่นะครับถ้าไม่ยื่นภาษีนี่...
โอนเงินเช้าบัญชีตัวเองต่างธนาคารจะนับไหมนี่สิครับ…
T____T) ขี้เกียจไปถอนจาก แบงค์ แล้วมาต่อแถวฝากใหม่ เลยโอนก้อนเล็ก ๆ ผ่านพร้อมเพย์แทน แต่พร้อมเพย์มันให้ส.สุดได้ทีละ 150,000 บาท เลยตองกดโอนหลายรอบ…
ถึง 3000 ครั้งต่อปีเลยหรอครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ปีนี้นับจากต้นปีเปลี่ยนสมุดเงินฝากไปสามรอบแล้วครับ...
ก็ถ้าเป็นเงินถูกต้อง ไม่ได้หนีภาษี อธิบายที่มาที่ไปได้ ถึงเค้ารายงานก็ไม่น่ามีอะไร เพราะอันนี้คือให้แบงค์รายงาน ไม่ใช่ให้เสียภาษี
รายได้ต้องขนาดไหนถึงจะโอน 150,000 ได้วันละแปดครั้ง
ปล.ผมขอโอนมาให้ผมซักวันละครั้งจะไม่ลืมบุญคุณ
ครั้งละบาทวันละ 8 ครั้งก็ได้ครับ
2 ล้านนั่นคือต่อปี และต้องเกิน 200 ครั้ง โอนครั้งละหมื่นไปกลับทุกวัน จะได้ยอดรวม 3.5 ล้าน 356 ครั้ง ก็เกิน
lewcpe.com, @wasonliw
โพสต์ของคุณ Ravipon บอกว่าที่ต้องโอนหลายครั้งเพราะ Prompt pay โอนได้สูงสุด 150,000 บาท
จากประสบการณ์ตรง ผมก็ยื่นภาษีนะครับ แต่อยากจะบอกว่าเรตในการคำนวณภาษีสำหรับการค้าขายโหดมากกกกก
หัก 40% จากยอดขายมาคิดภาษี (จากปีก่อน 20%) ซึ่งการขายของโชวห่วยถือว่านี่เป็นเปอร์เซ็นต์สูงมาก ขายของยกโหล ยกลังกำไร 5-10 บาทเองครับ เบียร์ 1 ลังกำไรไม่ถึง 10 บาท
ปีนี้ พ่อค้า-แม่ค้าในตลาดที่เสียภาษีร้องกันระงมเลย แจ้งยอดขายเท่าๆเดิม เสียภาษีสูงขึ้น 2-4 เท่า
ไม่ถึงขั้นนั้นนะครับ คุณจด VAT ก็เอาบิล VAT ซื้อมาหัก VAT ขายครับ หักเหลือเท่าไหร่ก็กำไรของคุณ เสีย VAT 7% จากกำไร อันนี้จ่ายทุกเดือน แล้วก็ยื่นภาษีแบบปกติอีก
ที่บอกว่าจาก 40% ของยอดขายเกินไปครับ ภาษีเค้าคิดจากกำไรสุทธิ 20% (ขึ้นไป) ครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
มันจะเหนื่อยตรงธุรกิจที่ไม่มี Vat ซื้อ เช่นพวกงานบริการ หรือที่รับมาจากเจ้าที่เค้าไม่มี vat ทีนี้พอต้องจ่าย vat เงินก็หายไปเลย 7% อันนี้คือกรณีขึ้นราคากับลูกค้าไม่ได้ ซึ่งบางกรณีมันขึ้นไม่ได้เพราะร้านคู่แช่งเค้าก็ราคาเท่าๆกัน แต่ถ้าทำให้ทุกร้านต้องโดน vat หมด แบบนี้ยังอาจจะพอแข่งกันได้(แข่งกันขึ้นราคา 555)
+1 ครับ คือถ้า supplier VAT มา เรา VAT ต่ออันนั้นได้
แต่ถ้า supplier ไม่ VAT มา อันนั้นงานงอกเลย
ปัญหาที่คุณเจอคือ คุณยื่นภาษีแต่ไม่ทำบัญชีครับ เขายอมให้ทำได้แต่ภาษีจะเป็นแบบเหมา
ถ้าคุณทำบัญชีตรงไปตรงมา คุณจะเจอภาษีที่ 20% ของกำไรสุทธิครับ
ถ้าคุณ มีเอกสาร คชจ ตามจริง คุณเลือกยื่นตามจริงได้ไม่ต้องหักเหมาครับ
ร้านค้าทั่วไป ไปจ้างทำบัญชีเดือนละกี่พันครับ ปีหนึ่งกี่บาทครับ
โดนหัก 40% จากยอดขายมาคิดภาษียังถูกกว่าเลยครับ
เค้าบ่นกันเพราะมันจ่ายเพิ่มกว่าเดิมเยอะมากเกินไป ไม่ใช่ไม่จ่ายครับ
