หลังจาก Arm เปิดตัวซีพียูชุดใหม่สำหรับบริการคลาวด์ ก็มีการพูดคุยกันในเว็บบอร์ด real world technologies ถึงความตื่นเต้นถึงการที่จะมีตัวเลือกใหม่ๆ เข้ามาในบริการคลาวด์ แต่ระหว่างการพูดคุยไลนัส ผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ก็ถูกพาดพิงว่าเชื่อในการพัฒนาแบบ native ที่ต้องพัฒนาบนสถาปัตยกรรมเดียวกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้รันแอปพลิเคชั่นมากเกินไป
ไลนัสเข้ามาตอบความเห็นนี้ โดยยืนยันว่าหากนักพัฒนายังไม่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มเดียวกันกับบนคลาวด์ได้ แพลตฟอร์มอื่นก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จ
เขายกตัวอย่างความสำเร็จของ x86 ที่สุดท้ายสามารถครองตลาดเซิร์ฟเวอร์ได้แทบเบ็ดเสร็จ เป็นเพราะบริษัทจำนวนมากใช้พีซีบ้านๆ รันงานบางอย่างอยู่ในบริษัทเรื่อยมา และเมื่องานเหล่านั้นสำคัญขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องการเซิร์ฟเวอร์ x86 พัฒนาการเช่นนี้ทำให้สุดท้ายแล้วผู้ให้บริการคลาวด์ต้องรองรับ x86 เป็นหลัก พีซีครองโลก และซีพียูสายอื่นๆ ตายไปทั้งหมด
เขาชี้ว่าแม้ Arm จะพยายามขายโมเดล hyperscaling ที่รองรับคอร์ได้มากถึง 128 คอร์ แต่ก็ไม่มีประโยชน์เพราะนักพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ราคาถูกๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันได้ และความเชื่อว่า Arm จะถูกกว่าก็ไม่มีทางเป็นจริงหากไม่สามารถขายได้ปริมาณระดับเดียวกับอินเทลทุกวันนี้
เขาแย้งนักพํฒนาที่เชื่อว่าเราสามารถพัฒนา cross-platform แบบอุปกรณ์เคลื่อนที่ทุกวันนี้ ว่าที่ทุกวันนี้นักพัฒนาทนกับการพัฒนา cross-platform เพราะแพลตฟอร์มเหล่านั้นอ่อนด้อยเกินกว่าจะพัฒนาจริงจังบนตัวแพลตฟอร์มเองได้โดยตรง แต่กับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ปกตินักพัฒนาสามารถพัฒนาบนเครื่องของตัวเองได้แล้ว แรงกดดันว่าทำไมจึงต้องทำ cross-platform จะหนักขึ้น
ที่มา - real world technologies
Comments
กดถูดใจยังไง ชอบคำพูดบทนี้ของพี่แกจริงๆ ผมก็คิดมานานแล้ว
นึกว่าเข้ามาจะเจอรูปนิ้วกลาง 555555
(ดีแล้วที่เป็นรูปนี้)
นิลุกซ์ => ลินุกซ์
-/\-
lewcpe.com, @wasonliw
พํฒนา —> พัฒนา
อัพเดต: อ้าว มีคนแก้ไว้แล้วข้างล่างครับ
อื่มมมม...นายแน่มาก
x86 ไม่ดีตรงไหน
เรื่องผูกขาดไงครับ ตามที่ Linus ระบุในข่าวเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
นอกจากผูกขาด arm ก็ผูกขาด mobile
เรื่องของเรื่องคือมีคนถือ license x86 เอาไว้ ทำให้ต้นทุนชิพ เป็น license กับการไม่มีการแข่งขัน
... ปัญหาคือ Arm ก็มี Arm Holdings ถือ license เอาไว้ และพฤติกรรมทางธุรกิจก็ปรับใด้ตลอดเวลา
ตัวที่น่าจะแก้ปัญหาใด้เด็ดขาดคือ RISC-V (royalty-free for any purpose) ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ARM ดีกว่าเรื่องการประหยัดพลังงานครับ
เปลืองแบต+ร้อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่ได้เกิดบนตลาดสมารท์โฟน
