Tim Cook ซีอีโอของ Apple ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสัญชาติดัตช์ Bright ว่าสหรัฐอเมริกาควรมีวิชาการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มองว่าการเขียนโค้ดเป็นภาษาสากลที่สำคัญมากสำหรับวงการเทคโนโลยีและเป็นภาษาที่ทุกคนควรเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา
Tim Cook มองว่าการเขียนโค้ดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดที่ควรได้เรียนนอกเหนือไปจากภาษาแม่ที่ใช้ในการสื่อสาร เพราะการเขียนโปรแกรมเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์
Tim Cook ได้สนับสนุนการเพิ่มวิชาการเขียนโปรแกรมลงในหลักสูตรปฐมวัยมาตั้งแต่ปี 2019 และก่อนหน้านี้ ก็ได้เป็นหนึ่งในคณะผู้บริหารธุรกิจกว่า 500 รายที่เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา K-12 Curriculum ที่ใช้กับการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงเกรด 12 (มัธยมศึกษาปีที่ 6) ในแต่ละรัฐเพื่อให้ครอบคลุมการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ ประมาณการณ์ว่าสหรัฐจะขาดแคลนแรงงานวิศวกรซฟต์แวร์ถึง 1.2 ล้านคนภายในปี 2026 อย่างไรก็ตามผู้ที่สมัครงานด้านการเขียนโปรแกรมที่มีประวัติการศึกษานอกระบบ (untraditional education) ก็ยังคงประสบปัญหาในการหางาน
ที่มา: Business Insider
Comments
รอดูผลงานของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช แต่กว่าจะออกผลคงต้องรออีกหลายปี
ไม่รู้หลักสูตรการศึกษาของ USA เป็นไง
ผมว่าประถมน่ะเร็วไป มันควรมีทักษะคณิตศาสตร์ระดับหนึ่งก่อน
ไปเริ่มสักมัธยมปลายน่าจะดีกว่า
ทุกวันนี้ แยกตัวประกอบ, ไตรยางค์(ratio), ตรีโกณ, matrix, vector ผมก็ยังใช้อยู่เลย
ยังเสียดายที่ผมลืม integrate ไปแล้วไม่งั้นน่าจะเขียนโปรแกรมง่ายกว่านี้
ผมกลับมองว่าเริ่มตั้งแต่ประถมก็น่าจะเหมาะแล้ว แต่อาจจะซัก ป.5 - ป.6 เพราะน่าจะเรียนแก้สมการกันแล้ว
ผมว่ามันเป็นการเสริมกัน ช่วงประถมอาจจะให้เรียนรู้โครงสร้างการเขียนโปรแกรม ให้เขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้ เพื่อที่ว่าหากเด็กคนไหนสนใจก็สามารถไปหาความรู้ต่อยอดเอาจากอินเตอร์เน็ตอีกที
ก็เรียนคณิตศาสตร์ไปพร้อมกับเขียนโปรแกรมก็ได้นิครับ
ผมโชคดี สมัยป.4 เมื่อ25ปีที่แล้ว เรียนโรงเรียนเอกชน แล้ววิชาคอมเนื้อหาก็จะขึ้นกับคนสอนเลยว่าอยากสอนอะไร ตอนนั้นเลยได้เรียนเขียนpascal ทำให้สนใจการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ตอนนั้น เรียนก็ไม่ได้เอามาทำอะไรยากๆ เขียนpascal วาดรูปบนหน้าจอ เส้นตรง วงกลม สี่เหรี่ยม พวกนั้น แต่ก็ยังจำได้ถึงทุกวันนี้ สมัยนั้นหลังจากออกจากห้องคอม ก็ได้ไปเรียนพิมพ์ดีดต่อเลย มีความคอนทราสกันมาก
เขาน่าจะสอนเพื่อฝึกให้ใช้วิธีคิดแบบ Logic เพื่อฝึกทักษะ มากกว่าการคำนวณเพื่อประมวลผลนะผมว่า ภาษาที่ใช้สอนไม่น่าจะใช้ภาษาที่เราใช้ทำมาหากินกัน น่าจะเป็นภาษาเชิงภาพพวก Scratch อะไรประมาณนั้น
จะให้เข้าใจว่าที่เราเรียนไปมันทำอะไรได้ มันควรจะมี use case เป็นตัวอย่างนิดหน่อยครับ
สำหรับผม use case ที่ดีสุดคือเอาไปใช้กับวิชาอื่น จะเคมี ฟิสิกส์ก็ดี เหมาะสุดน่าจะคณิตศาสตร์
