Cisco ร่วมมือกับ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) พัฒนาโมเดลสมาร์ทซิตี้ครอบคลุมหลายด้าน โดยทำเป็นโครงการนำร่องเฟสแรกในเขตมหาวิทยาลัยก่อน Blognone มีโอกาสได้ลงไปยังพื้นที่จึงเขียนเป็นบทความมาฝาก
เริ่มต้นจากทางเข้ามหาวิทยาลัย เนื่องจากในวิทยาเขตมีโรงพยาบาลด้วย จึงมีคนเข้าออกตลอดทั้งคนในและคนทั่วไป ตรงทางเข้าจึงมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากรและนักศึกษาภายในวิทยาเขต ระบบกล้องมอนิเตอร์รถที่วิ่งเข้า-ออก
บุคลากรที่เป็นคนในและนักศึกษาจะมีบัตรประจำตัวฝั่งชิปสามารถสแกนเข้าได้เลย ส่วนคนทั่วไปต้องใช้บัตรประชาชนมาสแกนเพื่อเก็บข้อมูลไว้ก่อน ข้อมูลจะแสดงผลเรียลไทม์ที่ war room ของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ตำรวจแจ้งลักษณะบุคคลและรถต้องสงสัยเข้ามา ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยจะเข้าไปคีย์ข้อมูลดักไว้ก่อน ถ้ากล้องตรวจเจอระบบจะแจ้งเตือนเข้ามาได้
ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมีการจัดทำฟาร์มต้นแบบ smart farm ร่วมกับคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำการเกษตรเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรให้สามารถเพาะเลี้ยงผลไม้และผลผลิตการเกษตรได้อย่างแม่นยำ
ในที่นี้มีการเพาะเลี้ยงเมล่อนที่สามารถรองรับการสั่งตัดความหวาน และขนาดของผล ทราบระยะเวลาของการเลี้ยง การตัดผลผลิต โครงสร้าง Cisco ที่นำมาใช้คือ
ปัจจุบันโครงการเกษตรดังกล่าวมีไว้ให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ทดลองงานก่อนจะเริ่มธุรกิจจริงเมื่อเรียนจบการศึกษาออกไป และยังได้ขยายผลไปยังแปลงสาธิตของคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่คลองหอยโข่งเพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประชาชนต่อไปด้วย
ในโครงการนำร่องมีการติดตั้งป้ายรถบัส พร้อมกับจอแสดงผลระบบ smart transportation ที่สามารถแสดงตำแหน่งของรถโดยสาร EV ทำให้นักศึกษาสามารถทราบเวลาของรถที่จะมาถึงจุดจอดได้แบบเรียลไทม์ นักศึกษาสามารถเช็คได้เองผ่านแอพพลิเคชั่น PSU ด้วย
นอกจากนี้ยังติดตั้งเซนเซอร์จับค่ามลภาวะที่ป้ายรถบัส ในกรณีที่รถบัสอื่นๆ จอดรอผู้โดยสารนานเกินไป ค่าฝุ่นบริเวณนั้นก็อาจสูง คนที่มอนิเตอร์ก็จะแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่บริเวณนั้นแจ้งให้คนขับรถคันนั้นให้ออกรถ หรือดับเครื่อง
ที่พื้นยังติดตั้งเซนเซอร์สีส้ม เพื่อตรวจจับการจอดรถ บุคลากรจะสามารถหาที่จอดรถว่างผ่านแอพได้ ไม่ต้องคอยวนขับหาจนกว่าจะเจอเอง
ตามถนนทางเดินจะมีไฟถนน ที่ติดตั้งเซนเซอร์ควบคุมการใช้งานตามเวลาที่รถสัญจรไปมาเยอะได้ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า เซนเซอร์ดังกล่าวยังสามารถแสดงพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปได้ด้วย
