กลุ่มสตาร์ทอัพเกาหลีได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการสื่อสารของเกาหลีหรือ KCC เพื่อขอให้มีการตรวจสอบว่า แอปเปิล, กูเกิลละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อในแอปหรือไม่
ทางกลุ่มสตาร์ทอัพระบุว่าแอปเปิลได้บังคับให้นักพัฒนาใช้ระบบการซื้อในแอปเฉพาะของตนตั้งแต่ปี 2011 ที่ซึ่งต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้แอปเปิล 30% ทางฝั่งกูเกิลนั้นไม่ได้บังคับใช้ระบบจ่ายเงินของสินค้าในแอปผ่านทาง ระบบ In-App ของตัวเองยกเว้นเกม แต่ก็มีข่าวระบุว่ากูเกิลอาจจะขยายการบังคับใช้ In-App Purchase กับทุกหมวดต่อไป
Choi Sung-jin ประธานกลุ่ม Korea Startup Forum บอกว่า ในขณะที่การเก็บค่าคอมมิชชั่น 30% นั้นเป็นการตั้งราคาสูงเกินไปอยู่แล้ว การบังคับใช้บริการจ่ายเงินของแพลตฟอร์มโดยไม่มีทางเลือกอื่นยิ่งเป็นปัญหา นอกจากนี้นักพัฒนาจากบริษัทรายใหญ่อาจมีอำนาจต่อรองเรื่องราคาคอมมิชชั่น แต่สำหรับรายเล็กนั้นเป็นไปได้ยาก และเป็นค่าใช้จ่ายเยอะกว่าจะแบกรับไหว และสุดท้ายอาจนำไปสู่การขึ้นราคาค่าธรรมเนียมการซื้อในแอป
ภาพจาก Korea Startup Forum
การเก็บค่าธรรมเนียม App Store ของแอปเปิลกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ตั้งแต่ Epic ทำระบบจ่ายเงินของ Fortnite บนมือถือเอง เลี่ยงจ่ายส่วนแบ่ง 30% ให้ร้านค้าแอป จนถูก App Store แบนและ Epic ก็ฟ้องกลับฐานผูกขาด, Facebook เองก็ออกมาบอกให้แอปเปิลลดภาษี App Store ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้งานโดยเฉพาะคนทำธุรกิจ ครีเอเตอร์ทำเงินผ่าน Facebook ได้เต็มๆ แต่ถูกปฏิเสธ
ที่มา - Korea Herald
Comments
App Store คือห้างห้างหนึ่ง ซึ่งมี traffic ดีและคนเข้ามาจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก ห้างนี้มีค่าเช่าที่รายปีปีละ 3000 กว่าๆ คุณจะเอาอะไรมาลงขายแค่ไหนก็ได้(แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าของห้างก่อน) นอกจากนี้จะต้องเสียค่า GP คิดจากยอดขายจำนวน 30%
คนขายในห้างไม่พอใจที่ต้องเสียค่า GP 30% เลยให้ลูกค้าจ่ายเงินโดนไม่ผ่านระบบของทางห้าง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียค่า GP ให้ห้าง ทางห้างรู้เรื่องเข้า เลยโละสินค้าของคนขายคนนี้ออก พร้อมไล่คนขายคนนี้ออกจากห้างด้วย คนขายไม่พอใจไปฟ้องขอศาล บอกห้างผูกขาดการขายของในห้าง ต้องเสีย GP ไม่อยากเสีย....อันนี้กรณีขอ E...
ส่วนกรณี K นี่ไม่หักดิบ แต่ไปให้คนใหญ่โตช่วยต่อรองขอลดค่า GP เพราะมันสูงไป ก็อยู่ที่เจรจาและทางห้างจะยอมไหม
เอาจริงๆ 30% คนขายก็มองว่าสูงเกินไปจริง แต่อย่าลืมว่าเจ้าของห้างได้รายได้ตรงนี้ไป ต้องเอาไปจ่ายภาษีให้รัฐอีก แถมค่าดูแลห้าง น้ำ ไฟฟ้า ค่าจ้างพนักงาน กำไรจริงๆจะเหลือเท่าไร
lol
https://www.nytimes.com/2017/11/06/world/apple-taxes-jersey.html
