Epic Games ร่วมกับพันธมิตรผู้ได้รับผลกระทบจากแอปเปิลอีกหลายราย เช่น Basecamp, Spotify, Deezer และ Match Group (บริษัทแม่ของ Tinder) ประกาศตั้งกลุ่มพันธมิตร Coalition for App Fairness (CAF) เพื่อผลักดันกฎหมายและกฎระเบียบด้านการผูกขาดสโตร์
กลุ่ม CAF บอกว่าจะเป็นตัวแทนของนักพัฒนาแอพและเกมทั่วโลก ที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมในสนามแข่งขัน และรักษาสิทธิของผู้บริโภคในการมีตัวเลือกที่หลากหลาย
สมาชิกก่อตั้งทั้งหมดใกลุ่ม CAF ได้แก่ Basecamp, Blix, Blockchain.com, Deezer, Epic Games, the European Publishers Council, Match Group, News Media Europe, Prepear, Protonmail, SkyDemon, Spotify, Tile และยังเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกเรื่อยๆ
ภาพจาก @ProtonMail ในการเปิดตัว CAF
CAF เสนอหลักการ 10 ข้อที่สโตร์จัดจำหน่ายแอพควรมี เช่น ไม่ควรมีข้อกำหนด exclusive, การแบนแอพควรโปร่งใส, เจ้าของสโตร์ไม่ควรโปรโมทแอพของตัวเองหรือกำหนดค่าดีฟอลต์ให้ผู้ใช้, ห้ามเจ้าของสโตร์แบนแอพที่เป็นคู่แข่งกับตัวเอง ฯลฯ
สิ่งที่น่าสนใจคือ พื้นที่ทำการของ CAF อยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา และกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภายุโรป ในระยะถัดไปเราคงเห็น CAF เข้าไปล็อบบี้นักการเมืองเพื่อกระตุ้นให้เข้ามาจัดการประเด็นเหล่านี้
ที่มา - Coalition for App Fairness
Comments
5555
เดี๋ยวมันต้องมีคนเข้าใจผิดแน่ๆ
Exclusive ยังมีได้ คือ เจ้าของแอปเต็มใจทำ exclusive
ที่ห้ามคือ ห้ามสโตร์กำหนดขึ้นมา
“เต็มใจทำ exclusive” โดยเจ้าของสโตร์ไม่จ่ายซักแดงหรอครับ? หรือเต็มใจเพราะได้เงินจากเจ้าของสโตร์นับไหมครับ?
ในมุมมองผม
ตัวอย่างที่ห้ามทำ (สโตร์ออกกฎ) เช่น เกมบน PS จะไม่เล่น multiplayer กับคอนโซลตัวอื่นได้ หรือ Apple ออกกฎกีดกัน Stadia และ xCloud
ตัวอย่างที่ทำได้ เช่น Sony ทำเกม exclusive ของตัวเองออกขายตามปกติ โดยไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษในความเป็น Sony ทำเรื่องแปลกๆ หรือ Epic จ่ายเงินเพื่อให้ได้เกม exclusive ของตัวเอง
สำหรับกรณีอื้อฉาวที่ Epic ซื้อ Metro: Exodus จนไม่ได้ลง Steam ตามที่สัญญาไว้ ผมเห็นหลายคนด่า Epic เป็นหลัก ทั้งๆที่คนที่ควรโดนด่ามากกว่าคือ 4A Game นะ เพราะ Epic ไม่ได้เอาปืนไปจ่อหัวใครให้มาเป็น exclusive นะ
ผมอยากแย้งย่อหน้าสุดท้ายหน่อย ผมมองว่าเรื่องพวกนี้มันเกิดจากการตกลงทั้งสองฝ่ายไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (เพราะ 4A Game ก็ไม่ได้เอาปืนไปจ่อหัว Epic ให้จ่ายเงินเหมือนกัน) ดันนั้นผมมองว่ามันเป็นความผิดของทั้งสองฝ่ายและควรถูกตำหนิพอๆกันครับ
ถ้าให้เปรียบเปรยก็เหมือนคนติดสินบนเจ้าหน้าที่ ผมคิดว่ามันก็สมควรตำหนิทั้งคนที่เสนอและเจ้าหน้าที่ที่รับสินบนนั่นแหละครับ
นอกจากนี้ Epic เองก็เคยมีกรณีเรื่องกีดกันอยู่บ้างเหมือนกัน อย่างเกม DARQ ที่ไม่สามารถเอาเกมลง Epic ได้นอกจากจะยอมเป็น Exclusive ของ Epic ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจบยังไง
