เราคงเคยได้ยินข่าวรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนของโตโยต้ามาบ้าง ล่าสุดประเทศเยอรมนีได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเริ่มใช้รถไฟพลังงานไฮโดรเจนเป็นเจ้าแรกของโลก หวังลดการใช้งานรถไฟดีเซลที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง
รถไฟพลังไฮโดรเจนล็อตแรกใช้ชื่อว่า Coradia iLint ผลิตโดย Alstom บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสที่ผลิตรถไฟให้ TGV หรือการรถไฟฝรั่งเศส โดยเส้นทางแรกที่นำไปวิ่งจริงคือระหว่างเมือง Cuxhaven, Bremerhaven, Bremervörde และ Buxtehude รัฐ Lower Saxony ทางตอนเหนือของเยอรมนี มีระยะทางรวม 100 กิโลเมตร ซึ่งปกติให้บริการด้วยรถไฟดีเซล
Henri Poupart-Lafarge ซีอีโอของ Alstom ระบุว่ารถไฟพลังไฮโดรเจนขบวนแรกของโลกเริ่มให้บริการจริงแล้ว และขณะนี้ก็พร้อมสำหรับการผลิตจำนวนมากแล้วเช่นกัน โดยขบวนรถไฟจะใช้สถานีเมือง Bremervörde เป็นจุดเติมก๊าซไฮโดรเจน
บนรถไฟมีเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยทิ้งเป็นน้ำสะอาด และหากมีพลังงานเหลือก็จะเก็บไว้ในแบตเตอรี่ลิเทียม โดยรถไฟสามารถวิ่งได้ไกลถึง 1,000 กิโลเมตรต่อการเติมก๊าซ 1 ครั้ง ใกล้เคียงกับระยะทางที่รถไฟดีเซลวิ่งได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นต่ำกว่า แม้ราคารถไฟจะสูงกว่าก็ตาม
Alstom มีแผนจะส่งมอบรถไฟพลังไฮโดรเจนให้กับรัฐ Lower Saxony อีก 14 ขบวนภายในปี 2021 ในขณะที่รัฐอื่นๆ ในเยอรมนีรวมถึงประเทศอื่นเช่น อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, อิตาลี และแคนาดาก็แสดงความสนใจเช่นกัน
ที่มา - The Guardian
ภาพจาก Alstom
Comments
ไทยน่าใช้แบบนี้ทดแทนของเดิมระหว่างรอระบบรถไฟความเร็วสูงแฮะ เดิมเป็นเครื่องดีเซลปั่นไฟอยู่แล้วด้วย
ไม่ไหวครับ ทางคู่ต้องมาก่อน และต้องเป็นรางขนาดมาตรฐานเท่านั้น เพราะสเปคของตัวรถไฟเท่าที่เคยดูมาทุกยี่ห้อของยุโรปทำขนาดรางมาตรฐานหมดเลยครับ ใช้ระหว่างรอรถไฟความเร็วน่าจะใช้ได้ครับ บางทีระยะสั้นๆ ก็ใช้แทนได้ครับ เพราะ Coradia VMax อยู่ที่ 160 Km/h ครับ
เอ๋? ทางรถไฟปกติของไทยเราไม่เป็นรางมาตรฐานเหรอครับ? ผมนึกว่าเอามาใช้แทนของเดิมที่ใช้มายาวนานหลายสิบปีได้เลย
บ้านเรารถไฟใช้มาตรฐาน 1 เมตรครับ (Meter Gauge) แต่ของยุโรปใช้ 1.435 (European Standard Gauge)
ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมครับ :)
มาตรฐานในที่นี้คิดซะว่าคือชื่อเฉพาะน่ะครับ เค้าตั้งก่อนเลยได้คำว่ามาตรฐานไป มาตรฐานมันมีหลายอันครับ แบบยุโรป แบบญี่ปุ่น แบบอาเซียน ฯลฯ ไม่ได้มีแบบไหนเป็นหลักมากกว่ากันหรือดีกว่ากัน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าจะเอาจริงๆผมว่าไม่น่ามีปัญหานะครับ รถไฟมัน made to order อยู่แล้ว
