วันนี้ทางหัวเว่ยประเทศไทยจัดแถลงข่าวอธิบายถึงแนวคิดการสร้างระบบปฎิบัติการ HarmonyOS หรือหงเมิง (แปลว่าจุดเริ่มต้นของโลก) โดยชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายของ HarmonyOS จะไม่ใช่เพียงระบบปฎิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือแต่เป็นการออกแบบชุดซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งบ้านทำงานร่วมกับได้เหมือนเป็นอุปกรณ์เดียวกัน
James Lu ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดกลุ่ม EMUI ระบุว่าแนวคิดของ HarmonyOS นั้นเริ่มมากจากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่จะนำทุกคนให้เข้าบริการดิจิตอลอย่างฉลาด และ HarmonyOS เป็นส่วนประกอบที่จะพาให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการที่ทำงานร่วมกันได้ เขาเล่าถึงความฝันในอนาคตของหัวเว่ย เมื่อผู้ใช้ต้องการโทรศัพท์แบบวิดีโอจากในบ้าน แทนที่จะใช้โทรศัพท์ที่มีทั้งหน้าจอ, ไมโครโฟน, และกล้องในตัวเอง แต่เมื่ออยู่ในบ้านผู้ใช้จะสามารถนำภาพขึ้นจอโทรทัศน์ ใช้กล้องวงจรปิดเป็นกล้อง และใช้ smart speaker ในบ้านเป็นลำโพงและไมโครโฟน แล้วทำงานร่วมกันเหมือนเป็นอุปกรณ์เดียวกัน
ตอนนี้ HarmonyOS เปิดรายละเอียดมาเฉพาะตัวเคอร์เนล ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ microkernel ที่แต่ละส่วนของเคอร์เนลทำงานแยกจากกัน และตัวเคอร์เนลเองก็สามารถคอนฟิกแยกส่วนได้ ทำให้สามารถย่อระบบปฎิบัติการไปได้ถึงระดับกิโลไบต์ทำหรับอุปกรณ์ IoT ขนาดเล็กมาก เช่น ล็อกประตูเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ขึ้นมาจนถึงอุปกรณ์พลังประมวลผลสูง อย่างสมาร์ตโฟน แต่เพื่อให้ความฝันของหัวเว่ยที่จะให้อุปกรณ์ทั้งหมดทำงานร่วมกันได้จริง บริษัทก็รู้ว่าต้องเตรียมวางสถาปัตยกรรมกระจายตัว (distributed architecture) เอาไว้ โดยมองเป็น 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่
สำหรับการเชื่อมต่อข้อมูลข้ามเครื่องนั้น หัวเว่ยเสนอ โปรโตคอลเน็ตเวิร์คใหม่ในชื่อ Simplified protocol รวบเอา TCP/IP ไปจนถึงระดับการเข้ารหัสข้อมูลมาเป็นชั้นเดียวกัน
ฟีเจอร์ทั้งหมดของ HarmonyOS นั้นสามารถคอนฟิกได้ทุกระดับ โดยไล่มาจนถึงเฟรมเวิร์คระดับบน โดยสามารถคอนฟิกได้จนเหลือระดับ "กิโลไบต์" เท่านั้น
แม้หัวเว่ยจะเสนอสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ แต่ถ้าใครคิดว่าจะได้เห็นซอร์สโค้ดพร้อมสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์และอุปกรณ์สำหรับ HarmonyOS เร็วๆ นี้อาจจะต้องอดทนรอนานกว่าที่คิด เพราะความฝันทั้งหมดของหัวเว่ยนั้นยังต้องรอกระบวนการพัฒนา
แม้หัวเว่ยจะระบุว่าพัฒนา Harmony มานานแล้ว แต่ที่จริงการพัฒนาก็โฟกัสอยู่ที่ตัวเคอร์เนลเป็นหลัก (Harmony kernel เป็นโครงการแยกส่วนจาก HarmonyOS) และเคอร์เนลที่ได้ก็เป็นเคอร์เนลสำหรับระบบปฎิบัติการขนาดเล็กที่ใช้งานใน Trusted Execution Environment (TEE) เท่านั้น
