มีดราม่าเรื่องราวในองค์กรเกิดขึ้น เมื่อมีรายงานว่า Apple แบนการสร้างห้อง Slack ที่ไว้พูดคุยหารือเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงาน โดยบริษัทอ้างว่าหัวข้อการพูดคุยนี้ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งาน Slack ของบริษัท
ข้อกำหนดการใช้งาน Slack ของบริษัทระบุว่า ช่อง Slack สำหรับกิจกรรมและงานอดิเรกที่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็น Apple Employee club หรือ Diversity Network Associations (DNA) จะไม่ได้รับอนุญาตให้สร้าง
แต่ดูเหมือนกฎข้างต้นจะไม่ได้บังคับใช้อย่างทั่วถึง เพราะในองค์กร Apple มีห้อง Slack ที่พูดคุยกิจกรรมไม่เกี่ยวกับงานมากมาย เช่น ห้อง #fun-dogs (สมาชิกมากกว่า 5,000 คน) #gaming (สมาชิกมากกว่า 3,000 คน) และ #dad-jokes (สมาชิกมากกว่า 2,000 คน)
Vincent P. White ทนายความด้านการจ้างงานให้ความเห็นว่า การอ้างเงื่อนไข Slack อาจเป็นเพียงข้ออ้างในการปิดกั้นการอภิปรายเรื่องค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน ซึ่งถ้าทำแบบนั้นตรงๆ จะผิดกฎหมายแรงงาน
เรื่องการจ่ายค่าจ้างอย่างเป็นธรรม เป็นประเด็นร้อนในกลุ่มพนักงาน Apple ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บริษัทปิดกั้นการสำรวจข้อมูลคนทำงาน โดยมีการสำรวจหนึ่งของวิศวกรใน Apple ชื่อ Cher Scarlett ที่ทำการสำรวจต่อได้ และเบื้องต้นพบว่า มีความเหลื่อมล้ำค่าจ้างระหว่างชาย-หญิง 6%
Apple ยังไม่ออกมาพูดอะไรต่อกรณีนี้
ที่มา - The Verge
Comments
หลายบริษัทที่ทำมาเค้าก็ไม่พูดเรื่องเงินเดือนกันนะ ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วใครได้ประโยชน์ แต่การไม่รู้ก็สบายใจดีตอนทำงาน เพราะถ้าได้ไม่เท่ากัน ก็มีปัญหา แต่ได้เท่ากันก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา
จริงๆ แล้วที่บ.ไม่อยากให้พนักงานคุยกันเรื่องเงินเดือน ก็เพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหาแบบแอปเปิลนี่แหละครับ
บางกรณีมันก็จัดการง่าย บางคนโปรไฟล์แย่กว่า แต่อายุเยอะกว่า พอรู้ว่ารุ่นน้องได้เงินเดือนเยอะกว่าแล้วเริ่มทำตัวงี่เง่าก็เยอะ งานเสีย บรรยาการศในองค์กรก็เสีย
บางกรณีคนเก่งก็ถูกกดเงินเดือน เก่งกว่าแต่ได้เงินเดือนน้อยกว่าคนที่อายุเยอะกว่า แต่ฝีมือห่วย คนเก่งอายุน้อยเหล่านี้เริ่มท้อแท้ บ่นให้เพื่อนรุ่นเกียวกันฟัง แล้วก็พากันลาออก บ.ก็ลำบากอีก
พอเล่าแบบนี้แล้วผมมาคิดได้ว่ากฎเรื่องไม่พูดเงินเดือน ก็คงเพราะบ.พยายาม minimize payment, maximize benefit นั่นแหละครับ จะว่าบ.เห็นแก่ตัวก็คงไม่ได้
ปล. 10 ปีก่อนมีเพื่อนร่วมงานผมคนนึงแอบไปดูเงินเดือนผม เพราะ hr เผลอเรอวางเอกสารเงินเดือนไว้บนโต๊ะ หลังจากนั้นเพื่อนร่วมงานคนที่ว่าก็กระแนะกระแหนผมตลอดเวลา
นั่นสิ จริง ๆ มองผ่าน ๆ บริษัทอาจจะได้ประโยชน์เรื่อง minimize payment, maximize benefit แต่โดยรวม ๆ แล้วบรรยากาศในองค์กรณ์มันสำคัญเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน อายุงานไม่เท่ากัน รายได้ไม่เท่ากัน หรือบางทีคนเข้าใหม่ รายได้มากกว่าเพราะบริษัทมองว่ามีประสบการณ์มาจากที่อื่น (รวมถึงกล้าเรียกเงินเดือนมากกว่า)
รายได้มันควรเป็นความพึงพอใจของฝั่งนายจ้างกับลูกจ้าง และควรรู้กันแค่นั้น นายจ้างพอใจในความสามารถ และยอมจ่ายเท่านี้ เพื่อจ้างงาน ลูกจ้างพอใจในรายได้ และยอมรับรายได้เท่านี้เพื่อทำงาน คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องรู้ไปก็มีแต่จะทำให้เกิดความอิจฉาริษยามากกว่า