รถไฟต่างสเปคต้องทดสอบมาตรฐานทางวิศวกรรมใหม่หมด นั้นคือต้นทุนของผู้ผลิตครับ ถ้าไทยจะสั่งอัสตรอมจริงๆ โดยใช้รางเดิมๆ คงต้องจ่ายเงินเยอะกว่าปกติน่ะครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นสั่งเกาหลีหรือญี่ปุ่นดีกว่าครับ เพราะเขามีแพลตฟอร์มไว้อยู่แล้ว
จริงมันควรมาคู่กันนะครับ จะรอแค่รางใหม่อย่างเดียว มันก็ช้าเกินไปแล้วละครับ
เลิศ พลังสะอาดแท้ๆ
ผมว่าระบบรถไฟที่มีรางที่สาม หรือระบบสายไฟเหนือหัวยังต้นทุนน้อยกว่า และไม่จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิงด้วย เพราะใช้ไฟเลี้ยงตลอดเวลาที่อยู่ในราง และคุ้มค่ากว่าในระยะยาว ผมว่านะ (อาจจะมีแบตสำรองในกรณีเปลี่ยนรางหรือให้บริการพื้นที่ที่ไม่มีระบบรางที่สามหรือสายไฟตลอดทาง แล้วมีระบบชาร์จเร็วให้รถไฟใน 2 นาทีที่สถานีอีกที)
ส่วน Hydrogen Fuel-cell เหมาะกับรถใช้งานเชิงพาณิชย์มากกว่ารถส่วนตัวที่รถไฟฟ้าตอบโจทย์ได้มากกว่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แต่ถ้าได้มาแล้วเป็นแบบ bts หรือ Airport link ก็นะ ระบบไหนก็คงเสียชื่อหมดละ ^^
ระบบไฟฟ้าที่โยงสายไฟตลอดจะเหมาะกับในเมืองมากกว่านะ
ถ้าออกชนบทไกลๆเช่นบริเวณที่เป็นป่าเขา ก็เท่ากับต้องเดินสายไฟฟ้าแรงสูงไล่ตามทางไปด้วยเสมอ
(รถไฟฟ้าแบบนี้น่าจะใช้ไฟเยอะ)
รถไฟฟ้าของญี่ปุ่น พี่แกเดินยาวได้ตลอดประเทศเลยนะครับ
แต่ถ้าไกลแบบอเมริกาสุดทวีปอาจจะไม่ไหว ระหว่างทางไม่ค่อยมีไรให้แวะด้วย
พลังงานสะอาดจริง ๆ จะมาแล้วสินะครับ (ไฟฟ้าผมมองว่า Source บางแหล่งยังไม่เป็นพลังงานสะอาดครับ) แล้วนานแค่ไหนจะประยุกต์ใช้ในตัวถังรถยนต์ได้นะ ตอนนี้ตัวเตาปฏิกรณ์ (คาดเดาว่าน่าจะต้องเรียกประมาณนี้ จากการสลายพันธะไฮโดรเจน) น่าจะใหญ่ขนาดต้องใส่รถไฟเท่านั้น
ให้โรงไฟฟ้าใช้ไฮโดรเจนแล้วรถก็เป็นรถไฟฟ้าดีกว่าครับชิ้นส่วนในการบำรุงรักษารถก็น้อยกว่าระบบอื่นๆด้วย ที่ต้องการจริงๆคือแบตรูปแบบใหม่ที่ความจุเยอะกว่านี้
แหล่งพลังงานจากระบบไฟฟ้าทั่วไป จริง ๆ มีข้อดีในแง่ความยืดหยุ่นในการเลือกผลิตจากระบบหลายแบบ ทั้งถ่านหิน พลังงานลม พลังงานน้ำจากเขื่อน ขยะชีวมวล รวมไปถึงพลังงานนิวเคลียร์
แต่ปัญหาจริง ๆ คือ พอจะสร้างโรงงานไฟฟ้าเกือบทุกประเภท ล้วนแล้วแต่มีคนคัดค้านครับ คัดค้านทุกประเภทจริง ๆ นะ ไม่มีอันไหนไม่คัดค้านเลย