และ use case ของ programming ที่ใช้ศาสตร์อื่นน้อยสุดคือ low-level programming (พวก compiler, kernel, server, ...) ซึ่งมัน advance ไป
คือ programming เป็นทักษะที่ไม่จำเป็นต้องใช้กับบริษัท IT อย่างเดียว
เพราะผมก็เป็น programmer สำหรับโรงงานที่ไม่เกี่ยวกับ IT น่ะ
คิดว่าอยู่กับเรื่องตรรกศาสตร์น่าจะเหมาะครับ if else switch case พวกนี้
ผมว่าก็น่าจะเป็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ น่าจะเป็นโปรแกรมง่ายๆ สอนเชิงโลจิก การทำงานง่ายๆของโปรแกรมไรงี้
มีรุ่นน้อง เริ่มหัด coding ตั้งแต่ประถมนะครับ
ในสมัยก่อนที่ยังไม่ได้มี framework lib tools
หรือแม้แต่รูปแบบการเรียนที่มากเหมือนวันนี้
ก็คือใช้ notepad เขียน code กัน เลย
ซึ่งเขาก็ไปได้นะครับ แถมได้เปรียบคนอื่นเยอะมาก ๆ
ทำงานจริงจังได้ตั้งแต่มัธยมเลย
ผมคิดว่า เด็กสมัยนี้ สามารถเรียนได้นะครับ
coding ไม่ได้ใช้ math ในทุก ๆ อย่างเยอะขนาดนั้น
แล้วสมัยนี้มีรูปแบบการเรียนรู้ coding หลายแบบมาก ๆ
เรียนเขียนโปรแกรมเพื่อ แยกตัวประกอบ, ไตรยางค์(ratio), ตรีโกณ, matrix, vector เลยครับ ใช้ให้เป็นเครื่องมือมาตรฐาน
lewcpe.com, @wasonliw
จะเอาหมดนี่ก็ต้องงาน CG 2D/3D น่ะครับ น่าจะยากไปสำหรับมัธยม
ผมว่าดีว่ากว่าแก้สมการบนกระดาษอยู่เยอะนะ
และทั้งหมดนั้น ผมก็ได้เรียนตอนมัธยมนะ หลักสูตร20ปีที่แล้วด้วย
ผมเองก็ไม่แน่ว่าถ้าสอนมัธยมควรจะเอาระดับไหนครับ เช่นถ้าจะให้จะเขียน function คำนวณ distant
// interface C
ex1: float cal_distant(float x0, float y0, float x1, float y1); //bad
ex2: float cal_distant(Point x, Point y); //good
จะให้สอนสิ่งที่ไม่ดีให้มันก็กระไร
แต่อันสองมันต้องสอน data structure ก็เกรงว่ามากไป
ผมเห็นด้วยนะ เริ่มเร็วไปมันจะเป็นภาระให้เด็ก ผมว่ามันยังไม่ถึงวัย
ส่วนประเด็นที่ว่าขาดแคลน เพราะเข้าไม่ถึงจุดมากกว่า ในไทยนี่เกลี่อนเลย เพราะด้อยค่าพวกโปรแกรมเมอร์ ให้เงินเดือนน้อยๆ ให้งานที่ไม่เกี่ยวข้องเยอะๆ หลายคนก็ท้อ ออกจากวงการไปทำอย่างอื่นกันซะเยอะแล้ว
ประถมปลายน่าจะได้ ประถมต้นไม่ควรเดี๋ยว ปัญหาเด็กติดจอ สมาธิสั้น พ่วงมาอีก ไหนจะเรื่องปัญหาสายตาตั้งแต่เด็ก
ขออนุญาตงงครับ
เหมือนบอกว่าอย่าอ่านหนังสืออ่านเล่นเพราะจะทำให้สายตาสั้นแต่อ่านหนังสือเรียนได้ไม่เป็นไร
ซึ่งก็ถูกแล้วนี่ครับ หน้าสืออ่านเล่น (นิยาย การ์ตูน) ส่วนใหญ่เราจะใช้สายตาจ้องกับบันในระยะเดิมนาน ๆ หลายสิบนาทีหรือเป็นชั่วโมง ทำให้ใช้สายตาหนักกว่าปกติ
แต่ผมไม่เคยเห็นหนังสือเรียน (ตามหลักสูตร) ที่อ่านในระยะเดิม ๆ เป็นชั่วโมงได้เลยนะครับ มันมีตัวอย่าง แบบฝึกหัดให้ทำสายตามันปรับระยะใกล้ไกลบ่อย ๆ แต่ถามว่าหนังสือเรียนทำให้ตาสั้นได้มั้ย ผมก็ว่าได้นะ แต่อย่างน้อยมันก็มีประโยชน์ (ในสายตาผู้ใหญ่)
ส่วนเรื่องติดจอ สมาธิสั้น มันก็มีผลวิจัยออกมาจริง ๆ ครับ มันจะส่งผลกระทบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ในวัยที่สมองกำลังพัฒนา เด็กสมัยปัจจุบัน ถ้าให้เล่นมือถือดูทีวีแต่เล็ก มีโอกาสเป็นออทิสติกเทียมได้เลยครับ และส่วนใหญ่จะพูดไม่ได้ตามวัยครับถ้าให้เล่นมือถือ/ดูทีวี ส่วนตัวลูกผมไม่ให้เจอเลย เก็บทีวี เลิกเล่นโทรศัพท์ต่อหน้าเค้าใช้เวลากับเค้าให้มาก ประมาณนี้ครับ ส่วนปัญหาเรื่องสายตา มันก็มีระยะเวลาในการได้รับแสงสีฟ้าอีก แต่มันก็มีทางแก้ครับ
