จากข่าวใหญ่วันนี้ สหภาพยุโรปสั่งปรับกูเกิล 168,000 ล้านบาท จากข้อหาผูกขาดทางการค้าผ่าน Android ทางซีอีโอ Sundar Pichai ออกมาตอบโต้ผ่านบล็อกของบริษัท มีประเด็นหลายอย่างดังนี้
- Android สร้างทางเลือกให้กับผู้คน มีผู้ผลิตสินค้า 1,300 แบรนด์ และสินค้า 24,000 รุ่น มีแอพให้ดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านตัวบน Play Store
- ผู้ผลิต Android มีอิสระในการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ และไม่จำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์ของกูเกิล โดยยกตัวอย่าง Fire OS ของ Amazon
- ผู้ใช้ Android สามารถลบหรือปิดการทำงานของแอพที่พรีโหลดได้ และยกตัวอย่างยอดดาวน์โหลดเบราว์เซอร์คู่แข่งของ Chrome ได้แก่ UC Browser (500 ล้านครั้ง), Firefox, Opera Mini (มากกว่า 100 ล้านครั้ง)
- กูเกิลเปิดให้ทุกคนใช้ Android ฟรี แต่การพัฒนาระบบปฏิบัติการย่อมต้องใช้เงินลงทุน แนวทางการหารายได้ของกูเกิลจึงเป็นการพรีโหลดแอพที่บางตัวสามารถสร้างรายได้กลับคืนบริษัท แต่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนก็มีอิสระในการพรีโหลดแอพจากคู่แข่งของกูเกิลด้วย
Sundar ย้ำว่าถ้ากูเกิลไม่สามารถพรีโหลดแอพไปกับ Android ได้อีกตามคำสั่งของ EU นโยบายที่เปิดให้ใช้ Android ฟรีก็อาจต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย สุดท้ายเขาระบุว่าบริษัทจะยื่นอุทธรณ์ในกรณีนี้
ที่มา - Google

Comments
แน่จริงก็ทำเครื่องในเครือตัวเองเหลือแต่ Play Store แล้วให้ผู้ใช้ Download App สำหรับขายใน EU ดูสิครับ ของผมขนาด Sony ยังมีแอพของ Sony เองและของ Google ตั้งหลายแอพที่ถอนออกจากเครื่องไม่ได้เลย ทำได้แค่ Disable แต่ก็กินเนื้อที่อยู่ดี
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
กูเกิลเปิดให้ทุกคนใช้ Android ฟรี แต่การพัฒนาระบบปฏิบัติการย่อมต้องใช้เงินลงทุน แนวทางการหารายได้ของกูเกิลจึงเป็นการพรีโหลดแอพที่บางตัวสามารถสร้างรายได้กลับคืนบริษัท แต่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนก็มีอิสระในการพรีโหลดแอพจากคู่แข่งของกูเกิลด้วย
ผมว่าเขาเสกเงินจากอากาศไม่ได้นะครับ
อ๋อ หรือไม่ก็ทำ OS ที่มีแค่ PlayStore แล้วมีโฆษณาอยู่ใต้ System Bar ก็อาจจะได้นะ แล้วแบบทุก ๆ สิบครั้งที่กดปุ่ม Back ก็จะไปเข้าโฆษณา อะไรแบบนี้ (แต่ Android ตัวใหม่จะเอาแถบนี้ออกแล้วนี่หว่า)
แน่จริง คุณก็ทำ OS ใช้เองสิครับ จะได้ตรงความต้องการตัวเอง 100%
ชอบใจครับ
แล้ว Google ทำ Android มาเพื่ออะไรครับ ถ้าไม่ใช่ว่าผลกำไร??
