ต่อยอดอีกสักเล็กน้อยจากบทความ Cloud Gaming แพลตฟอร์มเกมยุคหน้าที่อาจทำให้ไมโครซอฟท์กลับมาครองตลาดเกม โดยใจความสำคัญของบทความดังกล่าวคือการชี้ว่าในยุค Cloud Gaming ที่น่าจะเป็นยุคหลังคอนโซลรุ่นถัดไป ไมโครซอฟท์มีภาษีในอุตสาหกรรมเกมดีกว่าโซนีที่ครองตลาดอยู่ตอนนี้และ Stadia ที่เป็นผู้เปิดศักราช Cloud Gaming
ปัจจัยที่ไมโครซอฟท์มีภาษีดีกว่ามีอยู่หลายส่วน (อ่านได้จากลิงก์ข้างต้น) อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัจจัยไมโครซอฟท์ดูยังตามหลังโซนีอยู่คือเรื่องของเกมหัวใหญ่ ๆ ที่ดึงดูดคนเล่นที่โซนีสร้างชื่อด้านนี้เอาไว้นานแล้วจากการทำเกมระดับ AAA แบบเอ็กคลูซีฟ ขณะที่ไมโครซอฟท์เองก็เริ่มเดินเกมด้านนี้แล้ว จากทั้งการตั้งสตูดิโอเกมขึ้นมาเอง รวมถึงซื้อสตูดิโออื่นให้มาอยู่ภายใต้ Xbox Game Studios
บทความนี้จะพาไปสำรวจว่า ณ ตอนนี้ทั้งสองค่ายคือ ไมโครซอฟท์ (Xbox Game Studios) และโซนี (SIE Worldwide Studios) มีสตูดิโออะไรบ้างและมีเกมอะไรเด่น ๆ ในมือบ้าง
SIE Worldwide Studios เป็นหน่วยธุรกิจภายใต้ Sony Interactive Entertainment ที่ดูแลเรื่องการพัฒนาเกมทั้งอินเฮ้าส์หรือไปร่วมมือกับสตูดิโอภายนอก โดย SIE Worldwide Studio มีสตูดิโออยู่ในเครือ 14 สตูดิโอ ตามภูมิภาค
SIE Japan Studio
Polyphony Digital
SIE San Mateo Studio
Sucker Punch (ซื้อมาปี 2011)
SIE Bend Studio (ซื้อมาปี 2000)
SIE San Diego Studio
Pixelopus
SIE Santa Monica Studio
Naughty Dog (ซื้อมาปี 2001)
Insomniac Games (ซื้อมาปี 2019)
SIE London Studio
Guerrilla Games (ซื้อมาปี 2005)
Media Molecule (ซื้อมาปี 2010)
SIE XDev Europe (External Development Studio Europe) เป็นสตูดิโอซัพพอร์ทที่คอยลงทุนและ/หรือช่วยสตูดิโอภายนอกพัฒนาเกม
โซนีเริ่มสร้างสตูดิโอภายในและสร้างเกมขึ้นมาป้อนแพลตฟอร์มตัวเองตั้งแต่ปี 1993 มีประสบการณ์มานานกว่า 26 ปี และสามารถผลิตเกมฮิตดัง ๆ ได้แทบทุกปี กลายเป็นหนึ่งในแต้มต่อสำคัญในยุค PS4 ที่มีเหนือ Xbox One
สิ่งที่เน้นย้ำความสำเร็จในกลยุทธดังกล่าวของโซนี คือเกมที่ขายดีที่สุดบน PS4 6 อันดับแรกเป็นเกมเอ็กคลูซีฟหมดเลย และใน 10 อันดับแรกมีเพียง The Witcher 3 และ Monster Hunter เพียง 2 เกมเท่านั้นที่แทรกเข้ามาได้ ดังนี้
ไมโครซอฟท์เพิ่งรีแบรนด์มาจาก Microsoft Studio เมื่อปี 2016 และค่อย ๆ ขยายทีมพัฒนาเกมมาเรื่อย ๆ ตอนนี้มีทั้งหมด 15 สตูดิโอในเครือ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับโซนี 10 เกมขายดีที่สุดมีเกมเอ็กคลูซีฟของ Xbox One มีเพียง Halo, Gears of War และ Forza 3 แฟรนไชส์เท่านั้น
343 Industries
Compulsion Games
Double Fine เน้นเกมผจญภัยจากทีม LucasArts เดิม
inXile Entertainment เน้นเกม RPG
Mojang
Ninja Theory เน้นเกมใหญ่ระดับ AAA
Obsidian Entertainment ทีมงาน Fallout เดิม, ทำผลงานได้ดีกับ Outer Worlds ซึ่งก็น่าจะผลิตเกมระดับนี้ได้อีก
Playground Games
Rare ไปออกทะเลทำเกม Kinect อยู่ช่วงหนึ่ง และเริ่มกลับมาแล้ว
The Coalition
The Initiative
Turn 10 Studios
Undead Labs
World's Edge
Xbox Game Studios Publishing
