Solend แพลตฟอร์มให้กู้เงินแบบ DeFi เข้ายึดบัญชีผู้กู้รายใหญ่รายหนึ่ง ที่นำโทเค็น SOL จำนวนมากเข้ามาฝาก มูลค่าถึง 170 ล้านดอลลาร์ แล้วกู้เอา USDT และ USDC ออกไป เนื่องจากรายการกู้ยืมของบัญชีนี้สร้างความเสี่ยงให้กับ Solend อย่างมาก
เนื่องจากบัญชีผู้กู้รายนี้มีขนาดใหญ่มาก หากโทเค็น SOL ราคาต่ำกว่า 22.30 ดอลลาร์เมื่อไหร่ก็จะถูกบังคับขายโทเค็นออกมา 21 ล้านดอลลาร์ทันที ซึ่งจะกระทบต่อราคาโทเค็น SOL อย่างแน่นอน ผลพวงของการบังคับขายจะทำให้ราคาสินทรัพย์ค้ำประกันราคาตกลง โดยเฉพาะการขายในกระดานแบบ DeFi ซึ่งมีปริมาณคำสั่งซื้อขายไม่เยอะพอ ผลต่อเนื่องไปจนเกิดเหตุหนี้เสียในที่สุด
ทาง Solend เปิดโหวตขออำนาจฉุกเฉินเพื่อยึดบัญชีนี้ไว้ชั่วคราว และเพิ่มเงื่อนไขสำหรับผู้กู้รายใหญ่ อย่างไรก็ดีหลังโหวตข้อเสนอนี้ผ่านไปไม่นาน ทาง Solend ก็ยอมรับว่าถูกวิจารณ์หนักว่า และเปิดโหวตยกเลิกข้อเสนอแรก โดยระบุว่ากำลังไปหาทางออกใหม่ที่ไม่ต้องยึดบัญชี
แม้จะเปิดโหวตจากชุมชนและทีมงาน Solend ระบุว่าไม่ได้ใช้โทเค็นของตัวเองโหวตเลย แต่จริงๆ เสียงโหวตก็มาจากบัญชีไม่กี่บัญชีเท่านั้น
Comments
อันนี้คือตัวอย่างของของระบบ Proof Of Stake ที่ยิ่งรวยยิ่งมีอำนา่จเยอะปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
.
.
.
.
.
.
.
ระบบ Fiat การเงินดั้งเดิมก็ประมาณแบบนี้เนี่ยแหละ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
หลังจากโลกผ่านกระบวนการเรียนรู้ว่าไม่ควรปล่อยเอกชนออกตั๋วเงินกันเองโดยไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมมาเป็นร้อยปี
เราก็กลับไปเรียนใหม่อีกรอบ ภายใต้ความรู้สึกว่ามันคือนวัตกรรม
lewcpe.com, @wasonliw
เอาจริงๆสภาพตอนนี้ ตั๋วเงินเอกชนสมัยก่อนกับของรัฐก็ไม่ได้อยู่ในสภาพต่างกันรึปล่าวครับ
เราทำได้แค่ยืนมองรัฐrug pullตาปริปๆ โดยที่ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน
พันกว่าปีที่แล้ว ก็มีบทเรียนเรื่องปริ้นเงินแล้วเละเทะ ผ่านมาพันกว่าปี ก็ยังวนกลับมาที่เดิม แล้วบอกว่าเราทำเพื่อทุกคน
เราไม่ได้ปริ้นท์ตังเราทำ QE เฉยๆ ถถถถถถ.
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ซึ่งปรากฎว่ากระบวนการพิมพ์เงิน นี่มันทำให้เงินที่เราใช้ๆ ทุกวันนี้มูลค่ามันนิ่งมาก
ภาวะที่เงินจะฝืดก็พิมพ์เงินอัดระบบ ภาวะที่เงินเฟ้อ (เขาพิมพ์เงินเป็นสิบปีเงินไม่ค่อยเฟ้อ) ก็เริ่มสูบเงินกลับ และคนเจ็บหนักกลายเป็นกลุ่มคริปโตอยู่ดี
ธนาคารกลางที่คุณขำการกระทำของเขารักษาค่าเงินโดยแทบไม่เคยกระทบค่าเงินเกิน 10% เลย เงินเฟ้อสหรัฐฯ 8.x% นี่สูบเงินกลับรัวๆ แล้ว ไม่นับว่ามันมีเหตุภายนอกอย่างสงครามเขาก็ต้องรับผิดชอบดูแลค่าเงินให้มันนิ่ง
โลกคริปโตดูแคลนงานของธนาคารกลาง แต่พอใช้จะถือยาวจริงๆ ก็แห่กันไปขออิงค่าเงินของธนาคารกลาง
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องคริปโตก็เรื่องนึงครับแต่ตัวเลขเงินเฟ้อมันมีการเล่นแร่แปรธาตุเปลี่ยนสูตรในการคำณวนจนเอาไปเทียบย้อนหลังแทบจะไม่มีความสอดคล้องกันแล้วคือถ้าเอาสูตรเดียวกันเมื่อ 40 ปีที่แล้วมาใช้เราน่าจะอยู่ในสภาวะ hyperinflation ไปแล้วแต่โอเครคุณอาจจะเถียงผมได้ว่าสูตรเมื่อ 40 ปีก่อนมันไม่ make sense แล้วที่จะใช้ต่อแต่คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการปรับสูตรไม่ได้มีเจตนาเพื่อทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อมันต่ำกว่าความเป้นจริง ? เอาเป็นว่าตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ละกันว่าตัวเลขจริงอาจจะมากกว่านี้
