อินเทลรายงานถึงช่องโหว่ INTEL-SA-00145 ในซีพียูสถาปัตยกรรม Core ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างโปรเซสที่แอบอ่านค่าตัวแปรจากโปรเซสอื่นที่รันบนซีพียูตัวเดียวกัน รูปแบบการโจมตีแบบเดียวกับช่องโหว่ Spectre เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ช่องโหว่นี้เกิดจากฟีเจอร์ Lazy FP ของซีพียูที่จะเก็บค่าออกจากรีจิสเตอร์เมื่อเกิดการเปลี่ยน context (หรือการเปลี่ยนโปรเซส) เฉพาะเวลาที่จำเป็น เมื่อโปรเซสของแฮกเกอร์เข้ามารันบนซีพียูก็สามารถสังเกตพฤติกรรมของซีพียูเพื่ออ่านค่าจากโปรเซสก่อนหน้าได้
ช่องโหว่นี้ไม่ร้ายแรง เนื่องจากมีโหมด Eager FP ที่ไม่มีช่องโหว่สามารถทำงานแทนได้อยู่แล้ว และระบบปฎิบัติการจำนวนหนึ่งก็รองรับโหมดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เช่น RHEL 7, Windows 10, Windows Server 2016, OpenBSD ส่วนระบบปฎิบัติการอื่นที่ไม่ได้รองรับแต่แรกก็สามารถแพตช์ที่ระบบปฎิบัติการได้อยู่ดี ไม่ต้องการการแพตช์ซีพียูแต่อย่างใด
ช่องโหว่รายงานโดยทีมวิจัยในเยอรมัน ได้แก่ Julian Stecklina จากอเมซอนเยอรมัน, Thomas Prescher จาก Cyberus Technology GmbH, และ Zdenek Sojka จาก SYSGO AG
Comments
พรุนเลย จะมีอีกสักกี่รูกันนิ ?
เอิบ ค่าย แดงเค้า ไม่สะทกสะท้านบ้างเลยเหรอ แต่เอาจริงๆ ผมก็ใช้ อยู่นะ
พอได้หรือยัง ปัญหาคือโหว่ในระดับ hardware ด้วยหน่ะสิ ขายแล้วขายเลยไม่เปลี่ยนให้ เลิกผลิตไปเลยดีมั้ยนั่น
อันนี้คืออ่านข่าวจบแล้ว?
lewcpe.com, @wasonliw