ึจริงๆเค้าก็ไม่ได้ทำให้เราฟรีๆนะครับ ควรใช้คำว่า Bundle มากับตัวเครื่องซะมากกว่า
(แบบ PC/Notebook แบรนด์ดังแถม OS ว่าไป)
เรื่องกินพื้นที่ผมไม่เถียงนะ แต่ปัจจุบันนี้ แอพในเครือของ Google แทบทั้งหมดไม่น่าจะกินพื้นที่เก็บข้อมูลในโทรศัพท์ ได้เท่ากับแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ชื่อดังนะครับ กินพื้นที่เครื่องไม่พอ กินแรมอีกต่างหาก
จริงๆ ทำแบบโซน EU มีขายสองรุ่น รุ่นรอมพรีโหลดขายราคาปกติ กับรุ่นรอมเปล่าไม่มี Play store + Google service ขายแพงกว่า 20% ก็ได้นะครับ วินๆ ทุกฝ่าย ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าคนที่บ่นเรื่องพรีโหลดจะยอมจ่ายแค่ไหน
สำหรับผม ซื้อแน่นอนครับ แพงกว่าหน่อย แต่จัดการแอพได้ตามใจตนเองบนเครื่องที่ซื้อมาด้วย เป็นเอกลักษณ์ของตนเองครับ (แบบมีแค่แอพพื้นฐาน เช่น Phonebook, SMS, Settings, Camera ฯลฯ กับ PlayStore ก็โอเค)
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้าบอกว่าพรีโหลดแอพ Chrome ผิด พวก Phonebook, SMS, Camera ก็ต้องผิดเหมือนกัน เพราะมีอีกตั้งหลายเจ้าที่ทำแอพประเภทนี้ อย่างงั้นคงให้มาได้แค่ setting กับ PlayStore กับโทรศัพท์แบบกดหมายเลขอย่างเดียว
Playstore ก็ไม่น่าได้นะ เพราะผูกกับบริการ Google Service ด้วย ถ้าจะใช้จริงก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มครับ แบบซื้อเครื่องเปล่าพอ แล้วอยากได้อะไรก็ซื้อเพิ่มเอาน่าจะดีสำหรับเขานะ
เอาเครื่องเปล่าไปครับ แล้วถ้าจะลง Android ก็ไปซื้อกับ Google เหมือนซื้อ WIndows กับ MS ครับ ไม่มีการ pre-download อะไรมาให้ทั้งนั้น
อ้อ ดีเลย ง่ายกว่าเดิมเยอะ ซื้อที่ใช้งานอย่างเดียว ไม่รกเครื่องด้วย แถมเป็นสิทธิ์ถาวรแนว Windows ก็ดีไปอีกแบบ แต่ถ้าจะดี ถ้าสามารถอัพเดตได้เหมือน Windows ที่ทำได้กับทุกเครื่อง ไม่เกี่ยง HW จนกว่าเครื่องจะพังหรืออืด ใช้งานไม่ได้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
กลัวจะคิดเป็นรายเดือนแทน...
อาจเป็นรายเดือน หรือรายปีก็ได้นะ
คนคิดอย่างคุณมันมีน้อยไงครับ คิดเป็นกี่ % กันเชียว ไม่งั้นเค้าทำออกมาขายกันใหญ่โตแล้วล่ะ
นี่ไงครับ ของฟรีไม่มีในโลก
@TonsTweetings
"ของที่แพงที่สุดคือของฟรี"
สุภาษิตญี่ปุ่น(ถ้าจำไม่ผิด)
+1
สุดท้ายก็อ้างเรื่องเงิน 5555 ของฟรีไม่มีในโลกจริงๆ เชียร์ EU เต็มที่จ้าาาาา #TeamEU
ทำของขายแบบ MS คนก็ไม่ด่า ไม่โดนฟ้องแล้ว อันนี้โดนเพราะทำ OS แจกฟรีแท้ๆ (แต่ก็นั่นแหละมันดันมีโมเดลธุรกิจเบื้องหลังอยู่)
อย่าลืม Windows N ซิครับ EU เคยเล่นท่านี้กับ MS มาแล้วนะฮะ
iPAtS
Microsoft ก็โดนครับให้เอา IE ออก หลังจากมี SKU ที่เอา IE ออกจาก Windows ขายแล้วประชาชนชาว EU ก็ได้ค้นพบสัจธรรมของชีวิตหลัง install เครื่องด้วย แผ่น DVD-ROM ว่า ไม่มี IE แล้วจะเอาอะไรไป Download Chrome กับ Firefox ฟะ ??
