ไมโครซอฟท์โพสต์ข้อมูลผ่าน Windows IT Pro Blog เผยสถิติการทำงานของ Windows Update ที่เราไม่เคยรู้กันมาก่อนว่าระยะเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการติดตั้งอัพเดต
ไมโครซอฟท์พบว่าต้องรอหลังไคลเอนต์เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้ 2 ชั่วโมง และนับเป็นเวลาทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์รวมกันนาน 6 ชั่วโมงขึ้นไป (ตัวชี้วัดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Update Connectivity) ถึงมีโอกาสอัพเดตสำเร็จสูง
สถิติของไมโครซอฟท์เองบอกว่าพีซีที่ไม่ได้อัพเดตนานๆ มักไม่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้ ผลคือแพตช์ที่ติดตั้งเก่า และมักทำให้อัพเดตล้มเหลว หรืออธิบายง่ายๆ คือเครื่องที่มีค่า Update Connectivity ต่ำแปลว่าไม่ค่อยได้อัพเดตแพตช์ล่าสุดเท่าไรนัก
ไมโครซอฟท์แนะนำให้แอดมินองค์กรแจ้งให้ผู้ใช้พีซีทราบว่าควรเปิดเครื่องและต่อเน็ตทิ้งไว้บ่อยๆ จะเป็นผลดีมากกว่าปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน โดยองค์กรสามารถดูสถิติ Update Connectivity ได้จาก Microsoft Intune ซึ่งจะระบุตัวเลขนี้ของพีซีแต่ละเครื่องในองค์กร
ที่มา - Microsoft
Comments
เลิฟโลกหน่อยซิ เปลืองไฟร์ น้ำมันก็เอ็กเพนซิฟ
Windows ก็ยังคิดแบบช่างเหมือนเดิม ไม่ได้คิดว่าทำไงให้ใช้ง่ายๆได้ทั่วไป
6 ชั่วโมง เวลาเลิกงานพอดี
ส่วนที่ทำงาน Admin ตั้ง 403 ให้ Windows Update กันเลยทีเดียว
เค้านับ 6 ชั่วโมงกันยังไงนะ
ผมว่าข่าวนี้น่าจะมีการแปลคาดเคลื่อน ในบทความต้นทางเขาบอกว่า จาก "ข้อมูล" MS พบว่า Windows ที่มีแนวโน้มที่จะ update สำเร็จส่วนใหญ่ จะมีการเชื่อมต่อกับ WU server บน internet ที่ต่อเนื่อง 2 ชมขึ้นไป และ มีการเชื่อมต่ออย่างน้อย 6 ชม
ในตัวบทความต้นทางไม่ได้ระบุว่า WU server จะปล่อย update ให้เฉพาะเครื่องเชื่อมต่อแบบต่อเนื่อง 2 ชมขึ้นไปเท่านั้น
บทความบอกแค่ว่า Update Connectivity จะเป็นค่าที่จะช่วยบอกว่าเครื่องมีแนวโนมที่จะสำเร็จในการอัพเดตไหมแค่นั้น และ admin ควรเอาเครื่องที่ไม่ผ่านค่านี้ออกจากการ metric ในการวัดความสำเร็จในการติดตั้งอัพเดต
ปรับแก้ตามนั้นครับ