ผมได้รับงานไปถ่ายวิดีโอ และภาพนิ่งงานสัมมนาของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ เขาตั้งหัวข้อสัมมนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกในไทยยุคปัจจุบัน อาจารย์แต่ละท่านที่มานี่ก็น่าจะเป็นผู้เชียวชาญมาก และเชิญสื่อ นักศึกษา NGO เอกชน และอื่น ๆ เข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ซึ่งงานนี้จัดหลายที่ หลายจังหวัด โดยแต่ละที่จะเชิญอาจารย์ในพื้นที่เพื่อได้ข้อมูลในพื้นที่ดี
ผมพบว่า ทุกวิธีการสร้างแหล่งพลังงาน ล้วนแต่มีอุปสรรคในการสร้างทั้งนั้น ในวันงานแต่ละงานที่ผมได้ไปถ่ายทำ ก็จะมีตัวแทนของ NGO เข้ามาพูด เสนอ อภิปรายอย่างถึงพริกถึงขิง คัดค้านแบบชัดเจนด้วยทุกงานที่ผมไปเลยครับ
ซึ่งทางอาจารย์แต่ละท่านได้พูดอยู่ว่า จริง ๆ ไฟฟ้าในไทยถือว่าพลังงานไม่พอใช้มานานแล้ว เวลาเกิดปัญหาที จะใช้เวลาแก้ไขนาน และกระทบเศรษฐกิจอย่างมาก และมันเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้การลงทุนจากต่างประเทศ เขามองว่า ระบบไฟฟ้าไทย ขาดความเสถียรภาพ เราต้องซื้อไฟฟ้ามาใช้ ถ้าเกิดมีปัญหาระหว่างประเทศ ไทยจะโดนตัดแหล่งพลังงาน แล้วจะพบปัญหาอย่างรุนแรงในทันที ซึ่งเขามองว่า มันทำให้อำนาจการต่อรองในทุกด้านของไทย ตกลงทั้งหมด เสียหายจนประเมินค่าไม่ได้เลย
ซึ่งผมก็ไม่ได้มองว่า NGO ผิดหรือถูก คงไม่พูดเรื่องนั้น แต่จริง ๆ ผมมองว่าถ้าดึงไฟฟ้าจากพลังงานไฟฟ้าโดยตรงจากระบบได้ มันมีความยืดหยุ่นอยู่เบื้องหลัง เพียงแต่ระบบโดยรวมของไทยยังมีไม่เพียงพอ น่าเสียดายมาก
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
เพราะแบบนี้ไงถึงควรสร้างโรงไฟฟ้าเต็มกำลัง โดยไม่ต้องสนใจความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็แก้ไขควบคู่กันไปครับ
ถ้าไฟฟ้าไม่พอขึ้นมา งานเสียหาย เศรษฐกิจพัง อย่าไปโทษใครเลย โทษตัวเองที่คัดค้านเนี่ยแหละ ตัวทำลายความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาประเทศเลย
และนี่ก็คงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยถึงเกลียดประเทศตัวเองไปด้วย ปัญหาเรื้อรังที่ไม่เคยไปไหน และไม่เคยแก้ไขได้เลย น่าละอายแก่ใจได้แล้วด้วยซ้ำ ทุกคนเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ขนาดพลังงานลมยังโดนค้านเลยครับ NGO นี่ค้านลูกเดียว
ถ้าจะค้านแบบนั้น สั่งยุบไปเลยง่ายดี ไม่ต้องมีปากมีเสียง คัดค้านโดยไม่สนใจปัญหาหรือผลกระทบ สนแต่ตัวเอง ไม่ได้ก่อประโยชน์อะไรเลย มีไปก็ไร้ประโยชน์ ต้องหัวก้าวหน้าอย่างเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เห็นว่า NGO บางแห่งหนุนหลังโดย UN น่ะครับ
เมื่อไหร่ที่ประเทศเราสร้างโรงไฟฟ้าดีๆได้แล้วมีความมั่นคงทางพลังงาน
จะมีประเทศอื่นเสียผลประโยชน์ครับ
ไม่ทราบว่าทาง NGO เขาเคยบอกไหมครับว่าควรใช้พลังงานจากแหล่งใดหรือด้วยเทคโนโลยีใด