แล้วขายขนมกำไรถุงละบาท เค้าเลยบ่นกันไงครับที่คิดจาก 40%
+1 ร้านโชว์ห่วยขายขนมชิ้นละ 1 บาท 2 บาท 5 บาท กำไรเป็นเศษสตางค์ ค่าทำบัญชีสูงแพงกว่ารายได้ซะอีก พวกที่จะให้มาทำบัญชีนี่เอาอะไรคิดกันครับถามจริงๆ
ขอความรู้หน่อยครับ ชิ้น 5 บาทกำไรเศษสตางค์นี่ร้านอยู่รอดได้ยังไงครับ เหลือสัก 20 ชิ้นนี่ไม่ขาดทุนเลยหรอ
ปกติผมจ้างทำบัญชีเดือนไม่กี่บาทนะแต่ไม่รู้ถ้าบิลเยอะๆแบบนี้เค้ารับทำกันกี่บาท ใช้เครื่องออกใบเสร็จรันเลขเฉยๆได้ไหม
ผมโตมากับร้านขายของชำครับ ยืนยันว่าเป็นแบบนั้นจริง ๆ ขนมข่ายปลีกถุงละห้าบาท เราจะไปซื้อแบบขายส่งเป็นโหลมา โหลละราว ๆ 54-56 บาทครับ พูดง่าย ๆ คือในโหลนึง ถ้าแกะกินถุงนึงคือกำไรหายทันที (หรือขาดทุนด้วยซ้ำ) ตอนเด็ก ๆ โดนด่าประจำเวลาจะแกะขนมกิน เลยติดเป็นนิสัยไม่กินขนมถุงมาจนโตครับ
ถ้าถามว่าอยู่รอดได้ยังไงก็ตอบได้เลยชัด ๆ ว่าอาศัยกำไรจากอย่างอื่นเอาครับ ขนมถุงนี้เหมือนขายประดับร้านให้เด็ก ๆ มาวิ่งเล่นเฉย ๆ มีไม่กี่อย่างที่กำไรดี (ซึ่งก็จะขายไม่ค่อยดี เพราะคุณภาพมันตามราคา) และขายเพื่อให้มันดูครบ
ร้านผมส่วนใหญ่กำไรมาจากอบายมุกครับ เหล้า บุหรี่ น้ำแข็ง กับแกล้ม (พวกถั่วทอด เมล็ดทานตะวัน) พวกนี้กำไรโคตรดีครับ และมันขายได้เรื่อย ๆ ครับ (เรื่อย ๆ กว่าขนมถุงซะอีกนะครับ) คนไทยบิรโภคอยาบมุกกันเป็นล่ำเป็นสันมาก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
+1024
ยืนยันตามนี้จริงครับ ร้านญาติผมติดกับ 7-11เลย แต่อยู่ได้จากการขายเหล้า บุหรี่ น้ำแข็ง กับแกล้มจริงครับ ส่วนพวกของอื่นๆ ก็เหมือนประดับร้านให้มันดูครบๆ ดูเป็นร้านขายของหน่อย
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว สรรพากรมีระบบให้ทำบัญชีอย่างง่ายได้ครับ
อาจจะหาข้อมูลยากหน่อย แต่มีช่องเรื่องนี้ให้อยู่นะครับ ไม่จำเป็นต้องจ้างทำบัญชี
ถ้าไม่คิดจะหนีภาษี สมัยนี้ชี้แจงกันง่ายครับ เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องระวังตัวกันมากอยู่
แต่ถึงจ้างก็ไม่เกินเดือนละ 4 พัน ซึ่งถ้าเขาคิดราคานี้แสดงว่าบิลเยอะมากครับ
โดยปกติไม่น่าจะถึง 40 ใบต่อเดือน ราคาไม่เกิน2พัน(ถ้าใช้ระบบposด้วยยิ่งง่ายใหญ่)
เรื่องนี้ผมเคยเข้าสรรพากรพื้นที่แล้วเจอแม่ค้านั่งกุมขมับรายนึง
เหตุผลเดียวคือ ไม่มีใบกำกับภาษีจากร้านที่ซื้อเข้ามา ก็ซวยไปครับ
ผมก็ขายของอยู่ครับ ไม่มีใบกำกับภาษีจากทางโรงงานผลิต คือ แบบว่าบริษัทใหญ่ๆ เลยอย่างบริษัททำเครื่องแก้วหรือเมลามีน ถ้าเอาใบกำกับ +7% ส่วนบริษัทที่ขายสแตนเลสรายใหญ่ ให้ยี่ปั๊วขาย ผมเป็นซาปั๊ว ยี่ปั๊วก็ให้ VAT ไม่เต็มครับ อย่างซื้อของเดือนนี้ 3 แสน ขอ VAT ได้แค่หลักหมื่น ถ้าเกินกว่านั้นต้อง +7% ถ้าบริษัทเล็กหน่อย เวลาเขาให้จ่ายเช็ค เขาให้จ่ายเข้าบัญชีลูกน้องเค้า
