FCC หรือกสทช. สหรัฐฯ ประกาศข้อเสนอการบังคับให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องแจ้งตำแหน่งในแนวตั้ง (แกน z) ให้กับหน่วยงานรับแจ้งเรื่องฉุกเฉินหรือหมายเลข 911 ในสหรัฐฯ
เดิม FCC เคยกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแจ้งพิกัดของผู้โทรอยู่แล้ว แต่บังคับเฉพาะแกน x และ y โดยเว้นแกน z เอาไว้เนื่องจากยังไม่มีผลทดสอบว่าสามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนพอ
ข้อเสนอนี้จะเปลี่ยนกฎให้ผู้ให้บริการต้องอัพเกรดระบบแจ้งตำแหน่งให้แจ้งระดับความสูงได้ด้วยความแม่นยำ +- 3 เมตร ทำให้เจ้าหน้าที่รู้ "ชั้น" ของผู้แจ้ง หากมีการเปลี่ยนกฎจริงก็จะเริ่มบังคับเดือนเมษายน 2021 หรืออีกสองปีข้างหน้า
ที่มา - FCC
ภาพโดย JESHOOTS-com
Comments
เพิ่งรู้ว่ามัน locate ได้ละเอียดขนาดนี้ครับ
ผู้ให้บริการมือถือจะรู้ได้ยังไง?
หรือตัวโทรศัพท์ จะส่งพิกัด gps ให้ผู้บริการมือถือแบบออโต้?
คำนวณจากตำแหน่งเสาส่งหลายๆเสาเพื่อให้ได้ตำแหน่งของเครื่องมาครับ
น่าจะจากเสาในอาคารเองด้วยแหละมั้งครับ ปกติในอาคารก็แทบจะต้องติดทุกชั้นอยู่แล้วถ้าเป็นสำนักงาน
ถ้าไม่มีก็น่าจะลำบากอยู่
AIS สั่งเปิด gps เพื่อเก็บข้อมูลทดสอบสัญญาณได้ ?
+1 ผมว่าสมัยนี้สั่งเครื่องส่งข้อมูลกลับออกมาเลยมากกว่า ถึงสัญญาณ GPS จะอ่อนหรือไม่มี ปกติระบบ A-GPS มันก็เอาค่าจากเสาส่งไรพวกนี้มาคิดคำนวณให้อยู่แล้ว
ความจริงแกน z ถ้ารู้พิกัดของพื้นที่จากการคำนวณ x,y ก็น่าจะหาระดับผิวดินในพื้นที่นั้นมาคำนวณหาแกน z ต่อได้ หรืออย่างน้อยก็บันทึกระดับพื้นดินของเสาไว้ก็น่าจะคาดคะเนได้ ยกเว้นกรณีเสาอยู่บนเขา เมืองอยู่ในหุบเขานั่นแหล่ะ
ในข่าวบอกว่าอาคารครับ ลองนึกถึงคอนโด 100 ชั้นแล้วใช้วิธีการที่คุณอธิบายมาลองคะเนแกน Z ดูครับ
อันนี้ถามเป็นความรู้นิดนึงครับ ความเข้มของคลื่น ที่ปล่อยจากเสาสัญญาณที่ใกล้ที่สุด ในสภาพความสูงที่แตกต่างกัน โดยวัดจากจุดเดียวกันในแนว x,y วัดไล่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และวัดจากพื้นที่ภายนอกอาคาร มันแปรผันตามความสูงไหมครับ ถ้าแปรผัน มันมีสัดส่วน หรือตัวแปรที่ชัดเจนไหมครับ
ถ้าแบบนั้นน่าจะได้นะครับ ผมก็ลืมนึกไปว่าพอรู้แกน x, y + ความแรงคลื่นสัญญาณแล้วก็คำนวณหาแกน Y พอได้ ยิ่งถ้าใช้หลายเสาน่าจะแม่นยำมากขึ้น
ขอบคุณครับ
ดูจาก microcell ของผู้ให้บริการก็ได้ครับ ว่าอยู่ชั้นไหน