การชาร์จด้วยพอร์ต USB-C ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สร้างความสับสนให้ผู้ใช้ไม่น้อย เพราะมาตรฐานกลางที่ออกโดย USB-IF คือ USB Power Delivery หรือ USB-PD นั้นไม่ถูกผู้ผลิตสมาร์ทโฟนนำไปใช้กันแพร่หลายเท่าที่ควร แต่กลับออกฟีเจอร์การชาร์จด่วนของตัวเองเพื่อสร้างจุดขาย ทำให้มือถือสองยี่ห้อที่ใช้พอร์ต USB-C เหมือนกันอาจชาร์จเร็วไม่เท่ากัน หรือถึงขั้นชาร์จช้ามากไปเลย
ล่าสุดกูเกิลได้ปรับข้อกำหนดการพรีโหลด Google Mobile Services (GMS) หรือชุดแอพและบริการของกูเกิลที่หากผู้ผลิตอยากนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวเองก็ต้องทำตามข้อกำหนดนี้ (อันเดียวกับที่ Huawei Mate 30 ไม่มี) โดยหลังจากนี้อุปกรณ์ที่จะออกในปี 2019 และใช้พอร์ต USB-C จะต้องรองรับมาตรฐานกลางของ USB อย่างเต็มรูปแบบ
กล่าวคือกูเกิลไม่ได้กำหนดว่าห้ามใส่ฟีเจอร์ชาร์จด่วนของตนเองเข้ามา แต่อุปกรณ์นั้นๆ จะต้องรองรับมาตรฐานกลางของ USB ด้วยนั่นเอง เช่นระบบชาร์จด่วน Qualcomm Quick Charge 4.0 ก็ยังเป็นการชาร์จด่วนของตัวเองอยู่ แต่ก็รองรับ USB-PD แล้วเช่นกัน (ใช้อะแดปเตอร์ QC 4.0 หรือ USB-PD ก็ได้) หรือใน OnePlus 7 Pro กับ 7T Pro ที่ปกติใช้ Warp Charge ของตัวเอง แต่ก็รองรับ USB-PD 15 วัตต์ด้วย
ดูจากเทรนด์ที่ผ่านมาแล้ว เราคงหวังให้ผู้ผลิตเลิกพัฒนาระบบชาร์จด่วนของตัวเองไม่ได้ เช่น OPPO VOOC, OnePlus Warp Charge, Huawei SuperCharge/FCP หรือระดับชิปอย่าง Qualcomm Quick Charge ที่คนจำนวนมากนึกว่าเอาอะแดปเตอร์นี้มาเสียบแล้วจะชาร์จเร็วได้ทุกอย่าง แต่การที่กูเกิลออกข้อกำหนดนี้มาก็ดีกับผู้ที่อยากใช้มาตรฐานกลางว่าจะชาร์จเร็วได้กับอุปกรณ์ Android ทุกรุ่นนั่นเอง
ที่มา - XDA Developers
Comments
ดีแล้วที่บังคับ มันเป็นเรื่องที่ดู "ไม่เข้าท่าอย่างมาก" ที่ไปสร้างมาตรฐานใหม่ของตัวเองขึ้นมา แต่ไม่รองรับมาตรฐานกลาง นึกกลับไปถึงสมัยก่อนตอนที่ยังใช้พอร์ตสารพัดชาร์จไฟ แล้วนึกสาบแช่งผู้ผลิตให้มันเจ๊งๆ ไปเพราะไม่ใช้ micro usb
คือผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่งั้นจะย้ายค่ายทีต้องไปไล่เปลี่ยน wall charge อีก
ไล่เปลี่ยนสายด้วยนะ ตอนนี้งงมากเวลาเลือกซื้อสายชาร์จกับอแดปเตอร์ ทัั้งๆที่ใช้ Type-C
USB-C : พอร์ตที่หน้าตาเหมือนกันเปี๊ยบแต่ฟังชั่นแตกต่างกันหลากหลายมั่วไปหมดทุกอุปกรณ์ lol