เปรียบเทียบกับ "ห้างหนึ่ง" นี่ผิดฝาผิดตัวมากครับ ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่มีซูเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านสะดวกซื้อแค่ 2 แบรนด์ก็ได้ครับ
บ้านคุณ arth มีเฉพาะร้านสะดวกซื้อแบรนด์ S ที่มีค่า GP จากยอดขาย 30% คนขายในห้างไม่พอใจแต่ก็ไม่มีทางเลือก จนมีสินค้ารายหนึ่งบอกให้จ่ายเงินผ่านทางอื่น ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ S จึงไล่สินค้าของแบรนด์นี้ออก
คุณ arth บอกว่าไม่มีปัญหา ร้านนี้ไม่ได้ผูกขาดใดๆ เจ้าของสินค้าทำผิดกติกาเอง บอกว่าตัวเลือกมีเยอะแยะเต็มไปหมด ถ้าใครแถวบ้านอยากซื้อสินค้ายี่ห้อนี้ ให้นั่งรถไปไกล 30 กิโลเพื่อไปซื้อจากร้านสะดวกซื้อเจ้าอื่นเอาเอง ค่ารถก็ออกเองนะ
ที่ผมเปรียบเทียบกับห้างอันนั้นเฉพาะส่วนของ App Store ครับ ไม่ได้รวมไปถึง iOS ที่มี App Store เพียงเจ้าเดียว
ผมขอเปรียบเทียบให้กว้างขึ้นละกันครับ App Store ยังคือห้างที่ผมอ้างถึงข้างบนอยู่
บริษัท A ได้สร้างหมู่บ้านขึ้นมาแห่งหนึ่งชื่อ iP โดยเน้นจุดขายเรื่องความปลอดภัยของลูกบ้าน ซึ่งมีข้อบังคับว่าลูกบ้านจะต้องซื้อของจากห้างของบริษัท A ที่เปิดอยู่กับหมู่บ้าน iP เท่านั้น เพื่อความปลอดภัย และสุขภาพของลูกบ้านเอง เพราะของที่วางขายในห้าง บริษัท A ได้ตรวจสอบแล้ว
ด้วยความดูหรูหราของบ้าน(ในช่วงแรก) ทำให้คนมากมายเข้ามาจับจองอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีร้านยอมเสียค่าเช่าและค่า GP เพื่อมาเอาของขายในห้างจำนวนมาก แต่มีลูกบ้านอีกกลุ่มหนึ่งไม่พอใจเรื่องการที่จะต้องซื้อของในห้างนี้และตกแต่งบ้านอะไรไม่ได้เลย เลยทำการแอบออกไปนำของจากข้างนอกมาใช้ด้วยรถโดยสาร JilBak
ทางบริษัท A ก็พยายามอุดช่องทางต่าง ๆ ทางรถโดยสารนี้จะแอบเข้าออกได้ ทางรถโดยสารก็พยายามหาช่องทางแอบเข้าคืน ไล่กันไปไล่กันมา จนความยากลำบากในการขึ้นรถโดยสาร JilBak ยากขึ้น ลูกบ้านส่วนมากก็เริ่มที่จะยอมรับ และซื้อของใช้จากทางห้างของบริษัท A แทน
ถ้าเราเป็นเจ้าของบริษัท A นะครับ เราเป็นคนสร้างชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากขึ้นมากับมือ และลูกบ้านในชุมขนมีกำลังทรัพย์ในการจับจ่ายใช้สอยของในห้าง การที่จะให้ใครก็ได้มาเปิดห้างใหม่ในชุมชนที่ตัวเองสร้างขึ้นมาและไม่เสียค่าอะไรเลยก็ไม่น่าจะโอเค
ทีนี้ละ ปัญหาคือ ข้อบังคับที่ว่าลูกบ้านจะต้องซื้อของในห้างนี้เท่านั้น ทำให้เกิดข้อผูกขาดขึ้นจริง คนขายที่จะต้องมาวางของขายก็ไม่พอใจเพราะไม่มีทางเลือก ก็เอาเรื่องนี้มาฟ้องร้องกันไป
บริษัท A จะทำอย่างไรต่อไป ?
ก) ปล่อยให้ใครก็ได้มาเปิดห้างขายของ โดยไม่สามารถตรวจสอบของที่มาขายได้ เรื่องระบบความปลอดภัยและสุขภาพของคนในหมู่บ้านก็จะหายไป
ข) ฟ้องร้องกันไปข้างเลย เผื่อชนะ
ค) ไม่งั้นก็ต้องใช้วิธีเปิดสัมปทาน(เสียค่าเช่า,ส่วนแบ่ง ฯลฯ)ให้คนมาเช่าที่เปิดห้างใหม่เพื่อเปิดร้านขายของอื่นๆได้ แต่ก็ต้องมีเงื่อนไขโน่นนี่นั่นอีก โดยยังเน้นที่ความปลอดภัยและสุขภาพของลูกบ้าน
