สำนักข่าว Bloomberg อ้างเอกสารของ Visa ที่ไม่ได้เปิดเผยคนทั่วไปปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยปรับตามประเภทธุรกิจ เช่น เว็บอีคอมเมิร์ชนั้นจะถูกขึ้นค่าธรรมเนียม ขณะที่ร้านค้าปลีกบางประเภท, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, และการศึกษา จะปรับลดค่าธรรมเนียมลง
การใช้งานออนไลน์ หรือ card-not-present จะปรับค่าธรรมเนียมสูงขึ้นทั้งหมด ส่งผลให้เว็บอีคอมเมิร์ชต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแพงขึ้น โดยบัตรพรีเมียมจะขึ้นค่าธรรมเนียมเป็น 2.6% จาก 2.5% แต่การซื้อของชำในร้านจะลดค่าธรรมเนียมลงจาก 2.3% เป็น 1.5% โดยอัตราเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า Visa ต้องการขยายการใช้งานบัตรเครดิตให้สูงขึ้นในธุรกิจที่อาจจะไม่ยอมรับบัตรมาก่อนหน้านี้
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ธุรกิจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการรับบัตรสูงมากโดยเฉลี่ย 2.2% ยอดรวมทะลุแสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ธุรกิจในออสเตรเลียนั้นจ่ายค่าธรรมเนียมเฉลี่ยเพียง 0.8% เท่านั้น
ที่มา - Bloomberg
ภาพโดย multifacetedgirl
Comments
ออสเตรเลีย 0.8% ยุโรป 0.3%
หน่วยงานภาครัฐไทยน่าจะพยายามหาทางเพื่อลดค่าธรรมเนียมลงบ้างนะครับ
แล้วทำไม USA ดันแพงกว่าเพื่อนทั้งๆที่เป็นดินแดนต้นตำหรับบัตรเครดิต ยอดใช้บัตรเครดิตน่าจะสูงที่สุดในโลก
ทำไม่ต่อรองให้ค่าธรรมเนียมต่ำๆบ้าง
เพราะประเทศสหรัฐฯ นักการเมืองโดนบริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อตัวไปหมดละ ทั้งการเงิน โทรคมนาคม healthcare บริษํทรถยนต์ ฯลฯ ถึงมันมีแต่จะคอยออกมาหลอกประชาชนว่าให้บริษัทจัดการกันเองดีอย่างนู้นอย่างนี้ รัฐบาลไม่ควรไปกำกับ สุดท้ายบริษัทกินผู้บริโภคเละเทะ
ผมว่าอเมริกาคล้ายๆ ของไทยครับ บริษัทบัตรเครดิตประสบความสำเร็จในการทำให้บัตรจ่ายเงินกลายเป็นบัตรสะสมแต้ม ทำให้ผู้บริโภคไปกดดันร้านให้รับบัตรค่าธรรมเนียมแพงๆ เพื่อตัวเองจะเอาแต้ม
อย่างบัตร promptcard ไทยทุกวันนี้ต้นทุนถูกกว่ามากแต่ยังไม่เคยเห็นร้านไหนรับเฉพาะ promptcard เลยทั้งที่จำนวนบัตรค่อนข้างมากแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
ก็จะแซะประเทศไทยอะครับ จะให้เทียบกับเมกาได้ไงอ่าาาา
เรื่องมันเป็นแบบนี้นะครับ
แต่ก่อนเป็นแบบนี้ เวลาจ่ายเงินคือ เงินสด หรือ บัตร
ถ้าประเทศใหน ดันเป็นแบบนี้ คือ พร้อมเพย์ (ระบบโอนเงิน ค่าธรรมเนียมต่ำมาก) หรือ บัตร
จนไม่ค่อยมีใครรูดบัตร VISA/MASTER CARD เพราะ มันก็จ่ายเงินได้เหมือน ๆ กัน ค่าทำเนียมรูดบัตร มันก็หล่นลงมาเหลือ 0.8% ได้ครับ
ถ้าติดตามข่าวจะเห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปรับเปลี่ยนด้านในวงการการเงินที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากขึ้นเยอะ ทั้งจากการกดดันของภาครัฐ การเปลี่ยนกฎหมาย หรือการแข่งกันเอง ภาคธนาคารจะคอยออกมาบอกว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมจะลดลงอยู่ทุกไตรมาส ผมว่าโออยู่ แรกสุดก็ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ต่อมาก็ค่าธรรมเนียมตู้เอทีเอ็ม เช่นล่าสุดก็เรื่องดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคมากขึ้น ฯลฯ
ติดตามครับ และยินดีกับความเปลี่ยนแปลงนี้เพียงแต่ก็อยากพูดถึงในจุดนี้เหมือนกันครับว่าเป็นไปได้ไหมที่ภาครัฐเราจะกดดันบริษัทตัวกลางและธนาคาร เพื่อลดค่าธรรมเนียมการทำรายการผ่านบัตรลงจากที่ปัจจุบันเสียกันที่ 1.X% - 2.X% เป็นต่ำกว่า 1% เพื่อผลักดันสังคมไร้เงินสด
อย่างรัฐบาลสิงคโปร์ตั้ง NETS เป็นตัวกลางจ่ายเงินสำหรับธนาคารภายในประเทศ (debit) ค่าธรรมเนียมต่ำกว่า แถมมีร้านค้ามากมายที่ไม่รับบัตรเครดิต แต่ยังรับ NETS และเงินสด เรียกว่า ซื้อของสองสามเหรียญก็รับ ไม่มีขั้นต่ำ
ผมว่าร้านที่กำหนดขั้นต่ำของ NETS เดี๋ยวนี้ก็เริ่มเยอะแล้วนะ
สังคมไรเงินสดโดยแท้จริง ซื้อข้าว-ซื้อน้ำ รถเมล์-รถไฟ เหรียญ-สองเหรียญ สามารถจ่ายบัตรได้หมดเลย ใช้ได้ทั้ง NETS, PayWave (Credit, Debit)
จริงๆ ของไทยมีบัตร promptcard น่าจะ 0.55% นะครับ แต่ยังไม่เห็นมาตรการอื่น เช่น บังคับใช้เส้นทางถูกสุดเสมอ (least cost routing - LCR) ของแบงค์ชาติออสเตรเลีย
lewcpe.com, @wasonliw
รอคนมา disrupt ระบบ credit card VISA/MasterCard อยู่ มันน่าจะทำให้ถูกกว่านี้ได้
ขึ้นราคาเจ้าเดียว เดี๋ยวจะโดน คู่แข่งมาตีมั๊ย?
MasterCard, UnionPay ฯลฯ