LOL
ได้ครับ คิดเงินมาเลย
เพราะใช้ iOS?
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
แหะๆ
'#teamandroid ฮะ
งานนี้รู้สึก EU ทำตัวเหมือนสหภาพ ที่จ้องจะคุ้มครองผู้บริโภคฝ่ายเดียว โดยไม่เข้าใจบริษัท ว่าเขาลงทุน ก็ต้องการผลกำไรเช่นกัน ผมว่ามัน win-win นะ
ผมว่ามันปรกตินะ แต่พอดี Google ไม่ได้มาขายโฆษณาแบบตรง ๆ แต่เอา software platform มาลง ละโฆษณา มาลงใน platform อีกที
จริง ๆ เค้าคุ้มครองบริษัทมากกว่านะครับ ทำให้ตลาดยังเอื้อต่อการแข่งขัน
google กินส่วนแบ่งการตลาด OS มือถือส่วนใหญ่ไปหมดแล้ว
ดังนั้นตลาด Browser มือถือควรจะทำให้แข่งได้ วิธีทำให้แข่งได้คือ ให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าควรจะใช้ตัวไหน โดยเท่าเทียม
เพราะการใส่เข้ามาแต่แรก ทำให้บางคนไม่โหลด app อื่นละครับใช้ของที่ preload มานั่นแหละ แบบนี้
ผมว่าแฟร์ดีนะครับ
แล้วกรณีที่ว่า OS ต้องเก็บเงิน Google Android ก็เก็บเงินเพิ่มก็ได้นี่ครับ ทำให้เครื่องจาก Google Android แพงขึ้น
นั่นทำให้ผู้ผลิตอาจจะหันไปใช้ OS อื่นเพิ่มขึ้น นั่นทำให้เกิดการแข่งขันอีก
ซึ่งก็ไม่ได้ดีต่อผู้บริโภคเท่าไหร่ถ้าคิดในแง่ต้นทุน เพราะเค้าคงขายของแพงขึ้น แต่นั่นแหละครับ ด้วยกลไกการตลาด ถ้าคนขายเยอะ ยังไงของต้องถูกกว่าคนขายรายเดียวผูกขาด
โมเดลธุรกิจของ Google เดิมนั้นดีครับ แต่มันขัดกับหลักผูกขาดของ EU เค้าซึ่งหลักนี้มันก็มีมาก่อน google ด้วยซ้ำไปนะผมว่า เพราะ Microsoft ก็โดนลักษณะเดียวกัน เป็นกติกาที่รู้อยู่แล้วว่าถ้าวันนึงเราครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ได้แล้ว เราจะใช้โมเดลนี้ไม่ได้ แต่การใช้โมเดลนี้จะช่วยให้บ.เล็กแข่งกับบ.ใหญ่ได้ไงล่ะครับ
ถ้าแบบนี้ผมว่าราคามันจะขึ้นกันทุกเจ้าเลยนะ จะแพงหรือถูกกว่ากันระหว่างผู้ผลิตเท่านั้น แต่แน่ๆ เลยคือแพงขึ้น
ผมว่าควรทำอย่างที่ด้านบนบอกเอาไว้ดีกว่าคือ Google เก็บค่าใช้งาน Android จากผู้ใช้ใน EU นอก EU ก็มีแบบตัวเลือก จ่ายเงินเพิ่มเพื่อเอาเครื่องเปล่าๆ กับฟรีค่า OS และมีแอปแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
งั้น apple microsoft ต้องโดนปรับอย่างเท่าเทียมนะครับ
เพราะทั้งสองบริษัทก็พรีโหลดหรือใช้โมเดลธุรกิจไม่ต่างกัน
แถมผู้บริโภคต้องจ่ายแพงกว่าอีกแหนะ
ถ้ายุโรปทำอย่างนี้กับ google ให้ได้
ก็ต้องตอบให้ได้ว่า
ผู้ประกอบการจะได้อะไรจากการทำให้คนใช้ OS ฟรีๆ
Apple กับ Microsoft เป็นเครื่องของเค้าครับระบบปฏิบัติการเค้าครับ คนละเรื่องกับของ Google
