Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ผู้พิพากษาอนุมัติตามคำขอของ Apple ในการยอมจ่ายเงินรวม 30.5 ล้านเหรียญเพื่อให้กลุ่มพนักงานยอมความในคดีที่ฟ้องร้องกันเรื่องการบังคับตรวจค้นกระเป๋าของพนักงานหลังเวลาเลิกงาน

คดีนี้เป็นการฟ้องร้องแบบกลุ่มโดยมีพนักงานของ Apple ใน California จำนวน 14,683 คน ยื่นฟ้อง Apple เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยค่าล่วงเวลา เนื่องจากระเบียบการปฏิบัติงานของ Apple นั้นกำหนดให้มีการตรวจค้นกระเป๋าของพนักงานก่อนกลับบ้าน ทำให้เหล่าบรรดาพนักงานต้องเสียเวลาเพิ่มเติมอีก 10-15 นาทีหลังเลิกงานทุกวัน ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ 25 กรกฎาคม 2009 จนถึง 10 สิงหาคม 2015 ซึ่งกลุ่มผู้ฟ้องระบุว่าเป็นการปฏิบัติที่ทำให้รู้สึกอับอายอีกทั้งยังเป็นการทำให้เสียเวลาโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าล่วงเวลาด้วย

ทางฝั่ง Apple นั้นอ้างว่าพนักงานทราบระเบียบข้อนี้ดีอยู่แล้ว โดยการตรวจค้นนั้นเป็นไปเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการลักขโมยทรัพย์สินของบริษัทออกไปจากที่ทำงาน นอกจากนี้ Apple ระบุว่าได้ให้ทางเลือกแก่พนักงานที่จะไม่นำกระเป๋าส่วนตัวมาทำงานก็ได้ หรือหากนำมาแต่ไม่ต้องการให้เสียเวลาก็สามารถทิ้งกระเป๋าไว้ที่บริษัทเพื่อให้มีการตรวจสอบโดยไม่เสียเวลาของตัวพนักงานเอง

คดีนี้มีการสู้กันมาหลายชั้นศาล โดยแรกเริ่มศาลชั้นต้นพิจารณาตัดสินให้ Apple เป็นผู้ชนะคดีและไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยใดๆ แต่เมื่ออุทธรณ์เรื่อยมาจนกระทั่งมาถึงชั้นฎีกาก็ได้มีคำตัดสินเมื่อปี 2020 ในประเด็นเรื่องการทำให้เสียเวลาหลังเลิกงาน โดยอ้างอิงกฎหมายรัฐแคลิฟอร์เนียและตัดสินว่าการตรวจค้นกระเป๋าพนักงานนั้นเข้าเกณฑ์การปฏิบัติงานนอกเวลาทำงานและ Apple จะต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้แก่เหล่าพนักงานที่ต้องเสียเวลารอการตรวจค้นกระเป๋าหลังเลิกงาน โดยข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาตอนหนึ่งระบุว่า

ชั่วโมงทำงานนั้นถูกนิยามว่าหมายถึงช่วงระยะเวลาในระหว่างที่ลูกจ้างอยู่ในการควบคุมดูแลของผู้ว่าจ้าง และรวมถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างต้องทนรอหรือได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงาน, ไม่ว่าช่วงเวลาดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นจากการร้องขอของนายจ้างหรือไม่

หลังมีคำตัดสินออกมา Apple ก็ใช้เวลาในการเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยยอมความกับกลุ่มพนักงานผู้ฟ้องร้อง จนเมื่อเดือนมกราคม 2022 นี้เอง Apple ได้เปิดเว็บไซต์ให้พนักงานทั้งที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบันและอดีตพนักงานได้เข้ามาอ่านข้อเสนอตกลงยอมความและเปิดให้ลงชื่อพร้อมแจ้งข้อมูลเพื่อการเคลมเงินชดเชยตามคำตัดสินของศาล

จนในที่สุด Apple ก็ได้ข้อมูลมาพิจารณาการจ่ายเงินชดเชยรวม 30.5 ล้านเหรียญ และล่าสุดศาลได้อนุมัติเห็นชอบต่อการจ่ายเงินชดเชยเพื่อยอมความในคดีนี้แล้ว

