รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มย้ายพีซีในรัฐบาลจำนวนถึง 3.3 ล้านเครื่องจากวินโดวส์ไปยังลินุกซ์ โดยจะใช้ 3 ดิสโทรแยกตามกระทรวงต่างๆ แต่ละดิสโทรมีบริษัทเกาหลีใต้เป็นผู้พัฒนา
เป้าหมายของการปรับไปใช้ลินุกซ์ครั้งนี้คาดว่าจะปรับไปได้ 99% โดยไม่ได้บังคับทั้งหมด บางหน่วยงานที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภายนอกก็ใช้วินโดวส์ต่อไปได้
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของเกาหลีใต้คือมีการใช้เทคโนโลยี ActiveX ของไมโครซอฟท์อย่างหนัก โดยคาดว่าจะถอด ActiveX ออกทั้งหมดได้ภายในสิ้นปีนี้ ส่วนแผนระยะยาวคือการปรับไปใช้บริการ desktop-as-a-service (DaaS) ที่เครื่องไคลเอนเป็นเพียงหน้าจอให้กับระบบปฎิบัติการที่รันบนคลาวด์ภายในองค์กร
ภาพโดย Big_Hearts
Comments
น้ำตาจิไหล
ว้าว...ถือว่าเด็ดเดี่ยวมากเลยเนอะ แต่ในระยะยาวแล้ว เอา Linux มาพัฒนาต่อเอง ทำแอพเอง ยังไงก็คุ้ม
..: เรื่อยไป
ยุคนี้ไม่ยากเท่าไร เพราะ web app เป็นพื้นฐานไปแล้ว จะใช้ OS อะไรก็ได้ไม่มีปัญหา รวมไปถึงใช้มือถือก็ทำงานได้
+1
จริงๆ ปัญหาเหมือนจะมีอีกที่คือใช้เว็บก็จริงแต่ดันใช้ ActiveX -.-
รบ.เกาหลีใต้สุดยอดมาก อยากให้รบ.ไทยเอาอย่าง
รบ. เคยผลักดันให้ใช้ open source อยู่ช่วงนึงแต่ไปไม่รอดครับ อย่าง linux-tle ซึ่งผมเองก็ไม่เข้าใจว่าจะไป fork เขามาทำไม พอหมดเงินหมดโครงการก็ทิ้งเอาซะอย่างนั้น สู้เข้าร่วมพัฒนากับโครงการต้นน้ำไม่ดีกว่าเหรอ โครงการโรงเรียน open source เอย โครงการ software Suriyan/Chantra เอย ล่มหมด ?
ผมว่าปัญหาอาจจะเป็นเพราะเป็น "โครงการรัฐ" นี่ล่ะครับ แล้ว maintain ต่อไม่ได้ ต่อให้รัฐ (NECTEC) เริ่ม แต่ถ้าปล่อยออกมาเป็นบริษัทแล้วขาย service ให้หน่วยงานต่างๆ อาจจะดีกว่า แบบเดียวกับ INET ทุกวันนี้
ถ้ามีบริษัทในไทยให้บริการซัพพอร์ตคุณภาพโอเคแล้ว ก็เลือกได้ตามสะดวก แบบเดียวกับเกาหลีที่เลือกได้จากหลายเจ้า
แต่ของเราปัญหาใหญ่กว่าคือใช้การ "ผลักดัน" ไม่ใช่คำสั่งครับ คือเปลี่ยนเท่าที่เปลี่ยนได้ ไม่มีนโยบายเป็นเรื่องเป็นราว ไม่มีวิเคราะห์ว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ไฟล์ไหนเปิดแล้วพัง แล้วจะทำไง เปลี่ยนโปรแกรมก่อนไหม ฯลฯ
lewcpe.com, @wasonliw
เอาง่ายๆแค่เรื่อง font ยังกำหนดให้เป็นแนวทางเดียวกันไม่ได้ ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ควรไปใช้ Sarabun new กันแล้ว แต่เรายังเห็นคนใช้ Sarabun psk หนักกว่านั้นก็เป็น Sarabun IT๙ อีก โอ้ย ปวดหัว
นี่ก็เคยพยายามออกทะเลกันเขาพักนึง ก็กลับมา Debian เหมือนเดิม สุริยันจันทราตอนนี้กลายเป็นอะไรไปแล้วก็ไม่รู้