มันไม่ยิ่งแย่เหรอครับ อย่างกูเกิลมีเหตุผลที่ต้องยัดบันเดิลแอพ เพราะกูเกิลให้ใช้แอนดรอยด์ฟรี
แต่ OSX กับ Windows ไม่ฟรีแถมยังมีบันเดิลอีก
กดนี้ทำให้การแข่งขันสูสีครับ ไม่ทำให้บ.ที่มียักษ์ใหญ่กลืนตลาด อารมณ์ handicap มีแต้มต่อให้บ.ที่ส่วนแบ่งการตลาดน้อย ๆ สามารถใช้ลูกเล่นพรีโหลดได้
แต่ถ้าคุณครองตลาดแล้ว ห้ามทำนะ ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นบ้างประมาณนี้
กฎพวกนี้ดีมั้ย? ผมว่าดี อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็น Google และ Apple ขึ้นมาอยู่ระดับนี้ได้ รวมถึงบริษัทหน้าใหม่ทั้งหลาย
ไม่งั้นป่านนี้หลาย ๆ บริษัทโดน Microsoft ซื้อแล้วผูกขาดยาวเลยครับ แข่งก็ยาก สู้ขายบริษัทดีกว่า
ถ้า google คิดเงินแพงเกินไป สักพักก็จะมีบ.หน้าใหม่เข้ามาเติบโตแทนได้ครับ ซึ่งดีเสียอีก จะได้มีอะไรใหม่ ๆ
แล้วกรณีนี้มันก็อยู่ในยุโรปครับ Microsoft ก็โดนมาแล้วต้องออก Windows เฉพาะ ของ ยุโรป
ส่วนทั่วโลกก็ยังเหมือนเดิม ดังนั้นผมไม่คิดว่าจะกระทบอะไรมากต่อตลาดมือถือครับ
เห็นด้วยกับ EU ครับ เพราะกฏ fair trade มันมีมานานมากแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะออกมา google ก็รู้กฏของ EU ดีอยู่แล้ว ตัวอย่างก่อนๆเช่น Microsoft โดนปรับก็มีให้เห็นอยู่ อีกอย่างเรื่องนี้ใช้เวลาไต่สวนนานมาก น่าจะเกือบสามปี ซึ่งก็ไม่ได้ตัดสินใจปรับอย่างหุนหันพลันแล่นด้วยซ้ำ หลายคนสงสัยว่า Apple ทำไมไม่โดน อย่างที่เนื้อข่าวบอก กฎนี่บังคับใช้เฉพาะกับบริษัทที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดเท่านั้น ถ้าวันไหน ios ครองส่วนแบ่งสูงสุดก็ต้องทำตามกฎเช่นกัน ถ้า google จะเก็บเงินค่า os แล้วขายแพงขึ้นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะ ปกติสินค้าพวกอิเล็กทรอนิก ใน EU ก็แพงกว่าปกติอยู่แล้ว (ตัวอย่างเช่นที่เยอรมันที่บังคับให้ประกันสินค้าสองปี สินค้า apple ที่ซื้อที่นี้ก็ได้ประกันสองปีเช่นกัน แน่นอนว่าราคาก็ต้องแพงกว่าที่อื่นอยู่แล้ว) อีกอย่างคนในยุโรปส่วนใหญ่ ย้ำว่าส่วนใหญ่ใช้ของถูกลิขสิทธิ์กันเป็นปกติอยู่แล้ว ถ้าจะจ่ายเพิ่มขึ้น กำลังซื้อจาก EU ก็คงไม่ลดลงมากมายเท่าไหร่
ก็ดีนะครับจะได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของของฟรี :)
นี่มันข้อเสียของการปล่อยให้ฝั่งอเมริกากุมอำนาจกุมตลาดทางเทคโนโลยีมากเกินไป ทาง EU เองก็ควรจะสร้างอะไรที่เป็นของตัวเองมาใช้ได้แล้ว เริ่มต้นที่ Search Engine ก่อนเลย
That is the way things are.