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
บัตรทรูจะกลับมายิ่งใหญ่ไหม
ค่าธรรมเนียม 13% นี่พอ ๆ กับภาษีเลยนะครับ
ถ้าบัญชีเดียว ต่อให้ฝากด้วยบัตร ผมเข้าใจว่าก็โดนอยู่ดีนะครับ True Money ก็เป็นผู้ให้บริการ e-Money เหมือนกัน
lewcpe.com, @wasonliw
คนยังไม่ติดเท่าไหร่เลย กำลังจะดีแล้ว ทีนี้ก็ได้เฉพาะค้าขายออนไลน์
May the Force Close be with you. || @nuttyi
แต่ก่อนเค้าสร้าง promtpay มาเพื่อเป็น platform กลางที่รวบรวมข้อมูลในตัว ชูนโยบาย ฟรีค่าธรรมเนียม
แต่ ณ เดือนนี้ banks free ค่าธรรมเนียมกัน ข้อมูลมันจะไม่ผ่าน promptpay แล้ว เค้าเลยตองลุยหาข้อมูลครับ
ท้ายสุดจริงๆก็เพื่อการเก็บเงินภาษาเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่เท่าที่ทำได้ครับ
ที่เห็นแบงค์ประกาศฟรีกันปาวๆ นั่น PromptPay ทั้งนั้นนะครับ แล้วข้อมูลที่ไหนจะไม่ผ่านนะ?
อันนี้จินตนาการสำคัญกว่าความรู้แล้วครับ ข้อมูลทางการเงินจะส่งออกภายนอกได้ก็ต้องออกกฎหมายออกมาแบบนี้ล่ะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
จะได้ตามเก็บคนหนีภาษีได้อีกเยอะเลย
ข้อ 2 น่าจะเป็นการบังคับให้ร้านค้าเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะถ้าร้านค้ามีรายได้ปกติเกิน 1,800,000 บาทต่อปี บังคับเข้า VAT อยู่แล้ว
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
จริงๆ มันก็เถียงกันได้นะครับ ว่าไม่ใช่เงินได้ทุกรายการไปเสียหมด ฝังตุ่มไว้หลังบ้านแล้วเอามาฝากห้าแสนอะไรแบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
แสดงว่า ต่อไป แม่ค้าต้องมีหลายๆบัญชี สลับใช้เดือนละบัญชี
ผมว่านี่แหละ วิธีเลี่ยงที่เป็นไปได้มากที่สุด
หรือไม่ หนีไปใช้ bitcoin เลย
ถ้าถอนจากสกุลเงินดิจิตอลเป็นเงินบาท ก็โดนครับ 15%
เค้านับ "ทุกบัญชี" ครับ ไม่น่ารอด (ยกเว้นจะเปิดนอมินี)
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
อาจจะแบงค์บัญชีครับ ถ้าผ่านเริ่มบังคับใช้ปีหน้า ยังมีเวลา จะจดบริษัทหรืออะไรก็ว่ากันไป
โดยส่วนตัวอยากให้เสียภาษีถูกต้องทั้งระบบแบบนี้มานานมากแล้ว ส่วนใครจะไปหาทางใช้ประโยชน์ในการลดภาษีหรือใช้ Tax Haven ก็ทำกันไป
และที่สำคัญคือ คนใช้เงินภาษี ช่วยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างน้อยสัก 80% ก็ยังดี
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ครับช่วยกันจ่ายภาษีไปซื้อนาฬิกาให้เพื่อนเพิ่ม
ผู้ซื้อคงไม่เท่าไร แต่ผู้ขาย ได้เวลาสำแดงตัว แล้วเสียภาษีได้ล้วครับ
แอบเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ด้านที่เห็นด้วยคือ ตนที่เลี่ยงไม่สำแดง จะได้สำแดง
แต่ด้านที่เห็นด้วย มันจะทำให้เกิด “กำแพง” ที่ทำให้ระบบ QR ไม่เกิด