ถ้าเอาแต่ค้านมันทุกทางเลือกทั้งๆที่ NGO เองก็ไม่รู้ว่าจะใช้พลังงานจากอะไร มันดูแปลกๆ
เฉพาะในงานที่ผมไปถ่าย ไม่สนใจการคัดค้านจากที่อื่นนะครับ / เขาจะไม่พูดครับว่า ห้ามสร้าง เขาอยากให้สร้าง เขาจะพูดประมาณนี้ แต่จะมีคำว่าแต่ ต้องไม่ทำให้เกิดผลกระทบด้านนั้น ด้านนี้
ประเด็นคือ อาจารย์แต่ละท่านนำข้อมูลมาโชว์หลายอย่างที่ผมก็ไม่รู้หรอก อาจารย์เขาวิจัยมาทางนี้ ทำงานแต่ด้านพวกนี้ เขาก็มีข้อมูลเยอะ แต่ข้อมูลของเขาจริงไม่จริง ผมไม่รู้ ถือซะว่าท่านเป็นอาจารย์ ก็ขออนุมานไปก่อนว่าข้อมูลที่ท่านไปหามาเป็นจริงก่อนแล้วกัน เพื่อเอามาพูดในหัวข้อนี้ในโพสต์นี้เป็นหลัก (เพราะถ้าจะบอกว่า ไม่ชัวร์ ๆ แล้วก็พูดโดยไม่สรุปความเชื่อ ความคิดเห็น คงหลักลอยเกินไป)
ตอนไปถ่ายงานสัมมนาที่ระยอง NGO ท่านหนึ่งบอกว่า ระยองนั้นมีกลิ่น เขาแค่ขับรถผ่านก็รู้แล้วว่ามีมลพิษจากโรงงาน (เขาไม่ได้ระบุว่ามาจากการทำโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นะ) เขาขอให้มันสะอาด ซึ่งเขาบอกว่า ถ่านหินนั้นไม่สะอาด ขยะชีวมูลก็สกปรก อีกทั้งเคยคิดถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือไม่ ดีไม่ดีแพงกว่าโรงไฟฟ้าอย่างอื่น หรือแพงกว่าซื้อมาอีก นิวเคลียร์ก็อันตราย (ส่วนพลังงานลม ผมไม่ค่อยได้ฟังอาจารย์ท่านให้ข้อมูล บอกตรง ๆ อาจารย์สายถ่านหินนี่ พูดมันส์มาก กับนิวเคลียร์ที่ผมสนใจเป็นหลักอยู่แล้ว)
อย่างไรก็ดี อาจารย์สายถ่านหินท่านบอกว่า โลกเรามันมีพลังงานจากถ่านหินมานานมาก ๆ หลายประเทศพยายามปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแหล่งอื่น เพราะคิดว่ามันแย่ ซึ่งแต่ก่อน มันแย่มาก มลพิษเยอะจริง แต่เขาบอกว่า ปัจจุบันมันไม่ใช่ มันสะอาดขึ้นอย่างมาก และต้นทุนต่ำ ความมั่นคงสูง และเราก็มีความพร้อมเรื่องนี้ไม่น้อย
อาจารย์สายถ่านหินบอกว่า ต่างประเทศ มีโรงแรมระดับ 5 ดาวอยู่ห่างจากโรงงานไฟฟ้าถ่านหินไปไม่กี่กิโลเท่านั้น และมันสวย อากาศดีมาก นักท่องเที่ยวเยอะมาก อีกทั้งแกยังบอกว่า ประเทศหลายประเทศในโลกที่เคยคัดค้านเรื่องการใช้ถ่านหินทำพลังงาน ปัจจุบันเริ่มล้มแผนต่าง ๆ ที่ยกเลิกการใช้ถ่านหินแล้ว และหันกลับมาพัฒนาให้มันดีขึ้นในระดับที่บริสุทธิ์มากขึ้น ลดมลพิษลง เป็นต้น
ส่วนอาจารย์สายพลังงานจากนิวเคลียร์นี้ แกบอกว่า เป็นพลังงานที่มีความมั่นคงสูง ต้นทุนต่ำ และความเสถียรภาพสูงมาก เพราะเชื้อเพลิงซื้อครั้งนึง ใช้ได้นาน ทำให้ต่อให้เกิดภาวะสงคราม เราก็ไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่ม ใช้ได้อีกหลายสิบปี
