คำเตือน: มีการเปิดเผยเนื้อหา
Netflix มีหนังสารคดีใหม่เรื่อง The Great Hack ว่าด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียของบริษัท Cambridge Analytica และหาประโยชน์จากข้อมูลนั้นให้ฝ่ายการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016
The Great Hack นำเสนอการสืบสวนเจาะลึกบริษัท Cambridge Analytica โดยตรง เปิดโปงวิธีการใช้ข้อมูลและวิธีการใช้โซเชียลเป็นช่องทางในการควบคุมความคิดทางการเมืองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้หนังยังเปิดเผยความจริงที่น่าตกใจหลายอย่าง Blognone เห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและควรเขียนแนะนำเป็นอย่างยิ่ง
(Fun Fact: วันที่ FTC ตัดสินปรับเงินเฟซบุ๊กเป็นวันเดียวกันกับที่สารคดี The Great Hack ออกฉายทาง Netflix)
ภาพจาก The Great Hack
กระบวนการหาประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มต้นในปี 2016 แต่กลายมาเป็นเรื่องใหญ่เมื่อเฟซบุ๊กมาเปิดเผยในภายหลังว่า Cambridge Analytica หรือ CA นำข้อมูลผู้ใช้งานไปใช้และไม่ยอมลบตามสัญญาที่เคยให้ไว้ ส่งกระทบต่อข้อมูลผู้ใช้ 87 ล้านบัญชี ที่ CA สามารถเข้าถึงโดยเจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัวและไม่ได้ให้ความยินยอมมาตั้งแต่ต้น
ประเด็นดังกล่าวทำให้เฟซบุ๊กต้องลำบากจนถึงตอนนี้ และล่าสุดเพิ่งโดน FTC ตัดสินปรับเป็นเงินประมาณ 150,000 ล้านบาท (สำหรับรายละเอียดข้อมูลหลุดเฟซบุ๊กสามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่)
ภาพตอน Mark Zuckerberg ให้การต่อสภา (จาก Getty Images)
CA คือบริษัทวิจัยข้อมูลที่ตั้งอยู่ในลอนดอน ซีอีโอ Alexander Nix ก่อตั้งบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางกลยุทธ์การสื่อสารแคมเปญการเมืองช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ลูกค้าของ CA มักเป็นนักการเมืองในหลายประเทศ เช่น Ted Cruz, Donald Trump รวมทั้งแคมเปญเพื่อการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจาก EU หรือ Brexit ก็เป็นผลงานของบริษัท CA ด้วย
CA มีบริษัทแม่คือ SCL ที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงเรื่องการทำแคมเปญการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย แต่ในอดีต SCL เคยอยู่เบื้องหลังการสื่อสารทางทหารในช่วงสงครามด้วย โดยใช้ชื่อว่า SCL Defense และใช้วิธีโน้มน้าวพฤติกรรมของฝ่ายศัตรู เช่น สื่อสารให้เยาวชนในอิรักว่าไม่ควรเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้าย เป็นต้น
SCL นำวิธีทางการทหารมาใช้กับการโปรโมทนักการเมืองฝ่ายขวา รูปแบบคือยิงเนื้อหาแคมเปญไปยังโซเชียลมีเดีย โดยเล็งกลุ่มเป้าหมาย (targeting) ไปยังผู้มีสิทธิ์โหวตในแต่ละประเทศทั่วโลก เช่น ไนจีเรีย บราซิล อินเดีย รวมถึงประเทศไทยช่วงปี 1997 ด้วย
CA อ้างว่ามีข้อมูลของผู้มีสิทธิ์โหวตในอเมริกาถึงรายละ 5,000 จุดข้อมูล (data points) และมีวิธีการพลิกเกมการเมืองให้ลูกค้าตัวเองชนะเลือกตั้ง ด้วยการยิงข่าวปลอม ใส่ร้ายป้ายสีฝั่งตรงข้าม โดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมคนในโซเชียล (ที่ CA ได้มาแบบผิดๆ) ส่งไปหาคนที่มีแนวโน้มจะเชื่อข่าวลวงที่สร้างขึ้น (Persuadables)
ผลงานของ CA ทำให้ Ted Cruz นักการเมืองฝ่ายขวาของพรรครีพับลิกันได้รับความนิยมขึ้นมาในเวลาเพียง 14 เดือน ส่วนโปรเจกต์ Alamo ที่ CA รับทำงานให้ Trump ก็ใช้เงินลงโฆษณาในเฟซบุ๊กถึงวันละ 1 ล้านดอลลาร์เพื่อยิงแคมเปญลักษณะนี้
