หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศเริ่มการสอบสวนการผูกขาดโดยผู้เล่นสองราย (duopoly) ในตลาดเบราว์เซอร์บนโทรศัพท์มือถือ คือกูเกิลและแอปเปิล โดยเฉพาะประเด็นที่แอปเปิลบังคับห้ามผู้ผลิตเบราว์เซอร์ใช้เอนจินอื่นนอกจาก WebKit ที่มากับ iPhone เอง
CMA ระบุว่าการที่แอปเปิลบีบไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นใช้เอนจินของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถแข่งกันกับแอปเปิลในแง่ของฟีเจอร์และประสิทธิภาพการทำงานได้ และไม่มีแรงจูงใจให้แอปเปิลลงทุนพัฒนาเอนจินให้ดีขึ้น และทำให้เว็บแอปพลิเคชั่นมีความสามารถจำกัด ลดการสร้างนวัตกรรมโดยรวม
นอกจากการบีบเบราว์เซอร์เอนจินแล้ว CMA ยังแสดงความกังวลต่อนโยบายของแอปเปิลที่บีบการให้บริการคลาวด์เกมมิ่งบน App Store ว่าเป็นการปิดโอกาสผู้บริโภคไม่ให้เข้าถึงบริการคลาวด์เกมมิ่งได้เต็มที่
การเริ่มสอบสวนประเด็นเบราว์เซอร์บนโทรศัพท์ครั้งนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความเห็น ขณะเดียวกัน CMA ก็เริ่มสอบสวนกฎการใช้งาน Play Store ที่บีบให้ผู้พัฒนาต้องใช้บริการ in-app purchase ไปพร้อมกัน โดยกรณีแบบนี้แอปเปิลถูกสอบสวนในกรณีข้อตกลงการใช้งาน App Store ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021
การสอบสวนของ CMA มีกฎหมายบังคับว่าต้องสอบสวนให้เสร็จภายใน 18 เดือน หรือต่อเวลาได้อีก 6 เดือนในบางกรณี และหากการสอบสวนลงความเห็นว่าำพฤติกรรมของบริษัทมีผลต่อการแข่งขัน CMA จะมีอำนาจสั่งให้บริษัทต้องแก้ไข หรือบางครั้ง CMA อาจจะแนะนำหน่วยงานกำกับดูแลรายอื่นๆ ให้ใช้อำนาจกำกับดูแลต่อไป
ที่มา - Gov.uk
Comments
ในฐานะคนที่ทำงานเกี่ยวกับเกมบนเว็บไซต์เป็นหลัก ถ้าเอาผิดได้นี่ตาเป็นประกายทันที เกม HTML5 บน iOS จะได้เฉิดฉายเสียที
+1024
ทำไมตปทเขามีการตรวจสอบอะไรที่ยิบย่อยและละเอียดอ่อนไม่เหมือนกระทรวงที่ไทยเลย
ผมว่ากระทรวงที่ไทยให้ความสำคัญกับเรื่องละเอียดอ่อนมากกว่าต่างประเทศอีกนะครับ :P
ส่วนตัวมองว่า ตรวจสอบไป เสียแรง เสียเวลาให้คนด่าเปล่า ๆ ครับ
อย่างสหภาพยุโรป ถ้าเค้าตรวจสอบแล้วสมมุติผิดจริง สั่งปรับ หรือแบนสินค้า ห้ามนำมาขาย แอปเปิ้ลก็ต้องเปลี่ยนแปลง
ถ้าบ้านเรา สั่งปรับ อาจจะยอมจ่าย แต่ถ้าแบน มีหรือที่เค้าจะมาสนใจครับ อย่างมากก็เลิกทำตลาดบ้านเราไป เพราะตลาดบ้านเรามันเล็กทำไปก็ไม่คุ้ม สุดท้ายชาวบ้านเราเนี่ยแหละครับที่ด่า ทั้ง ๆ ที่เค้าอาจจะพยายามทำเพื่อเราอยู่น่ะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ปลั๊กไฟบ้านเราที่เร็ว ๆ นี้บังคับใช้เป็นแบบหัวกลมเท่านั้น ปลั๊กไฟแบบ Universal ห้ามขายเลย มันก็จะมีปลั๊กคุณภาพหลาย ๆ ตัวที่เค้ามองว่าทำไปเพื่อบ้านเราเจ้าเดียวคงไม่คุ้มก็เลิกนำเข้ามาขายไป เช่น Belkin
ทั้ง ๆ ที่โดยภาพรวมคุณภาพปลั๊กพ่วงบ้านเราสูงขึ้นมากจากมาตรฐานนี้ แต่ก็มิวายมีคนด่า แต่บริบทบ้านเรามันบากจริง ๆ เพราะเรานำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ค่อนข้างหลากหลายจากหลายประเทศ
ผมเชื่อเลยครับว่า ถ้าบ้านเราตรวจสอบ และแบน iPhone ไม่ให้เข้ามาขาย คนด่ามากกว่าชมแน่นอนครับ และทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์เลยครับ เพราะเราก็ไม่มีบริษัทที่ได้ผลประโยชน์จากการที่แอปเปิ้ลเลิกผูกขาด webkit คือ Software house บ้านเรามันไม่ได้ใหญ่พอที่จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงตรงนี้น่ะครับ
แก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่าอย่างของไทยอ่ะครับ ถ้าแก้ที่ต้นคือสามารถใช้แบบ universal ได้ แต่ต้องผ่านมาตรฐานใหม่ ส่วนไทยสั่งฟ้องไม่ได้หรอก เดี๋ยวเจ้าสัวอดกินรวบ
จริงๆเรื่องความยิบย่อยและละเอียดอ่อนผมว่าไทยเราก็ไม่แพ้นะครับ
แต่แค่ไม่ได้ตรวจสอบละเอียดทุกเจ้าแค่นั้นเอง...
เรื่องที่ละเอียด มักตรวจสอบไม่ละเอียด
เรื่องที่ไม่ละเอียด มักตรวจสอบละเอียดยิบๆ
เห็นด้วยเรื่องการสอบสวน จะได้เห็นเทคโนโลยีเบาร์เซอร์ที่หลากหลายเสียที
ผมสาวกไอโฟน ยังเห็นด้วยเลย เอาให้หนักไปเลย อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง
Adobe/Macromedia: ทำไมเพิ่งมาจริงจังเอาตอนนี้
พอจะเล่าให้ฟังได้ไหมครับ 🥺
น่าจะหมายถึง Flash สินะ Apple แบนจนทำให้ตายไปเลย
คิดว่าน่าจะเป็นเพราะตอนนั้น Apple ยังเป็นขาเริ่มขึ้น (แต่เทรนมาแรงมาก) แต่ถ้าบอกว่า Windows แบน Flash อันนี้คิดว่าน่าจะโดนสอบแน่นอน
ขอบคุณครับ