ขออภัยที่ผมใช้คำพูดที่ดุดันเกินไปสักหน่อย
ในความคิดผม 4A Game สมควรถูกตำหนิเพียงฝ่ายเดียวครับ เพราะ ณ เวลานั้น 4A Game มีทางเลือก 3 ทาง คือ
1. ลง Steam ไปแบบเดิมดีแล้ว
2. ลง Steam กับ Epic พร้อมกัน คือ 4A Game มีสิทธิ์เลือกทางนี้ได้ครับ
3. 4A Game ตระบัดสัตย์ เซ็นสัญญาลง Epic เจ้าเดียว แล้วรับเงินก้อนที่ Epic เสนอให้
อัพเดท: เคส DARQ นี่ Epic กีดกันจริง ยังมีสองมาตราฐานระหว่างเกมหัวใหญ่กับเกมอินดี้
ในมุมมองผม Epic เองก็มีทางเลือกที่จะไม่ยื่นข้อเสนอเหมือนกันครับ
หรือก็คือการที่ดีลนี้จะเกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากการติดสินใจของ 4A Game แค่ฝ่ายเดียว แต่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันของ Epic กับ 4A Game เพราะงั้น Epic เองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบและถูกตำหนิด้วยเหมือนครับ
มันก็เหมือนกับการจ้างล้มมวยนั่นแหละครับ จะบอกว่าฝ่ายที่รับเงินผิดเพียงแค่ฝ่ายเดียว ฝ่ายคนยื่นข้อเสนอไม่ผิด ผมว่ามันไม่ใช่ครับ
/me "ห้ะ"
เอ็งน่ะคนแรกเลยนะ อีปริก
อีกไอเดียนึงที่พอนึกออก ถ้าไม่อยากเปิด alternative store ใน Apple คือ
การพิจารณาแอปขึ้นสโตร์จะต้องทำโดยคณะกรรมการที่จะมีคนนอกอย่างน้อยครึ่งนึงเพื่อถ่วงดุลกับ Apple
แน่นอนว่า Apple คงไม่ยอมหรอก แต่ถ้าแพ้คดีผูกขาด วิธีนี้ก็เป็นอีกทางเลือกนึง
หรืออีกทางหนึ่งในความคิดผมคือ ถ้าหากต้องการควบคุมมาตรฐานของแอป จะต้องมีพนักงานแอปเปิลช่วยสกรีนอีกทาง และมีส่วนแบ่งในส่วนรายได้ที่เสียหก เช่น ถ้าหาก Epic อยากเปิดร้านเอง ก็เปิดได้ แต่ส่วนแบ่งจะต้องมีของแอปเปิล 5% อะไรพวกนี้ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เจ้าของสโตร์ไม่ควรโปรโมทแอพของตัวเองหรือกำหนดค่าดีฟอลต์ให้ผู้ใช้
ตลก แฟร์ ตรงไหน สร้างความลำบากให้ user ของแบบนี้ ควรต้องจาายค่า exclusive อยู่แล้วไม่ว่าจะ default search หรือ pre load
ในโลกก็มีข้อกำหนดแบบนี้หลายรอบแล้วนะครับ ไมโครซอฟท์โดนเรื่อง IE, Google โดนเรื่อง Chrome/Google Search
ไม่ใช่แค่ห้ามด้วย โดนปรับกันไปไม่น้อย
lewcpe.com, @wasonliw
สุดท้ายก็ default อยู่ดี ยิ่ง microsoft ล่าสุดนี่ edge บัฃคับเปิดหลัง update windows เลย
รู้สึกข้อเรียกร้องบางข้อก็เกินไป เหมือนจะเน้นเอาคืนมากกว่า
ในยุโรป เห็นว่า Windows จะแสดงหน้าต่างให้เลือกว่าจะใช้ browser ตัวไหนตอนที่บูทเข้าระบบครั้งแรกครับ
ประเด็นที่ผมคิดต่อไปคือ การบังคับให้เลือกแค่ browser มันเป็นการ "ให้ตัวเลือก" แบบเฉพาะกิจหรือไม่
ทำไมไม่บังคับให้หมดทุก application อาทิเช่น mail, image viewer, video player, file explorer
เส้นแบ่งของคำว่า OS feature กับ application มันอยู่ที่ตรงไหน
การให้เลือกได้แค่บาง application เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ ทำไมไม่ทำตามหลักการที่ว่าทั้งหมดกับทุก application สุดท้ายแล้วการทำแบบนี้มันสร้างความลำบากให้ user หรือไม่
That is the way things are.
