แอปเปิลฟ้องบริษัท GEEP Canada ผู้รับรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ หลังจากตรวจพบว่ามีอุปกรณ์ที่ส่งไปทำลายกว่าจำนวนหนึ่งกลับมาออนไลน์ได้
แอปเปิลส่งอุปกรณ์ทั้ง iPhone, iPad, และ Apple Watch ไปยัง GEEP กว่าห้าแสนชิ้นในช่วงเวลาสามปี จาก 2015 ถึง 2017 แต่พบว่าอุปกรณ์ที่รองรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ส่งไปทำลายแล้ว กลับมาออนไลน์ถึง 18% โดยเป็น iPhone อย่างน้อย 103,845 เครื่อง และในบรรดาอุปกรณ์ที่ส่งไปทำลายยังมีอุปกรณ์จำนวนหนึ่งที่ไม่รองรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทำให้อุปกรณ์ที่ถูกกลับนำมาขายน่าจะสูงกว่านี้มาก
ทาง GEEP แจ้งความพนักงาน 3 รายฐานขโมยอุปกรณ์เหล่านี้ไปจากบริษัท แต่ทางแอปเปิลไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ ระบุว่าพนักงานทั้งสามคนเป็นผู้จัดการระดับสูง
การรีไซเคิลเป็นความรับผิดชอบใหญ่ของบริษัทไอที ที่ต้องระวังทั้งผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้องค์กรมักจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาจัดการการทำลายและรีไซเคิลอุปกรณ์ไอทีให้ ปีที่แล้วก็มีคดีพนักงานบริษัท Broadlink ในญี่ปุ่นขโมยฮาร์ดดิสก์ไปขายในตลาดมือสองแม้บริษัทจะมีหน้าที่ทำลายข้อมูลก็ตาม แอปเปิลเองแม้จะลงทุนเทคโนโลยีรีไซเคิลตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยพัฒนาหุ่นยนต์ Daisy แต่แอปเปิลก็ยังต้องพึ่งบริษัทภายนอกในการรีไซเคิลอยู่
ที่มา - The Verge
ภาพโรงงานรีไซเคิลของแอปเปิล
Comments
จากข่าวแสดงว่าชิ้นส่วนหลายชิ้นสามารถที่จะ Reuse เพื่อเป็นอะไหร่ทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้
ข่าวไม่ระบุ "รุ่น" ของโทรศัพท์ แต่ถ้าแอปเปิลไม่ได้ขายแล้วก็ไม่ควรเอากลับขึ้นมาอีกถูกแล้วนะครับ
ถ้ายังขายและยังมีประกันอยู่อาจจะบอกได้ว่าควร refurbish ขึ้นมาเป็นอะไหล่ แทนที่จะรีไซเคิลไปเลย
lewcpe.com, @wasonliw
เครื่องรุ่นเก่าที่อยู่บนเว็บช๊อปปิ้งชื่อดังมาจากแบบนี้ด้วยรึเปล่าครับ
เครื่องใหม่แท้ประกันร้าน 6 เดือน
เครื่องพวกนี้ประกอบที่ Shenzhen ครับ เมืองนี้มีห้างที่รวมอะไหล่เลย แบบเยอะมากๆ ซื้อชิ้นส่วนรวมๆ กันแล้วเอามาจ้างประกอบ ร้านที่ขายบอร์ดยังมีประกันร้าน 3 วันถ้า activate ไม่ผ่าน
ส่วนใหญ่จะเป็น iPhone โดยขโมยแล้วเอามาแยกชิ้นส่วน ถอด iCloud ด้วยวิธี Phishing
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
น่าจะใช่ เคยดูยูทูปฝรั่งคนหนึ่งไปจีนสั่งประกอบ iphone ใหม่ขึ้นมาได้เลย
พ่อค้าเดินสายรวบรวมอะไหล่จากบรรดาร้านในห้างมาประกอบให้ ทำเสร็จก็เปิดใช้ได้เลย
อยู่เมืองไทย มีบอร์ดที่ใช้ได้อันนึงก็ประกอบขึ้นมาใหม่ได้หมดแล้ว iphone
แม้แต่บอร์ดก็มีขายครับ
เป็นแสนชิ้นนี่เยอะไหมเนี่ย น่าจะไม่ธรรมดาถึงเอาออกมาได้ขนาดนี้
ก็ Recycle ไง เอามาชำแหละขายใหม่
อันนี้น่าจะ reuse นะครับ ไม่ใช่ recycle
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แหม่
Reuse คือนำไปใช้ต่อเลย ไม่ได้ทำอะไรกับมัน Recycle คือชำแหละ แยกชิ้นส่วนเป็น Raw material แล้วนำไปผลิตเป็นของใหม่
ทราบครับ แค่อยากแซวอ่ะครับ
แต่จริง ๆ เคสนี้น่าจะมีการแยกชิ่นส่วนเป็นอะหลั่ย แล้วเอาไปประกอบเป็นเครื่องใหม่ ก็คล้าย ๆ Recycle มากกว่านะครับ ไม่ใช่ Reuse ซะทีเดียว
แยกส่วนใช้ก็ reuse ครับ ถ้าแบ่งตามหลัก 3R นะครับ ผมไม่แน่ใจอาจจะแบ่งคนละเกณฑ์ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลักหรอกครับ ประเด็นหลักคือตาม contract ที่เค้าทำกันไว้แหละครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
สิ่งที่ควรทำลายก็คือข้อมูลของผู้ใช้คนเก่า ชิ้นส่วนที่ยังใช้ได้ก็เอามาประกอบเป็นของที่ใช้ได้ใหม่ น่าจะดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเอาไปทำกองขยะเศษโลหะเศษพลาสติก แต่ในทางธุรกิจ การที่ประกอบเครื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิต ก็คงจะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และมีผลกระทบต่อผู้ใช้ ของที่ดูภายนอกเหมือนกันคนซื้ออาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นของแท้หรือไม่ คุณภาพและความปลอดภัยอาจไม่เหมือนของแท้
รอดูว่าจะจัดการต่อยังไง
เข้าใจว่ามันเป็นการยักยอกทรัพย์นะครับ
เพราะว่าโรงงานนี้เป็นโรงงานรีไซเคิล
Apple เอาเครื่องเข้าไปรีไซเคิลเพื่อต้องการวัสดุที่เป็นส่วนประกอบกลับคืนมา
ยกตัวอย่าง
ปกติ ป้อนเข้า 100 เครื่อง Appleได้วัตถุดิบไปผลิตเครื่องใหม่ต่อ 100 กรัม
แต่ในเคสนี้
ป้อนเข้าไป 100 เครื่อง Appleได้วัตถุดิบไปผลิตเครื่องใหม่ต่อแค่ 80 กรัม
Apple เลยสงสัยและส่งฟ้อง เพราะโดยเจ้าของโรงงานขโมยวัตถุดิบตั้งต้น ทำให้ผลผลิตที่ได้กลับมาลดลง
ประกอบกับการทำแบบนี้อาจส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของบริษัท เพราะสินค้าพวกนี้ไม่ได้ผ่าน QC หรือขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพใด ๆ เลย หนำซ้ำอุปกรณ์พวกนี้รู้ ๆ กันว่าใช้อะไหล่เทียมทั้งหมด ผู้ใช้หลาย ๆ คนถ้าไม่บอกเองอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าของพวกนี้เป็นของยัดไส้ขาย เพราะมันเหมือนกับของแท้มาก ถ้าผู้ใช้โวยวายทีหลังนี่แก้ยากกว่าแน่นอน