เรื่องความปลอดภัย เขาบอกว่า มันแบ่งเป็นเฟส อย่างที่ญี่ปุ่นที่มีปัญหาเมื่อปีก่อน ๆ ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้น เขาบอกว่า ถ้าเทียบกับคน โรงไฟฟ้าแห่งนั้น ก็เป็นระดับคุณปู่เลย คือเป็นระบบแรก ๆ อยู่ในเฟสแรก
ปัจจุบัน มันเฟสที่สามแล้ว และมีแผนทำเฟสสี่กันแล้ว และในปัจจุบันเนี้ย เอาเครื่องบินโดยสารบินชน เครื่องบินสลายไปเลย แต่โรงไฟฟ้าไม่สะเทือนในส่วนสำคัญแม้แต่น้อย ไม่ระคายเลย (มีวิดีโอตัวอย่างที่อาจารย์เอามาโชว์ด้วย ผมตื่นตาตื่นใจฉากนั้นมาก คนในห้องก็รู้สึกว่ามันน่าทึ่ง)
ส่วนพลังงานด้านอื่น อย่างชีวมวล เขาบอกว่า มันเพิ่งเริ่ม ต้นทุนยังสูง แต่ว่าประเทศไทยมีความพร้อมเรื่องแหล่งพลังงานเหล่านี้ แต่ละภาคของประเทศก็มีแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน คือเขาบอกว่า ถ้าพัฒนาดี ๆ มันก็จะไปได้ดี และลดต้นทุนลงเรื่อย ๆ
ส่วนตัวผมมองว่า ทุกอย่างมันเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว และการแลกเปลี่ยนก็อาจจะมีสิ่งที่เราต้องจ่าย ปัญหาคือ เราสมควรจ่ายให้กับอะไร เมื่อไหร่ มากกว่าที่จะห้ามไปทุกอย่างโดยพูดแบบลอย ๆ ไม่มีข้อมูล หรือโต้เถียงด้วยข้อมูลดั่งเดิมที่คาอยู่ในหัวโดยไม่สนใจข้อมูลใหม่ที่มีคนเสนอมาให้ดูเลย
ตัวผมเองไม่รู้ถึงวิกฤตพลังงานเหมือนที่อาจารย์เขาบอก จนเขามาบอกก็คิดว่ามันน่าเป็นห่วงขนาดนั้นเลยหรอ คือวิกฤตขนาดนั้นจริงหรอ เพราะทุกวันนี้เราก็ใช้ไฟได้ปกติดี (แต่บ้านผม 1 เดือนไฟดับ 1 - 5 ครั้ง ตอนอยู่บ้านเก่าก่อนหน้านี้ เดือนละหลายรอบ คอมผมพังไปหลายอย่างเลย และหลายตัวด้วย แอร์ก็พัง ตู้เย็นก็พัง เคย 1 ชั่วโมงดับต่อเนื่องติด ๆ ดับ ๆ ร่วม 30 รอบก็มีนะ แต่นั้นคงเกิดปัญหาอะไรขึ้นแน่ แล้วมันไปปิดตู้เย็นไม่ทัน คือพี่แกคือ ดับ 3 วิ 5 - 7 รอบถี่ ๆ แบบนั้นเลย)
แต่ถ้าวิกฤตนั้นเป็นจริง ผมก็รู้สึกว่าไม่แปลกใจหรอก ที่ต่างชาติ จะลดความสนใจในการลงทุนในไทย ทั้งที่ไทยโคตรอยู่ในพื้นที่ ๆ มีศักยภาพสูง ประเทศเป็นแนวยาว (ไม่เป็นแนวกว้าง) ติดทะเลหลายด้าน อยู่กลางภูมิภาค ไม่ค่อยมีภัยพิบัติ โครงสร้างพื้นฐานอย่างเรื่องถนนถือว่าดีมาก ๆ ในแถบอาเซียน แล้วมีการสร้างระเบียงเศษรฐกิจ รวมไปถึงการเซ็นสัญญาเกี่ยวกับธุรกิจด้านการขนส่งหลากหลายรูปแบบ
แต่ เรายังมีต่างชาติให้ความสนใจไม่มากเท่าที่คิดว่าเรามีศักยภาพระดับนี้ จะเพราะไฟฟ้าหรือเปล่า ผมตอบไม่ได้ แต่ผมว่าโลกทุกวันนี้ ไฟฟ้า ขาดไม่ได้หรอกครับ และประเทศไหนไม่มีเสถียรภาพด้านนี้ ผมว่ามันเป็นปัจจัยที่บริษัทระดับบิก ๆ เขามองแน่นอนครับ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
ต้องยอมรับว่า ความมักง่ายของหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอำนาจ ผู้มีเงิน