คนใช้อยากใช้ แต่ดันไม่มีคนรับ
น่าใช้มาตรการด้านอื่นมากกว่าในการดึงดูดคนให้เข้าระบบภาษี
เช่น (ผมมโนเล่นๆ) ระบบรับประกัน transaction ถ้าโดนโกงก็ชดเชยไป โดยเจียดบางส่วน ให้ บ ประกันรับไป อะไรแบบเนี้ย
ผมมองว่า "เร็วไป" หน่อยครับ น่าจะมีมาตรการอื่นที่เบากว่านี้ออกมา 1-2 ปีแรกก่อน ให้สะดวกใจจะรับ QR/PP กันอีกสักพัก
lewcpe.com, @wasonliw
ยินดีเลยครับ PromtPay กำลังรุ่ง
กลับไปใช้เงินสดเหมือนเดิมแหละดีแล้ว อย่าให้มันได้เกิดเลย PromtPay
มาเร็วไปไหม ร้านแถวบ้านยังไม่เจอที่จะรับ QR เลย บางร้านก็แปะไว้ แต่ไม่รู้ใช้ได้เปล่า เห็นเงียบๆ กัน
ขอใช้คำว่า "กระเหี้ยนกระหือรือ"
ปัญหาของการเก็บภาษีแบบนี้เป็นการทำให้สังคมไร้เงินสดชะลอตัว
แนวทางในการกระตุ้นให้สังคมไร้เงินสดสูงขึ้น คือ
1.ยุบกองสลาก แล้วเปลี่ยนมาเป็นจับฉลากหมายเลขผู้เสียภาษี รางวัลแต่ละรางวัล คิดตามจำนวนภาษีที่ชำระไป จะกี่เท่าก็แล้วแต่ หรืออาจมีการตั้งวงเงินสูงสุด
สำหรับนิติบุบคคล จับสลากเป็นรายปี แล้วทำการยกเว้นภาษีเป็นปีๆ ไป ไม่มีการจ่ายเงิน
2.กระทรวงการคลังออกแบบบริการคิดบัญชีสำเร็จรูปให้ใช้บริการฟรีและใช้งานง่าย มีมาตราฐานในการรักษาความลับ แม้แต่ตัวกระทรวงเอง ทั้งในส่วนบุคคลธรรมดา ห้างร้าน และธุรกิจขนาดใหญ่ หากมีการเข้ารวมระบบนี้ จะมีส่วนลดในการชำระภาษีเป็นมาตราการดึงดูด
บริการนี้สมควรเป็นรูปแบบสัมประทาน มีตัวกลางที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นตัวกลางในการปะทะกันระหว่างรัฐและผู้ใช้
อ่านแล้วนึกถึงความเห็นของอ.วีระ ที่เคยพูดไว้ว่า กรมสรรพากร น่าจะมีมาตรการจ่ายคืนภาษี เมื่อผู้เสียภาษีเกษียณอายุแล้ว ตอนคุณทำงาน คุณจ่ายภาษีเท่าไหร่ เมื่อเลิกทำงาน รัฐจะจ่ายภาษีคืนให้คุณ แบ่งจ่ายทุกปีๆ ถ้าเรื่องนี้เป็นไปได้ เราว่า ใครก็อยากจ่ายภาษี
พูดแบบนั้นได้ไงคนจ่ายvatก็คือคนจ่ายภาษีเหมือนกันนะ ไม่ช่วยอะไรเหรอ (ประชด)
ไม่ต้องถึงกับยุบหรอกครับ แค่ให้มีหน่วยออกรางวัลจากเลขใบกำกับภาษี(แบบที่ไต้หวันทำ ปีนึงออกหกครั้ง)
พูดถึงประโยชน์ของกองสลาก มีเพียงเดียวคือหารายได้เข้ารัฐแบบกินเปล่า
เป็นเหตุสำคัญให้ประชาชนระดับล่างเกิดความงมงาย
หากเปลี่ยนระบบเป็นยอดภาษี อย่างภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเป็นการกระตุ้นยอดใช้จ่าย และประชาชนระดับล่างจะนิยมถามหาบิลภาษีมูลค่าเพิ่ม
สังคมจะค่อยๆ ย่อมรับภาษีส่วนนี้ เป็นเหมือนการโฆษณาที่ดีที่สุด
สิ่งที่ตามมาอาจช่วยลดเงินฝืด ส่งเสริมสังคมไร้เงินสด สุดท้ายอาจเริ่มต้นยุคการลงคะแนนเลือกตั้งแบบดิจิตอลเต็มรูปแบบและอื่นๆตามมา