ส่วนที่คุณบอกว่าสูบเงินกลับรัวๆผมมองว่ามันไม่ได้เยอะอย่างที่คุณคิดนะถ้าไม่เชื่อลองไปดูกราฟ M1, M2, M3 ได้ว่ามีการพิมพ์ออกมาเท่าไหร่สูบออกไปเท่าไหร่สัดส่วนมา่กน้อยแค่ใหนครับ
ส่วนเรื่องระบบธนาคารกลางผมมองว่ามัน work นะไม่งั้นโลกคงไม่มาใช้ระบบนี้กันหรอกแต่ตอนนี้ผมว่าธนาคารกลางกำลังมีอำนาจมากเกินไปโดยเฉพาะอำนาจการควบคุม supply คนเลยเริ่มคิดระบบที่จะหนีออกมาจากธนาคารกลางออกมาซี่งก็ยังไม่รู้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือเปล่าหรือจะเจ้งหมดมูลค่าเหมือนกับบางโปรเจคเช่น luna/terra หรือจะยืนอยู่ได้จนได้รับการยอมรับจริงๆอันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
----- Edited -----
ลืมตอบไปข้อนึง "เงินที่เราใช้ๆ ทุกวันนี้มูลค่ามันนิ่งมาก" นิ่งในความหมายใหนครับทำไมผมไม่เห็นอาหารตามสั่งจานละ 20 บาทแล้วอะครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
สิ่งที่คุณไม่ชอบทั้งหมดในระบบธนาคารเดิม การเล่นแร่แปรธาตุ การมีอำนาจมากเกินไป ฯลฯ มันมีอยู่ในระบบไร้ศูนย์กลางทิพย์ทั้งนั้นเลย..
แถมสิ่งที่มีเพิ่มมาในไร้ศูนย์กลางทิพย์คือ….Crypto Bros 55555
ตามความคิดผม มูลค่าสินค้า กับ มูลค่าตัวเงิน มันน่าจะเป็นคนละเรื่องกันนะครับ
เสริมแบบสั้นๆ ครับ "เงิน != เงินตรา"
และการที่เงินเฟ้อได้ เป็นฟีเจอร์สำคัญอย่างหนึ่งของเงินในระบบเศรษฐกิจครับ
คุณเชือในระบบเศรษฐศาสตร์ของค่าย keynesian ครับเลยคิดแบบนี้
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
นัยเดียวกัน ถ้าคุณโหยหาข้าว 20 บาทในอดีต ถ้าเทียบกับคริปโตนี่โคตรนิ่งเลยนะครับ สมมติว่าถ้าเราใช้ btc เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ากันตั้งแต่ซาโตชิทำเหรียญมาใหม่ๆ ข้าวที่ใช้คริปโตซื้อตอนนั้นกับตอนนี้เรียกว่าจากราคาข้าวกลายเป็นบ้านเป็นรถไปแล้ว
นึกถึงเมื่อปี 2010 ที่ 1 BTC แลกพิซซ่าได้ 2 ถาด ตอนนี้ได้ City คันนึง แต่ก่อนนี้ได้บ้านหลังนึง อนาคตยังไม่รู้ว่าจะกลับไปแลกได้แค่พิซว่า หรือจะซื้อเมืองทั้งเมืองได้
สูบออกไปมากพอหรือไม่นี่สุดท้ายเขาดูที่เงินเฟ้อนี่ครับ ถ้าเงินเฟ้อยังไม่หยุดเดี๋ยวเขาก็สูบออกอีก เขาไม่ได้มานั่งนับว่าเคยใส่เข้ามาเท่าไหร่
นิ่งมาก แปลว่าเขาจงใจให้มันเฟ้อเล็กน้อย เฟ้อช้าๆ ครับ
ถ้าอาหารตามสั่งจานละ 20 บาท ใช้เวลา 20 ปีขึ้นมาเป็น 40บาท นี่ปีละ 3.5% เงินเฟ้อจริงๆ ต้องคิดรวมๆ อย่างมาม่าแทบไม่ขึ้นเลย ถ้าวัดจากมาม่าอาจจะใกล้ศูนย์ ก็ต้องถัวๆ ไป
คนถือคริปโตถ้าใช้ BTC (ที่มีปริมาณเงินใหม่ออกอย่างตายตัว ไม่ได้ใส่เข้าได้อิสระเหมือนธนาคารกลาง) ไปซื้อข้าวแกงนี่ปีนี้แพงขึ้นตาม BTC 2-3 เท่าตัวในปีเดียว
lewcpe.com, @wasonliw
วิธีการหยุดเงินเฟ้อตามตำราเลยคือต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้มากกว่าอัตราเงินเฟ้อครับปี 1980 โลกเจอดอกเบี้ยมหาโหด 20% กันมาแล้วแต่ด้วยสถานะการณ์หนี้ท่วมโลกแบบนี้ทำให้การขึ้นดอกเบื้ยไม่ง่ายก็เลยมีของเล่นใหม่ที่ชื่อว่า QT ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า work แค่ใหนครับ