ผมว่าก็เรื่องปกตินะ ทุกที่ที่เคยทำงานมาก็มีระบุไว้ในสัญญาที่เซ็นตอนเริ่มงานทั้งนั้นว่าจะไม่เอาเรื่องค่าจ้างไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นในบริษัท ไม่งั้นคุมคนไม่ได้หรอกครับ
เคยอยู่ในองค์กรที่ทุกคนรู้เงินเดือนกันและกัน โจทย์คือถ้าจะได้เงินเท่าคนอื่น ก็ต้องทำงานให้ได้เท่าคนอื่น แข่งกับตัวเองล้วน ๆ
นักกีฬาหลายคนเรายังรู้เงินเดือนกันเลย
ผมเลยมองว่า บ.เอาเปรียบครับ
แสดงว่าบริษัทต้องโปร่งใสขั้นสุด จะได้ไม่เกิดข้อกังขาหรือคำถามว่าทำไมคนนั้นถึงได้เงินเดือนเท่านั้นเท่านี้ ส่วนนักกีฬาอันนี้ไม่แน่ใจว่าตอนเซ็นสัญญามีเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวเลขรายรับว่ายังไง อาจจะไม่เหมือนกันบริษัททั่วไปก็เป็นได้ครับ
ที่เคยเจอก็
บางคนขยันทำงานนายก็เพิ่มให้พิเศษ พอมีอีกคนไม่ขยัน มาเห็นก็โวยวายค่าจ้างไม่เป็นธรรม
หรือ แอบบลูลี่ กระแนะกระแหน่คนขยันจนอยู่ไม่ได้
หรือ ขอเรียกเงินเพิ่ม(มักเป็นพวกอยู่มานานแต่ได้น้อยหรือเท่ากับพวกอายุงานน้อยกว่าตน แต่ประสิทธิภาพตัวเองไม่ได้เพิ่มไปกว่านี้แล้ว)
ขอเรียกเงินเพิ่มนี่ไม่กลัว แต่กลัวพวกไปทำตัวทุเรศใส่คนอื่นนี่เเหละ คนไทยยิ่งมีนิสัยไม่อยากมีเรื่องอยู่ด้วย คนเก่งมีทางไปเลยเลือกออกเอง เผลอ ๆ กว่าจะรู้ตัวเหลือแต่พวกเกาะบริษัทกิน
ไม่มีใครเห็นขนจมูกตัวเองหรอก ทุกคนมักประเมินตัวเองว่าทำงานดีกว่าคนอื่น ปัญหาคือ งานที่ตนเองคิดว่าทำดีกว่ากว่าคนอื่นมีประโยชน์ต่อองค์กรเพียงใด เพราะแต่ละองค์กรก็มีผลกำไรที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ หากบริษัทมีการประเมินที่มีหลักการ แผนกที่ทำรายได้ และผลกำไรให้บริษัทมากก็มักมีอัตราเงินเดือนสูงกว่าแผนกอื่น
ส่วนองค์กรก็มองในมุมผลประโยชน์ว่าแต่ละคนใครทำประโยชน์อะไรให้องค์กรบ้าง ความเท่าเทียมไม่มีจริงในโลกธุรกิจหรอก
ที่แปลกใจคือ สมัยนี้คนเอาเงินเดือนมาเทียบกัน หรือกล้าบอกเงินเดือนตัวเองให้คนอื่นฟังด้วย
ยิ่งพวกที่ได้เงินเดือนเยอะๆ นี่ไม่ควรพูดอ่ะ มันเกิดการหมั่นไส้ได้ บางกรณีคุณอาจจะทำงานได้ดี เสร็จตามเวลา กะอีกคนที่เงินเดือนน้อยกว่า แต่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เลยต้องทำงานหนักๆ เขาอาจจะหมั่นไส้คุณก็ได้
ทาง ประเทศทาง ยุโรป หรือ เมกา เหมือนจะคุยเรื่องนี้กันได้ปกติ ปะ ไม่ได้เป็นความลับอะไร ไม่ใช่หรอ
มีกรณีโพสต์ slip เงินเดือนแล้วถูกไล่ออกอยู่ครับ
Facebook คุยเรื่องเงินเดือนใน internal group กันกระจายเลยครับ (เป็นกรุ๊ปที่คุยกันดีมากด้วย) ซึ่งมีคนเคยถาม Zuck ว่าโอเคมั้ย แกก็บอกว่าโอเคด้วยนะ ไม่มีปัญหาอะไร
ส่วน Apple เอง เรื่องนี้ขึ้นกับกฎของรัฐ อย่างน้อยสำหรับ California ต้องคุยเรื่องนี้ได้
เรื่องเงินเดือนมันคงแล้วแต่สังคมละมังครับ
ถ้าเป็นสังคมไทยที่ผมพบเจอ หากคนในบริษัทแผนกอื่นตำแหน่งอื่นรู้เงินเดือนเรา
อาจมีการมาขอยืมเงินเราให้เรารำคาญใจ ก็เลยตัดจบไม่บอกใครเลยดีกว่า
ส่วนตอนที่ทำงานต่างประเทศ ถ้าอยากรู้ก็บอกไปปกติเลย เพราะไม่มีใครมาจ้องจะยืมเงินเรา
จริงๆ เรื่องเงินเดือนมันไม่ได้มีแค่มุมของฝั่งเราฝั่งเดียวครับ ที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาสุดคือมันจะเกิดการเปรียบเทียบ