เขาเรียก รีดเลือดปูของจริงเลย มัดมือชกของแท้ อารมณ์เหมือนนับแม่ค้าขายข้าวไข่เจียวแล้วเก็บภาษีเลย ไม่มีการทำบัญชี ไม่มีการทำใดๆ ทั้งสิ้นมัดมือชก แต่กลับบริษัท ยื่นบัญชีเลียงภาษีได้เหมือนเดิม เจริญมากๆ งานนี้
ปูตัวอ้วนมานานเกินไปแล้วครับ เอาเปรียบปูตัวอื่น
ถ้ารู้สึกว่าโดนรีดมากเกินไปก็ทำบัญชีเพื่อให้เสียตามความเหมาะสมก็ได้ครับ ส่วนบริษัทที่เลี่ยงภาษี (แบบผิดกฎหมาย) ถ้าพบเห็นก็ส่งเรื่องแจ้งสรรพากรได้เลยครับ หรือถ้าใช้ช่องว่างก็จดทะเบียนบริษัทขายข้าวไข่เจียวแล้วใช้วิธีเดียวกันก็ได้ครับ
คิดง่ายๆครับ ร้านขายอาหารตามสั่ง ถ้าเกิดมีให้ลูกค้าชำระเงินแบบ QR Codeเดือนๆ นึงจำนวนโอนเข้าน่าจะมากอยู่ แต่มันไม่เยอะ แล้วมาคิดภาษี ถามว่ารายได้เดือนๆ นึงเท่าไร ทำบัญชีเท่าไร ต้องเสียค่าทำอีกเท่าไร แล้วคิดว่าควรขายข้าวจานเท่าไร 50 บาทคนก็บ่นแพง แต่ต้นทุนบาน กับบริษัทที่ทำบัญชีถูกกฎหมายแต่เลียงภาษีอย่างถูกกฎหมายเช่นกัน อันไหนได้เปรียบเสียเปรียบครับ บ้านๆ เนี่ยยังไงก็เสียเปรียบเพราะไม่มีความรู้ทางด้านบัญชี ทำบัญชีแก้ต่างไม่ได้ คนที่ได้ประโยชน์คือ บริษัทบัญชี เท่านั้น แทนที่จะมานั่งนับจำนวนครั้ง งี้ยกเลิกบัญชีส่งดีกว่าครับเพื่อความเท่าเทียม เก็บตามจริงทุกบริษัท ไม่สนใจบัญชี นับเป็นใบเสร็จ แล้วหักเอาตามตรงจะได้เท่าเทียมกันครับ
ในอนาคตอยากให้ทำควบคู่ไปกับการคิดค่าธรรมเนียมการใช้เงินสดครับ
เช่น เดือนนึงถอน/กดเงินสดออกมาได้ X บาท/ครั้ง ใครกดเกินนั้นโดนค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง (กดโอนเงินด้วยมือถือต้นทุนต่ำมาก เทียบกับต้นทุนในการผลิตธนบัตร ขนเงินไปใส่ตู้เอทีเอ็ม การบริหารจัดการดูแลธนบัตรต่างๆ) ถ้าทำแบบนี้ร้านค้าจะโดนผู้บริโภคกดดันให้รับเงินโอนเอง
ผมโอเคนะ ถ้ามันไม่กระทบคนจนแล้วกลายเป็นไปบีบเขาให้กลายเป็นกลุ่ม unbanked ไปอีก ก็ต้องระวังว่า X ที่ว่าต้องไม่กระทบคนชายขอบเกินไป
ต้นทุนดิจิตอลมันถูกเพราะผู้ใช้ลงทุน คนจะโอนกันต้องมีมือถือเครื่องละ 3000++ สองฝั่ง กับคนชั้นกลางขึ้นไปไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่คนกลุ่มล่างมันเพิ่มภาระเขาเกินไป และเงินสดมันสร้างภาระกับคนเหล่านี้น้อย
lewcpe.com, @wasonliw
Cashless มันมีทางเลือกที่ต้นทุนผู้ใช้ต่ำกว่านั้นครับ เช่น โอนผ่าน ATM (บุคคล-บุคคล) หรือบัตรเดบิต/บัตรสวัสดิการรัฐ (บุคคล-ร้านค้า)
แต่เข้าใจที่จะสื่อครับ Move นี้ผมก็ว่าขยับเร็วไปเหมือนกัน
คือถ้าจะเริ่มเก็บค่าธุรกรรมเงินสด ผมคิดว่าควรออกบัตร e-money ให้ฟรีนะครับ (แบบบัตรกรุงไทยพร้อมจ่าย แต่ให้จ่ายเอกชนได้ด้วย) โอนจ่ายกันแบบฟรีได้โดยไม่ให้แบกต้นทุนค่าโทรศัพท์กันเอง แล้วถึงตอนนั้นจะชาร์จค่าเงินสดก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่แล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
