สำนักข่าว Nikkei อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนสองแหล่งระบุว่าบริษัท Synopsys ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ออกแบบชิป และผู้ขายพิมพ์เขียวโมดูลพื้นฐานในชิปได้หยุดทำธุรกิจกับหัวเว่ยตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว
Synopsys คือผู้ขายโมดูลย่อยๆ (Silicon IP) ในชิปจำนวนมากทั่วโลก เช่น โมดูล USB ที่จำเป็นต่อการออกแบบซีพียูที่รองรับพอร์ต USB, โมดูลต่อจอภาพ, โมดูลเชื่อมต่อหน่วยความจำ ฯลฯ การใช้โมดูลเหล่านี้เป็นหัวใจของการปรับปรุงชิปที่อาจจะซื้อพิมพ์เขียวมาทั้งชุดจากบริษัทขายพิมพ์เขียวซีพียู เช่น ARM หรือ MIPS ทำให้ชิปแต่ละเจ้ามีความแตกต่างกันไป การพัฒนาโมดูลเหล่านี้ขึ้นมาเองทั้งหมดจะกินเวลานาน และอาจทำให้ได้ชิปที่มีคุณภาพแย่ลงเพราะผ่านการทดสอบมาน้อยกว่า
คู่แข่งของ Synopsys คือบริษัท Cadence ก็เป็นบริษัทสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน และทางหัวเว่ยก็เป็นลูกค้าของทั้งสองบริษัท โดยยังไม่มีข้อมูลว่า Cadence ยังขายสินค้าให้กับหัวเว่ยอยู่หรือไม่
แม้ Nikkei จะอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว แต่ Synopsys ก็ยืนยันว่าประกาศของรัฐบาลสหรัฐฯ จำกัดการทำธุรกิจกับลูกค้า "รายหนึ่ง"
ที่มา - Nikkei Asian Review
ภาพ EEPROM ผ่านกล้องจุลทรรศน์โดย Zephyris
Comments
อันนี้คือกระทบหนักกว่า ARM ไหมครับ
I need healing.
กระทบหนักไหม ก็ชิปแทบทุกอย่างในเครื่องนั่นแหละครับ ไม่ใช่เฉพาะ CPU แล้ว
ถ้าเช่าไช้ พอหมดสัญญาก็ต้องเปลี่ยนเจ้า
แต่ถ้าขายขาด ... แม้จะซื้อเพิ่มไม่ใด้ แต่ผมว่าไม่กระทบกับของที่ซื้อไปแล้วนะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ตอบแบบตรงๆ คือ "ไม่รู้" ครับ เราไม่มีข้อมูลเลยว่าชิปแต่ละตัวของหัวเว่ยซื้อพิมพ์เขียวส่วนไหนมาใช้มากน้อยแค่ไหนบ้าง
บริษัทใหญ่ๆ มักซื้อซอฟต์แวร์มาทุกค่ายอยู่แล้ว ส่วนว่าจะเลือกใช้ไลบรารีของใครเป็นหลักนี่อีกเรื่องเลย บริษัทพวกนี้มีทั้งในและนอกสหรัฐฯ (ในจีนเองก็มีอยู่)
แต่ Synopsys และ Cadence นี่ก็เป็นรายใหญ่ในตลาดนี้มานาน
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าดูจากรูปแบบของธุรกิจถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับarmเพราะ module ย่อยต่างๆในปัจจุบันสามารถซื้อหาชิพภายนอกได้ถ้าจำเป็นจริงๆ ส่วนไลเซนซอฟแวร์ออกแบบชิพและพิมพ์เขียวส่วนใหญ่จะเป็นแบบซื้อขาดและราคาจะสูงมากๆ
เทียบกับ arm แล้ว สมมุตมีพิมเขียว armใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม 20% บ.อืนเอาไปพัฒนาต่อได้เป็น20%รวมเป็น40% แต่หัวเหว่ยต้องพัฒนาจากเดิมให้ได้40%โดยมีข้อจำกัดของไลเซนเดิมถือว่ายากมาก
ต้องถามกลับว่า Huawei พึ่งพา IP ภายนอกมาแค่ไหนครับ
คิดซะว่า ARM คือพิมพ์เขียวของสมองนะครับ (CPU)
ส่วน Silicon IP พวกนี้มันก็คือพิมพ์เขียวแขนขาครับ (Peripheral)
ถ้าพึ่งพา IP ภายนอกมาก ก็อาจจะต้องออกแบบใหม่เองกันยกใหญ่
เละ
ถ้าผ่านไปได้นี่โคตรเทพเลยนะ
Synsopsys คือผู้ขายโมดูลย่อยๆ (Silicon IP)
Synsopsys -> Synopsys
ถ้าจีนผ่านวิกฤตินี่ไปได้ สร้างทุกอย่างเองได้หมด สหรัฐจะเอาอะไรมาขู่ อาจได้ยิงนิวเคลียร์แลกกัน
ธุรกิจหลักของ Synopsys และ Cadence คือเครื่องมือช่วยออกแบบไอซีหรือ EDA ครับ พิมพ์เขียวหรือ IP เป็นเพียงธุรกิจเสริมเพื่อสนับสนุนลูกค้าเท่านั้น ถ้าเป็นจริงตามข่าวก็ต้องถือว่ากระทบหนักมาก เพราะส่งผลตรงต่อนักออกแบบ และซอฟท์แวร์พวกนี้ผูกแนบแน่นกับเทคโนโลยีของโรงงานผลิตชิพมาก บ.อันดับ 3 คือ Mentor Graphics ซึ่งเคยเป็น บ. อเมริกัน แต่ถูกซื้อโดย Siemens แล้ว หากไม่ถูกบีบด้วย ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แม้เทคโนโลยีโดยรวมจะตามหลัง 2 เจ้าแรกมากก็ตาม ส่วนซอฟท์แวร์จีนเองมีหลายตัว แต่เทคโนโลยีก็ยิ่งห่างชั้นไปมาก ๆ โดยเฉพาะสำหรับการพัฒนา 5G และ SoC ที่เทคโนโลยีเล็กมาก ๆ ครับ
กำลังคิดว่าตอนสองประเทศกลับมาจับมือกัน มันจะดูน้ำเน่าขนาดไหน
โคตรๆ ของมวยล้มต้มคนดูเลยครับ
I need healing.
นั่งเอามือเชยคางมองแบบเหยียดๆ อ่ะครับ
Trump คงเสียหน้ามาก น่าไปเมกาก็ได้แค่ขู่อย่างเดียว
ผมว่าไม่มีความเสียหน้าหรอก น่าจะมีการประเมินความเป็นไปได้ในหลายๆ ทางไว้แล้ว