หนังเปิดเผยเรื่องน่าตกใจอีกอย่างคือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CA คือ Steve Bannon เจ้าของเว็บไซต์ breitbart เว็บข่าวขวาจัด ที่มักเสนอข่าวรุนแรง เหยียดชาติพันธุ์และเต็มไปด้วย Hate Speech และตัว Bannon เองก็เคยเป็นที่ปรึกษายุทธศาสตร์ให้ทรัมป์ด้วย
This latest @TIME cover labels Steve Bannon "The Great Manipulator."Any thoughts? pic.twitter.com/dP4AUhwvG0
— AJ+ (@ajplus) February 3, 2017
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ Brittany Kaiser และ Christopher Wiley หนึ่งในพนักงานที่มีบทบาทสำคัญของ CA ต้องออกมาเปิดโปงผ่านสื่อ โดย Wiley บอกว่า สิ่งที่ CA เป็นไม่ใช่บริษัทข้อมูล แต่เป็นบริษัทผลิตโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเสียมากกว่า
หนังชวนตั้งคำถามว่านิยามของ "โซเชียลมีเดีย" ในฐานะ "แพลตฟอร์มที่เชื่อมคนเข้าหากัน" และ "เปิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ" อย่างที่ผู้บริหารบริษัทโซเชียลชอบบอกนั้น มันเป็นอย่างที่พูดจริงหรือ เพราะเห็นได้ชัดว่าโซเชียลมีเดียและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองชั้นดีในการยิงโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างผลเชิงลบต่อสังคม
หนังยังแตะประเด็นเรื่องเฟซบุ๊กกับการผูกขาดความสนใจ ผู้ใช้งานใส่ข้อมูลจำนวนมากของตัวเองลงไปในโซเชียลโดยไม่รู้ตัว เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงได้ และยังแตะประเด็นเฟซบุ๊กในเมียนมาร์ว่ามีส่วนกระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในพื้นที่นำมาซึ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ในหนังมีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากที่อยากให้คนที่สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวตามไปดูกันต่อ โดยเฉพาะผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทุกวันไม่ว่าจะในช่องทางไหน ดูแล้วจะเห็นภาพชัดขึ้นว่า ทำไม CA ถึงต้องการข้อมูลและความสนใจส่วนบุคคลไปเป็นสินค้า และจะเข้าใจวิธีการที่บริษัทหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่ง สามารถใส่ข้อมูลเข้าไปอยู่ในหัวของผู้คนนับล้านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
หนังสารคดี The Great Hack ความยาว 113 นาที ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลหนังซันแดนซ์เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา และวันที่ 24 ก.ค. ถึงลงฉายใน Netflix
The Great Hack กำกับโดย Karim Amer, Jehane Noujaim ซึ่งเคยฝากฝีมือไว้ในหนัง The Square ว่าด้วยอาหรับสปริง ปัจจุบันได้เรตติ้งบน IMDb 7.1
Comments
สนุกมาก และไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
แล้วดูอันนี้ต่อเลย https://www.ted.com/talks/carole_cadwalladr_facebook_s_role_in_brexit_and_the_threat_to_democracy
ดูแล้วรู้สึกไม่อยากเล่นโซเชียลเลย แต่มันก็ตัดขาดไม่ได้จริงๆ เพราะการเชื่อมถึงผู้คนยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
ดูแล้วเห็นภาพเลย ถ้าพลังโซเชียลถูกใช่ในทางที่ผิด จะเป็นยังไง
บ้านเรา แค่เพจดัง เขียนชี้นำในข่าว ทุกคนก็พร้อมจะเฮโลตามกันหมด โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกันแล้ว จะบูชาใคร หรือรุมยำใครก็ได้ โดยเฉพาะเพจพวกนี้พูดเท็จปนจริง และออกตัวว่าไม่ได้เอนเอียงทางการเมืองแค่พูดแทนชาวบ้าน... ทำให่้ฟังดูน่าเชื่อถือ(?)