ง) ช่วยคิดกันหน่อยครับ คิดไม่ออกและครับ
ในข่าวนี้มุ่งประเด็นไปที่ In-App ดังนั้นถ้าจะเปรียบกับห้าง คงต้องเปรียบแบบนี้ครับ
คุณไปซื้อมือถือในห้าง ผู้ขายเสียส่วนแบ่ง 30% ให้ห้างไปแล้ว แต่ค่าบริการรายเดือนที่คุณจ่ายทุกเดือนผู้ขายยังต้องนำส่งห้างที่คุณซื้อมา 30% ทุกเดือนตลอดไป
เทียบเป็นคอนโดมิเนียมน่าจะดีกว่า
ส่วนตัวผมว่าเปรียบเทียบกับ "ห้าง" ไม่ถึงขั้นผิดฝาผิดตัว และยังช่วยให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น แต่ประเด็นคือระบบอิเล็กทรอนิกส์ล้วน ๆ นั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่าห้างสรรพสินค้ามาก ๆ ค่าคอมมิสชั่นที่หัก 30% รับรองว่าหักค่าใช้จ่ายแล้ว แอปเปิ้ลเหลือมากกว่า 25% แน่ ๆ
ส่วนที่บอกว่ากำไรที่ APPLE ได้ไปต้องไปเสียภาษีอีก อันนี้ไม่เกี่ยว ไม่ควรเอามาเป็นประเด็น รายเล็กยิ่งแย่โดนหัก 30% แล้วยังต้องเสียภาษีเช่นกัน
อีกอย่างบริษัท Tech Giant แบบนี้ เค้าเลี่ยงภาษีกันสุดฤทธิ์สุดเดชอยู่แล้วครับ
พาดหัวไม่เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อเท็จจริงยังไงไม่รู้ อยากปลดแอกก็ไปตั้ง platform ของตัวเองสิ
เค้าแค่เอาลักษณะความไม่พอใจของผู้สร้าง App ที่มีต่อ Store ของแต่ละ OS มาล้อกับวลีทางการเมือง ณ ปัจจุบัน
เข้าใจฮะ
แต่ผมนึกถึงแบบไปขายตัวเป็นทาสเองแล้วกำเริบเสิบสานทั้งๆที่ประเคนตัวเองเข้าไปเองน่ะ #อีเย็นมา
ก็เหมาะสมตรงดีออก แต่ละคนก็มีข้ออ้างของตัวเอง แต่ทุกที่ก็ย่อมกีกฎ ไม่ทำตามกฎก็ต้องหาวิธีต่างๆนาๆมาสู้ แม้แต่เอาเด็กมาใช้เป็นเครื่องมือให้มาติดคุกแทนก็มีสมัยนี้นี่นะ จากอดีตจนถึงปัจจุบันก็วนมาอีกครั้งรอดูกันต่อไป
?
แน่ใจ...ว่าเด็กสมัยนี้จะยอมตกเป็นเครื่องมือแทนใครโดยไม่คิดไตร่ตรองเอง
แน่ใจ?
ความคิดมีกันทุกคนครับแต่เรื่องวุฒิภาวะและประสบการณ์อันนี้ต้องไขว่คว้าหากันครับ
ดูถูกความคิดเด็กเกินไปหน่อยครับ และถ้าเด็กมันถูกล้างสมองให้เชื่อฟังง่ายจริงๆ ทำไมผ่านมา 6 ปีพวกนั้นถึงล้างสมองเด็กไม่ได้ล่ะครับ
ขอคิดต่างนะครับ ผมได้ลองพูดคุยกับเด็กสมัยนี้พบว่าพวกเด็กๆฉลาดนะครับ ไม่น่าจะตกเป็นเครื่องมือของใครได้ง่ายๆ ครับ
ผู้ใหญ่สมัยนี้ดูถูกเด็กจังเลยนะครับ สมควรแล้วที่โดนมันประท้วงเข้าให้
นานๆจะเห็นคุณ sunnywalker มีลูกเล่นในการพาดหัว ก็นับว่าพัฒนาขึ้นมาอีกระดับ
แต่อยากให้เอาเวลาไปพัฒนางานเขียน กับ คุณภาพการแปลด้วยเหมือนกัน เพราะเอาใจช่วยเรื่องนี้มานาน จน………… เฮ้อ
เพื่อความชัวร์ คิดค้นซิบเซ็ตขึ้นมาเองเลยดีกว่า
+1 พาดหัวมีความอคติเกินไป และไม่เหมาะสม
เห็นคนมักจะยกตัวอย่างห้างกัน เอามั่ง
สมมติว่าถ้าห้าง T บังคับว่าคนเช่าที่ค้าขายในห้าง ต้องให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านทางบัตรเครดิตของ T เท่านั้น ซึ่ง T เก็บส่วนแบ่ง 30% ห้ามจ่ายเงินสด ห้ามไปใช้บัตรเจ้าอื่น ห้ามพูดถึงระบบการจ่ายเงินแบบอื่น ห้ามเดินออกไปจ่ายนอกห้าง
ไม่พอใจก็ไปห้างอื่นสิ!
