กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานถึงคดีของ Muhammad Fahd ชาวปากีสถานที่ถูกตัดสินโทษจำคุก 12 ปีฐานปลดล็อคโทรศัพท์ติดสัญญาของเครือข่าย AT&T ในสหรัฐฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตไปถึง 1.9 ล้านเครื่อง มูลค่าความเสียหาย 201 ล้านดอลลาร์
Fahd อาศัยการติดสินบนให้พนักงานช่วยปลดล็อคโทรศัพท์ให้ตั้งแต่ปี 2012 แต่ต่อมาบริษัทก็ปรับปรุงกระบวนการปลดล็อกโทรศัพท์ให้แน่นหนาขึ้น Fahd จึงหันไปจ้างนักพัฒนามาสร้างมัลแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ของ AT&T โดยเฉพาะ จากนั้นก็จ้างพนักงานของ AT&T ให้ติดตั้งมัลแวร์เพื่อขโมยรหัสผ่านจากพนักงานคนอื่นๆ เมื่อเข้าถึงเซิร์เวอร์ที่เกี่ยวข้องได้แล้วก็สามารถปลดล็อคโทรศัพท์ได้ทีละมากๆ
สหรัฐฯ ตามจับ Fahd มาตั้งแต่ปี 2017 และจับได้จากฮ่องกงในปี 2018 เขายอมรับสารภาพเมื่อเดือนกันยายน 2020
ที่มา - Justice.gov
ภาพโดย Firmbee
Comments
สงสัยเรื่องเครื่องโทรศัพท์ติดสัญญาบ้านเรามันผิดกฎกสทช.อะไรแบบนี้หรือเปล่าครับ? เห็นทำไมยังขายอะไรประมาณนี้ได้อยู่
ที่ผิดกฎ กสทช. แน่ ๆ คือ IMEI Lock ครับ แต่ติดสัญญารายเดือนอันนี้ไม่ผิด
แน่นอนว่าพวกสัญญาล็อกเครื่องในรุ่นถูกรวมถึง S20/Note 20 อันนี้ก็ไม่ผิด เพราะเป็นการล็อกที่ซอฟต์แวร์
เหมือนเคยเจอเครื่องโทรศัพท์ที่ล๊อค โอเปอเรเตอร์
ใส่ซิมค่ายอื่นจะใช้ไม่ได้
อันนี้ก็ไม่ผิดกฎ กสทช. เพราะล๊อค software?
สงสัยเหมือนกัน
เข้าใจว่า การล็อคเพื่อให้ใช้จนครบสัญญาสามารถทำได้ จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ แต่หลังจากครบสัญญาโทรศัพท์เครื่องนั้นๆ ต้องเป็นอิสระได้จะเอาไปใช้ที่ไหนก็ได้
ซึ่งถ้า lock ด้วย software ก็ปลดได้ง่าย อย่างของ Note10 ผมซื้อกับ AIS พอครบปีไอ้ข้อความเตือนก็หายไปเลยเป็นเครื่องปกติเหมือนทั่วไป
ที่ทำผิดก็มีตอนค่ายหนึ่งออกโปรโมชั่นซื้อซิมพร้อมมือถือ Nokia ปุ่มกด (ช่วงที่ 3G กำลังบูม) แต่ล็อคให้ใช้ได้กับค่ายนั้นเท่านั้น แล้วเงินที่ซื้อทางค่ายนั้นจะให้เป็นโบนัสค่าโทร (ไม่ใช่เงินค่าโทรที่เอาไปใช้กับอย่างอื่นได้) เพื่อเลี่ยงว่าแจกเครื่องฟรี แล้ว กสทช. ตอนนั้นตีว่าเป็นการซื้อเครื่องจนทำให้คนที่ซื้อเครื่องรอบนั้นมีสิทธิ์ขอรหัสปลดล็อคได้ ส่วนเครื่องรอบใหม่ทางค่ายนั้นแก้เป็นให้ซื้อซิมพร้อมเติมเงินแล้วได้เครื่องที่่ว่าฟรี แต่ยังล็อคให้ใช้ได้กับค่ายนั้นเท่านั้นเหมือนเดิมครับ