เอเอ็มดีรายงานความคืบหน้าการพัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4 ตามแผนการพัฒนาที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซีพียูที่อยู่ระหว่างการพัฒนามี 2 รุ่น ได้แก่
- Genoa: ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4 ที่อยู่ในแผนการพัฒนามาแต่แรก เน้นประสิทธิภาพสูงสุด จำนวนคอร์สูงสุด 96 คอร์ต่อซ็อกเก็ต ใช้แรม DDR5 และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกด้วย PCIe 5.0 พร้อมรองรับมาตรฐาน CXL สำหรับการขยายแรมเพิ่มเติมผ่าน PCIe ตอนนี้เริ่มส่งตัวอย่างให้ผู้ผลิตแล้ว คาดว่าจะวางขายจริงภายในปี 2022
- Bergamo: ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 4c ที่มีชุดคำสั่งเดียวกับ Zen 4 แต่การออกแบบภายในเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานเป็นหลัก ใช้แพลตฟอร์มเดียวกับ Genoa จำนวนคอร์สูงสุด 128 คอร์ต่อซ็อกเก็ต คาดว่าจะส่งมอบได้ก่อนกลางปี 2023
การเพิ่มสถาปัตยกรรม Zen 4c นับเป็นการตอบสนองต่อตลาดที่เริ่มเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานมากขึ้น หลังผู้ให้บริการคลาวด์เริ่มสนใจประสิทธิภาพในด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Cloudflare ออกมาวิจารณ์ว่าประสิทธิภาพต่อพลังงานของซีพียู x86 นั้นแพ้ Arm ชัดเจน แม้ว่าซอฟต์แวร์ยังไม่ได้ออปติไมซ์
ที่มา - AMD
Comments
เดาว่า 96-128 core น่าจะเป็น Threadripper หรือ Epyc เป็นหลัก พวก Ryzen ธรรมดาอย่างมากคงมีแค่ 16 คอร์เหมือนเดิม
ปล. แต่ผมเดาผิดหลายรอบละนะ ฮ่าๆ
ฝั่ง Apple ก็ใส่core เยอะแล้ว
ต่อไป nano คงไม่แข่งกัน เพราะถึงจุดตัน
คงมาแข่งจำนวน core
cpu มาแบ่งเป็น core เล็กแล้ว ต่อไปคงใส่ได้กันสนุก
Zen4c ออกแบบภายในเน้นประสิทธิภาพต่อพลังงานเป็นหลัก
กำลังบอกเป็นนัยๆหรือเปล่า
ว่าถ้าZen4c มาในryzenไม่ต้องแยก p,e core ก็แรง+ประหยัดไฟได้
Zen4c ไม่ได้ต้องแรงเท่า Zen4 นะครับ
อันนี้แล้วแต่การใช้งานครับ พวกงาน microservice มันมีแนวทางการใช้งานแบบเดียวตลอด ก็ไม่ต้องแบ่งคอร์ ถ้าคอร์ประสิทธิภาพดีมันเพียงพอก็คือเพียงพอ
แต่พวก desktop CPU คนใช้งานเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวอยากเปิดเบราว์เซอร์ (กินซีพียูไม่มาก process เยอะ) เดี๋ยวอยากเล่นเกม (บางเกมแทบไม่อยากได้คอร์เพิ่ม เอาแรงอย่างเดียว) การแบ่งประเภทคอร์มันก็สมเหตุสมผล
lewcpe.com, @wasonliw