กระทรวงโทรคมนาคมและศิลปะออสเตรเลีย (Department of Communications and the Arts) ออกรายงานการสำรวจการบริโภคเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ประจำปี 2019 นับเป็นปีที่ 5 ที่กระทรวงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคต่อเนื่องกัน และพบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มเนื้อหา ได้แก่ เพลง, วิดีโอเกม, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์ นอกจากนี้ปีนี้เป็นปีแรกที่แยกหมวดหมู่รายการกีฬาออกมา จึงยังไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบ
ผลสำรวจพบว่าอัตราการชมเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์โดยรวมนั้นต่ำลงในแทบทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มวิดีโอเกมที่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงขึ้น แต่เมื่อนับ "จำนวน" การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นกลุ่มวิดีโอเกมมีจำนวครั้งต่ำมาก ค่ามัธยฐาน (median) ของกลุ่มละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ที่ 2 เกมเท่านั้น เทียบกับภาพยนตร์ที่อยู่ที่ 5 เรื่อง และเพลงที่ 20 เพลง
ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งคือ เมื่อกลุ่มละเมิดลิขสิทธิ์ถูกบล็อคเว็บไม่ให้เข้าถึงเว็บละเมิด ปีนี้มีถึง 16% ที่สามารถหาช่องทางหลบเลี่ยงได้สำเร็จ จากปีที่แล้วที่มีเพียง 1% เท่านั้น แต่คนที่ล้มเลิกความตั้งใจละเมิดลิขสิทธิ์ก็ยังสูงถึง 44% และคนที่เปลี่ยนใจไปช่องทางถูกลิขสิทธิ์ก็สูงถึง 18%
แนวทางการหลบเลี่ยงการบล็อคเว็บนั้นส่วนมากใช้ VPN รองลงมาคือการค้นหาเว็บละเมิดลิขสิทธิ์อื่นๆ และการหาพรอกซี่หลบการบล็อคเว็บ
ที่มา - IT News
Comments
ก็แต่ละเกมกว่าจะเล่นจบมันนานกว่าเพื่อนนี่นา
หนัง 2ชม ก็จบ เกมบางเกมกว่าจะจบนี่ล่อไป 100 กว่าชั่วโมง
สตีมมันถูกลงจนใคร ๆ ก็ใช้ละมั้ง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ก็น่าจะอย่างนั้นครับเมื่อก่อนเกมเป็นพันลดแล้วยัง 7-800 คนเลยต้องไปซื้อแผ่นเถื่อน 1-300 แต่สตีมลดราคาที 3-500 ยิ่งเกมเก่า 1-300 คนก็ซื้อสะดวกกลายเป็นว่าเล่นเถื่อนมีต้นทุนสูงกว่าเล่นแท้ซะงั้น
แต่หนังนี่กลับกันเลยราคาดิจิตอลแทบไม่ลดหรือลดก็นานมาก
แผ่นเถื่อน 1-300 แพงไปมั้งครับ
สมัยนั้นเพื่อนผมชอบไปซื้อแผ่นเกมเถื่อนหลังเลิกเรียนที่สะพานเหล็ก แผ่นละ 30-60 บาท แต่โดยเฉลี่ยคือ 40 บาท
เมื่อก่อนจะซื้อแผ่นวงที่ชอบนี่ เกือบ 400 บางวง 4-500
ตอนนี้ซื้อผ่าน iTunes 100 กว่าบาท ได้ booklet แบบ pdf อีก