จากเหตุการณ์ชิปขาดตลาดที่ดำเนินมายาวนานและไม่มีท่าทีว่าจะกลับไปเป็นเหมือนยุคก่อนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ราคาชิปถีบตัวสูงขึ้น รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจอื่นที่ต้องพึ่งพาชิปก็ได้รับผลกระทบกันเป็นวงกว้าง รถยนต์หลายยี่ห้อส่งมอบได้ไม่ทันกำหนด บางยี่ห้อต้องลดสเปกฮาร์ดแวร์ลง
ด้านสหรัฐอเมริกาก็รู้สึกว่าต้องพึ่งพาชาติอื่นมากเกินไป เพราะโรงงานผลิตชิปแนวหน้าของโลกก็อยู่ที่จีนและชาติเอเชียอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามออกกฎหมายดึงดูดการตั้งโรงงานและการผลิตชิปกลับเข้ามาในประเทศ โดยสถิติระบุว่าส่วนแบ่งของชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ ลดจาก 37% ในปี 1990 เหลือเพียง 12% ของทั้งโลกในวันนี้ เพราะรัฐบาลหลายประเทศได้ลงทุนด้านนี้ ทำให้ส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ
กฎหมายนี้มีชื่อว่า CHIPS for America Act หรือชื่อเต็มคือ Creating Helpful Incentives to Produce Semiconductors for America Act (กฎหมายสร้างแรงจูงใจให้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่ออเมริกา)
ภาพโดย Jeremy Waterhouse
โดยรวมแล้วกฎหมายฉบับนี้ก็ตรงไปตรงมา คือรัฐบาลจะตั้งงบประมาณ 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นมา (ราว 1.9 ล้านล้านบาท) เพื่อนำไปอุดหนุนผู้ผลิตชิปต่างๆ ให้เข้ามาวิจัยและตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ จะได้สร้างงานและดึงส่วนแบ่งการผลิตกลับมา
เงื่อนไขของการรับเงินอุดหนุนคือบริษัทที่รับเงินห้ามนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อหุ้นคืนหรือนำไปจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น (กล่าวคือให้เอาเงินไปใช้ในการผลิตชิปเป็นหลักเท่านั้น) รวมถึงห้ามไปตั้งโรงงานผลิตชิปในรายการประเทศที่กฎหมายนี้กำหนดไว้ (คงหนีไม่พ้นจีน) หากพบว่าผู้รับเงินอุดหนุนละเมิดข้อตกลง รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถยึดเงินอุดหนุนคืนได้
ด้านซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยีและรถยนต์รวมเกือบ 60 ราย เช่น Alphabet, Apple, Microsoft, Dell, HP, Cisco, Ford และ Volkswagen ต่างก็ลงนามในจดหมายสนับสนุนร่างกฎหมาย CHIPS กันเป็นเสียงเดียว พร้อมเรียกร้องให้สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายนี้โดยเร็ว
ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวกำลังจะถูกโหวตโดยสภาสูงภายใน 1-2 วันนี้ หากโหวตผ่านก็จะถูกลงนามโดยประธานาธิบดี Biden เพื่อประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
ที่มา - Voice of America, CNBC, The Washington Post, Semiconductor Industry Association
Semiconductor chips are the building blocks of the modern economy – they power our smartphones and cars. And for years, manufacturing was sent overseas. For the sake of American jobs and our economy, we must make these at home. The CHIPS for America Act will get that done.
— President Biden (@POTUS) July 26, 2022
Comments
ไม่ใช่แย่งคืนจากจีนอย่างเดียวหรอกมั้ง จีนยังผลิตไม่พอต่อความต้องการในประเทศเลย ผู้ผลิตใหญ่สุดก็ใต้หวันกับเกาหลี จริงๆแล้วน่าจะบอกว่าเอาส่วนแบ่งการผลิตคืนจากเอเชียมากกว่า เพราะยอดผลิต ใต้หวัน+เกาหลี+จีน+ญี่ปุ่น รวมกับก็ปาไป80℅ แล้ว
อ้างอิง: https://www.shiphub.co/worlds-top-semiconductors-producers/
พอตั้งเสร็จเจอฤทธิ์ สหภาพแรงงาน ผู้บริโภคฟ้องร้อง พนักงานบ้าสิทธิ+การเมือง จนต้องย้ายไปตั้งประเทศอื่นต่อ
น่าจะเน้น รง. ออโต้เมท เยอะๆนะครับ เหลือแต่แรงงานแค่พวกคนคุมเครื่องจักรก็น่าจะช่วยได้ระดับนึง
แก้ปัญหาได้ 3 เรื่องเห็นๆเลย คือ
1. การว่างงาน
2. Supply Chain
3. อำนาจต่อรองทางการเมืองกับชาติอื่น
ข้อ3.นี่ไม่น่าเป็นไปได้นะครับ ผมเข้าใจว่ากฏหมายนี้ออกมาเพื่ออุดหนุนการตั้งโรงงานใหม่ในสหรัฐเพื่อลดการพึ่งพาประเทศอื่นเฉยๆ แต่กำลังการผลิตโดยรวมเพื่อส่งออกยังไงก็มาจากต่างประเทศอยู่ดีถ้าพิจารณาจากต้นทุนการผลิตและการขนส่งนะครับ
ผลิตออกมาแพงแล้วจะขายใคร คนอเมริกันยอมรับค่าแรงถูก ๆ แบบคนเอเชียได้เหรอ
เข้าข่ายรัฐอุดหนุนเอกชน + กีดกันการค้า หรือเปล่าเนี่ย
WTO ไม่ทำอะไร? 😑
รัฐอุดหนุนนี่น่าจะโดนกันทุกประเทศนะครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
รัฐบาลทุกประเทศก็มีนโยบายอุดหนุนหรือบริหารสินค้าที่มีความสำคัญอยู่แล้วครับ
อย่างไทยก็พวกสาธารณูปโภคต่าง ๆ แล้วก็สินค้าการเกษตรอย่าง ข้าว
อยากบอกว่าที่ทำดูเหมือน
ญี่ปุ่น 70s model ครับ
รัฐบาลลงทุนให้ทำ VSLI
อีกสิบปีนี้ จ้างงานกระจุย กระจาย
ปัญหาคือ จ้างงานสหรัฐฯ มันจ้าง
แรงงานต่างด้าวสกิลสูง กับดึงตัวข้ามรัฐ
ได้นี่สิจะเหลือ คนพื้นที่ซักกี่คน
ยังไงก็ได้ภาษีไปเลี้ยงคนพื้นที่ด้วยอยู่ดีนี่ครับ
จีนก็ทำ เมกาก็ควรทำเอง แต่แร่มีเปล่านะ
แร่มันมีทั่วโลกแหละ แต่ที่usa ไม่ขุดค่าแรงที่ดินแพง ถ้า กทมมีแหล่งแร่ จะขุดไหมเถอะ
ค่าแรง ทำราคาสู้ได้หรือเปล่า
แล้วราคาก็แพงขึ้น ผลกระทบตกอยู่กับสาวกค่ายต่างๆ