บ้านเราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อสตูดิโออินเฮ้าส์ของ PlayStation อย่าง Naughty Dog หรือ Santa Monica กันมากกว่าฝั่งของ Xbox ที่ไม่ได้ทำตลาดในไทย แต่หลาย ๆ สตูดิโอของ Xbox ก็ถือว่าน่าจับตาและมีคิวออกเกมหัวใหญ่ ๆ ภายในปีนี้อยู่ด้วย อย่าง 343 Industries ที่มีคิวจะออก Halo Infinite, InXile กับเกม Wasteland 3, Ninja Theory กับเกม Senua’s Saga: Hellblade II, The Coalition กับ Gear Tactics, Turn 10 ที่ทำ Forza Motorsport 7, Playground Games ที่ทำ Forza Horizon 4 และ The Initiative ที่ต้องรอดูกันยาว ๆ ว่าเกม "AAAA" ของไมโครซอฟท์กลายเป็นเกมระดับ talk of the town อย่างที่โซนีทำได้มากน้อยแค่ไหน
Comments
นับหยาบๆแล้ว จริงๆเกม Exclusive ก็มีพอๆกันนะ ของ Sony ทำมาก่อน บางเกมก็ได้ต่อเป็นแฟรนไชส์ยาวหลายภาคหน่อย
แต่จะว่าติ่งก็เถอะ แค่ Naughty Dog ค่ายเดียวก็กินขาดแล้วอ่ะ
ตอนแรกผมสนใจ Xbox Games Pass มากแพลนจะย้ายค่าย แต่พอเปิด game list ขึ้นมาดู มึนตึ๊บเลย เกมอะไรไม่รู้จักเต็มไปหมด เหมือนอยู่คนละโลกเลย
Game Pass เกมมันมีเวียนเข้าเวียนออกอะครับ หากเป็น 3rd Party (AAA) ก็เฉลี่ย 6 เดือน โดยส่วนตัว ช่วงไหนเกมที่อยากเล่นเข้า ก็ค่อยสมัคร ยกเว้นได้โปร Game Pass Ultimate
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
Naughty Dog ให้กำเนิด Crash Bandicoot ก็จริง แต่ Crash Bandicoot ไม่ได้เป็นของ Naughty Dog นะครับ แต่เป็นของ Universal Interactive Studios ที่ให้ทุนมา และ Naughty Dog ก็ทำเฉพาะ 3 ภาคแรกกับ Crash Team Racing (ซึ่ง 4 ภาคนี้แหละที่ดังที่สุดจนต้อง remaster) หลังจากนั้น Universal ก็เอาไปให้ทีมอื่นทำภาคต่อขาย และจากการควบรวมกิจการ ตอนนี้ Crash Bandicoot เป็นของ Activision ครับ
.
และก็ Naughty Dog ยุค Crash กับตอนนี้น่าจะเรียกว่าผลัดใบกันหมดแล้วล่ะ สองผู้ก่อตั้งก็ออกไปทำอย่างอื่นนานแล้ว
ขอบคุณครับ ไม่ได้ตามละเอียด เข้าใจว่าไลเซนส์ให้ Activision ทำด้วยซ้ำ
เอาจริง ๆ DmC: Devil May Cry เอง ก็มองว่าเป็น IP ของ Capcom แฮะ น่าจะเป็น Capcom วางคอนเซปท์หลัก ๆ มาแล้วจ้างทาง Ninja Theory ทำ
ถ้าเทียบกับเกมของ Ninja Theory เองจะเห็นความต่างชั้นพอสมควรครับ อย่าง Senua นี่ระบบต่อสู้นี่สู้ไม่ได้เลย
เกมค่ายญี่ปุ่นเป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งของ PS อย่างผมนี่ซื้อ PS4 เพราะ Persona 5 กับ FF VII : Remake เป็นหลักเลย
เหมือนกันเลยเกมญี่ปุ่นนี้ผมเล่นเก็บเรียงเกมเลย
ผมซื้อเพราะเกมส์หลังเกมเดียวเลย ส่วนเกมอื่นๆเล่นได้หมด ไม่เจาะจง
Xbox X จะทำตลาดในไทยได้หรือยังครับ
เกม PS มีเกมจากฝั่งญี่ปุ่นเยอะกว่า ถูกจริตคนเอเชียมากกว่า เกมที่ทำให้ผมยอมซื้อ PS2 PS3 PS4 ก็ GT, Persona, Tales of, Bloodborne นี่แหละ ส่วนฝั่ง Xbox นี่ไม่มีเลยซักเกมที่อยากเล่น
Xbox นี้ผมมีเกมที่อยากเล่นนะครับ เกมที่โดนสั่งยกเลิกไปอะนะ 555+
โชคดีที่ผมเป็นเกมเมอร์สายง้องแง้งพวก Mario Splatoon DQB มากกว่า เลยเลือก Platform ได้ไม่ยาก
ถึงจะมีค่ายเกมในเครือเยอะขึ้น แต่ทำเกมให้สนุกติดตลาดมันต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี อีกอย่าง Microsoft ยังเน้น XBOX พ่วง PC เป็หลักต่างจาก Sony ที่เน้น Playstation ทำให้แบรนด์และความ Exclusive มันแข็งแกร่งกว่า
ผมเล่น Persona 5 จบ คือรู้สึกว่าคุ้มค่าเครื่อง PS4 ละ เกมอื่นจะไปลงเครื่องอะไรก็ไม่สนละ