อินเทลติดหล่ม 14 นาโนเมตร นับตั้งแต่การออก Skylake ในปี 2015 ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามมายัง 10 นาโนเมตรได้ตามแผน ทำให้ยุทธศาสตร์ Tik-Tok ต้องล่มสลาย และนับจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ยังอยู่กับสารพัดทะเลสาบ (lake) ที่ใช้สถาปัตยกรรมเดิมของ Skylake ที่ปรับแต่งเล็กน้อย บนกระบวนการผลิต 14 นาโนเมตรดังเดิม
(หมายเหตุ: อินเทลมี Cannon Lake 10 นาโนเมตร แต่เพียงแค่รุ่นเดียวและผลิตจำนวนจำกัดมาก)
แต่ปี 2019 สถานการณ์น่าจะเปลี่ยนไป เพราะอินเทลดูพร้อมแล้วสำหรับ 10 นาโนเมตร แถมยังเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 4 ปีนับจาก Skylake เป็นต้นมา เรียกได้ว่า Sunny Cove เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการผลิตและสถาปัตยกรรมไปพร้อมกันในรุ่นเดียว
ของใหม่ใน Sunny Cove แยกออกเป็นสองส่วน ได้แก่
ตอนนี้ยังมีข้อมูลของ Sunny Cove ออกมาไม่เยอะนัก เพราะเป็นแค่การเปิดตัวสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว ยังไม่มีชิปที่ใช้ Sunny Cove เปิดตัวออกมา และคงต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมในปีหน้า 2019
ซีพียู Sunny Cove ยังจะมาคู่กับจีพียูตัวใหม่ที่อินเทลเรียกว่า Gen11 (ข้ามจาก Gen9 ใน Skylake มาเป็น Gen11 เลย) ที่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก มีฟีเจอร์สำคัญที่จีพียูยุคใหม่ควรมีอย่าง tile-based rendering (NVIDIA มีในปี 2014) และ Coarse Pixel Shading
ภาพจาก @intelgraphic
Sunny Cove นับเป็นจุดเริ่มต้นของซีพียูตระกูล Cove (อ่าว) ที่จะตามมาในปีต่อๆ ไป ได้แก่ Willow Cove ในปี 2020 และ Golden Cove ในปี 2021
ที่มา - AnandTech, Ars Technica
Comments
รอดูว่าที่ 10nm จะทำได้ 5GHz หรือเปล่า แล้วถ้าทำได้จะมี TDP เท่าไหร่
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำได้ตั้งนานแล้วนิครับ
ตัว 8086k ที่ฉลองครบรอบ 40 ปี ก็ทำ 5GHz ได้เลยจากโรงงาน
ทำได้ที่ 14nm กับทำได้ที่ 10nm ต่างกันเยอะนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อีกนานแค่ไหน ไทยจึงสามารถ ผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำได้บ้าง
เอ๋เคยเห็นว่าทำได้นานแล้วนะครับ แต่จะผลิตสับซ้อนขนาดนี้สิทธืบัตรมันเยอะตลาดมันมีแตาตัวใหญ่เล่น ARM ทำมาก็ถูกสู้จีนไม่ได้ครับแร่สำคัญต้องซื้อจีนอีกที
ถ้าแค่จะ"ทำ"ก็ทำได้ TMEC ก็ทำมานาน(ไม่รู้ตอนนี้มีเจ้าไหนทำอีก เคยไปดูงานสมัย 150nm) แต่ได้ในขนาดเทคโนโลยีที่ล้าหลังผู้นำธุรกิจอยู่
แต่จะทำในเชิงธุรกิจ ยังไม่มีใครทำ ทั้งเงินลงทุนมหาศาล และเทคโนโลยีสิทธิบัตรขั้นสูง ฯลฯ
เอกชนในไทยตอนนี้มีแค่โรงประกอบ ที่รับ wafer สำเร็จจากโรง wafer fab ประเทศอื่น มาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วทำวงจรนี่แหละ
อีกอย่างช่วงนี้ขาลงของธุรกิจelectronics ในไทย ตัวเลข GDP น้อยกว่าภาคยานยนต์แล้ว ทั้งๆที่เคยเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด
คงต้องหวังสงครามจีนเมกา อาจจะทำให้ย้ายฐานกลับจากจีนมาบ้าง
เปลี่ยนจาก Process - Architecture - Optimization เป็น Process+Architecture (Sunny 2019) - 1st Optimization (Willow 2020) - 2nd Optimization (Golden 2021)
ปี 2022 Intel น่าจะได้ขาย 7nm (มีหลายข่าวคอนเฟิร์ม), 5nm ปี 2025 (อันนี้คือภาคบังคับ เพราะคู่แข่งอย่าง TSMC และ Samsung จะมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิพ 3nm วางขายแล้วในตอนนั้น)
ขุดทะเลสาบมานาน ต่อมาก็ขุดอ่าวต่อ 55
10 nm. ของอินเทลจะ OC all core ได้เท่าไหร่