ฝ่ายผลิตไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ นั้นเคยทำสิ่ง"มักง่าย"สร้างผลกระทบอันร้ายแรงต่อผู้คนรอบข้าง (กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะในอดีต ทำให้สุขภาพจิต,สุขภาพกาย คนใกล้เคียงแย่ เหม็นและทำให้ป่วยกาย)
ซึ่งคนยังไม่ได้รับผลกระทบก็เห็นกลัวไปด้วย
คนไทยไม่ได้ลืมง่ายเสมอไปนะครับ
ในบางเรื่องก็จำฝั่งใจนะครับ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องฝั่งใจหนึ่ง
(ผมก็ฝั่งคนหนึ่งนะ
คือโรงไฟฟ้าชีวมวลใกล้บ้านพ่อแม่ผม แต่ก่อนผมกลับไปก็ยังมีมักง่าย ปล่อยกลิ่นในบางช่วงเลย สร้างความทรมานให้ผู้คนใกล้ๆ รวมพ่อแม่ผมด้วย ถ้าอยากสร้างอีกไม่ว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ใกล้บ้านพ่อแม่ผม
ส่วนจะไปสร้างที่ไหนนั้นก็แล้วแต่ ผมไม่รู้ครับ)
ประเทศเราผู้มีอำนาจมีเงิน
ทำสิ่งไม่ดีไว้แต่ก่อนจึงเป็นเรื่องมาหลอกหลอน ในปัจจุบัน ก็บ่นได้ แต่จะโทษประชาชนที่ไม่เห็นด้วยไม่ควร
ก็ต้องมองดูอดีตของ ผู้มีเงินมีอำนาจในอดีตด้วยว่า ทำไมจึงเป็นแบบนี้
สำหรับคนกลัวเสถียรภาพทางไฟฟ้าผมก็เข้าใจนะ
ก็คุยกันไป หาทางสร้างความเชื่อมั่น สร้างได้แล้ว ก็ทำให้จริงใจ จริงๆ ให้เห็น อย่ามักง่ายซ้ำเติมกันอีก เขาก็ต่อต้านหนักขึ้นอีก
เพราะสร้างแล้วไม่ดี สุขภาพก็ค่อยๆแย่เลยทันที
แต่เสถียรภาพไฟฟ้ายังไม่แน่ว่าจะแย่มีปัญหาหนักจริงหรือไม่
(ผมไม่เก่งคิดแก้ปัญหาแทน ใครสามารถก็หาทางแก้กันไป)
จึงเป็นเรื่องว่าจะสร้างก็แล้วแต่
แต่ไม่ใช่ใกล้บ้านพวกผม
และพวกฝั่งใจอื่น(แบบมีพอสมควร)
จริง ๆ แล้วถ้ามองแยกประเด็นจริง ๆ เรื่องการสร้าง กับการดูแล หรือการทำผิดสเป็ค หรือการไม่วิจัยในเรื่องสิ่งแวดล้อม แล้วทำให้ได้ รวมไปถึงเมื่อเกิดความผิดพลาด แล้วแก้ไขอย่างไง ลงโทษใคร ตรงนี้ผมมองเป็นคนละประเด็น
แต่แน่นอนครับ มันเกี่ยวเนื่องกัน เวลาเกิดผลกระทบก็จะสร้างปัญหาให้คนในพื้นที่ และไม่แปลกที่จะถูกคนพื้นที่ต่อต้าน จะเจ็บแล้วฝั่งใจ หรือไม่เคยเจ็บแต่ฟังมาจนหลอนฝั่งใจไปด้วยก็แล้วแต่
แต่อย่างไรความจริงเรื่องปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงเป็นปัญหา ไม่สร้างเราก็เกิดปัญหาจริง ๆ หน่วยงานย่อยที่ดูแลเรื่องการสร้าง การวิจัย ก็ต้องทำไป แล้วฝ่ายตรวจสอบ ดูแล บริหาร จัดการ ก็ต้องทำกันไป
ทำไม่ดี มันก็ส่งผลร้ายตามมา แต่ไม่ทำผมคิดว่าไม่ใช่ คงต้องไปแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ไม่น่าจะมองว่าไม่สร้างเลย หรืออย่าสร้างใกล้บ้านฉัน หรืออะไรประมาณนี้