ตัวเลือกเยอะใช่ว่าจะดีครับ
ถ้าลองมองว่า user ที่ใช้ไม่มีความรู้เลย อยากใช้คอมพิวเตอร์ เลยซื้อ notebook มาตัวนึง
พอเปิดเข้ามาเจอคำถามมากมาย คุณจะเลือกใช้ browser ตัวไหน แล้วอะไรดีละ ไม่รู้เลย กดไปเจอถามจะใช้ mail client ตัวไหน ไม่รู้อีก ถามต่อ image viewer จะเลือกใช้ตัวไหน ...
ถึงแม้ไม่ใช่ผู้ใช้ใหม่เอี่ยมไม่มีความรู้ เป็นผมผมก็ไม่โอเคที่จะต้องมาถามทุกอย่างครับ
ค่อดรำคาญ อ่ะ บอกเลย อย่าง androidที่ชอบถามว่าจะเปิด อะไร เ้วย app ไหน เวลากดลิงก์ หรือไฟล์
ขึ้นอยู่กับว่าแอปพลิเคชันนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้ใช้งานมากขนาดไหน และปกติมันตั้งค่าได้อยู่แล้ว แค่ย้ายเมนูมาให้กดแค่นั้น
สรุปคืออยากขายของบนสโตร์เขาฟรีๆ ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง
ช่าง Epic จริงๆ
สู้แบบอยู่อย่างโจรปล้นบ้านสินะ 5555
ประเด็นน่าสนใจ
เรื่องแบบนี้ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาจริงๆนั่นแหละ
ในขณะที่หลายๆหน่วยงานพยายามลดอำนาจบริษัทใหญ่เพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม หลายๆคนคงต้องรอให้เกิดเคสแบบชีสเค้กก่อนถึงจะเริ่มตื่นตัวกันละมั้ง
ก็ได้แต่ให้ความรู้กันไปเรื่อยๆ ครับ ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์ที่มีประโยชน์ที่ผ่านๆ มาด้วยครับ
เคสแบบชีสเค้กนี่คืออะไรเหรอครับ มีคีย์เวิร์ดเพิ่มไหม
ร้านเบเกอรี่ชื่อดังจากกาญจนบุรี... เมนูดังคือ เค้กที่โรยหน้าด้วยขนมไทยอย่างหนึ่ง
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ช่วงนี้มีกระแสเรื่องแบนชีสเค้กยี่ห้อหนึ่งในร้านสะดวกซื้อชื่อดังครับ คิดว่าค้นว่า "แบนชีสเค้ก" ไปก็น่าจะขึ้นครับ
คร่าวๆก็คือนายทุนใหญ่กว้านซื้อวัตถุดิบจนขาดตลาดส่งผลต่อผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ หลายคนก็เลยเริ่มออกมาแบนกัน
มันอาจจะฟังดูไม่เกี่ยวข้องเท่าไหร่ แต่ต้นเหตุของเรื่องนี้คือการที่มีบริษัทหนึ่งมีอำนาจใหญ่พอจะสร้างผลกระทบกับตลาดทั้งหมดได้ ซึ่งถ้ามันไม่เกิดเรื่องอะไรแบบนี้ขึ้นหลายๆคนก็คงไม่สนใจอะไร แบบเดียวกับที่หลายๆคิดว่าปล่อยให้ Apple Google Amazon ฯลฯ กินรวบไปก็ไม่เห็นเป็นไรนั่นแหละครับ
แต่ถ้ารอจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้น ถึงตอนนั้นบริษัทพวกนี้ก็อาจจะใหญ่คับฟ้าจนเราอยากจะเลี่ยงก็เลี่ยงไม่ได้ไปแล้ว และนี่คือสิ่งที่หลายๆหน่วยงานรวมถึงรัฐบาลหลายๆประเทศ (ที่ไม่ใช่ไทย) ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็เลยพยายามแทรกแซงให้มีคู่แข่งเข้าไปแข่งกับบริษัทใหญ่ให้ได้ครับ
เรื่องชีสเค้กนี่ผมว่าเป็นการกล่าวหาที่เกินเลยไปมาก การซื้อวัตถุดิบปริมาณมากขนาดนั้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติ แล้ววัตถุดิบที่ใช้ก็สั่งจากต่างประเทศ ไม่ใช่ส่วนที่ขายสำหรับรายย่อยภายในประเทศด้วย
การโจมตีชีสเค้ก brand นี้ด้วยเหตุผลนี้ ผมจึงมองว่ามันเป็นการจับแพะชนแกะ ที่เกิดดราม่าเป็นเพราะผู้ผลิตชีสเค้กรายนี้ใช้คำพูดในการสื่อสารไม่ดีมากกว่า
และถ้าการซื้อครีมชีสแค่ 17 ตันแล้วมันทำให้ครีมชีสหมดโลก ไม่สามารถหาซื้อจากแหล่งอื่นได้แล้ว ผมก็คงต้องสรุปได้ว่าโลกเรามันมีศักยภาพในการผลิตครีมชีสได้น้อยจริง ๆ เอามาทำชีสเค้กได้แค่ 26,000 ชิ้นต่อวันก็หมดแล้ว ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ครับ จำนวนประชากรบนโลกที่บริโภคครีมชีสมันมีมากกว่านั้นมาก
อยากแนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ
That is the way things are.
