ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในฐานะองค์กรผู้ดูแลโครงการ "เยียวยาเกษตรกร" เปิดเผยเบื้องหลังการพัฒนาเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com ซึ่งเป็นช่องทางให้เกษตรกรลงทะเบียนรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม
ธ.ก.ส. ระบุว่าเบื้องหลังของเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com เลือกใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ด้วยเหตุผลด้านการสเกลรองรับผู้ใช้จำนวนมาก และมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย-ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ใช้เวลาทั้งหมดเพียง 48 ชั่วโมง เป็นความร่วมมือของทีมไอทีของ ธ.ก.ส., บริษัท Bluebik และไมโครซอฟท์ประเทศไทย หลังเปิดบริการแล้วมีสถิติการทำรายการข้อมูล (นับรวมรับ-ส่ง) จำนวนกว่า 30 ล้านรายการในวันแรก
ในช่วงภาวะ COVID-19 หน่วยงานภาครัฐไทยมีเปิดเว็บไซต์หลายแห่งเพื่อให้บริการประชาชน เช่น เราไม่ทิ้งกัน.com และ ไทยชนะ.com ที่พัฒนาโดยทีมของธนาคารกรุงไทย ซึ่งทั้งสองเว็บไซต์ใช้ Google Cloud Platform
Comments
ด้วยเหตุผลด้านการสเกลรองรับผู้ใช้จำนวนมาก และมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย-ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เรื่อง customer service ก็สำคัญครับ ผมทราบว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ดูแลดีมาก ไม่แน่ใจว่าอีกสองเจ้าเค้าดูแลลูกค้าในไทยยังไงบ้าง
AWS support ต้องเปิด ticket ครับ
แต่ก็แก้ปัญหาได้ดีนะ แก้ได้ทุกครั้งที่คุย
แต่ที่แน่ๆ ไม่มีการวางบิล ต้องหาคนวางบิลให้ ซึ่งก็จะกินส่วนต่างไป
ของ Azure นี่เปิด ticket ต้องวางบิลเลยเหรอครับ อันนี้ความรู้ใหม่กำลังจะย้ายไป cloud จะได้อยู่ในเงื่อนไขการตัดสินใจด้วย
ไม่ใช่ครับ เขาหมายถึงเวลาหมดเดือนแล้ว AWS มันไม่มีวางบิลมาให้ครับการทำเรื่องชำระเงินในแง่บริษัทเลยยากหน่อย แต่ถ้า Azure เองไมโครซอฟท์ก็ไม่มาวางบิลครับ แต่มีตัวแทนจำหน่ายในไทยทั้ง EA และ CSP ครับมีบริษัทไทยวางบิล ซึ่งราคาจะถูกกว่าที่ไมโครซอฟท์ขายด้วย ticket ซื้อซัพพอร์ตรายเดือนเอาครับอยากเร็วแค่ไหนซื้อตัวนั้นเลย (แต่ปกติ CSP หรือ EA จะมีคนซัพพอร์ตด้วยอยู่แล้วซื้อจากตรงนั้นก็ได้)
ปล.แต่ไมโครซอฟท์มี Invoice นะถ้าไม่ติดเรื่องทำภาษีก็น่าจะใช้ได้มั่งผมไม่แม่นเรื่องนี้...
ผมอ่านแล้วก็คิดเหมือนกันนะว่าตัวอื่นก็มี
แต่เค้าเลือก MS เพราะมีfeature ที่ต้องการ เค้าไม่ได้บอกว่าเลือก MS เพราะเจ้าอื่นไม่มี feature พวกนั้น
คงอะไรแนวๆนั้นๆ ไม่งั้นคงเลือกไม่ได้สักที มันก็มีเหมือนๆกันหมดน่ะพวก feature พื้นฐาน
ถ้าผมตอบคงบอกว่า เคยใช้เจ้าไหนมาก่อนก็ใช้เจ้านั้นแหละ
48 ชั่วโมง ถือว่าเร็วมากเหมือนกันนะ
อืมมมมม...
เศรษฐพงค์ เสนอ ใช้โดเมนไทย ชี้ “เซิร์ฟเวอร์-โดเมนเนม” ต่างประเทศอันตราย
ความน่าเชื่อถืออย่างเดียวเลยครับ แบบนี้ ต่อให้พยายามแค่ไหน หากไม่ตอบโจทย์หรือเกิดปัญหาขึ้นมา ก็หนีไปใช้ของเจ้าอื่นอยู่ดี
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เหมือนจะเป็นโปรเจ็คเยียวยาที่ยังไม่มีปัญหา ༼ つ ◕_◕ ༽つ
ถือว่า Microsoft เตรียมตัวมาดี แต่ข้อมูลจาก 2 รอบก่อนหน้านี้น่าจะช่วยระดับนึง
..: เรื่อยไป
งานเผาแหง desktop version ยังไม่ได้ทำเลย ทุกอย่าง max 100%
48 ชั่วโมงนี่ ยังไงก็เผา ปั่นไฟแลบแหละครับ
ปรบมือให้คนทำงาน
ตบกระโหลกพวกสั่งงานด่วน ไม่วางแผนล่วงหน้า
ถ้าไม่วางแผนล่วงหน้าคงไม่น่าเลือกมาทางเผานะครับ
ถ้าทำแค่ frontend regis. ไม่ได้ยากอะไรครับ
Google form Enterprises
โอ้ คนเขียนระบบของเว็บนี้ทำทันได้ไง 55
48 ชม. งานด่วนดีแท้
คำว่า "กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ใช้เวลาทั้งหมดเพียง 48 ชั่วโมง"
มันไม่ได้แปลว่าเทพ หรือเก่งนะครับ (สำหรับผมมันแปลว่าระบบการทำงานห่วย)
48 ชม. นี่เวลา Deploy เปล่าเนี่ย
30 ล้านรายการ ไม่มีรายงานการล่ม แล้วทำไม เรรไม่ทิ้งกันและก่อนหน้านี้ 20 ล้านรายการล่มจนโด่งดังหว่า หรือใช้เทคโนโลยีคนละแบบกัน