แน่นอนว่า ตอนนี้ถ้ามีโครงการมาสร้างใกล้บ้านผม ผมก็กังวล และไม่อยากให้เกิดใกล้ ๆ บ้านผมแบบคุณแน่นอนครับ แต่อย่างไรก็ดี ผมคงสืบสาวไปถึงประเด็นเรื่องการวิจัย ความน่าเชื่อถือในการวิจัย การตรวจสอบ ติดตามผลภายหลัง และถามถึงปัญหาต่าง ๆ รวมไปถึงผมจะเก็บรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไว้เพื่อเผื่อจำเป็นต้องแก้ปัญหา จะได้มีเป็นข้อมูล และคงต้องลงมือทำกับคนในพื้นที่
ผมไม่เห็นด้วยกับการค้านแบบไม่มีข้อมูล และนำประเด็นเก่า ๆ มาพูดโดยไม่มองถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างที่อาจารย์ทั้งหลายในงานสัมมานาพูดถึง
ผมไม่ทราบว่า เทคโนโลยี การจัดการที่ก้าวหน้าเหล่านั้น จะลงมาใช้ในไทยไหม แต่มันเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ และคนในพื้นที่ที่จะต้องตื้นตัว แต่ไม่หนีจากไป หรือปฏิเสธลูกเดียวถ้ามันจะมา
กรณีต้องปฏิเสธ ก็คงต้องทำเต็มที่ถ้ามองว่ามันไม่ work ไม่ ok แต่คงไม่ทำแบบพูดลอย ๆ ไม่มีข้อมูลปัจจุบัน หรือข้อมูลอ้างอิงจากการวิจัยในพื้นที่ เพราะมันไม่ใช่เหตุผลของที่นั้น และไม่ตรงกับข้อมูลปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ผมเข้าใจดีครับ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=j2sKUKsP-2Y&t=612s
https://www.youtube.com/watch?v=p7BsiOtUz54&t=14s
เผื่อสนใจ บางช่วงข้อมูลขาดหายไปบ้างนะครับ เพราะอาจารย์ที่ดูแล แกเล่นจ้างผมถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอคนเดียว แถมอยากจะลดค่าใช้จ่าย ผมก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นผมจะคุมกล้องวิดีโอตัวเดียว ตั้งแบบนั้นเองนะ แล้วอาจจะมีจังหวะที่ขาดหายบ้างนะ
อาจารย์แก ok ผลก็เลยงานด้านถ่ายทำออกมาอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ก็อยู่ครบเกือบหมดครับ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
จากที่ผมเข้าใจ ดูจากภาพรวมแล้วพลังงานส่วนใหญ่ของประเทศถูกป้อนสู่อุตสาหกรรมครับ
ดังนั้นตามแนวความคิดผมนะ
1) ถ้าอยากกระจายรายได้ ควรมีโรงไฟฟ้าชีวะมวล
ข้อสำคัญคือ สามารถใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตรได้ เดี๋ยวนี้มีโครงการ ทำสัญญาปลูกพืชเพื่อป้อนโรงงาน พืชเช่น กระถินยักษ์
แต่ไม่ควรทำเป็นสัญญาผูกขาดจนเกินไปเพราะจะไม่เป็นธรรมกับภาคเกษตร ขอให้มีราคาดีกว่าอ้อยหรือยางพารา แค่นี้ภาคเกษตรก็พร้อมจะสร้างให้แล้วละครับ
2) และกังหันลม แต่ควรตั้งอยู่ในทะเล เพราะมลพิษทางเสียง (จะเกิดอาชีพนอกชายฝั่ง อีกอาชีพที่ค่าหัวแพงระดับพวกขุดน้ำมัน )
3) ผมสนับสนุนให้ออกแบบ ระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ ให้ทุกครัวเรือนสามารถมีโซล่าเซลไว้ใช้ได้ และกำหนดมาตรฐานสำหรับจ่ายคืนระบบ ไม่ใช่กีดกันแบบทุกวันนี้
ผมไม่สนับสนุนพลังงานถ่านหินเพราะเราต้องนำเข้า