อันที่จริง
windows IOs macbook ก็ พรีโหลดแอพตัวเอง
อย่าง bing edge IE Safari
มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่ google ทำหรอกครับ
คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องการสะกัดขาของคู่แข่ง
ธุรกิจสู้ไม่ได้ก็เลยใช้ช่องทางกฎหมายแทน
กลายเป็นว่า
ของฟรีและถูก ผิด
แต่ของแพงกลับ ไม่มีปัญหาซะงั้น
หรือถ้าคิดในอีกมุน
อาจเป็นการตอบโต้ทางการเมืองอะไรสักอย่างของยุโรปที่มีต่ออเมริกา
เหมือนกับที่อเมริกาทำกับจีนผ่าน Huawei และ ZTE นั่นแหละครับ
Windows N?
ทำจริงก็ดีนะ จะได้เห็น OS ทางเลือกที่ 3 เกิดซะที ผู้ใช้ก็ไม่ต้องทนรำคาญแอพขยะ และมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนราคามือถือที่เพิ่มขึ้นคงไม่มากหรอกมั้งเพราะ คนประเทศ EU ก็รวยๆ กันทั้งนั้น หรือถ้าเพิ่มราคามากก็ยิ่งเป็นยากระตุ้น 3rd OS ให้เกิดอย่างดีเลย ส่วนแอปเปิลก็น่าจะได้ผลบุญไปด้วย
พรีโหลดไม่ว่าแต่ลบไม่ได้นิดน่าเบื่อ...
+1 ใช่เลย preload ก็ทำไป แต่ขอ uninstall ได้เถอะ
แก้ปัญหาโดย เก็บค่าลิขสิทธิ์สำหรับคนยุโรปเพิ่ม เอาแต่เครื่องเปล่าๆไป ถ้าอยากได้ OS ก็ซื้อเพิ่มเอา แล้วถ้าอยากได้ Play Store และชุดบริการ Google Service ก็เก็บเพิ่มเอาเท่านั้นตัว (คล้ายๆ Google Map สำหรับนักพัฒนาที่ให้ใช้ฟรีได้กี่คน พอเกินก็เก็บเงิน)
ใช้งานฟรีๆ แถมบริการไม่ชอบก็ต้องแบบนี้แหละ
ใครไม่ชอบอะไรก็ปิดไป อย่าง Samsung ยังเอาชุด MS Office มาให้ใช้งานเลย เดาว่ามันน่าจะบังคับไม่กี่อย่างนะ เช่น Google Chrome, Photos, Drive, Play store, gmail, search, youtube
ถ้าแน่จริง ต้อง...
อาจทำแอนดรอย2แบบให้เลือก 1.ฟรี+แถมแอฟ 2.ไม่ฟรีแต่บริสุทธิ์
นี่น่าจะส่วนหนึ่งของ Trade war ระหว่าง USA และ EU เดี๋ยวบริษัทฝั่ง USA คงโดนอีก พันธมิตรใส่กันยับ
สงสัยว่า ios ไม่โดนด้วยหรอ?