ในมหาวิทยาลัยก็เริ่มนำรถโดยสารสาธารณะ EV มาให้บริการนักศึกษา และเริ่มให้บริการจุดจอดรถ พร้อมที่ชาร์จไฟฟ้าแล้ว ติดตั้งที่บริเวณ Smart Pole เสาไฟอัจฉริยะที่ประกอบด้วยสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นโครงสร้างพื้นฐานบนท้องถนนในอนาคตประกอบด้วย WiFi, Signage (สื่อประชาสัมพันธ์แบบดิจิทัล), กล้อง, เซนเซอร์อากาศและฝุ่น, EV Charger และ Emergency button
ภายใน war room มีการสาธิต City Data Platform เป็นการสร้าง Data Adapter เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานและฝ่ายต่างๆ เข้าสู่ City Data Platform ทำให้สามารถเชื่อมข้อมูลในระบบเดิมและระบบใหม่เข้าด้วยกัน รองรับการวิเคราะห์ ประมวลผลสำหรับเมืองในอนาคต
ตัวอย่างเช่น ระบบมอนิเตอร์ดูน้ำตามคลองและที่ระบายน้ำ หากน้ำสูงก็จะได้สามารถเตือนประชาชนให้ยกของขึ้นที่สูงได้ทัน
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับ Cisco ยังครอบคลุมถึงภาคการศึกษา ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้าง Learning Space รวบรวมเครื่องมือเรียนรู้ 3D Printer, 3D Scanner, Robot ให้นักศึกษาเข้ามาใช้งาน ซึ่ง Learning Space การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco ระบุเพิ่มเติมนอกเหนือจากเนื้อหาในโครงการนำร่อาว่า ตอนนี้ Cisco มีโครงการ Cisco Network Academy ให้แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ม.อ. ที่ให้ความรู้เบื้องต้นทางด้าน IoT และ DevNet ซึ่งให้ความรู้เฉพาะทางด้านเน็ตเวิร์กจากนักพัฒนาซอฟแวร์ของ Cisco มีการจัดการอบรม แบ่งปันความรู้และทักษะให้กับบุคลากรของ ม.อ.เพื่อรองรับความต้องการของโลกดิจิทัลในอนาคต
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ระบุว่า ตอนนี้โครงการยังอยู่ในระยะแรก และยังมีอีกหลายเฟสต้องทำ ถ้าโครงการเฟสแรกที่ทำมันเข้มแข็งและทำได้จริง การของบมาลงทุนเพิ่มก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
ผศ. ดร.นิวัติ พูดถึงความร่วมมือกับ Cisco เพิ่มเติมว่า การที่ได้ร่วมมือกับ Cisco ทำให้การสร้างสมาร์ทซิตี้ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ มองว่าการทำสมาร์ทซิตี้ไม่ใช่เป็นเพียงโครงการที่เอางบรัฐบาลไปลงแล้วจบ เพราะประชาชนจะได้ประโยชน์จากสมาร์ทซิตี้จริงๆ ต่อไปใครเดือดร้อนเรื่องอะไรก็จะมีข้อมูลให้รัฐท้องถิ่นได้รู้ ไม่ต้องรอช่องทีวีไปทำข่าวถึงจะได้รู้
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco และ ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
ผศ. ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์กายภาพ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ พูดถึงการลงทุนเทคโนโลยีและสมาร์ทซิตี้ในท้องถิ่นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการศึกษา เพราะแม้โครงสร้างจะเป็นของ Cisco แต่บุคลากรและคนที่พัฒนาต่อก็ยังเป็นคนท้องถิ่น เท่ากับตลาดงานเทคโนโลยีในท้องถิ่นจะกว้างขึ้น นักศึกษาในสายงานนี้ก็จะมีงานทำอยู่ที่ภาคใต้ได้ไม่ต้องสมองไหลไปกองอยู่กรุงเทพอย่างเดียว
Comments
Huawei ต้องมาลงทุนแข่งด้วยแล้วแบบนี้
นัศึกษา ==> นักศึกษา
นำร่อา ==> นำร่อง
สมาร์ทซิตีี้ ==> สมาร์ทซิตี้
อันนี้ชื่อนี้จริงๆ เหรอครับ?