สงสัยว่าทำไมค่ายอื่น เช่น TSMC, SS, Apple, AMD ทำได้ประมาณ 7 nm ในเมื่อสถาปัตยกรรมน่าจะใกล้เคียงกัน อาจต่างกันที่ชุดคำสั่ง ยิ่ง AMD ที่ตอนนี้ไป 7 แล้วแถมใช้บน Desktop/Laptop เหมือนกันด้วย
คิดได้สองอย่างครับคือ ครองตลาดมานานเลยชะล่าใจพัฒนาเทคโนโลยีไม่ทันคนอื่นเค้า ถ้าเป็นแบบนี้ก็ควรรีบพัฒนาเพราะ AMD นี่มาแรงจริงๆหลังๆ หรืออีกแง่คือทำได้แล้วกั๊กเอาไว้โก่งราคาขายเพราะตอนนี้ตัวเองก็เป็นเจ้าตลาดใหญ่อยู่แล้ว ให้ AMD พยายามตีตื้นขึ้นมาแล้วค่อยเอาเทคโนโลยีตบหน้าก็ได้
เห็นเคยมีคนบอกว่า 7nm ของคนอื่นไม่เหมือน 7nm ของ intel แต่ผมก็ลืมไปแล้ว ว่าต่างกันยังไง ตอนนั้นอ่านแล้วงงๆ
จำได้ว่า 7nm เป็นการตลาดหลอกคนซื้อ คือ มีแค่บางส่วนที่ 7 nm ที่เหลือก็มากกว่านั้น แต่ที่อินเทลจะมำคือ 10nm ทั้งชิปครับ
TSMC, Samsung <-- ตั้งโรงงานเอง ทำ 7nm ได้
Apple <-- จ้างผลิต
AMD <-- แยกโรงงานออกมาตอน 2009 ชื่อ GlobalFoundries ตอนนี้ไปจ้าง TSMC, Samsung แทน
GlobalFoundries <-- ทำได้แค่ 14nm
Intel <-- มีโรงงานเอง ทำได้แค่ 14nm และยังติดที่ 10nm
10nm ของ intel ถือเป็น class เดียวกันกับ 7nm ของ TSMC ครับ อยู่ในช่วงทรานซิสเตอร์ 50-100ล้านตัว/mm2
ปรกติถ้าเป็นตามนั้นจริง ทำไม intel ไม่เรียก 7nm เลยอ่ะครับ
ดูตามรูปในหน้านี้ครับ
จะเห็นว่าขนาดต่อหน่วยของ 10nm Intel จะใหญ่กว่าเจ้าอื่นเล็กน้อย (14,xxx vs 13,xxx) แต่ใช้ SDB ทำให้มีจำนวน transister ต่อพื้นที่ได้มากกว่า (10x vs 9x)
ส่วนทำไมไม่เรียก 7nm จริงๆก็เพราะ 10nm 7nm ในยุคปัจจุบันมันไม่มีความหมายแล้วหน่ะครับ ถ้าดูจากรูปจะรู้เลยว่าไม่มีอะไรบ่งบอกขนาดอะไรที่เป็น 7nm เลยครับ
อ่านเพิ่มเติมที่ 1,2 ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
กระจ่างเลยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ขอบคุณมากๆเลยครับ
ในแง่ของการใช้พลังงานต่อเกตล่ะครับ?
พลังงานขณะใช้บอกยากครับ รวมถึงความถี่ที่จะทำได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น Intel 14nm++ ที่ใช้ในยุคนี้นั้นขนาดใหญ่กว่า 14nm ใน Skylake แต่ก็กินไฟน้อยกว่ากัน 50% และให้ performance(ความถี่)ที่มากกว่าครับ รวมถึงมีข่าวว่า performance ของ Intel 10nm รุ่นแรกจะยังไม่เท่า 14nm++ ด้วย ต้องรอ 10nm+ ทำให้ผมสงสัยว่ามันจะทำ 5GHz ได้หรือเปล่านี่แหละ
ดังนั้นคงต้องรอมันออกมาก่อนถึงจะมีข้อมูลแหละครับ
อย่างไรก็ตามเราสามารถเทียบพลังงานขั้นต่ำที่ใช้ได้ครับ ให้ดูที่ minimum core voltage ซึ่ง Intel อยู่ที่ 0.7V เท่ากับ TSMC (อันที่จริงก็ 0.7 มาตั้งแต่ 14nm แล้วแหละ)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณครับ แบบนี้เล็กลงมีอะไรดีบ้างล่ะครับเนี่ย เหมือนจะดีขึ้นแค่ใส่ได้มากกว่าในพื้นที่เท่ากัน?
ก่อนหน้านี้ก็เหมือนจะบอกว่าเล็กลงเพื่อประหยัดพลังงาน แต่พอลดขนาดด้านกว้างเกตก็ไปเพิ่มความสูงแทน (หรืออันนี้ผมเข้าใจผิด?) มันก็น่าจะทำให้ประจุไหลเพิ่มขึ้น?
เล็กลงจะการันตีการประหยัดพลังงานขณะ idle+ช่วงความถี่ต่ำอยู่แล้วครับ นอกจากนี้ถึงเล็กลงช่วงแรกอาจจะไม่การันตีประสิทธิภาพ+พลังงานที่ดีขึ้น แต่ในระยะยาวเมื่อ optimize เพิ่มแล้วก็มีศักยภาพสูงกว่าที่ใหญ่กว่าครับ
ยกตัวอย่างเช่นข่าวที่ว่า 10nm ช่วงแรกอาจจะสู้ 14nm++ ไม่ได้ แต่พอเป็น 10nm+ ก็ชนะ 14nm++ ครับ หรืออย่าง 14nm ช่วงแรกๆก็ทำได้กับแค่เพียง Core Y ที่เป็นความถี่ต่ำ หลังๆจึงกลายเป็น Skylake -> Coffee Lake ในปัจจุบันครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณครับ
"ต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมในปีหน้า 2019" กว่าจะออกขายได้จริง อย่างเร็วก็คงปลายปี 2019
ซึ่งตอนนั้น AMD เขาคงออก 7nm แล้ว (เพราะจะเปิดตัวต้นปี2019นี้แล้ว)