กูเกิลอธิบายเบื้องหลังของ Stadia บริการเกมสตรีมมิ่งผ่านคลาวด์ว่า เกมที่ประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ ใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นพิเศษจาก AMD และรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ข้อมูลที่กูเกิลเผยในงานคือ ฮาร์ดแวร์หนึ่งตัวใช้ซีพียู x86 รุ่นปรับแต่งพิเศษ (Custom x86 Processor) ไม่ระบุยี่ห้อ สัญญาณนาฬิกา 2.7GHz, Hyperthreaded และรองรับชุดคำสั่ง AVX 2, แรม 16GB
ส่วนจีพียูเป็น AMD Radeon รุ่นที่ใช้ในศูนย์ข้อมูล ปรับแต่งพิเศษให้กูเกิลโดยเฉพาะ ตัวจีพียูใช้แรมแบบ HBM2 ECC, หน่วยประมวลผล 56 compute unit และมีสมรรถนะรวม 10.7 TFLOPS ซึ่งเทียบกับจีพียูของ Xbox One X (ที่ทำโดย AMD เหมือนกัน) แล้วมีสมรรถนะเพียง 6 TFLOPS, ส่วน PS4 Pro คือ 4.2 TFLOPS
สมรรถนะระดับนี้ทำให้ Stadia สามารถรันเกมที่ 4K @ 60 FPS ได้ในเวอร์ชันสมบูรณ์ตอนเปิดตัวจริง
ส่วนระบบปฏิบัติการเป็นลินุกซ์ไม่ระบุรุ่น และกราฟิกทั้งหมดรันอยู่บน Vulkan ซึ่งเกมที่สาธิตอย่าง Assassin's Creed Odyssey ก็ได้รับการพอร์ตจาก Ubisoft มารันบนลินุกซ์ด้วยเช่นกัน
Comments
ไส้ในเป็น Vega56 สินะ ตัวเลขพอๆกันเลย
End Game
หมายความว่า Stadia 1 User ใช้ resource ของ 1 Stadia Unit เพื่อ process เกม 1 เกม แล้ว Stream ออกมาและ interact กับ user ไปด้วยในเวลาเดียวกัน
งั้นก็ให้อารมณ์ประมาณ PS4 Remote Play อะไรแบบนี้รึป่าวคับ (PS4 ก็น่าจะเป้น Linux Based)
ประมาณนั้นครับ
แต่น่าจะมี customize feature อะไรหลายๆอย่าง ด้วยความที่เครื่องมันอยู่บน cloud ทั้งหมด connection ระหว่างเครื่องมันเร็วมาก
พอ user ปิดเกมไป user ใหม่ก็มาสวมแทน ก็เป็นการประหยัด resource ได้ประมาณนึงเหมือนกันนะครับ
ทั้งนี้ Microsoft ก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
ทำไม game console ชอบใช้ amd
การ์ดจอ + CPU คงได้ราคาดีกว่า
solution เขาครบ จบที่เดียว
I need healing.
เท่าที่รู้คือ intel ไม่รับทำ custom cpu แต่ amd รับทำ รวมถึง gpu ของ amd ก็ดีกว่า intel และถ้าจับยัด cpu กับ gpu มารวมกันบนชิปอันเดียวได้ การทำระบบสื่อสารระหว่าง cpu กับ gpu น่าจะทำได้ดีกว่า รวมถึงการทำมาตรฐานเฉพาะขึ้นมาใหม่ด้วย ซึ่งถ้าไปจ้างสองบริษัทมาทำมันจะยุ่งยากจนเหนื่อย
AMD รับทำชิบตามความต้องการลูกค้า โดยสามารถผลิตในปริมาณมากพอในช่วงเวลาสั้นๆ คุณภาพดีพอ มีอิสระในการออกแบบมาก ในราคาที่สมเหตุสมผลครับ
อันท้ายเรื่องราคานี่สำคัญสุด เพราะถึง Intel จะรับทำแบบเดียวกัน (อันนี้ผมไม่รู้นะ แต่คิดว่า Intel ไม่มีบริการด้านนี้) ลูกค้าดูไปดูมา ใช้ AMD ดีกว่า