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันเป็นเรื่องจริงเท็จหรือกล่าวเกินจริงแค่ไหน
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ผมอยากจะสื่อก็ยังคงเหมือนเดิมครับ ถึงจะเป็นการกล่าวหาเกินจริง ข่าวชีสเค้กมันก็แสดงให้เห็นว่าหลายๆคนไม่ได้ปลื้มมากนักกับการที่มีการใช้อำนาจเหนือตลาดเกิดขึ้น แต่ในกรณีข่าว App Store หลายๆคนกลับไม่ค่อยรู้สึกอะไรกับการที่บริษัทต่างๆกำลังค่อยๆกินรวบและมีอำนาจมากขึ้นแทน
ส่วนตัวผมก็ไม่ชอบการผูกขาดหรือมีอำนาจเหนือตลาดนะครับ เช่น ตลาดสุราบ้านเรา เป็นต้น แต่ที่ไม่เห็นด้วยกับกรณีนี้เพราะผมคิดว่าที่ Apple ทำมันคือ business practice ที่ปกติ ผมมองว่ามันสามารถอ้างอิงกับห้างสรรพสินค้าได้
ในทางกลับกันผมกลับไม่โอเคกับฝั่งที่ต้องการไปหาประโยชน์จากฐานลูกค้าคนอื่นฟรี ๆ มากกว่า
That is the way things are.
ส่วนตัวผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของอำนาจที่มีในตลาดมากกว่าการกระทำครับ
ต่อให้เป็นการกระทำที่เหมือนกัน แต่หากผู้กระทำเป็นผู้ที่มีอำนาจในตลาดมาก ก็มีความจำเป็นจะต้องแทรกแซงมากกว่าครับ
ในหลายๆเคสที่ Google Microsoft Amazon โดน ผมคิดว่าก็คงมีอีกหลายบริษัทที่ทำเหมือนกันครับ แต่บริษัทเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนแบ่งมากจนมีอำนาจใหญ่โต จึงไม่ได้โดนแบบเดียวกันครับ
ด้วยเหตุนั้น ผมมองว่าการมีอำนาจเบ็ดเสร็จภายในห้างตัวเอง กับการมีอำนาจเบ็ดเสร็จใน iOS มันมีอำนาจในตลาดที่แตกต่างกัน เพราะงั้นก็เลยอาจต้องมีการแทรกแซงครับ
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้มันก็เร็วเกินกว่าที่จะตัดสินว่า Apple ผิดครับ แต่ถึงอย่างนั้นผมคิดว่าคดีนี้มันก็มีค่าพอจะจับตามอง มากกว่าจะมองแค่ว่าอีกฝ่ายแค่หาเรื่องปล้นผลประโยชน์ไปฟรีๆครับ
+1024 ครับ
เจ้าของกิจการสั่งมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ครับ ไม่ได้ไปเดินชอปตามห้าง ซึ่งเค้าดีลตรงกับบริษัทผู้ผลิตถ้าขาดตลาดเพราะสั่งปริมาณมาก ต้องไปดูว่าเป็นที่บริษัทต้นทางผลิตไม่พอ หรือห้างสรรพสินค้า, ร้านสะดวกซื้อ สั่งมาน้อย