ดีนะ ไม่น่า OnePlus 30W ของผมถึงชาร์จ K20 Pro อืดมาก
เรื่องนี้ทำไมไม่ทำตั้งแต่แรก Apple แม้จะทำ USB C บน iPad ช้ากว่า แต่ของเขาเป็น PD ทุกตัว ไม่เหมือน Android ที่อยากเด่นอยากดัง โดยเฉพาะ Oppo, Huawei หรือแบรนด์จีนนั่น ใส่แต่ของตัวเองเท่านั้น ไม่ยอมใช้มาตรฐานกลาง ทั้งที่ Google ก็ทำให้ดู
Quick Charge เป็นเทคโนโลยีของ Qualcomm ออกมาก่อนตั้งแต่ 2013 แล้วครับ
ส่วน USB PD เป็นมาตราฐานกลางออกโดย USB-IF โดยออกมาแบบชาร์จปรกติปี 2016 และออกตัว USB Fast Charger เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมานี้เองครับ
ฝั่ง Apple มาทีหลัง เพิ่งเริ่มใช้ USB-C ไม่นานยังไงขยับตัวที่หลังก็ได้เปรียบกว่าในการวางแผนรองรับ ณ วันแรก
quick charge กับ fast charge ที่ใช้ 9V 2A,12V 1.5A ยังดี มันใช้ร่วมกันได้
แต่แบบHuawei ที่ใช้ 5V 4.5A นี่ใช้ร่วมกับคนอื่นไม่ได้เลย
แอปเปิ้บเจ้าเดียว ทำคนเดียว ออกหลังคนอืน ถ้ามันไม่เรียบร้อย ก็แปลกละครับ อีกอย่าง มาตราฐานที่ Google กำหนดมานี้ มาไม่นานนี้เอง ซึ่งมันหลังจากพวก ชาร์จไวที่เขาทำมาก่อนครับ..
อ้าว เพิ่งรู้จากข่าวนี้นี่แหละ
นึกว่า ซื้อควิกชาร์จมาแล้วมันจะชาร์จเร็วขึ้นทุกเครื่อง
โดยเฉพาะโน้ตบุ๊ค ติด USB-C มาเพียบ แต่ใช้ชาร์จไม่ได้ ต้องพกอแดปเตอร์ลูกใหญ่ๆไปมาตลอด แถมใบสเปคก็ไม่บอกรายละเอียดอะไรเลยนอกจาก มี USB-C นะ
อันี้คือความเลวร้ายที่สุดของ ยุคนี้เลยคับ
เดินหา notebook ค่าย A มี Type-C ถามชาร์จได้มั๊ย ... ไม่ได้คับ
ถามค่าย L มี Type-C ชาร์จได้มั๊ย ได้ค่ะ แต่ต้องเป็น Adapter ของมันเอง ?!?!?!?!?
ฮ่วยย อิหยังวะ เลยคับ
ผมว่าร้านไม่รู้จริงครับ
เท่าที่อ่าน data sheet/spec sheet โน้ตบุ๊กสมัยนี้ บอกกันค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ารองรับ Power Delivery หรือไม่ และเคยลอง Lenovo ThinkPad X270 ชาร์จด้วย PD ทั่วไปได้ครับ แต่ต้อง 45 วัตต์ขึ้นไป
ถ้าจะชาร์จโน้ตบุ๊กที่ไม่มี dedicated GPU อาจจะเดาได้ก่อนเลยว่าประมาณ 45 วัตต์ก็พอครับ (บางรุ่น 30 วัตต์ก็รับละ แต่ขึ้นเตือนว่าชาร์จช้า) แต่ถ้าเป็นพวกเกมมิ่งหรือ MacBook Pro ก็ต้อง 60-90 วัตต์ สูตรที่ผมใช้คือถ้าโน้ตบุ๊กไม่บันเดิล Type C adaptor ก็ดูเอาว่าที่แถมมามันกี่วัตต์ แล้วซื้อ PD adaptor ตามนั้น ไม่ก็ซื้อใหญ่ไว้ก่อน สัก 60 วัตต์ ใช้ได้ทุกอย่าง
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