จริงๆ ถ้าปรับให้บัตรประชาชนเป็น e-wallet หรือ Debit แตะจ่ายเอกชนได้ Transaction วิ่งผ่าน PP ที่ผูกเลขบัตรไว้ ลูกจ้างรายวัน/เกษตรกร ไปเปิดบัญชีครั้งเดียว นายจ้างโอนเข้าธนาคารเรื่อยๆ พ่อค้าโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงได้คงดีครับ คนจะดูแลรักษาบัตรประชาชนกันมากขึ้นด้วย (แต่ระบบ "แลกบัตรเข้าตึก" คงต้องเลิกไป)
ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เลย มันแลดูเป็นการพยายามประหยัดเงินกับเรื่องที่ไม่จำเป็น ทั้้ง ๆ ที่ประเทศเราใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยกับด้านอื่นมากกว่านี้มาก
การโอนเงินผ่านระบบ electronics ไม่ว่าจะทางไหนก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ device ที่ใช้ทำธุรกรรม ไฟฟ้า และ Internet ซึ่งทุกองค์ประกอบล้วนแล้วแต่มีต้นทุนเหมือนกัน
จะให้โอนผ่านตู้ ATM ก็ต้องมีตู้ ATM กระจายอยู่อย่างทั่วถึงจริง ๆ และทุกตู้ก็ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายหรือ Internet ด้วย ในพื้นที่การเกษตรหรือแม้แต่กระทั่งตามตัวเมืองในต่างจังหวัดทั่ว ๆ ไป ตู้ ATM แต่ละตู้อยู่ห่างกันมาก และบางคนอาจจะต้องใช้รถยนต์หรือรถโดยสารอื่น ๆ เดินทางมาเป็นหลัก 10 กิโลเมตรเพียงเพื่อมาเข้าถึงตู้ ATM เหล่านี้ คงไม่ต้องบอกอีกว่าค่าโดยสารปริมาณน้ำมันรวมไปถึงเวลาที่ใช้ในการเดินทางก็ล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น
device ต่าง ๆ ที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นตู้ ATM หรือโทรศัพท์มือถือก็ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีต้นทุนเช่นกัน ดังที่คุณ lew ได้พูดไปแล้ว ผมจึงขอไม่พูดซ้ำเรื่องราคาโทรศัพท์มือถือ
ที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือ Internet ทุกวันนี้เครือข่าย Internet บ้านเรายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างจริงจังเลย ถ้าพูดถึงเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ อันนี้คงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบางค่ายครอบคลุมมาก บางค่ายก็ครอบคลุมน้อย แต่ถ้าพูดถึง Internet บ้านนี้ลองไปดูตามบนเขาได้เลย (ไม่ต้องไปถึงดอยเชียงใหม่เชียงราย เอาแค่เขาเล็ก ๆ ย่านเขาใหญ่นี่ก็พอ) ผมว่าน่าจะมีอีกหลายที่ที่ยังไปไม่ครบ และการที่จะให้ผู้ให้บริการ Internet ในประเทศไทยทุกเจ้าทำให้บริการตัวเองครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยในส่วนที่มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด ก็ต้องใช้เงินทุนอีกมากมายเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นค่าใช้จ่าย Internet ที่ต้องจ่ายเป็นรายเดือนสำหรับทำ transaction (ไม่นับการส่วนตัวใด ๆ เลย) หากต้องการใช้การซื้อขายไม่มีสะดุด ผมขอประมาณว่าขั้นต่ำคนละ 100 บาท "ต่อเดือน" แล้วกัน (package ต่ำสุดของ Internet บ้านยัง 500 บาท) เมื่อคูณด้วยจำนวนประชากรที่ต้องทำ transaction ซื้อขายสินค้าเป็นระยะเวลาทั้งหมด 1 ปี ผมว่าค่าใช้จ่ายตัวเลขนี้ก็ไม่น่าจะน้อยนะ