แต่หลายหนที่จับกระแสได้ว่า มันเชื่อมโยงแบบผิดปกติ การพูดถึงบางเรื่องบางคนขึ้นพร้อมๆกันก่อนสื่อหลักจะพูดถึง หรือการปล่อยชุดความคิดที่แก้ต่างให้กับคนที่กำลังโดนสื่อหลักเล่น แบบเดียวกันหลายๆเพจ มันราวกับมีการจัดวางหรือวางแผนส่งต่อมาพร้อมๆกัน
ผมท่าจะเป็นส่วนน้อย อายุก็ไม่ได้เยอะแค่ 20 กลาง
เคยเล่นโซเชียลตัวดัง ๆ มาหมดทุกตัว แต่ก็เล่นไม่นาน
ตอนนี้เลิกขาดหมดทุกตัว ใช้แค่ไลน์ในการติดต่อสื่อสาร
ยิ่งทำให้คิดเลย
ถ้า FB ได้ทำเงิน libra และมี calibra เป็นกระเป๋าเงิน ก็จะมีข้อมูลทางการเงินขนาดมหาศาล
ข้อมูลพวกนี้ จะเอาไปทำอะไรได้บ้าง
Micro finance ไงครับ ปล่อยกู้รายย่อย แบบดูจาก Transaction และประวัติการชำระเงิน หรือพวกผ่อนสินค้าก็น่าจะได้ กินเปอร์เซ็นต์หัวคิวสบายๆ ทาง Alibaba ก็ทำมาแล้วโดยดูจากข้อมูลการชำระเงินในระบบ e-Commerce ของตัวเอง แล้วปล่อยกู้
ผลงานแสบของ Cambridge Analytica ทีทำเป็นหนังก่อนหน้า มี HBO อีกเรื่อง
คือการทำให้ผล Brexit ออกมาชนะ
มี Boris Johnson ที่เพิ่งได้เป็นนายกฯ คนล่าสุดตอนนี้ คุมเชิงอยู่ห่างๆ ด้วย
ดร.สเตรนจ์ เบเนดิกซ์ คัมเบอร์แบทช์ แสดงเป็นนักวางกลยุทธรับจ้างตัวเอก
แล้วไปตั้งห้อง server โดยเฉพาะ พร้อมทีมทำงานระดมสมองกัน
ตั้งชื่อเรื่องว่า Brexit ตรงเลย ฉายทาง HBO เมื่อมีนา 2019 ต้นปีที่ผ่านมานี่เอง
ใครสนใจลองไปหาดู
https://www.google.com/search?q=brexit+(2019)+hbo
https://youtu.be/E5S1EMmCWAE
ชนะโดยไม่ต้องรบเลย
ปกติอ่านอ่านอย่างเดียวมาอันนี้ ถ้าดูหนังแบบมีอารมณ์ร่วมกับมันก็จะเกิดความกลัว แต่สำหรับตัวผมมองต่าง ถ้าเราไม่ได้อัพทั้งหมดของชีวิตไปอยู่บนนั้นมันก็ไม่มีไร ส่วนมากของผมอัพแต่ของกิน ผมเองทำ local guides มีทั้ง Facebook และ Google ถ้ามันจะขึ้นโฆษณากินผมก็แฮปปี้นะ เพราะจะได้รู้จักที่ใหม่ๆ และเป็นการช่วย ecosystem เวลาผมไปที่ไหนเจอร้านบ้านๆ ที่เป็นคุณป้าหรือคุณลุง ผมก็จะถามเสมอ ว่าคุณป้าคุณลุงครับ ร้านคุณป้าลุงมีเพจยัง เดี๋ยวนี้ขายผ่าน Line Grab ได้นะครับ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายได้ อีกทางเป็นการเพิ่มรายได้ ให้ระบบ มีการเติบโตที่ดีด้วย โดยใช้ช่องทางพวกนี้ให้เป็นประโยชน์.
เว็บหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ ต้อง https://moviefreethai.com/