ถ้าเคยขายของในห้างที่มี GP จะทราบนะครับ ว่าห้างไม่บังคับวิธีการจ่ายเงิน แต่ต้องส่งยอดมห้ทางห้าง เพื่อห้างจะคิดค่า GP ตามจริง โดยร้านบางร้านก็หมกเม็ดไม่ส่งตามจริงก็มี
ถ้าเป็นการออกบูธขายของจริงในไทยที่ห้างคนเยอะๆนี่ 30-35% นะครับ
ฮ้า ถ้ามีค่าเช่ารายเดือนแล้วยังจะโดน GP มั้ยครับ
แล้วแต่ห้างเลยครับ ห้างคนน้อย ส่วนมากจะมีแต่ค่าเช่า ถ้าหากคนเยอะๆ จะมีทั้งค่าเช่าและ GP บางที่ก็คิดแยกกัน บางที่ก็คิดตามว่าอะไรมากกว่ากันให้จ่ายยอดนั้น(ร้านขายดีก็เจอ GP ร้านขายไม่ดีก็เจอค่าเช่า)
ถ้าจะบอกว่าของ App Store เสียค่าเช่าและต้องเสียส่วนแบ่งอีก ลอวดูค่าเช่านะครับ 3000 กว่าๆบาทต่อ"ปี"ต่อ account คือจะเอากี่ app มาลงก็ได้ ถ้าขายของได้ถือว่าไม่แพง
ขอบคุณครับ ไปศึกษาต่อ
ถ้าจะมองในแง่เจ้าของแอพ คือมีระบบจ่ายเงินตั้งมากมายให้เลือก ทำไมต้องถูกบังคับให้ใช้ระบบที่ถูกเก็บส่วนแบ่งสูง ยิ่งถ้าโมเดลการทำเงินมันไม่ได้มีกำไรสูงต่อ 1 Transaction ก็แย่ไป แถมไม่สามารถ “ไม่ไหวก็อย่าขึ้นห้าง” ได้
แต่ถ้าจะมองในแง่เจ้าของ platform นั่นคือช่องทางในการเก็บส่วนแบ่งรายได้
ถ้างั้นสุดท้ายก็ตามข่าว อยู่ที่การเจรจา ไม่น่าเป็น flat 30% แต่อย่างที่ข่าวว่าคือรายย่อยก็ไม่มีอำนาจเจรจา
ทำโปร อยากได้พื้นที่ดีๆต้องจ่ายเพิ่มนะครับ
หัวเชลฟโปรโมชั่น 1แถม1ในซูเปอร์ ผนังเชลฟ์เลย์ กองโปรทางเดิน เก็บเงินเพิ่มทั้งนั้นจ้า~
ค่าเช่าก็ค่าเช่า แยกกันกับ ค่าธรรมเนียม/ส่วนแบ่งการขายนะครับ
จะบอกว่า 30% ของ appstore กะ play store นี่จิ้บจ้อยเด็กน้อยหอยสังข์มาก
สำหรับเจ้าใหญ่ๆก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ (เช่น Epic)
แต่เจ้าเล็กๆอย่างข่าวนี้หรือข่าวก่อนหน้าที่ผมพูดถึง floatplane ก็แย่อยู่นะ
จะให้เก็บเจ้าใหญ่เยอะ เจ้าเล็กเก็บน้อย ?
ก็ดูเป็นไปได้นะครับ เก็บเป็นขั้นบันได transaction น้อยเก็บน้อยลง tx เยอะก็เก็บเต็มเพดาน
ตามนั้นครับ คิดตามขนาดองค์กรหรือผู้ประกอบการ อัตรารายได้ จำนวนการเข้าถึงแอพของผู้ใช้ และ Package ที่จ่ายด้วย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก จนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ปัญหาคือ ในโลกผลไม้ เค้าห้ามไม่ให้ห้างอื่นมาตั้งด้วยสิ โขกสบายเลย มีอยุ่ห้างเดียวทั้งโลก
ผลไม้มีตึกอยู่สองแห่ง ตึกใหม่แบบ iOS ก็แพงหน่อย แต่ตึกร้างที่ชื่อ Mac OS ที่นี่จัดว่าเป็นเป็นตลาดนัด สามารถเปิดท้ายกะบะขายได้ตามสบาย หรือจะยอมจ่ายไปขายในโซนติดแอร์เอาก็ได้
ของ Apple ยังพอเข้าใจได้ แต่ของ Android นี่ Google ไม่ได้บังคับให้ติดตั้งผ่าน Playstore ทางเดียวนิครับ ถ้ารับไม่ได้กับค่าธรรมเนียม คุณก็ไปทำ Sideload หรือไม่ก็ลง Third-party Store เอาซิ
Android ก็มีส่วนแบ่งสูงมากอยู่ดีครับ แม้จะบอกว่ามีช่องทางอื่นอย่าง sideload แต่กระบวนการ (การเตือนความปลอดภัย, UI ของระบบ ฯลฯ) ก็นับว่าลำบากเป็นอย่างยิ่งอยู่ดีครับ
พวกนี้เขาบังคับ "แยกบริการ" ได้นะครับ แบบเดียวกับที่ Android โดนเรื่องขายพ่วงเบราว์เซอร์ ขอไม่จ่าย In-App แต่จ่ายค่าวางแอปนับตามครั้งที่ดาวน์โหลด + ขนาดแอป + จำนวนครั้งที่อัพเดต + ค่าแรงรีวิวแอป อะไรแบบนั้นไปเลย