เหนือยิ่งกว่า Internet คือไฟฟ้า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าป่านนี้ประเทศเราไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุม 100% นะครับ ชาวเขาชาวดอยบางพื้นที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงก็มี ถ้าไม่มีไฟฟ้าก็ไม่ต้องพูดถึงโทรศัพท์มือถือแล้วครับ ไม่รู้ว่าจะชาร์ตอย่างไร
ส่วนตัวผมว่าธนบัตรไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บดำเนินการมากขนาดนั้น เมื่อแลกกับความสะดวกสบายของประชาชน ผมว่าตัวเลขที่จ่ายไปยังอยู่ในจุดที่คุ้มค่า ประโยชน์การใช้สอยจับต้องได้ ยังดีกว่าโครงการหลาย ๆ อย่างของรัฐที่ผลาญเงินไปโดยไร้ประโยชน์มากมายนัก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เงินสดใด ๆ ทั้งสิ้นครับ
สังคมเงินสดจะเปลี่ยนมาสู่สังคมไร้เงินสดได้ ไม่จำเป็นต้องทำให้ฝ่ายไหนลำบากขึ้น แค่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสะดวกขึ้นก็พอแล้วครับ คนเราก็จะเปลี่ยนแปลงเองไปตามธรรมชาติ ดูตัวอย่างได้จากประเทศจีน เป็นต้น
That is the way things are.
ก่อนอื่นขอบอกว่า ผมเห็นด้วยกับคุณนะว่า สังคมไทยคงไม่เหมาะที่จะไร้ธนบัตร/เหรียญ แบบ 100% ครับ
แต่อย่างที่ผมคอมเมนท์ไป (ซึ่งอิงกับบริบทของข่าวนี้) คือการปรับต้นทุนการทำธุรกรรมให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงครับ ผมไม่ได้บอกเลยนะว่าให้ดึงธนบัตรจากมือคนที่มีอยู่แล้วไปใส่เป็นตัวเลขในธนาคาร แต่ผมบอกว่าการดึงธนบัตรจากธนาคารมาไว้ในมือคนควรจะมีต้นทุน หากดึงเยอะๆ เกินระดับ X (ซึ่ง X ก็ควรจะมากพอสำหรับการใช้จ่ายดำรงชีวิตปกติ)
คนที่จะมีปัญหาคือ คนที่ระดับรายได้อยู่ "สูงกว่า X" (เพราะต่ำกว่านั้นก็ถอนฟรีอยู่แล้ว) แต่ต่ำกว่า "รายได้ที่มากพอจะมีโทรศัพท์+Internet" (เพราะสูงกว่านั้นก็คงใช้มือถือโอนได้อยู่แล้ว) ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับระดับของ X อย่างที่คุณ lew บอกไว้ ว่าควรกำหนดให้เหมาะสม
ถ้า ATM เข้าถึงยากแบบที่คุณว่า การจะไปกดเงินออกจากตู้หรือการจะไปกดโอนที่ตู้ก็น่าจะยากเท่ากันนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับว่ามันจะมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมหรือไม่ ส่วนถ้าโดยปกติคุณได้รับรายได้เป็นธนบัตร แล้วใช้ธนบัตรใช้จ่ายทั่วไป (คือ Unbanked อยู่แล้ว) ค่าธรรมเนียมนี้ก็ไม่ได้กระทบอะไรกับคุณโดยตรงเลย แต่อาจกระทบทางอ้อมคือคนจ่ายเงินให้คุณไม่อยากจ่ายเป็นธนบัตรแทน (เพราะเค้ามีต้นทุนในการหามา) ทำให้คุณมีภาระต้นทุนมากขึ้นแทน อันนี้คงต้องปรับตัวกันบ้างครับ แต่อย่างที่ผมบอกว่าเป็นเรื่องอนาคต ไม่ใช่จะเริ่มวันนี้เลย