มีอธิบายไว้อยู่ในประกาศของ EU ครับ
เคสนี้ไม่เข้าข้างในหลายปัจจัยเรื่อง
- Prerequisite ที่ต้องลงก่อนถึงจะลงอีกตัว ถึงจะลงอีกตัว
- Optional Market ที่เห็นชัดๆก็สงคราม Amazon Fire
จริงๆ ผมว่าครอบคลุมไปถึง IOS และตลาดแอพอื่นๆด้วย (ไม่อนุญาตให้มีตลาดอื่น และไม่อนุญาตให้ทำ IAP นอกระบบได้ถ้าใช้ตลาดบังคับ)
ซึ่งผมว่ามันเข้าข่ายการผูกขาดชัดเจนมากนะครับ
มันมีเส้นแบ่งนิดเดียว (แบบเดียวกับตอนไมโครซอฟท์โดนในยุค Windows N) คือ
ผู้ใช้เลือก Store/Browser/Application Set เอง
ซึ่งเอาจริงๆ ที่สุดแล้วผู้ใช้ก็จะลง Play Store อยู่ดี (แต่ก็ไม่ได้จำกัดว่าห้ามลง Store อื่นในเลเวลที่กูเกิลทำอยู่)
ส่วนตัวผมว่ามูลค่าข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของทุกแอพที่กูเกิลได้ไป ก็มากพอจะครองโลกแล้ว อนุมานเอาได้เลยว่าไม่มีอะไรที่กูเกิลไม่รู้ ไม่เก็บ ... แต่จะบอกว่าเก็บหรือมีสิทธิ์เอาไปใช้ต่อหรือเปล่านั้นอีกเรื่อง
+++++
อีกอย่างกฎข้อนี้บังคับใช้กับ "ผู้นำที่นำห่างจนไม่ทิ้งฝุ่น" เพราะการนำห่างจนไม่ทิ้งฝุ่น มันทำให้ตัดสินใจทุกอย่างแทนสิทธิ์ที่ให้เลือกได้
ซึ่งถ้ามองกันจริงๆ เราจะเห็นว่า Android มันนิ่งมานานมากเลย และ Market System มันนิ่งมานานมากเลย แบบไม่มีใครสามารถเกิดมาเป็นคู่แข่งได้เลย (เพราะ Barrier ในความสะดวกมากกว่า 1 ขั้น คือไม่ต้องดาวน์โหลดและผูกทุกอย่างไว้ จะทำให้อย่างอื่นไม่มีทางได้เกิด) ซึ่งโดยรวมๆแล้วเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคนะครับ
+++++
ยิ่งในเคสที่ตอบมาว่า "ผู้ใช้ Android สามารถลบหรือปิดการทำงานของแอพที่พรีโหลดได้" ผมเชื่อว่าใครก็เห็นว่ามันไม่จริง ... Bundled App แทบจะไม่มีตัวไหนเอาออกได้เลย
ลบ shotcut พร้อมปิดการทำงานได้น่ะครับ
ผมเข้าใจว่า แอพยังอยู่หลายตัวนะครับ ส่วนปิดการทำงานนี่สุดท้ายก็ยังถือว่าก้ำกึ่งอยู่ดี เพราะอะไรๆมั่นก็พ่วงกันไปหมด
เหมือนส่วนตัวก็จะใช้คำว่า Trust ให้ถือข้อมูล
แต่ไม่ Trust ว่าไม่ได้ทำงานเบื้องหลัง (ขนาด rootkit ยังหายาก) และไม่ Trust ว่าไม่เก็บอะไรที่ไม่บอก
เดี๋ยวนี้ voice recognition ที่เป็น trained model ขนาดเล็กนิดเดียว แค่ process ไปเรื่อยๆ เก็บเฉพาะ keyword เป็น id อะไรสักอย่างที่ดักฟังแล้วไม่มีนัยยะไรงี้ ก็ไม่มีทางรู้แล้ว
นอกจากไป Compile เองได้หมด (ซึ่งก็ compile ส่วนที่เป็น Pre-requisite app ไม่ได้อยู่ดี ไม่ว่าจะ gapps base หรืออื่นๆ)
หลายคนนำกรณีนี้ไปเทียบกับ Windows Phone, iOS โดยลืมดูสัดส่วนการครองตลาดไป
กฎหมายป้องกันการผูกขาดมีมานานแล้วอย่างที่สมาชิกท่านอื่นได้กล่าวไว้ และมีหลักเกณฑ์ข้อบังคับการพิจารณารูปแบบต่าง ๆ กำหนดเอาไว้อยู่แล้ว ลองไปหาอ่านกันดูนะครับ
การผูกขาดตลาดไม่เคยดีในระยะยาวเสมอ แม้ว่าในระยะสั้นอาจจะต้องมี Android 2 version ขายในยุโรป ราคาอาจจะต้องแพงขึ้น แต่ถ้าทุกอย่างที่ทำไปมันสามารถเอื้อให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาดได้แล้ว สุดท้าย Android ก็จะไม่สามารถขายแพงได้เองโดยกลไกตลาดครับ
อย่าว่าแต่ถึงตอนนั้นเลย เอาแค่ตอนนี้ ต่อให้ Google ต้องทำ Android ออกมา 2 version จะกล้าคิดเงิน version ที่ bundle application และ service ทุกอย่างแพงขึ้นอย่างที่หลายคนคาดการณ์จริงหรือเปล่า ถ้าขายแพงขึ้นแล้วเสียส่วนแบ่งในตลาดไป 5-10% ให้กับ iOS แค่นี้ Google ก็ต้องคิดหนักแล้ว
That is the way things are.