ตัว HarmonyOS เองทุกวันนี้ยังคงต้องอาศัยเคอร์เนลลินุกซ์และ LiteOS ไปพร้อมกัน โดยหัวเว่ยไม่ได้ระบุว่าอุปกรณ์ใดใช้เคอร์เนลใดบ้าง
ในงานแถลงข่าว คุณ Lu ได้แชร์แผนการพัฒนา HarmonyOS แสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบสำคัญๆ เช่น ตัว IDE สำหรับการพัฒนา และตัวเคอร์เนลจะสมบูรณ์ในปี 2020 ส่วนระบบจัดการข้อมูล และการเชื่อมต่อระหว่างโปรเซสประสิทธิภาพสูงนั้นจะต้องรอถึงปี 2021 เลยทีเดียว
ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์นั้นประสบความสำเร็จมาได้ ไม่ใช่เพียงการโอเพนซอร์สให้นักพัฒนาภายนอกนำไปใช้งานได้เพียงอย่างเดียว แต่กูเกิลยังสามารถดึงผู้ผลิตทั้งหมดให้มาพัฒนาแอนดรอยด์ภายใต้ข้อกำหนดเดียวกัน ผู้ผลิตต้องส่งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้กูเกิลทดสอบเพื่อจะใช้ชื่อแบรนด์แอนดรอยด์ และเข้าถึง Google Play Services
ในการแถลงข่าววันนี้ คุณ James Lu ระบุว่า HarmonyOS ยังเน้นสำหรับอุปกรณ์ของหัวเว่ยเอง โทรทัศน์ HUAWEI Vision ยังไม่รับแอปจากนักพัฒนาภายนอก ขณะเดียวกันตัวเฟรมเวิร์คระดับสูงขึ้นไปก็ยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบว่าหากมีผู้ผลิตนำไปใช้ผลิตอุปกรณ์แล้วจะทำงานด้วยกันได้ แนวทางนี้ทำให้ความฝันของหัวเว่ยที่อุปกรณ์จะทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ อุปกรณ์ในบ้านสามารถดึงความสามารถของอุปกรณ์อื่นๆ เข้ามาใช้งานได้นั้นกลายเป็นภาพที่อาจจะต้องรอการพัฒนาให้พร้อมกว่านี้
แต่หากเทคโนโลยีเหล่านี้สำเร็จขึ้นมาจริง คุณ Lu ก็ยืนยันว่าหัวเว่ยจะโอเพนซอร์สเทคโนโลยีเหล่านี้ออกมาทั้งหมด โดยตอนนี้เรายังไม่เห็นโค้ดชุดแรกของ HarmonyOS ออกมา มีเพียงเคอร์เนล LiteOS ที่หัวเว่ยปล่อยออกก่อนหน้านี้
แม้ว่า HarmonyOS จะถูกมองว่าเป็นการตอบโต้สหรัฐฯ ที่ห้ามไม่ให้หัวเว่ยใช้แอนดรอยด์ แต่คุณ Lu ก็ยืนยันว่าหัวเว่ยจะใช้แอนดรอยด์ต่อไปเท่าที่เป็นไปได้ และแนวคิดการทำงานประสานกันข้ามอุปกรณ์นั้นก็สามารถใช้กับโทรศัพท์แอนดรอยด์ของหัวเว่ยได้เช่นกัน โดยหัวเว่ยจะนำปรับแต่ง EMUI ให้สามารถทำงานได้ตามที่หวังไว้
Comments
กลยุป่าล้อมเมืองไหมนะ
นอกจีนใครจะเชื่อมั่นกันบ้าง นะเอาเงินฟาดหัว Dev แบบ Epic Game Store ก็น่าสนใจ
I need healing.
+1 ทำไมผมก็มองว่าแบบนั้นครับ ไม่น่าเชื่อถือเอาซะเลย
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
10ปีที่แล้ว พูดถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าจีน คนก็คิดแบบนี้แหละครับ รวมไปถึงมือถือด้วย จำได้ว่า มือถือจีน=พวกไปโฟนปลอมแม่สาย มีเสาดูทีวีได้
…ตัดภาพมาปัจจุบัน
ผมก็ยังมองแบบนั้นอยู่นะครับ เครื่องใช้ไฟฟ้านี่ขอวางใจเกาหลี ญี่ปุ่นต่อไป ทั้ง Haier ทั้ง TCL เข็ดละ ส่วนมือถือเคยลองแต่ oppo สมัย 2 ซิม ดูทีวีได้นู่นละ แต่ตอนนั้นมัน 2G ไงไม่ได้เชื่อมต่อเน็ตแบบ always เหมือนปัจจุบัน แค่เห็นหัวเว่ยสอดใส้เม็มก็ขยาดละ ขอรอดูไปอีกสักพักละกัน