ผมไม่สนับสนุนนิวเครีย เพราะเราต้องนำเข้า และมลพิษจากกาก ความรู้เก่าที่ผมเคยมีคือ กากจะโดยเก็บไว้ในห้องปูนหนาๆ แล้วก็ปล่อยให้ครึ่งชีวิตจัดกัดการมันไป
และสุดท้ายไม่มั่นใจในคนดูแลระบบ
+1 กรณี ไม่มั่นใจคนดูแลระบบ
,การดูแล การตรวจสอบ การบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐ
และความมักง่ายเอาแต่ได้ของผู้ผลิต (แม้รัฐหรือเอกชน)
ผิดมากครับ รถพลังไฮโดรเจนไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากการสลายพันธะนะครับ แต่พลังงานนั้นได้มาจากการรวมตัวของโมเลกุลเล็กๆครับ
การหาไฮโดรเจนนี่ก็ไม่ได้สะอาดนะครับ - -"
ไฮโดรเจน มันสร้างได้หลายแบบครับ แบบสะอาด 100% ก็มี แบบสกปรกก็มี อันนี้ผมว่าอยู่ที่เราเลือกแล้วแหละ
ไฮโดรเจนมันระเบิดได้ไม่ใช่เหรอครับ คุมไม่ดีอันตรายกว่าน้ำมันอีกมั้ง เรือเหอะในอดีดก้เคยไฟลุกท่วมมาแล้ว ใช้ในไทยจะไม่เสี่ยงไปหน่อยเรอะ อากาศยิ่งร้อนๆ
อย่าสับสนกับระเบิดไฮโดรเจนนะครับมันไม่ถึงขนาดนั้น
แต่อันตรายมันก็พอกับน้ำมันนั้นล่ะ ติดไฟได้ ระเบิดได้
อันตรายกว่าน้ำมันเยอะครับ ติดไฟง่ายกว่าแถมไฟที่เกิดจากการเผาใหม้ของตัวมันก็แทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า น้ำมันมันระเบิดยากนะ
เรื่องความอันตรายพูดยากครับแล้วแต่มุมมอง ไฮโดรเจนมวลมันเบามากๆ ถ้ารั่ว หรือระเบิด แทบจะระเบิดวูบเดียวหายเลย ถ้าปริมาณแค่เป็นถังๆ บรรจุแค่พอใส่ไปในรถยนต์ให้ขับเคลื่อนไป แต่ถ้ามองโหดๆแบบว่า อัดไปจนเป็นของเหลวเหมือน LPG อันตรายน่าจะมาจากแรงระเบิด มากกว่าติดไฟนะครับ เพราะเจอแรงดัน 1atm ก็วูบหายเหมือนเดิม
แต่น้ำมันไหลมา กว่าจะเผาไหม้หมด
จริงๆ ผมว่ามันก็อันตรายกันไปคนละอย่าง
สิ่งที่ไทยควรทำที่สุด คือ เป็นผู้ผลิตเชื้อเพลิง Hydrogen รายใหญ่ที่สุดในโลก
อัดก๊าซไฮโดรเจนเจนมากๆรถไฟมันจะไม่ลอยหรอ ?
เคยอ่านบทความ เขาว่าไฮโดรเจนมันยากในการจัดเก็บขนถ่ายนะครับ ค่าใช้จ่ายตรงนี้มันสูงเลยยังไม่มีการใช้กันจริงจัง
ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนยังสูงอยู่ รวมถึงความสูญเสียในขั้นตอนการผลิต และขนส่งยังสูงอยู่มาก รอให้นิ่งๆ ก่อนแล้วถึงจะน่าสนใจ เราประเทศปลายน้ำ รอให้นิ่งแล้วค่อยลองก็ไม่เสียเวลา ยกเว้นว่าเราพัฒนาเทคโนโลยีเอง อันนั้นก็อีกเรื่อง
Luckily, in the history of humanity, nothing bad has ever happened from lighting hydrogen on fire.
zeppelin?
กลัวมันระเบิด เหมือนเรือเหาะในอดีต
ของไทยน่าจะใช้ปฏิกรอาร์คครับ
เนื่องจากtonyจะมาช่วยสร้าง
เติม 1 ครั้ง ต่อ 1000กม เอิบ เติม 1 ครั้งนี้ กี่ลิตรครับ
ไทยไม่คิดจะใช้หรอก ผลประโชยน์ด้านพลังงานมันเยอะ