เห็นด้วยนะครับ เพราะทางอียูต้องการป้องกันการผูกขาด ... การทำให้สินค้าราคาถูกเพื่อขยายฐานลูกค้าจนกลายเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด มันคือการผูกขาดทางการค้าแบบที่บ้านเราเจอกับห้างค้าปลีกรายใหญ่ และบริษัทแม่ของห้างค้าปลีกเจ้านั้นแหละ
คุณจะมีตัวเลือกน้อยลง แล้วคุณจะเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก
อียูคงไม่สนใจว่ามันฟรีหรือคิดเงิน เค้ามีหน้าที่ปกป้องประชาชนในระยะยาวๆ ครับ
EU แม่งก็ใจแคบ ใจคอจะให้เค้าพัฒนามาให้แบบฟรีๆ 100%
แต่จะติดแอปอะไรมาบ้างนิดหน่อยไม่ได้ โฆษณาไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้
พนักงานกูเกิ้ลบอก พวกกรูกินข้าวนะเว้ยเฮ้ย ไม่ได้สังเคราะห์แสง
ปัญหาคือ EU เสียประโยชน์ เพราะ OS + บริการพวกนี้ไม่ได้เป็นของบริษัทใน EU ก็เลยเก็บภาษีไม่ค่อยได้ ก็เลยใช้วิธีนี้เพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองส่วนหนึ่ง
ถ้าเกิด Google ไปเกิดในเยอรมันก็อาจจะไม่โดน
ในฐานะผู้บริโภค ยังไงก็เชียร์โมเดลแบบกลูเกิล เขาทำandroidมาฟรี แต่ต้องติดโปรแกรมของเขามาด้วยก็จริงแต่เขาก็เปิดให้เจ้าอื่น ใส่โปรแกรมของตัวเองมาได้เต็มที่ ซึ่งบางเจ้าเปิดมือถือมาเห็นก่อนโปรแกรมของกลูเกิลอีก ซึ่งจริงๆมันเกิดจากที่เขามั่นใจในคุณภาพของโปรแกรมเขามากๆถึงทำได้ ผู้บริโภคก็ได้รับผล ประโยชน์ EU เหมือนคนแพ้สงครามtechละหากินทางอื่นเลย
ผมก็ชอบครับ แต่ลึกๆ ก็กลัวอยู่เหมือนกัน ถ้าหากว่าต่อไปชีวิตไม่สามารถขาดบริการเหล่านี้ได้ และ Google โตจนสามารถครองตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จ สามารถที่จะชี้นิ้วบังคับตามที่ตัวเองต้องการได้แบบที่ไม่มีโอกาสได้ขัดขืน
+1
อย่างงั้นอย่าเรียกว่าฟรีเลยครับ แค่คุณไม่ได้จ่ายเป็นเงินให้เขาตรงๆแค่นั้นเอง
อีกอย่าง ลองคิดถึงตัวเองดู คุณใช้ google จนติด ยกตัวอย่าง google search แล้วเขากำหนดปรับเปลี่ยนนโยบายเอาเว็บคุณออกจากระบบหายังไงก็ไม่เจอ ซึ่งเขาทำได้นะ นี่คือความหน้ากลัวของการผูกขาด คือคนอื่นในโลกที่รู้จักแค่ google เพราะตอนนั้นโดนผูกขาดแล้ว จะหาเว็บคุณไม่เจอเลย EU เขาก็มองไกลประมานนี้เพื่อผู้บริโภค แต่ผมยังมองไม่ชัดว่า EU กลัวตอนที่ google ผูกขาดแอนดรอยไปถึงขั้นไหนถึงจะวิกฤิตจริงๆแค่นั้นหล่ะ ตอนนี้เลยเริ่มของกฎคุมบ้างแล้ว แต่ผมเห็นคนเชียร์ google กันจัง คนไทยใช้ google เกิน 90% เป็นหลักมากๆรวมถึงผมด้วย