กลายเป็นห้องประชุม สส. สว. ไปแล้วครับ
โครงสร้างองค์กรของเกาหลีดีกว่าไทยมากครับ เขาเลยปรับตัวง่าย และเร็ว
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จย้าาาาาาาาา
ผมอ่านเอกสารโครงสร้างภายในมาแล้วครับ ระบบในไทยยังเก่ากึก ไม่บูรณาการกันเลย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ในระยะยาวเชื่อว่า Windows 10 น่าจะถูกกว่า
MS - เลิกสนับสนุน w7 เพื่อให้คนหันมาใช้ w10
ผู้คน - ใช้ linux
เคยฟังผู้บริหารราชการเกาหลีมาบรรยายให้ฟัง ในเกาหลีฐานข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในระบบคอมหมดแล้ว แทบจะ 99%
ระบบราชการอย่างเช่นพวกการทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนพาณิชย์ ภาษีอากร ไปที่เดียวเบ็ดเสร็จทุกอย่างจนถึงการฟ้องศาลเลย (ไม่เหมือนบ้านเราที่แยกเป็นกรมการปกครอง กรมธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ศาล)
เค้าจะใช้ระบบๆเดียว เปิดฐานข้อมูลได้หมดทั้งสาย(แต่จะจำกัดเฉพาะสิทธิของจนท.ในแต่ละชั้น แต่ละหน้าที่)
ดังนั้น ถึงจะเปลี่ยน os แต่โปรแกรมก็ยังอยู่เหมือนเดิม เค้าเลยย้าย os ค่อนข้างง่าย มั้งครับ
+1
แต่ถ้าเกือบทุกอย่างเป็นกระดาษน่าจะย้าย OS ง่ายกว่านะครับ ?
สุดท้าย กลับมาใช้ windowแบบเดิม
ซึ่งก็ไม่เห็นเป็นไร ถ้าระบบมันเปลี่ยนไปได้ ทำงานได้ ไม่ดี ไม่ชอบ หรือเอาจริงๆ แล้วแพง แล้วเปลี่ยนกลับ
เทียบกับระบบฝังอยู่กับผู้ค้ารายเดียว มีความเชื่อ (และความจริง) ฝังอยู่ทั้งระบบว่ายังไงก็เปลี่ยนไม่ได้ ให้ตายแค่ไหนก็เปลี่ยนไม่ได้ จ่ายค่าซัพพอร์ตไม่ไหวก็ต้องใช้ไปทั้งๆ มีช่องโหว่
แบบนั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทุก 5 ปี 10 ปีก็ไม่เป็นไรหรอกครับ
lewcpe.com, @wasonliw
จำได้ว่า เยอรมัน เคยย้ายระบบไปใช้ Linux เหมือนกัน แต่ตอนท้ายก็ต้องย้ายกลับมา Windows
ที่ไทยยังทำไม่ได้เพราะ ข้าราชการยังจำเป็นต้องจัดเอกสาร ให้คำเริ่มต้นตรงตูดนกครุฑเป๊ะๆอยู่นะครับ ผิดพลาดไม่ได้แม้แต่ pixel เดียวส่วนเนื้อหาด้านในก็ช่างมัน เพราะงั้นการเปลี่ยน word, excel เลยมีความสำคัญสู๊งงงมาก ไม่งั้นต้องมานั่งเลงใผ้ตรงตูดใหม่หมดกระดาษไปเป็นรีมๆ
ตรงนี้ละคือความล้าหลังจริงๆที่พบในราชการแท้ๆ ที่แบบใช้ไม้บรรทัดวัดกันเลย อย่างผมทำงานหน่วยงานรัฐ ที่เป็นรัฐองค์การมหาชนเรื่องนี้เค้าเลิกสนใจกันละเน้นไปแต่เนื้อหา
อาจจะเป็นปัญหาความยืดหยุ่นของผู้ใช้มากกว่า ยิ่งผู้ใช้ต้องเปลี่ยนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องใช้เวลา การค่อยเป็นค่อยไปให้ผู้ใช้เลือกสิ่งที่ง่ายจริงๆต่อการใช้งาน จะเป็นทางออกสู่การพัฒนา
me as linux user: พยายามนับวันที่ตัวเองไม่ได้ใช้ Terminal