อ้อ ส่วนถ้าสงสัยว่าทำไมไม่ใช้การ์ดจอ nVidia ล่ะ เหตุผลสั้นๆครับว่า 'ไม่มีบริการ custom chip + กำลังการผลิตไม่พอ'
sauce: ข่าวหลายปีที่แล้ว หรือถ้าผมจำผิดก็บอกผมด้วยละกันครับ :P
เดี๋ยวพอ ps5 , xbox two ออกก็มีข่าวว่า "เออแรงว่า stadia ถึง 50% ว้าว"
server base แบบนี้ ... stadia น่าจะ upgrade ตามได้แทบจะทันที
... ดีไม่ดีอาจจะออกแบบมาเป็น scalable มาตั้งแต่แรก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เป็น scalable แต่แรกเลยครับ
ตอน present มีช่วงนึงบอกว่า เกมใช้ 1gpu unit
น่าจะใช้หลายเครื่องประมวลผลได้ด้วย
ประเด็นที่ผมจะสื่อคือ ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ครับว่าสเปคอะไรเท่าไหร่ เหมือนแค่ต้องการโจมตีคนอื่นหรือจะโชว์แค่นั้นเองเพราะเรื่องสเปคมันไม่มีทางจบมันไปเรื่อย ๆ เกทับกันไปเรื่อย ๆ ฮ่า ๆ
ให้ลองสมมุติว่าตัวเองเป็นพ่อค้าครับ
ก็บอกมาเลยว่า power by AMD หุ้นamd จะได้พุ่งไปอีก เราชอบเชียร์มวยรองอยู่แล้ว
อยากลองเลยแหะ อยากรู้ฟิลลิ่ง มันจะต่างกันมากไหม
เอาจริงๆนะ สงสัยไม่มีอะไรจะอวด ก็เลยเอาสเปค Server มาเทียบกับ Console ที่เล่นตามบ้าน ทั้งๆที่บริการ Game Streaming นี่เค้าสนใจกันด้วยเหรอว่าใช้ Hardware เบื้องหลังอะไร
เค้าสนใจกันว่า latency เยอะไหม ภาพที่ได้บนจอฝั่งคนเล่นดีแค่ไหน แล้วมีเกมอะไรให้เล่นมั่ง คิดราคาเท่าไหร่ ..ซึ่งไม่มีบอกเลยซักอย่าง
+1
ให้เดานะครับผมว่ามันต้องมาโม้แบบนี้เพื่อโฆษณาขายของก่อนนั่นแหละเพราะ 1.ลาเทนซี่ไม่โม้เพราะยังไม่ได้ให้บริการจริงทดสอบมาดีแค่ไหนทำจริงอาจล่มแบบ Pokémon go ตอนแรกก็ได้ 2.ภาพที่ได้ขึ้นอยู่กับเน็ตอยู่แล้ว ส่วนเรื่องคุณภาพกรณีเนตดีทั้งเฟรมทั้งความละเอียดก็คงตามข้อ1คือรอเทสก่อนสัญญาไปเดี๋ยวหน้าแหกเสียชื่อจะกู้คืนยาก 3.เกมที่มีอันนี้คงต้องไปตามจีบพาร์ตเนอร์ก่อนซึ่งการทำ pr ให้คนสนใจถ้าทำได้ดีก็ดึงดูดพาร์ตเนอร์มาได้ด้วยดีกว่าไปขายแบบที่พาร์ตเนอร์ยังไม่รู้ฟีดแบคทำให้ชวนง่ายขึ้น
สินค้าสมัยนี้ต้องมีการสร้าง Story เป็นแรงดึงดูดใจให้ซื้อสินค้าครับ
ถ้าอวดอะไรได้เขาจะอวดหมด เช่น ใช้วัถุดิบจากการรีไซเคิล ใช้วัตถุดิบจากประเทศยากจนเพื่อช่วยสร้างงาน กระบวนการผลิตทำด้วยมือด้วยความปราณีต หรือใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำ และสิ่งอื่นอีกมากมาย ก็ใช้เพื่อการโฆษณาได้หมดครับ
หลายคนไม่สน story ครับ บางคนสนใจว่าราคาจับต้องได้ไหม หรือราคาเท่าไร เพราะ story มันน้ำล้วนๆ อ่ะ
ผมเองก็ไม่สนใจ story อ่ะ
อันนี้เล่าให้ฟังแบบฮาๆ เมื่อคืนผมหารีวิวบน YouTube เพื่อฟังเสียงคีย์บอร์ด K380 แต่ดูไปประมาณ 20 วิดีโอ ไม่มีอันไหนที่คนทำวิดีโอให้ฟังเสียงเคาะแป้นพิมพ์เลย คือพูดๆๆๆๆๆๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ
คือจะบอกว่าบางทีสิ่งที่คนพยายามเผยแพร่ กับสิ่งที่คนอยากได้ข้อมูลอยากรับชมมันก็สวนทางกันอ่ะ
มันเรียกว่าสร้างจุดเด่นให้สินค้าตัวเองครับ
สมมติ คุณขายข้าวมันไก่ คุณตั้งราคา 30 บาท เออ มันก้ถูก จับต้องได้ ก็ขายได้เฉยๆ เพราะข้าวมันไก่ ไม่ได้มีคุณร้านเดียว
แต่ถ้าคุณมีสตอรี่ เป็นสูตรเด็ดจากสิงคโปร์ น้ำจิ้มสูตรลับตกทอดมาจากราชวงศ์ฮั่น คิดจานละ 50 อาจจะขายดีกว่าจานละ 30 ก็ได้
การขายของ มันไม่ใช่แค่ price point + feature แล้วจบครับ มันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ
แล้วต่อให้ price point ที่ตลาดรับได้ อาจจะไม่ได้ต้นทุน หรือได้กำไรไม่คุ้มด้วยซ้ำ
ผมเข้าใจครับ แต่ผมไม่ได้อยากดูอ่ะ
แล้วหมูย่างนมสด กับข้าวมันไก่มีสตอรี่จานละ 50 ผมไม่กินนะ เพราะสตอรีกับมูลค่าเพิ่มที่ใส่มามันไม่ได้เสริมคุณภาพใดๆ อ่ะ ขายของแบบนั้นไม่นานก็เจ๊งครับ
อันนี้ไม่ได้พูดถึง Stadia นะ ผมว่ามันดีอยู่แล้ว แต่ present ตัวนี้แค่ทำข้อมูลมาไม่ครบแค่นั้นแหละ อาจเพราะยังไม่ได้ทำราคา หรืออาจยังไม่พร้อมอะไรก็แล้วแต่
สตอรี่มันมักจะพัวพันมาถึงคุณภาพของสินค้าด้วยนะสิ ...
อย่าง ทำไม เป็ปซี้ / โคก ถึงตั้งราคาสูงกว่า est ใด้ หรือ ทำไม apple ถึงตั้งราคาสูงกว่า hp ใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไปกันใหญ่
ผม: อยากรู้ราคา ไม่ได้อยากรู้บลาๆๆ อ่ะ
คนอื่น: เนี่ย story สำคัญ
ผม: อยากรู้ราคา
คนอื่น: story มันช่วยให้สินค้ามีเรื่องราว สร้างบลาๆๆ
ผม: คืออยากรู้ราคา อะไรกันนักหนา ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
คุณไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย
จริง ๆ แต่ละคนมีวิธีเลือกสินค้าแตกต่างกันด้วยแหละ ไม่อย่างนั้นพวกที่ขายของผ่านทีวีคงขายไม่ได้หรอก ผมเคยเจอมือถือราคา 2,490 ที่ขายผ่านช่องรายการชื่อดัง สตอรี่ยาวมาก เล่าไปเกือบ ๆ 30 นาที ทั้ง ๆ ที่มือถือเครื่องนั้นผมสามารถหาซื้อได้ที่ร้านตู้ในห้างแถวบ้านในราคา 1,900 เหมือนรายการทีวีพยายามสะกดจิตคนซื้อ พยายามทำให้คนลืม ๆ เงื่อนไขเยอะแยะที่มีอยู่และซื้อสินค้าของเราให้ได้ (แถมได้ผลกับคนส่วนใหญ่เสียด้วย)
ฮ่าๆๆๆๆ ร้ายกาจ
เวลาพูดถึง การสร้าง story สินค้า คนชอบไปยกตัวอย่างตลกๆแบบข้าวมันไก่ ใช้ไก่ฟีนิกส์จากอูกานดา ลูกชิ้นปลาอะแมซอน อะไรแนวนี้ มันทำให้เข้าใจผิด คิดว่า story คือการแต่งเรื่องโม้ๆมาขายของ ซึ่งใช้ไม่ได้ผลหรอก
การStory สินค้าจริงๆมึนลึกล้ำ และเป็นนามธรรมกว่านั้นเยอะ เช่นใช้ยี่ห้อนี้ ดูดี ใช้ยี่ห้อนั้นดูเป็นผู้ใหญ่ ใช้ของผมแล้วคุ้มค่ากว่า ไม่ใช่เรื่องเล่าตลกๆอะไรที่ไม่เกี่ยวกับผู้บริโภค ไม่มีใครสนหรอกครับ