พูดตรงประเด็นดีครับ
เยี่ยม
แต่ผมมองว่า arm เองก็กำลังตั้งไข่อยู่นะ มือถือก็พกกันทุกคน สเปคมือถือก็เริ่มใกล้เคียงพื้นฐานของ pc
แอฟหลายรายการก็ใช้งานได้ดีบนมือถือ
เกม ก็เริ่มทยอยลงมือถือกันพรึ่บ
ถ้านักพัฒนาสามารถเอามือถือต่อจอแล้วเปิด IDE เขียนโปรแกรม + คอมไพล์ในเครื่องตัวเองแล้วรันได้ ผมว่าก็เป็นไปได้นะที่อาจจะเกิด
แต่ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ทำไมนักพัฒนาถึงเลือกจะเขียนโปรแกรมบนมือถือ ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถเปิด Laptop ที่รัน Core i9 กับ RAM 32GB แล้วทำงานได้เหมือนกัน และเร็วกว่าด้วยน่ะครับ (แถมไม่ต้องมาต่อจอ ต่อคีย์บอร์ด ต่อเมาส์ให้ยุ่งยาก เปิดฝาแล้วทำงานได้เลย)
หรือถ้าจะใช้เป็น Terminal ต่อเข้า Server ผมว่า Dev ส่วนใหญ่คงไม่ทำงานโดยตรงกับ Server ไม่ว่าจะเป็น Development Server หรือ Production ก็ตาม (ถ้าอันหลังนี่ถือว่าบ้าบิ่นทีเดียว) แต่จะทำงานกับเครื่องตัวเองให้เสร็จแล้วส่งไป deploy เข้า server มากกว่านะ (รัน server ในเครื่องตัวเอง)
IDE, Library กับ Complier ก็คงเป็นอีกปัญหาที่มันทำให้ยากด้วยแหละครับ
อีกอย่างคือ Developer บนโลกเราบางคนคิดว่ามีแค่คนทำ API, Website กับพวก Mobile แต่ถ้าดูดีๆ Spreadsheet, Word processor, Illustrator Software, Science Program พวกนี้ก็ต้องมี developer เหมือนกัน ผมว่าพวกนี้แหละที่น่าจะต้องการ x86 มากกว่า
RISC > CISC
เขาแย้งนักพํฒนาที่เชื่อว่าเราสามารถ
พํฒนา > พัฒนา
คำถามคือ arm ทุกรุ่นใช้ชุดคำสั่งเหมือนกันทั้งหมดรึเปล่า?
ชุดคำสั่ง RISC น่าจะมี common มั้ง
ก็มีเป็นรุ่นๆครับ
เช่น ARMv6, ARMv7, ARMv64
Notebook/Windows 10/Linux สำหรับ CPU ARM แล้ว CPU ARM คงมาเป็นตัวเลือก CPU Intel ที่ทางที่สำคัญครับ
มันก็ไม่ใช่ว่าไม่มีหนทางนี่ ARM ก็กำลังจะรุกตลาดโน้ตบุคราคาประหยัดอยู่ MS กับ Apple ก็ดูจะเอาด้วยอยู่นะ
ผมว่าปัจจัยการใช้ งานcpu บนสถาปัตยกรรมอะไร มันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า งานบน sever บางตัวต้องการการประมวลผลที่ไม่ต้องใช้คำสั่งซับซ้อนยังไง Arm ก็กินขาดในเรื่องพลังงานต่อผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย เหมือนกับ arm ที่อยู่บน mobile และสมัยที่ intel ออก cpu มาชน Arm สุดท้ายก็แพ้ไป
ไม่ว่า x86 จะใช้ในการพัฒนาหรือดียังไงแต่ถ้าต้นทุกในบริการเดียวกันเทียบกับ arm ก็ย่อมสูงกว่าในงานทั่วไป ถ้าบันดาผู้ให้บริการมีคนพัฒนาระบบ server บน arm ออกมาชนกับบริการที่มีอยู่แล้ว ทั้งราคา server และ พลังงานที่ใช้ต่อหน่วย ลดลงมาก การที่ยังฝืนไม่ปรับตัวก็อาจจะต้องแบกพาระต้นทุนที่สูง ซึ่งก็น่าจะอีกนานแต่ถ้าคนเริ่มธุรกิจใหนก็อาจจะมอง server arm ไม่มากก็น้อยที่จะมาทำตลาดต่อจากนี้
แต่ x86 เองความแข็งแกรงเรื่องประสิธิทธิภาพอยู่ ยังไงก็ยังคงอยู่ต่อไปแต่ฝ่ายใหนจะชิงส่วนแบ่งการตลาดก็น่าจะอีกเรื่องหนึ่ง
ARM มันแรงขนาดไหนกันเชียว เห็นตัวเลข benchmark ว่าแรงเทียบเท่า Core i แต่ไม่เห็นการใช้งานจริง