ที่มา - MacRumors - 1, 2, 3

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Bluetus
iPhone
on 17 August 2022 - 02:44 #1258420
Bluetus's picture

หูยยยยยย น่าสนใจเฮะว่าศาลตีความแบบนี้

แบบนี้ถ้า Apple ให้มาตรวจกระเป๋าในเวลางาน กาอนกลับบ้าน 30 นาทีก็ไม่มีประเด็นละเมิดแล้วสินะ

By: syberain on 17 August 2022 - 09:47 #1258460 Reply to:1258420

ก็คือยอมให้เลิกงานเร็วกว่าเดิม
หรือจ้างยามเพิ่ม (ดูพนักงาน 14,000 กว่า)
ซึ่งทั้งหมด เป็นต้นทุน / บริษัทเสียผลประโยชน์
จากนโยบายของตัวเอง

By: ravipon
iPhoneWindows
on 17 August 2022 - 08:36 #1258436
ravipon's picture

พวกร้านค้าในไทยที่หลังเวลาปิดร้านพนง.ต้องยังเคลียร์ร้าน เก็บกวาด เช็ดถู นับเงิน etc. เค้านับเวลาเพิ่มให้ไหมนะ แบบเป็น OT หรือไม่ให้เลย?

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 17 August 2022 - 08:59 #1258446 Reply to:1258436
KuLiKo's picture

เหอะๆ บ้านเราสหภาพแรงงานไม่แข็งแกร่งขนาดนั้นครับ ก็นับว่าเป็นน้ำใจกันไป

By: errin on 17 August 2022 - 15:58 #1258523 Reply to:1258446

บ้านเราบอกบริษัทมีธรรมาภิบาลกันแต่ไม่ยอมให้มีสหภาพนะครับ

By: syberain on 17 August 2022 - 09:45 #1258459 Reply to:1258436

ก็เขียนในสัญญาแต่แรก ให้รวมเวลา "หลังร้านปิด" เข้าไปในเวลาทำงานก็ได้ครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 17 August 2022 - 11:12 #1258466 Reply to:1258459
Ford AntiTrust's picture

เวลาหลังร้านปิดถ้ารวมเวลาทำงานปรกติแล้วมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (รวมพักเที่ยง 1 ชั่วโมง) ก็คือ เวลาทำงานล่วงเวลา ครับ

ฉะนั้น ถ้าบอกว่า เข้างาน 9:00 น. เลิกงาน 17:00 น. หลังจากนั้นก็คือล่วงเวลานั่นหละ ซึ่งร้านควรจะปิดประมาณ 15:30 หรือ 16:00 เพื่อให้ลูกจ้างสามารถออกจากงานได้ทัน 17:00 น. นั่นเอง อันนี้คือการทำงานในระบบปรกติ

ฉะนั้นถ้าเป็นการจ้างงานที่ดี ร้านที่เปิดตั้งแต่ 10:00 - 21:00 น. จะต้องจ้างแบบระบบกะเป็น 2 ช่วง เพื่อให้มัน cover เวลาเปิดร้านเพื่อเตรียมของ และปิดร้านเพื่อเคลียร์ของ

ถ้าแบ่งก็จะประมาณ 07:00 - 15:00 / 14:00 - 22:00 หรือ 08:00 - 16:00 / 15:00 - 23:00 ก็แล้วแต่ร้านไป

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 August 2022 - 12:54 #1258496 Reply to:1258466
mr_tawan's picture

ถ้าในไทย คุ้น ๆ ว่าเค้าไม่นับรวมพักเที่ยงครับ ดังนั้นเวลางานถ้าเริ่ม 9.00 ก็จะจบที่ 18.00 ครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 17 August 2022 - 13:35 #1258501 Reply to:1258496
osmiumwo1f's picture

เอกชนมักจะไม่รวมพักเที่ยง (สังเกตุจากพอพักเที่ยงก็ต้องลงเวลาออก พอบ่ายก็ต้องลงเวลาเข้าอีก) แต่ราชการรวมครับ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 August 2022 - 17:02 #1258530 Reply to:1258501
mr_tawan's picture