ไม่เสมอไปครับ
วันก่อนแถวบริษัทมีโตเกียวร้านนึงมาเปิด คนที่ทำเป็นเด็กวัยประมาณประถม-ม.ต้น ทำเพื่อหารายได้ช่วยทางบ้าน
ผลคือแถวยาวข้ามไปอีกตึกนึง ทั้งที่รสชาติก็ไม่ต่างกับร้านโตเกียวเจ้าเก่าในซอยเลย
หรืออย่างสตาร์บัคส์ที่พยายามพูดเรื่อง fair trade ตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำ ใช้วัสดุย่อยสลายง่าย
จะเห็นว่า story พวกนี้ไม่มีผลอะไรโดยตรงกับผู้บริโภคเลย และไม่สามารถสร้าง branding ที่ให้ภาพลักษณ์กับตัวผู้บริโภคได้ด้วยซ้ำครับ
ผมว่าทั้งสองอัน ก็ story นะครับ
+1 อ่านแล้วก็ งง ทั้งสองเรื่องที่ยกมาก็ story ทั้งนั้น แถมมีผลกับผู้บริโภคโดยตรงด้วย ทั้งคิวที่ยาวของร้านโตเกียว
หรือคนที่เลือกใช้บริการสตาร์บั้คเพราะเอาแก้วตัวเองไปซื้อกาแฟได้
การที่เด็กคนนึงหาเลี้ยงตัวเอง เกี่ยวข้องยังไงกับการที่คนต้องอยากซื้อจนแถวมันยาวเหรอครับ?
แถวยาวเป็นปลายเหตุนะครับ ต้นเหตุคือคนไปซื้อเพราะ story ของเด็ก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผู้บริโภคเลย
แล้วการที่สตาร์บัคส์เลือกทำ fair trade กับเกษตรกร หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ย่อยสลายง่าย(ซึ่งเป็นคนละเรื่องเดียวกันกับการเอาแก้วตัวเองไปซื้อกาแฟ) มันมีผลกับผู้บริโภคยังไงเหรอครับ?
ลองอ่านย้อนขึ้นไปว่าผมแย้งความเห็นไหนอยู่ น่าจะเข้าใจได้มากขึ้นนะครับ
ทั้งสองอันที่ผมยกมาก็เป็น story ไงครับ แต่มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับตัวผู้บริโภคเลย
ผมแย้งคุณข้างบนที่ว่า”อะไรที่ไม่เกี่ยวกับผู้บริโภค ไม่มีใครสนหรอกครับ”
ผมก็ไม่สน แต่เอา server มาเทียบ console ฮา
มันแปลกยังไงเหรอครับ คือผมอ่านที่ข้างบนคุยกันแล้วงงๆ พอคุณมาบอกว่าเทียบกันแล้วฮา ผมยิ่งงงใหญ่เลย
จะว่าไป ผมเคยหาหูฟัง noise cancelling ก็ไปเจอกับคลิปของ "มคกจ" แล้วก็ได้ยินแต่คำว่า "ไม่ได้ยินอะไรเลย" ซึ่งผมก็ไม่เชื่อเหมือนกัน
พอไปเจอช่องของบอส กีรติ จับยัดไมค์ลงหูฟังเลย ถูกใจมาก แต่ก็ไม่มีเงินซื้อ
https://www.youtube.com/watch?v=y6Mr90hNAOw
จริงครับ การนำเสนอมันต้องมีสาระน่าสนใจ ยาวพอสมควร สั้นไปก็ดูไม่น่าเชื่อถือ
ตลาดมีความกว้าง คนแต่ละคนมีความสนใจไม่เหมือนกัน มีประเด็นอะไรให้นำเสนอได้คุยได้ก็ต้องเอามาโชว์
แม้ว่าตลาดล่างจะไม่สนใจเรื่องพวกนี้ สนใจแต่ราคา แต่ก็ต้องมีคนสนใจอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
อย่างคลิปวีดิโอเสียง K380 ไม่ได้หายากอะไรเลย แต่ก็มีคนหาไม่เจอ อาจจะเพราะเขาไม่รู้ว่าคีย์เวิร์ดคืออะไร คีย์เวิร์ดที่น่าสนใจในความคิดของแต่ละคนไม่เหมือนเหมือนกัน ถ้านำเสนอออกมาไม่ครอบคลุมก็จะมีบางคนหาไม่เจอ ทั้งที่ถ้าใช้คีย์เวิร์ดที่ถูกต้องจะมีคลิปเรื่องนี้ออกมาให้เจอได้ในการหาเดียว ไม่ต้องหาถึง 20 อัน