จากที่คุณเล่ามา ผมว่ามันคือปัญหาหลักเลยแหละ ต้องมาคิดคำนวณหรือไปเช็ควุ่นวายไปหมด มันดูไม่ตรงไปตรงมา
มันมีตรงไปตรงมากว่านี้ด้วยเหรอครับ? จะซื้อ adapter 15W ไปชาร์จ laptop ก็ไม่ได้นะผมว่า
จะซื้อปลั๊กพ่วงยังต้องดูกำลังไฟที่รับได้เลยครับ
ถ้าขนาดต้องไปเช็คใน data sheet/spec sheet ผมว่ามันก็ยังยุ่งยากเกินไปครับ ถ้ามองแบบ geek มันก็อาจจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับ end user มันควรจะเป็นแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราไม่ต้องไปสนใจว่ามันกินไฟเท่าไหร่ รู้แค่ว่าเอาปลั๊กไปเสียบเปิดสวิตช์แล้วก็ใช้งานได้เลย หรืออย่างน้อยๆ ที่สุดเวลาเลือกซื้อก็มีอะไรสักอย่างบอกว่าอันนี้ใช้กับอันนี้นะแบบเห็นชัดเจนแยกออกทันที
ให้ความเห็นแบบนี้ก็ไม่ถูกครับ เพราะไม่ใส่ใจเรื่องกำลังวัตต์และโหลดของอุปกรณ์ ไฟไหม้บ้านกันมาเท่าไหร่แล้ว นึกไม่ออก เอาปลั๊กพ่วงรับกำลังวัตต์ได้น้อยไปใช้กับเตารีดที่โหลดกำลังวัตต์เยอะๆ จนสายไฟละลายและไหม้
ของพวกนี้ยังไงก็ต้องใส่ใจครับ ซึ่งข้อมูลจุดนี้สามารถเรียกร้องให้ทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งฝั่งจ่ายไฟและรับไฟให้ข้อมูลตัวเลขอย่างชัดเจนและทำให้มันเลือกซื้อได้ง่าย ซึ่งตอนนี้ก็ใช้วิธีบอกกำลังวัตต์ตอนนี้หลายๆ อุปกรณ์ก็บอกชัดเจนมากขึ้นครับ
คือผมก็ไม่รู้จะยกตัวอย่างยังไงให้เข้าใจง่ายในมุมมองของ product design เหมือนที่อุปกรณ์ยุคใหม่ๆ ที่เราแกะกล่องออกมาก็สามารถใช้งานได้เลยโดยที่ไม่ต้องอ่านคู่มือครับ
เติมน้ำมันรถยนต์อ่านคู่มือไหมครับ? รุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ต้องอ่านครับ ดูป้ายน้ำมันตรงฝาถังน้ำมันก็ได้
แหล่งจ่ายไฟอุปกรณ์ก็เหมือนกันครับ ดูป้ายจากที่ชาร์จเดิมเอาก็ได้ แค่นั้น
ถ้ายกตัวอย่างเรื่องรถนี่ยังไงก็ต้องอ่านเลยครับ ถถถถ
ครูสอนขับรถผมกำชับมากเรื่องนี้ เพราะมันซับซ้อนและข้อมูลหลายอย่างช่วยชีวิตเราได้ยามคับขันจริงๆ (บางรุ่นคันโยกที่ปัดน้ำฝนกับไฟเลี้ยวอยู่คนละข้างกับทราเราเคยชิน จุดเปิดผาเติมน้ำมัน ฯลฯ)
จริงๆ ส่วนตัวผมจะแนะนำทุกคนให้อ่านคู่มือเสมอแหละ มันมีอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้เราตระหนักเสมอเวลาใช้งาน (บางครั้งลดเวลาสอนการใช้ไปได้เยอะ)
พูดถึงแค่ขั้นตอนเติมน้ำมันน่ะครับ
เอาจริงๆ ผมก็อ่านคู่มือนะ แล้วก็เบื่อมากที่มีคนโพสต์ถามใน Facebook Group แทบทุกวันว่าไฟสัญลักษณ์นี้มันคืออะไร ?
