Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบเอกสาร RFC หรือ "เอกสารขอความคิดเห็น" ที่เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1969 หรือ 12 ปีก่อนอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจริงจังในยุค IPv4 (RFC791) ในปี 1981 โดยตัว RFC เกิดขึ้นในยุค ARPANET

DARPA (ชื่อ ARPA ในยุคนั้น) ต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ packet-switching โดยเรียกว่า Interface Message Processors (IMP) หลังจากนักวิจัยได้รับงานจาก DARPA ก็มาออกแบบโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร กระบวนการออกแบบมีการถกเถียงในหมู่นักวิจัยจนกลายเป็นเอกสาร RFC ออกมา

กระบวนการออกเอกสาร RFC ใช้ระบบบรรณาธิการ มีการแยกส่วนระหว่างเอกสารให้ข้อมูล (FYI), เอกสารมาตรฐานโปรโตคอล, และเอกสารแนวปฏิบัติ (best current practices - BCP) ในช่วงหลังกระบวนการออก RFC เป็นทางการมากขึ้น อย่างไรก็ดีแนวทางของ RFC ยังคงเปิดกว้าง การอ่านเอกสาร (และร่างเวอร์ชั่นต่างๆ) สามารถอ่านได้ฟรีโดยไม่ต้องเป็นสมาชิก แม้แต่การเสนอร่างใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกขององค์กรใดล่วงหน้า

บรรณาธิการของ RFC มีงานหนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังที่มีมาตรฐานและเอกสารต่างๆ เสนอเข้ามาจำนวนมากเฉลี่ย 300 ฉบับต่อปี

ร่าง RFC ฉลองครบรอบ 50 ปีกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไข หากผ่านก็จะเป็นเอกสาร RFC เช่นเดียวกับเอกสารฉลอง 30 ปี RFC (RFC2555) และ 40 ปี RFC (RFC5540)

ที่มา - IETF: Fifty Years of RFCs

No Description

ภาพโดย geralt

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 9 April 2019 - 14:08 #1105161
hisoft's picture

ก็มาออกมาโปรโตคอล

มาออกมา?

ถุกเถียง

ถุก -> ถก

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 9 April 2019 - 14:08 #1105162
panurat2000's picture

ก็มาออกมาโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร

มาออกมาโปรโตคอล ?

กระบวนการออกแบบมีการถุกเถียงในหมู่นักวิจัย

ถุกเถียง => ถกเถียง

และเอกสารแนวปฎิบัติ

ปฎิบัติ => ปฏิบัติ