พรรคเดโมแครตมีบทบาทสำคัญต่อการไต่สวน Facebook กรณีบัญชีปลอมรัสเซียซื้อโฆษณาเผยแพร่เนื้อหาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 โดยโฆษณาทั้งหมดมีประมาณ 3,000 ชิ้น ล่าสุดทางพรรคก็เตรียมเปิดเผยโฆษณาทั้งหมดออกสู่สาธารณะ อย่างเร็วที่สุดคือภายในสัปดาห์นี้
โฆษณาทั้งหมดจะแสดง ภาพ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมายของโฆษณา ซื้อโฆษณาเป็นจำนวนเงินเท่าไร มีคนเห็นโฆษณาแต่ละชิ้นกี่ราย การเปิดเผยครั้งนี้ทางพรรคระบุว่าเป็นไปเพื่อความโปร่งใส แต่ก็อดที่จะสร้างความสงสัยต่อสังคมไม่ได้ว่า พรรคมีเป้าหมายทางการเมือง และอาจทำให้ประเด็นใครหนุนหลังแคมเปญข่าวปลอมรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้ง
บรรยากาศเข้ารับฟังปัญหาข่าวปลอมต่อหน้าสภาคองเกรส วันที่ 1 พ.ย. 2017 มีการนำตัวอย่างข่าวปลอมมาอภิปรายด้วย
ที่มา - Engadget
Comments
พรรคมีเป้าหมายทางการเือง >> พรรคมีเป้าหมายทางการเมือง
"...อย่างเร็วที่สุดคือภายในสัปดาหืนี้" -> สัปดาห์
ขอบคุณค่ะ
อ๋อ ที่แพ้เพราะ พอประชาชนอ่านโฆษณาปั๊บ เลือกอีกข้างทันทีเลย
ดูถูกประชาชนประเทศตัวเอง ไม่ต่างจากบางประเทศ ที่ชอบหาว่า ประชาชนซื้อเสียงได้เลย
(แต่พอมี นายทุนลงสมัครจริงๆ แบบจ่ายหัวคะแนนเอาไม่มีนโยบาย มันก็แพ้ 555)
ดูถูกประชาชนแบบว่าคนกรุงเทพฯเลือกผู้ว่า ปชป. เพราะความกลัว
หรือประชามติรับรัฐธรรมนูญผ่านเพราะฝ่ายโหวตโนถูกจับ อะไรแบบนี้ใช่ไหมครับ :P
ผมว่าประเด็นนี้ก็น่าสนใจอยู่นะเพราะการแทรกแซงการเมืองในยุคไซเบอร์มันจะทำออกมาหน้าตาอย่างไรอยากเห็นเป็นรูปธรรมเหมือนครับยิ่งนักไอทีอย่างเราๆยอ่งน่าสนใจ
จริงๆ ถ้าติดตามข่าวช่วงเลือกตั้ง นี่ผมได้อ่านแต่ข่าวแย่ๆของทรัมป์นะ
โดยเฉพาะโพล ฮิลลารีนี่แทบจะนอนมา ทุกโพลออกมาเหมือนกันหมดว่าป้าแกชนะ แล้วแต่ว่าชนะมากชนะน้อย แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นข่าวปลอมบ้างเรอะ
ทุกวันนี้ยังเยอะอยู่เลยครับ ใส่สีตีไข่สารพัด บน twitter นี่แชร์กันเกลื่อนเลย
อันที่จริงผมไม่ชอบทรัมป์ แต่ตอนนี้เริ่มเห็นใจนิดๆแล้ว รู้สึกว่าสิ่งที่เขาโดนมันไม่แฟร์
ก็มันมีจริงนี่ครับ ถามว่าเยอะมั้ยผมไม่รู็นะ แต่มีน่ะมีแน่ คนขายเสียงประเภทที่ประกาศตัวชัดเจนว่าใครให้เยอะจะเลืกคนนั้น แถวบ้านผมเพียบเลย พอได้ผู้แทนแย่ ๆ มาก็บ่นว่าไม่น่าเลือกมันมาเลย แต่พอเลือกตั้งใหม่ก็ทำเหมือนเดิม
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!