ทางคุณผู้สาธิต ระบุเป็นชื่อนี้ค่ะ
เคยได้ยินแต่ data logger แฮะ
หรืออาจจะหมายถึงตู้ระบุข้อมูลที่เก็บมาหว่าเจ้า data locker เนี่ย
ขอตรวจสอบข้อมูล สักครู่ค่ะ
ถ้าใช้เก็บข้อมูลจาก Sensor น่าจะชื่อ data logger นะครับ จะไว้เก็บข้อมูลเพื่อรอให้เราโหลดเอาไปใช้งานต่อ กรณีติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลเครือข่ายเข้าไม่ถึง แต่บางชนิดก็มี module เชื่อมต่อเครือข่ายมาให้เลยก็มี
คำนี้นึกถึง GPS data logger สมัยมือถือยังไม่มี GPS เลย log ไว้แล้วมาต่อคอมโหลดเอา แต่ผมว่าระบบนี้มันน่าจะ realtime แล้วนะ บันทึกลง cloud เลย แต่เรียกศัพท์เดิมเฉยๆ ไม่งั้นแพ้ arduino esp8266 ตัวละร้อยนะครับ
ฝังชิป
ข้อมูลแสดงแดด -> ข้อมูลแสงแดด
:-)
เรื่องจาก => เนื่องจาก
คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม => คณะทรัพยากรธรรมชาติ (http://natres.psu.ac.th/th/index.php)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ จบแค่นี้ ไม่มี และสิ่งแวดล้อม ต่อท้ายนะ
คณะที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ก็อีกคณะหนึ่ง
อนาคต พวก เมือง ใหญ่ๆ นี้ ระบบ ความปลอดภัย น่าจะดีขึ้นเยอะเลย นะ
ปัญหาของระบบพวกนี้ไม่ใช่เรื่องอุปกรณ์หรอกครับ เมืองไทยมีอุปกรณ์พวกนี้ติดอยู่เยอะมาก แต่อยู่คนละหน่วยงาน แต่ละที่ก็จะหวงข้อมูล ปัญหาคือ ไม่มีเจ้าภาพบูรณาการข้อมูลเอาใช้ประโยชน์มากกว่า หน่วยงานนึงจะทำอีกหน่วยก็จะลีลา ไม่ยอมให้เข้าถึงข้อมูล หรือให้ก็เป็นข้อมูลที่เอามาใช้ต่อไม่ได้ ต้องทำ data cleansing แบบไม่น่าจะต้องทำก็เยอะ เลยไม่ค่อยมีใครอยากจะยุ่ง ติด Sensor เก็บตังค์ปวดหัวน้อยกว่า
ที่เห็นเร่งๆ จะทำน่าจะเป็นงบ DE เห็นว่าจะทำ Smart city ที่ภูเก็ต งบ 3 พันล้าน แต่เห็นมานานเกือบ 3 ปีแล้ว ยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่
ผมว่าประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องหวงข้อมูลครับ
ปัญหาคือแม่งาน/ผู้รับผิดชอบคือใคร
คือประเด็นที่ผมเคยเจออย่างแรกเลย
- ค่าโทรศัพท์ใครจะจ่าย ใช้ข้อมูลทั้งคู่นะ
แต่ใครอะ?
- คนดูแลเซ็นเซอร์อะใคร ใช้ด้วยกันหนิใครจะดูแล?
- คนดูแลส่วนเชื่อมต่อ/อุปกรณ์ ของหน่วยงานร่วมอะใคร
พังขึ้นมาใครจ่าย?ต่างฝ่ายต่างไม่อยากตั้งงบซ่อมบำรุงซึ่งไม่รู้ใครจะรับผิดชอบหรอกครับ?
- คนตีความว่าใครเป็นคนรับผิดชอบรับผิดชอบตีความนั้นได้หรือเปล่า?