ผมกลับเชื่อมั่นนะ เอาง่ายๆแค่ตอนนี้อยากทำ Smart home ที่รองรับ Alexa หรือ Homekit ยังลำบากเลยสู้ซื้อของ Xiaomi ง่ายๆ (แต่อาจจะห่วยกว่าหน่อย) สบายกว่าเยอะ ถ้า Huawei จะมาแนวนี้ผมว่าเกิดในตลาดนอก US CA ได้อยู่
แนะนำใช้ zigbee2mqtt ร่วมกับ home assistant ครับ
ผมซื้อของ xiaomi แต่ไม่ใช้ gateway มันเลย
ตัวนี้ทำให้อุปกรณ์ Mi home สามารถใช้ได้กับ app google home เหรอครับ
สนใจครับ มีคอมมิวนิตี้ที่ศึกษาเรื่องพวกนี้เจ๋งๆมั้ย
แล้วสุดท้ายจะได้สอดส่องทุกหย่อมหญ้า
จั่วซะละเอียด สุดท้ายก็มีแต่วุ้น
อยากให้เค้าไปขูดหินปูนครับ
น่าจะทำ platform กลางดีกว่า ให้ device ไหนก็ได้ ไม่ต้องจำกัดอยู่ที่ OS ของตัวเอง ดูอิสระไว้ใจได้ ฮ่าๆ
เค้าใจว่าจริงๆ Huawei ทำ os เพราะความไม่มั้นใจใน usa จาก trade war มากกว่า ... ข่าวลือคือ ตอนนี้ xiaomi / oppo ลอง os ใหม่ที่ว่าแล้ว
เอาจริงๆคือหลังเลือกตั้ง usa 2020 ตัว HarmonyOS อาจจะไม่จำเป็นและไม่อยากไช้ แต่ข่าวออกมาแล้ว เลยต้องค่อยๆเปลี่ยนเรื่องเล่นกับข่าวไป
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ยืนยันจะใช้แอนดรอยด์ต่อไปเท่าที่ทำได้
ส่วนตัวไม่กลัวและชอบลองอะไรใหม่ๆ จะลองใช้ทันทีที่เข้าไทยเลย โลกออนไลน์ที่กลัวมีแค่ 1.รหัสบัตรเครดิต 2.Internet Banking ก็เลี่ยงๆใช้ช่วงแรกไปก่อน ส่วนข้อมูลอื่นๆจะเอาไปทำอะไรเชิญตามสบายท่านเลยพี่จีน
จั๋วหัวเหมือนกับ MS, Google, Apple ไม่เคยคิดเรื่องนี้เลยนะครับ ผมว่าทั้ง 3 ค่ายนั้นคิดมานานแล้วด้วย แต่ติดที่จะทำยังไงให้เร็ว และแพร่หลายมากกว่านี้
1. ปัจจัยหลักก็น่าจะเป็น internet
2. Smart home ทั้งหลายไม่ว่าจะประตู เครื่องซักผ้าเอง หม้อหุงข้าว อุ่นอาหาร หรือแม้กระทั่งแอร์ที่ทำได้เอง เมื่อใกล้ถึงบ้าน นั้นมีราคาแพงพอสมควร และถ้าปรับทั้งบ้านก็แพงเอาเรื่องอยู่
แต่ถ้าให้ใช้ค่ายนี้ คุณต้องทำยังไงก็ได้ให้น่าเชื่อถือระบบที่คนทั่วโลกและนอกจีนยอมรับได้
ผมไม่เคยเห็นค่ายอื่น "นำเสนอ" ครับ เราเดาได้เสมอว่าใครคิดอะไรบ้าง เขาไม่ present ไม่พูด ก็ไม่รู้จะไปเขียนถึงยังไง
แต่แนวทาง "เสนอก่อนมีของ" ของหัวเว่ยนี่ก็ปกติบริษัทอื่นในสหรัฐฯ ก็คงไม่ทำกันบ่อยนัก (มีบ้างเช่นฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวของ Facebook ที่เสนอก่อนเป็นปี ฟีเจอร์จริงยังไม่ออกสักที)
lewcpe.com, @wasonliw
เหมือนพึ่งคิดคอนเซ็ปต์เท่ๆ แล้วเอามาพรีเซนต์ ยังไม่ค่อยเชื่อใจเท่าไหร่
ถ้าทำใช้แค่ใน HUAWEI เอง ผมว่าไม่โตระดับโลกแน่นอน แต่ถ้าประเทศจีนออกนโยบายให้ยี่ห้อจีนทั้งหมดต้องทำเนี่ย อันนี้มีสิทธิลุ้น แต่จีนจะออกหน้าเป็นแบ็คให้ HUAWEI หรือเปล่า
ความคืบหน้าของ HarmonyOS คือชื่อและพาวเวอร์พ้อยที่ใช้พรีเซนท์
คอนเซ็บ ดีนะ แยก ส่วน เคอเนล เป็นส่วนย่อยๆ น่าจะทำงาน ได้ดีกว่า ดรอย การพัฒนาแอพ ทำครั้งเดียวลงได้หมด ต้องรอดูกันยาวๆ