แต่ต้องให้วินิจฉัยก่อนว่ากูเกิลมีอำนาจเหนือตลาด คู่ค้าหนีไปไหนไม่ได้
เติม: เคสแอนดรอยด์นี่มีปัญหาเฉพาะเกมครับ (ห้ามจ่ายข้างนอก) และกลุ่มอุตสาหรรมเขาโวยต่อเนื่องว่ามีข่าวว่ากูเกิลจะขยายไปอย่างอื่น
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ๆ อย่างแอนดรอยด์นี่ ใช้ DMM ก็จ่ายผ่าน DMM ตรงเลยได้ด้วย
https://timetoplayfair.com/ - by Spotify ;p
น่าจะเป็นรายต่อไปจาก Epic นะเนี่ย
ปล.Spotify Tencent มีหุ้นในนั้นด้วยนะครับ ไม่ถึง 10%
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ไม่พอใจก็เจราจา/ร้องเรียนให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ..ทำถูกแล้ว ทำตามกฏหมาย
ไม่ใช่กฎหมู่แบบepic...ทำไมบางคนดูจะสนับสนุนวิถีนี้กัน
เพิ่งดูคลิปของ the verge ล่าสุดมา เค้าสรุปได้ดีนะครับ
หลายคนยกตัวอย่างการเก็บค่าแผงตลาด เก็บค่าเข่าที่ห้าง
แต่ลองคิดดูครับว่าถ้าค่าเช่ามันแพงเกอนไปจนเราแทบไม่ได้อะไรเลย
แถมจะย้ายไปที่อื่นก็ไปไม่ได้อีก เพราะไม่มีที่ให้ไป จะทำยังไง
รายได้จาก app store มีประมาณ 50B ต่อปี
แอปเปิลเอาไปแล้ว 15B ซึ่งมันเยอะมาก ๆ เยอะเกินค่าพนักงาน เกินค่าบำรุงรักษา server อีก
แล้วถ้าใช้วิธีให้ลูกค้าสร้าง account กลางที่สามารถล็อกอินผ่าน platform ไหนก็ได้ และสามารถใช้ของที่ซื้อจาก
platform ใดๆ ได้เหมือนกัน แล้วแอปก็ตั้งราคาแต่ละ platform ให้เป็นคนละเรทกันตามเปอร์เซ็นต์ที่เสียไป สมมติว่าลูกค้าไปเจอราคาในเว็บไซต์ที่เป็นของแอปเอง (ที่ไม่ได้เจอมาจากการแนะนำในแอป) ที่มีราคาถูกกว่าซื้อ in-app อย่างนี้จะถือว่าผิดกฎ store เขามั้ย
ขอให้ไม่มี link จ่ายเงินวิธีอื่นใน app เราถือว่าไม่ผิดกฏครับ
จะทำเว็ปที่สามารถใช้ login เดียวกันกับใน app แล้วซื้อเอาก็ได้ ส่วนเวลาโปรโมทก็ทำหน้าเว็ปหรือเพจเราต่างหากได้ครับ แค่ระวังอย่าเผลอให้ตัว app เรามี link ไปที่เพจแล้วมีวิธีจ่ายเงินอย่างอื่นก็พอ
ทำได้นะครับ Garena ก็ทำ เติมเงิน ROV งี้เติมผ่านระบบของมันเองนอก app ได้ คุ้มกว่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แต่ที่สงสัยคือ ลูกค้าไปชำระเงินผ่านเว็บได้นี่ครับ ไม่ต้องแบ่งให้ Apple / Google
หรือถ้า Android จะทำ APK ให้ลูกค้าไปติดตั้งเองก็ได้ Google ไม่ได้ห้าม
แต่นี่คือต้องการเลือกช่องทางที่จะทำให้ลูกค้าสะดวกที่สุด (ให้โหลดผ่าน Google Play / App Store)
และจ่ายเงินง่ายที่สุด (ไม่ต้องเปิดเว็บ และไม่ต้องทำใช้ Social Media ในการประชาสัมพันธ์วิธีการจ่ายเงินผ่านเว็บ)
อ่านหลายๆความเห็นในนี้แล้วก็นึกขึ้นมา
ว่าเมืองไทยเรามีวัฒนธรรมอยู่อย่างหนั่งคือ วัฒนธรรมสยบยอม
แบบ ไม่พอใจก็ออกไปสิบ้าง
คิดแทนนายห้างว่าเขามีต้นทุนอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่ใช่นายห้าง ไม่เคยรู้ต้นทุนจริงๆ
เขาทำมาให้ใช้ก็บุญแล้วบ้าง
ในขณะที่หลายๆวัฒนธรรม เขามีการรู้จักเรียกร้อง
คือ ได้ไม่ได้ ไม่รู้แต่คุณก็มีสิทธิเรียกร้องไง คุณไม่พอใจคุณก็ออกเสียงเรียกร้อง มันต้องมีอะไรซับซ้อน?