ไม่ดูก็ได้ครับ ปลอดภัยกว่าปลั๊กพ่วงนะ ถ้าฝั่งโหลดรับได้แค่ 18W เราเอาแหล่งจ่าย 100W ไปเสียบมันก็จ่ายแค่ 100W ถ้าฝั่งโหลดรับได้ถึง 100W แต่เอาแหล่งจ่าย 60W ไปเสียบมันก็ดึงแค่ 60W นั่นแหละ ไม่ไหม้ ไม่ระเบิด
จะปลั๊กไฟจะน้ำมันรถยนต์อะไรก็ต้องดูครับ
เค้าถึงเขียนกำลังไฟฟ้ามาให้ว่ากี่วัตต์อย่างชัดเจนอยู่แล้วไงครับ อันนั้นน่ะชัดเจนแล้ว
คือเท่าที่เคยเห็นผ่านตามาหลายอัน ตัวอย่างก็เช่นอแดปเตอร์ของ Xiaomi ที่ผมซื้อมาใช้ มันเป็นแค่ตัวเลขเล็กๆ บนแพ็คเกจ ซึ่งบางทีในมุมมองของ user ก็ไม่เข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร (แต่ผมเข้าใจนะครับ เพราะ research มาพอสมควรแล้ว) อาจจะทำให้ได้ของที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์มาใช้งาน ซึ่งอันนี้เป็นเพียงตัวอย่างเดียว เพราะมีหลายเคส อย่างเช่นคนที่ต้องมาหัวเสียกับเวอร์ชั่นของ quick charge อันนี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง
อันนี้เห็นด้วยครับ ช่วงแรกที่ USB มันจ่ายได้แค่ 5V 2A เนี่ยยังเข้าใจได้ แต่หลัง USB-PD มาเนี่ยรู้สึกมันงี่เง่าแล้วผมเลยโดดเข้าใส่ USB-PD ตั้งแต่แรกที่ทำได้ ไม่เคยใช้ fast charge แบบอื่นเลย (Lumia 950xl -> moto Z2 Play -> Pixel 3 & Dell laptop)
แต่เหมือน USB-PD มันจะต้อง USB-C ทั้งสองฝั่ง? ต้นทุนหลักน่าจะเป็นตรงนั้น
ร้านรู้ไม่จริง จริงๆนั่นแหละคับ
เพราะ มันไม่เป็นมาตรฐาน ร้านค้าที่เอาสินค้าเข้ามาขาย เอาตรงๆ ก็ไม่ได้มีการอบรมให้ความรู้พนักงานขายทุกคนในร้านแน่ๆ
เพราะงั้น มันเลยต้องเป็นมาตรฐานคับ อย่าง ถ้าใช้การ์ดจอแยกอย่างที่บอก ก็ควรแปะไปเลยคับว่า PD90w, PD100w
ถ้าเป็นพวก ultrabook, slim light บางเบาใช้ไฟน้อย ก็แปะป้ายบอกไปเลย ว่า PD30w
แล้วพวก adapter ก็แปะไปเลยว่า PD30w, PD100w ผมว่า ทุกปัญหา จบเลย ลูกค้ารู้ คนขายรู้ ไม่ต้องอบรมกันถึง datasheet เพราะสินค้าในร้านเป็นร้อยรายการ พนักงานขายต้องมานั่ง ดู tech-spec, datasheet ขายทุกชิ้น คงไม่ไหวแน่ๆ นอกจากจะ geek หนักๆ เหมือนเพื่อนสมาชิก blognone หลายๆคนในนี้
อาจจะเพราะ USB PD ได้มากสุดแค่ 100W และโน๊ตบุ๊ที่ใช้ไฟเยอะอาจจะชาร์จช้า/ชาร์จไม่ขึ้นเลยอาจจะทำให้ใช้แบบเดียวกันในยี่ห้อเดียวกันครับ
ผมว่า laptop ที่ใช้ adapter เกิน 100W นี่น่าจะส่วนน้อยมากนะครับ?
และส่วนใหญ่ก็แค่ประมาณ 90W เองครับ จะ 100 ขึ้นได้นี่ gaming I7 ขึ้นทั้งนั้น กว่าจะปรับแผงวงจรให้รองรับจริงๆคงอีกซักปีสองปี
เกิน 120W กันเป็นปกติเลยครับ ตั้งแต่รุ่นล่างสุดเลย (i5, GTX1050) ทั้ง Dell G3, Lenovo Y540, Asus TUF/ROG
พึ่งรู้นะนี่ ว่ามันต่างกันขนาดนี้ นึกว่าใช้ QC แล้วใช้ได้หมดจริง ๆ
นี่หงุดหงิดจะตาย มี Tablet รุ่น 2-3 ปีที่แล้วของ Asus ใช้ที่ชาร์จยี่ห้ออื่นแล้วไม่ขึ้นชาร์จเร็ว