นั่นสิ กฎหมายเราไม่เท่ากัน (ฮา)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 17 August 2022 - 16:14 #1258524 Reply to:1258496
Ford AntiTrust's picture

อ่าใช่ๆๆ ผมพลาดไปรวม พอดีผมจำได้คราวๆ 😅

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 17 August 2022 - 10:32 #1258472 Reply to:1258459
itpcc's picture

เขียนแบบนั้นถ้าเกินเวลาทำงานปกติตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานก็โดนเรียก OT อยู่ดีครับ ขืนเลิกจ้างเพราะเลิกงานตามชั่วโมงปกติก็ได้โดนค่าชดเชยจ่ายกันมันส์แหงม


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 17 August 2022 - 15:53 #1258522 Reply to:1258459
TheOrbital's picture

โดยปกติ ถ้าทำมาตรฐานในสัญญาจ้างเค้าเขียนแค่เวลาเข้างานออกงานเอาไว้ เช่น เข้า 8:00 ออก 17:00 เวลาพักเที่ยง 1 ชม อันนี้ก็จะได้ 8 ชั่วโมงตามกฎหมายแรงงานแล้ว
ส่วนเรื่องอื่นๆ ถือว่านอกเหนือ ก็ใช้เอกสารแนบ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาวันหยุด ค่าอาหาร ว่าไป

ร้านจะปิดหรือร้านจะเปิด ≠ เวลาเข้าทำงานเวลาเลิกงาน
เรื่องให้ทำงานตอนร้านปิดร้านเปิด ในสัญญาจ้างงาน ไม่ต้องเขียนหรอกครับ มันเป็นรายละเอียด Job Description
ร้านปิดร้านเปิด นั่นแค่เฟส ในงานเท่านั้น ผู้จ้างก็จัดการเวลาให้ลงตัวเอาเอง ให้ภายใน 8 ชั่วโมง คุณสามารถใช้ลูกจ้างคุณ เปิดปิดร้านได้ เก็บร้านได้ เตรียมของได้ ฯลฯ
ถ้านอกเวลางาน จะปิดร้าน คิดบัญชี ล้างจาน สิ่งใดเกินเวลาในสัญญาจ้าง ก็จะถือว่าเป็นงานล่วงเวลาทั้งหมด

อ้อ แล้วถ้าตามกฎหมายแรงงานเป๊ะๆแล้วล่ะก็ งานนอกเวลา ต้องเกิดจากความยินยอมของลูกจ้างด้วยนะครับ
ดังที่เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเราจะทำ OT เราต้องลงเวลาด้วยตัวเราเอง ถ้าเราไม่อยากทำ เค้าบังคับเรา ผิดกฎหมายแรงงานนะ

อันนี้พูดถึงร้านที่ทำตามมาตรฐานนะ

By: trustme on 17 August 2022 - 19:12 #1258540

แอบสงสัย ว่าถ้าบริษัทมีระเบียบปฏิบัติ ที่บางขั้นตอนไม่สามารถทำได้ก่อนเวลาเลิกงานแน่ๆ เช่น มีระเบียบว่าปิดหน้าร้าน 5 โมง และให้พนักงานนับเงินและปิดเซฟหลังจากนั้น แต่เวลาเลิกงานคือ 5 โมงตามสัญญา ถึงแม้บริษัทจะจ่าย OT ให้พนักงานที่ทำหน้าที่นี้ (คือ ถ้าพนักงานไม่ยอมทำ จะกลับ 5 โมงก็จะเกิดความเสียหาย) แต่ถือว่าจงใจละเมิดสัญญาได้ไหมนะ เพราะสัญญาของบริษัทกับระเบียบบริษัทขัดกันเอง

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 18 August 2022 - 11:48 #1258592 Reply to:1258540
mr_tawan's picture

ถ้าจะให้เลิกงานตั้งแต่ห้าโมง ก็ต้องปิดร้านตั้งแต่สามโมง เหมือนสถานที่ราชการหรือธนาคารน่ะครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