ผมว่ามันธรรมดานะ ยังไงของพวกนี้มันก็มาพร้อมกับการกำกับดูแลอยู่แล้ว
แต่ก็เข้าใจว่าคนคงจะกลัว จะไม่ใช้กันอีก
เอ้า! กินข้าวกลางวันผมจ่ายเงินสด แล้วเพื่อนโอนเข้ามา ทำงี้ทุกวัน เพื่อนโอนมาสองสามรายการต่อวันยังรอดสิน่ะ
อย่าชวนกับไปก๊วนใหญ่เกิน 9 คนก้แล้วกันครับ 555
3 รายการต่อวันก็กลมๆ ปีละ 1,000 รายการ
ถ้ามื้อนึงคนละ 2,000 ก็ไปเข้าข่ายสองล้านแทน
lewcpe.com, @wasonliw
ผลัดกันจ่ายไปก่อนก็ได้นี่ครับ
ผมดันสังคมไร้เงินสด ด้วยการทำให้คนอยากใช้เงินสด? :genius:
Yes
ผมมองว่าถ้า "รายได้" เกิน 1.8 ล้านบาท ยังไงก็น่าจะต้องจด VAT
ลองตีความว่า ถ้ามีคนโอนให้เล่นๆ โดยไม่เกี่ยวกับของขายซัก 10-20% ก็คงจะได้ประมาณ 2 ล้านตามเขาว่า
แต่ผมมองว่า ถ้าเป็นร้านขายอาหารใช้ QR/PP กันหมดขายได้เดือนละ 150,000 จานละ 50 บาท (สมมุติ) ก็ครบ 3,000 Transaction แล้ว ผมมองว่า เงื่อนไขดูไม่สมเหตุสมผล
ถ้าร้านอาหาร คิดว่าน่าจะ Transaction ซัก 36,000 ครั้งต่อปี ถึงจะมองว่าเป็น Transaction แบบพิเศษ
แล้วสรรพากรจะรู้ได้ยังไงครับว่า อันไหนเป็นซื้อ-ขาย อันไหนเป็นโอนเงินเก็บไว้ในไหเพิ่งจะขุดมาฝาก หรือเงินโอนจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน?
หรือแค่จะดูก่อนว่าเกินไม่เกิน ถ้าเกินจะเรียกมาดูอีกที?
สรรพากรมีอำนาจส่งหนังสือให้ชี้แจงได้ครับ
คนตั้งใจทำงานอิสระจะมีกำลังใช้จ่ายน้อยลง แต่ข้าราชการและนักการเมืองจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทาง ได้ใน http://www.rd.go.th/publish/27838.0.html
สังคมไร้เงินสด
เอาไว้ตอนที่มีการแจกโทรศัพท์กับใช้อินเตอร์เน็ตฟรีก่อนนะ
คนรายได้ร้อยสองร้อยบาทต่อวันเลี้ยงทั้งครอบครัวจะได้ไม่ขาดใจตาย
ไฮโซไฮเทคฯ ได้แต่มองให้ครอบคลุมทุกชนชั้น
ไม่ยาก นับครั้งไว้ แล้วปิดบัญชี เปิดใหม่วนไป
นับจาก"ทุกบัญชีครับ"
คือ SUM ยอดรวมในปีนั้นออกมาเลย จากหมายเลขผู้เสียภาษีหรือหมายเลขบัตรประชาชน
คนที่เดือดร้อนจริงๆ น่าจะเป็นคนทั่วไปที่มีรายได้เยอะในระดับนึง (ใกล้เคียง 2M) แล้วโอนเงินกันไปมาในครอบครัวหรือโอนไปมาระหว่างกลุ่มเพื่อน เช่น ไปกินข้าวคนนึงจ่ายแล้วทุกคนโอนเงินให้ ฯลฯ
เพราะพอมียอดเกิน ก็ต้องมาเสียเวลาลางานเพื่อเดินทางไปชี้แจงกับสรรพากร ว่ารายการในบัญชีแต่ละที่เห็นมันคือยอดอะไรบ้าง และหาหลักฐานพิสูจน์ว่าไม่ใช่รายได้ที่เกิดจากการขายของ ส่วนรายการไหนที่หาหลักฐานไม่ได้ว่าคืออะไรก็จะถูกบังคับให้เอามาคิดภาษีทั้งหมด