ถ้าคุณเชื่อว่าเงินเฟ้ออ่อนๆตลอดเวลาเป็นเรื่องดีอันนี้แปลว่าเราเชื่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คนละสำนักกันครับเถียงกันไม่จบแน่นอน
คุณเล่น convert เงินอีกประเภทนึงมาเทียบกับเงิน fiat มันก็จะเป็นอย่างที่คุณว่านี่หละครับแต่ก็พอเข้าใจได้ว่า ณ ตอนนี้คนทั่วไปยังบันทึกธุรกรรมเป็นหน่วยของเงิน fiat อยู่
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ผมคิดว่ากลุ่มที่ถือคลิบโตบางกลุ่มไม่ได้เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์หรอกครับ
การพิมพ์เงินเข้าระบบที่พวกเขายกมาโจมตีเขาก็จะอ้างแค่ว่ารัฐพิมพ์เงินเองได้ไม่ผิด แต่พวกเขาสร้างเงินเองผิดเพราะรัฐต้องการเอาเปรียบ
การพิมพ์เงินเข้าระบบมันไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ถ้าพิมพ์เงินเข้าระบบมากเกินไปจะส่งผลต่อเศรษฐกิจได้ เพราะเงินจะไร้ค้าไปในทันที อย่างเวเนซูเอล่าที่รัฐบาลเลือกที่จะยัดเงินเข้าระบบเยอะ ๆ แก้คนจนกลายเป็นว่าต้องหอบเงินสองกระสอบซื้อไก่ตัวเดียวนั่นแหละครับ
ระบบการเงินคือส่วนนึงของเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นง่ายมาก แต่จริง ๆ แล้วมันมีอะไรลึกกว่านั้นเยอะครับแต่คนกลุ่มนี้เขาไม่มองกันหรอก ขอแค่ทำเงินได้ก็พอ และการมีคนเอาเงินเข้ามาในระบบคลิปโตเยอะ ๆ มันก็มีโอกาสที่เขาจะได้เงินเยอะไงครับถ้าเขาคิดว่ามันกำไรที่จะขายทิ้ง
ผมเองไม่คิดจะลงคลิปโตเพราะผมไม่เห็นว่าเงินในระบบคลิปโตนั้นเอาไปสร้างผลิตภัณฑ์อะไรที่สร้างมูลค่าให้กับเงินที่มีอยู่เดิมอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับการลงทุนกับบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ครับ เท่าที่เห็นคือเหมือนของสะสมเอากำไรเท่านั้นแหละ อันนี้พูดให้ soft ลงแล้วนะครับ
ผมเข้าใจว่า ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ เรื่องราวพวกนี้มันเคยเกิดขึ้น และก็มีคนที่รู้และเข้าใจมันดี
แต่ก็จะมีคนที่ไม่เคยรู้ เพราะไม่เคยศึกษา พอมีคนออกมาบอกว่าเดี๋ยวมันจะเกิดขึ้นเพราะมันเคยเกิดขึ้นแล้ว ก็จะปฎิเสธไปว่า "เรามีเทคโนโลยีที่ดี ไม่เหมือนสมัยนั้นหรอก" ทั้ง ๆ ที่มันไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเลย
คิดว่าความเสี่ยงที่จะเกิดrugpullมันเท่ากันไหมครับเอกชนกับรัฐ
ชอบความเห็นคุณ lew มากๆ ครับ
decentralize มันเป็น innovation ทางภาษา ไม่ใช่เทคโนโลยี
เป็นการคิดคำใหม่ของคำว่า บริษัทมหาชน(ที่ไม่เคยเป็นของมหาชนจริงๆ)
เริ่มคิดว่า cryptocurrency กับเพชร นี่มาแนวเดียวกัน (ที่ไม่ใช่ด้านผูกขาด)
สุดท้ายแล้ว blockchain ก็เป็นแค่ database รูปแบบนึงสำหรับผมเท่านั้น 55555
สายคอมที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มีน้อยครับ บางทีอธิบายไปก็ไม่ค่อยเกทกันเท่าไร
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย ไม่ว่าจะเปน centralize หรือ decentralize
แต่คอนเซปมีสิ่งเดียว
เงินเป็นสิ่งที่คนให้มูลค่ากับมัน
เมื่อไรก็ตามที่มันสูญเสียความเชื่อถือ มันก็จะเสียมูลค่าเช่นกัน