+1000000
ผมไม่คิดว่าเป็นแค่ไทยนะครับ เท่าที่อ่านเว็บเมืองนอกก็มีทั้งฝ่ายเชียร์และต่อต้านเยอะเหมือนกัน
จากประสบการณ์ตรงคือ คนไทยไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษครับ หลายๆ user ในนี้ก็วนเวียนอ่านข่าว อ่านคอมเม้นอยู่ในเว็บไทยๆเนี่ยแหละ เพราะไปอ่าน forum ต่างประเทศแล้วไม่เข้าใจ ก็เอามาคิดเองเออเองว่า เมืองนอกเค้าคงไม่คิดอย่างคนไทย
ผมก็อ่านข่าวเมืองนอกทุกวันครับ ความปกป้องนายทุนของไทยเด่นกว่าฝรั่งจริง ๆ เรื่อง IT อาจไม่ชัดเจน เพราะมันมีมวยสองฝั่งเป็นปกติ พอเป็นเรื่องการกินการอยู่ ชีวิตทั่วไปจะชัดเจนมาก
เรียกว่าคนไทยเป็นคนแบบคนอะลุ้มอะหล่วยดีน่าจะถูกกว่านะครับ คือไม่ถึงกับสยบยอม ก้มหน้ารับชะตากรรมอะไรแบบนั้นหรอกครับ เพราะมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่ไหวมันก็ฮึดสู้เหมือนกันนั่นแหละ แต่ปกติคนไทยก็จะเป็นคนยอมๆ หยวนๆ กัน ไม่เป็นไร อะไรงี้ ข้อเสียก็อย่างที่เรารู้ๆ กัน คือถ้ามันใจดีมากไป ก็จะถูกคนไม่ดีเอาเปรียบเอาง่ายๆ
อันนี้ก็จะต่างกับบางประเทศ ที่วัฒนธรรมเค้าคือการรักษาสิทธิ และไม่อะลุ้มอะหล่วย แบบนั้นก็จะมีปัญหาตรงข้ามกับเรา คือกฎเป๊ะ สิทธิเป๊ะ แต่คนก็จะรู้สึกว่ามันแข็งๆ เกร็งๆ จนเย็นชา และคนก็จะมีความแบบ on edge ตลอดเวลา
สุดท้ายคือ มันน่าหงุดหงิดกันคนละแบบครับ
ไม่ได้ยอมไปทุกอย่างมากขนาดนั้นครับ ถ้าไม่เหลืออดจริงๆก็ปล่อยผ่านเพราะไขี้เกียจมีเรื่อง เพราะเสียเวลาและไม่คิดว่าคนที่รับเรื่องร้องเรียนเราจะช่วยอะไรได้มากด้วยในไทย
ที่มาฮือแตกจริงๆก็เรื่องอัยการยกฟ้องทายาทกระทิงแดงนั่นล่ะ อันนี้ลุกฮือเลยเพราะแต่ละคนก็รู้ว่าพอเป็นคนทั่วไปนี่โดนฟ้องไปนานแล้ว ยุติธรรมและตรงเวลาไม่มีผ่อนผันหรือยืดเวลาเฉพาะกับคนทั่วไป
ระบบทุนนิยมเท่ากับระบบปลาใหญ่กินปลาน้อย
ผมไม่เคยอินกับการคิดแทนพวกนายห้างแบบบางคนเลยครับ คือจุดยืนไม่เหมือนกันแล้วจะไปคิดแทนเขาทำไม งี้ผมจะบอกว่าพวกนายห้างทำไมไม่คิดถึงลูกค้าบ้าง ถ้าไม่มีลูกค้าแล้วสินค้า บริการต่างๆ ที่นายห้างทำมามันจะได้เกิดมั้ย กำไรต่างๆ ที่คุณได้มันก็มาจากลูกค้าทั้งนั้น เพราะงั้นคุณต้องฟังเสียงเรียกร้องของเขาด้วย
ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง
ผมไปห้างสยามแควร์วัน คนน้อยดีครับ
จบแล้วครับ
เขียนบอกได้เปล่า จ่ายในแอพจ่ายเท่านี่ จ่ายข้างเท่านี้ ซึ่งข้างนอกแอพจะถูกกว่าไรแบบนี้
หรือไม่ต้องบอกก็ได้มั้ง เห็นพวก youtube จ่ายตรงถูกกว่าจ่ายผ่านแอพ
ก็เหมือนซื้อบ้าน ที่ตรงนี้อยู่ใกล้ชุมชน แต่แพง แล้วเราก็บังคับให้เขาขายถูกลง
ทั้งๆที่เราเมิน บ้านที่อยู่ไกล
ทำไมเราไม่สนับสนุนโนเกีย ไมโครซอฟท์ล่ะ
เพราะฐานลูกค้าน้อย เราก็เมิน พอมาอยู่ข้าง Android Apple
เราก็บังคับเขาอีก สรุปทุกอย่างไม่ได้ดังใจเราหรอก
+100000000
ฟ้องไปกราบไป
ไม่อยากได้เงื่อนไขที่ต้องแบ่ง-จ่ายแพงนะนะ แต่ไม่มีปัญญาหา/พัฒนา platform เอง
+100
ผมคิดว่าทั้ง 2 OS กำลังผูกขาดเรื่องนี้อยู่ครับ
iOS จะลงแอพ หรือจ่าย in-app purchase ทำได้แค่ผ่าน App Store อย่างเดียว เราไม่สามารถที่จะทำด้วยวิธีอื่นได้
Android จะอ้างว่าสามารถลง Store อันอื่นก็ได้ แต่ Android ทุกเครื่อง Preinstalled Play Store มาให้เลยนะครับ (ผมคิดว่าเป็น Case ที่คล้ายกับ Internet Explorer) ถ้าทุกเครื่องลง Play Store มาอยู่แล้ว เหตุผลที่ผู้ใช้จะไปโหลด Store อื่นมาใช้มันก็น้อยครับ