https://www.youtube.com/results?search_query=K380+sound
เอ้อ ทำไมจะว่าผมไม่รีพลายตรงๆ ล่ะ ผมไม่ได้มีปัญหาอะไรนะ ว่าผมได้ ตำหนิผมได้
แต่ผมบอกเหรอว่าผมหาไม่เจอ ผมหาเจอนะ แต่อาจไม่ได้เจอเร็วแบบคุณแค่นั้นแหละ
อย่าทำตัว passive aggresive ครับ มันเป็นนิสัยที่แย่ ทำไปเรื่อยๆ ก็เหมือนเป็นการฝึกให้ตัวเองไม่กล้าเผชิญหน้า
การเผชิญหน้า หรือตำหนิใครมันไม่ใช่เรื่องแย่ครับ แต่มั่นใจก่อนแล้วค่อยว่าก็ได้ แหม่
เอาจริงๆ มันก็ช่วยให้ Gamer ทั่วไปประเมินได้ว่า Graphic ของเกมจะออกมาประมาณไหน Gen ไหนนะครับ
สำหรับ Console ที่ต่อกับทีวีหน่ะใช่ครับ
แต่กับ Streaming ที่มีการทำ Picture Compression ตามคุณภาพของ Bandwidth หน่ะไม่ครับ เพราะ Bandwidth เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ผลลัพท์จึงออกมาได้หลายอย่าง ตั้งแต่ดียันแย่
+1 แถมนอกจาก bandwidth แล้ว กรณีนี้น่าจะใช้ GPU ในการ encode ด้วย คุณภาพต่อ bandwidth ยิ่งต่ำลงไปใหญ่
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ก่อนจะ Streaming มันก็ต้อง Render ก่อนไม่ใช่เหรอครับ?
มันต้อง render ก่อนอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือมันต้อง encode แล้วส่งมาให้ client decode เป็นภาพเพื่อขึ้นจอที่ผู้ใช้งานอีกที แถมมันต้องปรับความละเอียดตาม bandwidth ที่มีครับ
เอาเป็นว่าโครงการนี้กี่ปีเลิกดีกว่า
+250
ทำ ทิ้ง เปลี่ยนชื่อ ยุบ แยก รวม เลิกตลอดเวลา
ข่าวต่อมา steam ปรับ app ครั้งใหญ่สามารถเล่นเกม แบบ remote ได้ มี latacy ต่ำเพียง 14ms ผู้เล่นที่มีเกมอยู่แล้วสามารถเล่นได้เลย พร้อม โปร summer sale ลด 75% ชาวเกมเมอร์พร้อมใจกันกินมาม่าสิ้นเดือน
ตาลุกวาวตรงใช้ Linux นี่แหละ
มีความคาดหวังโคตร ๆ ว่า dev จะ port โค้ดกลับไป Steam เพื่อเพิ่มจำนวนเกมคุณภาพให้กับฝั่ง linux ด้วย (เผื่อจะเป็น the end of Windows เหมือนสมัยที่เราเลิกใช้ Tandy/Amiga Workbench)
คิดเหมือนกันว่าถ้าพอร์ทกลับไปจะสุดยอดมาก ที่ผมไม่รู้คือมันจะรันได้เฉพาะเกมที่ทำมารองรับลินิกซ์รึเปล่าครับ หรือว่ารันเกมสำหรับวินโดวส์ได้ด้วย
ผมมองว่าเป็นโมเดลทางธุรกิจที่โอเคนะ หากการเล่นจริงไม่รู้สึกถึง latency
จุดคุ้มค่าของเจ้าของธุรกิจคงเป็น 1โมดูล รัน24ชม นั่นเพราะคนเล่นเกมไม่ได้เล่นตลอด24ชม แต่เป็นเฉลี่ย4-8ชั่วโมงต่อวัน นั่นเท่ากับมูลค่าเครื่องคอลโซลจริงๆถูกใช้งานแค่ 1/6ส่วน เท่านั้น , และแน่นอนจุดพีคในการใช้บริการพร้อมกันสูงสุดได้กี่เครื่องก็เป็นจุดที่ต้องคิดเหมือนกัน หากบริการพวกนี้ใช้ได้ทั่วโลก นั่นหมายถึง เครื่องหนึ่งแบ่งกันใช้ตามโซนเวลา