เพราะงั้นการตัดจบว่าหวงข้อมูลมันดูดีกว่า
การพูดความจริงว่า "ใช้ตังใคร ใครจะดูแล?"
ผู้บริหารไม่ชอบหรอกครับคำตอบนี้ เพราะคำตอบที่อาจจะได้รับกลับมาส่วนใหญ่ก็ประมาณ front ใครก็รับผิดชอบไปอะไรประมาณนั้น
ขอฝาก Smart Health myHealthFirst ด้วยครับ ที่สงขลา ไปได้ทุกโรงพยาบาลข้อมูลเชื่อมโยงกันหมด (มอ พรีเมี่ยม กรุงเทพหาดใหญ่ รพ หาดใหญ่ และ รพ อื่นๆอีก 15 โรงภายใต้ สสจ สงขลา)
ช่วงนี้ว่าง รับงานได้ อิอิ
ยังมีงานให้ทำอีกเยอะไม่ต้องห่วง ฮาาา
เอาจริงๆ ไม่มีไฮไลท์อะไรเลยธรรมดา อันนี้ส่วนตัวนะ
โครงการพวกนี้ถ้าไม่ได้ใช่ประโยชน์จริงๆ พอพ้นระยะประกันไปก็น่าจะจบ
ต่อไปจะมีบางจังหวัดใช้ cisco บางจังหวัดใช้ huawei อะไรประมาณนี้ปะ?
จะได้จัดสมดุลกับสงครามการค้า
ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา แต่ดูคำบรรยายมันห้วนๆ สั้นๆ ไปนิดนะครับ อยากให้ลงรายละเอียดมากกว่านี้
ต้องมาดูต่อว่าทางอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ป.ตรี ป.โท ป.เอก จะไปต่อยอดอะไรต่อ
สงสัยกับย่อหน้าสุดท้าย มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการจ้างงานระดับนั้นเลย?
ดูจากรูป เอาบัตร ปชช ไปส่องหน้ากล้องเนี่ยจริงๆแล้ว เอาข้อมูลไปใช้ยังไงครับ หรือแค่เก็บว่าใครเข้ามาแล้วออกไปเวลาไหนเฉยๆ หรือว่า มี แสกนแล้วมีตัวอ่านตัวอักษรในบัตรเลยหรือเก็บชื่อและเวลาเข้าไปได้เลย หรือเก็บข้อมูลคู่กับทะเบียนรถเลยไหมอะไรยังไง
หรือแค่ ส่องให้ถ่ายเฉยๆ แต่ส่วนตัวคิดว่า ส่องเฉยๆแบบนี้ ไม่รู้กล้องจะโฟกัสทันไหมอาจจะเบลอได้ หากส่องเร็วไป
ถ้าแบบนี้ก็ fix ระยะโฟกัสไว้เลยครับ มันระยะประมาณเดิมอยู่แล้ว
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะแค่ส่องเฉยๆ นะครับ มาตรการแบบนี้มีตั้งแต่สมัยผมเรียนอยู่ที่นู่นช่วงสักปี 53 ละครับ สนามบินหาดใหญ่ก็ใช้การส่องบัตรแบบนี้เหมือนกันครับ
"นอกจากนี้ยังติดตั้งเซนเซอร์จับค่ามลภาวะที่ป้ายรถบัส ในกรณีที่รถบัสอื่นๆ จอดรอผู้โดยสารนานเกินไป ค่าฝุ่นบริเวณนั้นก็อาจสูง คนที่มอนิเตอร์ก็จะแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่บริเวณนั้นแจ้งให้คนขับรถคันนั้นให้ออกรถ หรือดับเครื่อง"
smart ขนาดนี้เหตุการณ์จอดแช่ไม่ควรเกิดกับรถโดยสารนะครับ
น่าจะวิ่งตามรอบหรือคำนวนระยะเวลาจอดตามการใช้งานได้