เราเห็น Qualcomm ออกชิปโมเด็ม 5G มาสักระยะแล้วคือ Snapdragon X50 ชิปตัวแรกของ Qualcomm ที่รองรับ 5G ตามด้วย Snapdragon X55 รุ่นอัพเกรด
วันนี้ Qualcomm ออกชิปโมเด็มรุ่นที่สามคือ Snapdragon X60 ที่ขยายการรองรับ 5G ให้ครอบคลุมคลื่นความถี่หลากหลาย (mmWave, sub-6 GHz, low-band), รูปแบบการสื่อสาร (FDD/TDD) และวิธีการติดตั้งเครือข่าย (SA และ NSA)
การที่เครือข่ายยุค 5G ใช้ความถี่หลากหลายย่าน ทำให้โอเปอเรเตอร์จำเป็นต้องผสมการใช้คลื่นเข้าด้วยกัน (เช่น 5G บนความถี่ LTE เดิม) ซึ่งโมเด็ม Snapdragon X60 ก็รองรับการผสมคลื่นในลักษณะนี้ (เช่น 5G FDD-TDD carrier aggregation) ช่วยให้รองรับความเร็วสูงสุดได้ดีกว่าเดิม
Qualcomm ระบุว่าโอเปอรเรเตอร์เกือบทุกรายในโลก เริ่มติดตั้งเครือข่าย 5G แบบ non-standalone (NSA) หรือใช้คลื่น LTE เดิมเป็นฐานก่อน แล้วค่อยปรับเป็น 5G ล้วนๆ แบบ standalone (SA) ซึ่ง Snapdragon X60 จะช่วยให้โอเปอเรเตอร์เปลี่ยนผ่านไปสู่ 5G SA เร็วขึ้น
ในแง่ประสิทธิภาพก็อัพเกรดขึ้นจากชิปรุ่นก่อนตามปกติ สิ่งที่น่าสนใจคือ Snapdragon X60 ใช้กระบวนการผลิต 5 นาโนเมตร ทำให้ขนาดเล็กลงและประหยัดพลังงานขึ้น
Snapdragon X60 จะเริ่มส่งสินค้าตัวอย่างให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนในช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ และเราน่าจะได้เห็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ X60 เริ่มเปิดตัวกันในต้นปี 2021
ที่มา - Qualcomm
Here’s a few words we use to describe the #Snapdragon X60 5G Modem-RF System: Tiny. Fierce. Fast. Mighty. ? pic.twitter.com/qSSuHXzwMR
— Qualcomm (@Qualcomm) February 18, 2020
Comments
ถามคุณ mk หรือ lew หน่อยครับ ทำไมผมรู้สึกว่าเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายทุกวันนี้มีการพัฒนาเร็วมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนจาก 4G ไปเป็น 5G ที่กำลังจะมาถึง ต่างจากยุคของการเปลี่ยนผ่านจาก 2G -> 3G ที่กินเวลาค่อนข้างนานหรือกระทั่งจาก 3G มาเป็น 4G ที่ใช้เวลารอกันพักใหญ่
เพราะเทคโนโลยีด้านเซมิคอนดัคเตอร์มันก้าวข้ามกำแพงบางอย่างมาได้ เลยทำให้การพัฒนาชิบเซ็ตเป็นไปอย่างรวดเร็ว หรือ
เพราะฐานลูกค้าพร้อมที่จะซื้อสมาร์ทโฟนมีจำนวนมหาศาล ทำให้มีเม็ดเงินจากนักลงทุนไหลเข้ามาในอุตสหกรรม จนสามารถเปลี่ยนงานวิจัยด้านเน็ตเวิร์คออกมาเป็นผลิตภันฑ์ได้เร็วขึ้น หรือ
เพราะการร่วมมือกันของบริษัทด้านเทคโนโลยีหรือองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้มีมากขึ้น ระบบการให้เช้าลิขสิทธิ์ที่เปิดกว้างมากขึ้น หรือ
เพราะโครงสร้างพื้นฐานของยุค 4G ที่วางไว้ ทำให้สามารถกระโดดไปยังยุค 5G หรือเทคโนโลยีที่สูงกว่าได้ง่ายขึ้น
คือเข้าใจแหละว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเดียว ทุกอย่างต้องมาด้วยกัน และการพัฒนาของ Internet เป็นตัวที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น แต่อยากรู้ว่ามีอะไรมั้ยที่เป็นตัวปลดล็อคที่แท้จริงอยู่เบื้องหลัง
..: เรื่อยไป
@btoy ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ในมุมมองของผม ผมว่าส่วนนึงมาจาก IoT ทุกอย่างมันต้องการเชื่อมต่อหากันและต้องไร้สาย ปัญหาคือค่า Latency ต้องต่ำจนเกือบที่จะเรียก realtime เลยจำเป็นต้องเร่งคิดค้นเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์
ลืมดูเพิ่งเห็นมีปุ่ม Reply (edit)