ยกตัวอย่าง ผู้พัฒนาแอพ A อยากจ่ายค่าคอมมิชชั่นน้อยๆ เลยไปเลือกลงใน Store อื่นเช่น Store B ถ้าผู้ใช้จะต้องโหลด Store B เพื่อแค่จะโหลดแอพ A แอพเดียว คิดว่าผู้ใช้จะอยากโหลดทั้งแอพ A และ Store B ไหมครับ ผิดกับ Play Store ที่ติดมาทุกเครื่องเลย ทำให้มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ผู้ใช้ก็คิดว่า ถ้าไม่มีแอพ A ใน Play Store ฉันก็จะไม่โหลด ผู้พัฒนาก็ไม่มีทางเลือก ต้องมาลงใน Play Store กันหมด ทำให้มันเป็นการแข่งขันที่ไม่แฟร์ครับ
ถ้าเข้าใจไม่ผิด android ไม่ได้บังคับนะครับว่าให้มี play store เพียงแต่ถ้าจะใช้ gms ต้องมี play store ครับ เครื่อง android ทุกเครื่องไม่ต้องมี gms ก็ได้
ในทางปฏิบัติ นอกจาก Huawei กับมือถือจีนที่ไม่ได้ขาย International มียี่ห้อไหนหรอครับที่ไม่มี Play Store
AOSP ที่ใช้ใน IoT ไม่ได้ใช้ Google Mobile Services
ถ้าใน IoT คือคุณออกนอกประเด็นแล้วนะครับ สำหรับ IoT แอปที่ใช้รันงานเป็นแอปที่ออกแบบมาเฉพาะงาน ความจำเป็นที่จะโหลดแอปตามท้องตลาดมาใช้ น้อยมากครับ ไม่ใช่แบบมือถือที่เราใช้ๆ กัน ความจำเป็นของ GMS เลยน้อยครับ (ยกเว้นว่าออกแบบมาเพื่อใช้ Google Services)
ประเด็นที่เรากำลังคุยกันอยู่คือโทรศัพท์มือถือครับ เพราะเราคงไม่เอาอุปกรณ์ IoT มาเข้า Facebook หรือเล่นเกมกันแน่ๆ
ผมทำอยู่ 55555
บอกผมหน่อยเป็นความรู้ได้ไหมครับ อุปกรณ์ IoT ที่คุณว่ามามันคืออะไรหรอครับ
ของผมเบา ๆ เป็นทีวีครับ (ไม่ใช่ Android TV)
แต่เคยมีเคสเอาตู้เย็นมาเล่น Twitter ด้วย 555
นั่นในทางปฏิบัติไงครับ แต่ถ้าทำจริง ๆ ก็ทำได้ใช่มั้ยล่ะครับ แบบที่ amazon และ huawei ทำ มันคนละเรื่องกับ windows ที่คุณยกตัวอย่างมา ที่จะไม่ลง ie เลยมันเป็นไปไม่ได้
เยอะเลยครับที่ไม่มี Play Store คุณไม่รู้จักเท่านั้นเอง ผมมีเต็มไปหมด ไปประเทศไหนเจอที่ไหน (แค่ข้ามไปฝั่งลาวก็เกลื่อนแล้วครับ) ผมกว้านซื้อมาหมดครับ เพราะต้องเอาไว้ทดสอบแอปบริษัท (เพราะ 1 ในโจทย์คือต้องไม่พึ่งพา API ของ GG)
อีกอย่างที่ผมขอแย้ง เพราะคุณเปรียบว่าเหมือนสมัย IE
อันนี้แย้งเลยครับ IE คือการยัดเยียดจริงๆ ในระดับที่ผู้ผลิต PC ก็ไม่สามารถเอาออกได้นะครับ
ต่างกับ Play Store คือ ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต้อง "ขออนุญาต" จาก GG ในขณะที่ส่งเครื่องตัวอย่างให้ Prove ก่อนเริ่มทำตลาดนะครับ จึงจะติดตั้ง Play Store ไปในผลิตภัณฑ์โทรศัพท์ของตัวเองได้
ดังนั้น พวกมือถือ Noname ราคาต่ำเตี้ยเรี่ยดิน (ที่ผมบอกว่าคุณไม่รู้จักนั่นเอง) จะไม่มี Play Store มาทั้งนั้นนะครับ ผู้ขายปลายทางต้อง Side load ให้ลูกค้าเอง เหมือน PC ประกอบลง Software เถื่อนให้ลูกค้านั่นเองครับ
ดังนั้นกรณี Play Store เนี่ย GG สามารถโต้แย้งเรื่อง "ผูกขาด" แล้วโบ้ยไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ได้แน่ครับ
GG พูดได้เต็มปากว่า "ไม่ได้บังคับ" แต่พวกเขา "มาขอเอาไปใส่เอง" ด้วยเหตุว่าเพราะผู้ผลิตทุกรายก็รู้ว่าคนส่วนใหญ่ของโลกใช้ผลิตภัณฑ์ของ GG จึงไม่อยากเสียตลาดส่วนนี้ไปถ้าไม่ Bundle ไปด้วยเลย