เคยมีคนบอกว่าถ้าเว็บ google หรือบริการของ google ล่มไปสัก 10 นาที ลองคิดดูถึงความเสียหายแล้วกันครับ เพราะไม่มีคู่แข่งอื่นมาเป็น Spare ให้เพราะไม่ได้เกิด
กรณีนี้เห็นด้วยกับ EU ครับ เรื่องหาเงินจากค่าปรับก็ส่วนหนึ่งแต่การผูกขาดของ Google มันก็น่ากลัวเกินไปจริง ๆ
"กูเกิลเปิดให้ทุกคนใช้ Android ฟรี แต่การพัฒนาระบบปฏิบัติการย่อมต้องใช้เงินลงทุน แนวทางการหารายได้ของกูเกิลจึงเป็นการพรีโหลดแอพที่บางตัวสามารถสร้างรายได้กลับคืนบริษัท แต่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนก็มีอิสระในการพรีโหลดแอพจากคู่แข่งของกูเกิลด้วย"
มีอิสระในการพรีโหลดแอพของคู่แข่งจริงดิ ???
เอาBingมาใส่แทนช่องค้นหาGoogleได้???
เอาSamsungStore มาวางแทนตำแหน่งของPlayStoreได้???
Bing ก็ลง Widget ค้นหาได้นี่ครับ ทำไมต้องไปแย่งที่กับกูเกิล
ส่วนตำแหน่ง store ......มันสลับได้อิสระอยู่แล้วรึเปล่าครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่รัฐจะป้องกันการผูกขาดเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ตัวอย่างคุณดูแปลกๆนิดหน่อย
เอา Cortana ไปแทน Assistant ก็ได้นะครับ มันมีให้เลือกใน Setting ว่าจะให้กดปุ่มโฮมแล้วเรียกตัวไหนออกมา
แต่ผมอยากเรียก Hey Cortana ตรงๆ ได้ตลอดเวลาอ่ะครับ ทุกวันนี้ต้องพูด Show me Cortana -> Hey Cortana (Show me เป็นคำสั่งเสียงของ moto ในที่นี้คือบอกให้มันเปิดแอป Cortana ที่จะรับเสียง Hey Cortana ได้แค่ตอนเปิดแอปอยู่)
TeamEU
เชื่อว่าถ้า Android หรือ PlayStore เก็บเงินเพิ่ม คน EU ก็ไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว และจะช่วยกระตุ้นให้เกิดคู่แข่งรายใหม่ใน EU ได้
ส่วนคนโซนอื่น เช่น บ้านเรา ก็ชิวๆกันไป ไม่เดือดร้อน
google พยายามยกเรื่องต้นทุนที่ google จ่าย google ก็ควรมีสิทธิตรงนี้
แต่ AntiTrust นี่ควรเข้าใจก่อนว่า เป้าหมายคือ เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดตลาด
มันจะเริ่มทำงานเมื่อเห็นชัดว่าเจ้าอื่นอยู่ไม่ได้ เช่น กินส่วนแบ่งตลาดไป >70-80%
อย่าง Intel ก็ต้องเลี้ยงไข้ AMD
ไม่พยายามกินตลาดเกิน >70-80%
AMD ก็พออยู่รอดไปได้ จนคิดค้น Zen มาสู้
ตลาดก็กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
กฎหมายนี้มันเป็นกลไกนึงในตลาดเสรี
ถ้าไม่มีกฎหมายแบบนี้
ผู้ชนะแล้วครองตลาดจนฆ่าทุกเจ้าในตลาดได้เพียงครั้งเดียว จะผูกขาดตลาดไปตลอดกาล