gms นี่ ไม่มีก็ไม่ต้องได้ทำอะไรครับ จำไม่ผิด app ส่วนมากจะเรียกใช้งานทั้งหมด ไม่มีคือง่อยเลย Huawei ไม่ได้ไม่อยากไม่มี gms แต่เพราะโดน ตัดสัมพันธ์เลยมีไม่ได้ นั่นคือความสำคัญอย่างยิ่งยวดของ gms ในการใช้งานนอกประเทศจีน หลักๆเลยก็โปรแกรมแผนที่ของ google สำคัญมากสำหรับเกือบทุก app ที่ใช้งาน
ผมใช้ rom ที่ไม่มี gms จากที่ลองมี line man อันเดียวที่ใช้ไม่ได้ (เลือกแผนที่ที่ส่งไม่ได้) กับแอปเกมนึงที่ค้างที่หน้าโหลด
กรณีที่ ROM คุณไม่มี GMS แอปจาก Google แทบทั้งหมด รวมถึง Youtube ก็จะใช้ไม่ได้เลยนะครับ ยกเว้นว่าจะเข้าผ่านเบราเซอร์
ต่อจากที่ผมตอบไว้ใน #1172285
ตามความเห็นของคุณ Bigkung เพราะเหตุนี้แหละครับ ทำให้ยิ่งบริษัทที่ทำงานเฉพาะทางอย่างบริษัทของผม การพัฒนาแอปเฉพาะทางให้กับลูกค้าใช้ในระดับ Factory control จึงจำเป็นต้องไม่พึ่งพา API ของ GG 100%
เพราะงานแบบนี้ ลูกค้าต้องไม่เกิดปัญหาครับ เขาจะต้องใช้ Mobile Android หรือโทรศัพท์มือถือทุกยี่ห้อทุกรุ่นกับแอปของบริษัทผมได้ อย่างกรณี Maps นี่ Library class ที่บริษัทผมสร้างไว้ใช้เอง ถ้าไม่เจอ GMaps ก็จะใช้ OSM ทันทีครับ
สงสัยครับ, Netflix ปัจจุบันไม่มีแม้กระทั่งตัวเลือกให้จ่ายเงินใน App ต้องไปจ่ายในเว็บอย่างเดียว ทั้ง Google และ Apple ก็ไม่ได้ว่าอะไร, อะไรที่มันต่างกันเหรอครับ
กฏบอกห้ามมีการชำระเงินวิธีอื่นใน App เท่านั้นครับ
จะไปจ่ายใน web หรือที่อื่นเค้าก็ไม่ว่าอะไร ขอเพียงต้องไม่มี link จากตัว App เข้าถึงวิธีชำระเงินรูปแบบอื่นก็พอ
เหมือนคนที่ยังตัดรายเดือนในแอพผ่านแอปเปิลอยู่ก็ยังได้อยู่นะครับ แต่ถ้าจะสมัครใหม่จะทำให้ตัดผ่านแอปเปิลไม่ได้แล้ว
ส่วนตัวมองว่าเอาบิลมารวมกันไว้ที่เดียวเวลาจัดการมันสะดวกดีครับ ไม่ต้องไปไล่หาในเว็บว่ากดยกเลิกยังไงตรงไหน
ถ้าเกม จะจ่ายวิธีอื่นไม่ไอ้เลยสำหรับ iOS currency ในเกมที่ไมาได้ซื้อผ่าน in-app ของ iOS มีกฏห้ามเอามาใช้ใน iOS เกมหลายๆเกมเลยมีแยกเพชรฟรี เพชรเสียเงินของแต่ละแพทฟอร์ม บางเกมไม่แยกแต่เวลาย้ายไปเล่นจาก iOS ไป Android หรือในทางกลับกัน ก็เคลียเพชรเป็น 0 มันดื้อๆเลย เพื่อไม่ให้ผิดกฏ apple
ไม่ได้เคลียร์เป็น 0 นะครับ แค่นับแยกกัน ถ้าย้ายกลับ platform เดิมก็จะมีเพชรเท่าเดิมที่เคยเติมไว้ในของอีกระบบ (coin ใน line ก็เช่นกัน ตอนย้ายลืมใช้ให้หมด จะใช้อีกทีต้องย้าย platform กลับถึงจะใช้ได้ T_T)
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ล่าสุด tale เคลียร์เป็น 0 เลยครับ ไม่แยก currency
จ่ายผ่านระบบข้างนอกได้ครับ แต่ห้ามมี link ไปจ่ายผ่านระบบในตัว App
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
พวกโดเนท มันนับด้วยไหม พวกสตีมก็น่าจะลำบากนะ ถ้าโดนเยอะ
ทำไมถึงมีคนชอบคิดว่ากฎคือกฎห้ามเปลี่ยนแปลง กฎไม่ได้ถูกต้องหรือแฟร์เสมอไปซักหน่อย
ผมว่าไม่แปลกหรอกครับ ก็ถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็ก
ผมคิดว่ามันก็เป็น business practice ที่ปกติเหมือนกับที่ทำกันบนธุรกิจอื่นมาตลอด
ผู้เช่าก็มีสิทธิ์เรียกร้องขอลดค่าธรรมเนียม แต่ผู้ให้เช่าก็มีสิทธิ์ไม่ปฏิบัติตามเช่นกัน
That is the way things are.
ถ้าปรับดีๆ กราฟฟิคจะสมจริง และลื่นมากครับ
ผิดข่าวแน่นอน
จริงครับ เพิ่งรู้ตัวเลย ดันเปิดไว้หลายแท็บ
สำนึกผิด แต่ไม่เขินนะ เพราะหน้าด้านพอ ฮ่าๆๆๆ