เพิ่งวนมาตอบ อาจจะช้าหน่อยครับ
ในโรงเรียนของลูกผม อ่านหนังสือเรียนกันแบบที่คุณ nessuchan บอกว่าใช้อ่านหนังสืออ่านเล่นนั่นล่ะครับ
Block programming ฝึก logic คิดเป็นระบบดีกว่าครับ เตรียมความพร้อม แล้วเด็กจะสนุกด้วย พอสนุกการเรียนรู้จะก้าวกระโดด เลย
หัวข้อน่าจะประมาณ Tim Cook แนะนำศึกษาภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ 2 รึเปล่านะ
ขอพูดในมุมครูนะครับ
สามสิ่งที่มักตีกันไปมาคือ หลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น กับตรงกับความต้องการของผู้เรียน
ซึ่งถ้ามองแบบ Nagative Thinking แบบผมแล้วก็จะ Label ไปว่า "เป็นขี้ข้าในบริษัท" "เป็นไอ้โง่ที่ทอผ้ากับต้มเกลือขายไปจนตาย" "วันๆไม่ทำอะไรเอาแต่เต้นลงติ๊กต๊อก"
ปัญหาคือ คุณจะสามารถรักษาจุดร่วมที่ทำให้บริษัทยังมีแรงงานป้อนพนักงานในระบบอย่างไรโดยที่เด็กไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นและไม่เลิกเรียนกลางคัน มันเป็นเรื่องที่ยากและถ้าคุณทบทวน modern education ณ ตอนนี้ให้ดี มันเบียวครับ มีตั้งแต่ให้ท่องสูตรคูณตั้งแต่อนุบาล คัดไทยตัวเท่าเหรียญบาทให้สวย โดยลืมไปว่าช่วงวัยของเด็กสามารถหรือไม่สามารถทำอะไรได้ เช่น เด็กอายุไม่ถึง 11 ขวบยังไม่สามารถคิดเชิงนามธรรมได้ เด็กอนุบาลยังมีลักษณะทางกายภาพของมือที่ยังเจริญไม่เต็มที่แต่ครูกลับใช้ไม้เคาะมือเด็กให้คัดไทยให้สวย
สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Fast Education เร่งเร้าอยากให้เด็กทำทำทุกอย่างได้จนเด็กหลายคนซิ่งมอไซค์กับเล่นเกมไปวันๆยังมีความสุขกว่านั่งในห้องเรียน
แล้วมันเกิดจากอะไร มันเกิดจากทิฐิของผู้ใหญ่ที่ประสบอะไรบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขาแล้วพยายาม "ยัด" ให้เด็กได้รับประสบการณ์นั้นด้วย อย่างเช่นคุณจัดแผนแบบหมวก 6 ใบให้กับเด็กประถม คุณยัดภาษาจีน นาฏศิลป์ ดนตรีให้เด็กเรียนทุกชั้นเรียน โดยลืมธรรมชาติของเด็กและความต้องการของเด็กด้วย ถ้าสามารถให้เด็กในโรงเรียนของรัฐเลือกวิชาเรียนได้เอง เด็กคงไม่ออกกลางคันหรอกครับ (แต่ครูภาษาอังกฤษคงนั่งตบยุงสนุกเลย)
หากมีใครมาบอกว่าลูกผมทำได้ เขียนโค้ดได้ พูดภาษาบลาๆได้ ผมขอแสดงความยินดีด้วย(อยากใช้คำอื่นนะ) แต่ไม่ใช่กับเด็กในชนบทที่ไม่มีแม้กระทั่งมือถือ แถมมีคอม AIO ห่วยๆที่จัดสรรมาให้เกิดจอพังทั้งที่ยังไม่สอนเด็กเลยด้วยซ้ำ
"เด็กอนุบาลยังมีลักษณะทางกายภาพของมือที่ยังเจริญไม่เต็มที่แต่ครูกลับใช้ไม้เคาะมือเด็กให้คัดไทยให้สวย"
อันนี้เป็นที่คุณภาพของครูรึเปล่าครับ
ใช่ส่วนนึงครับ จะโทษครูฝ่ายเดียวเพียวๆก็ไม่ถูกเช่นกัน ในเมื่อครูหนึ่งคนต้องแบกสิ่งที่อยู่บนหัวตั้งแต่ครูอาวุโส ผอ. ไล่ไปจนถึงกระทรวงครับ ถ้าครูไม่สามารถบรรลุความต้องการของบุคลากรหรือองค์กรที่ว่า อย่าคิดว่าจะได้"เลื่อน"เงินเดือนเหมือนคนอื่นครับ ประเมินนี่ไม่ต้องถามเลย ด้วยความเครียดนี่แหละที่ทำให้บางคนต้องไปลงที่เด็กด้วย แต่บางคนก็ไม่สนอะไรนะครับ เห็นปริ้นท์รูปให้เด็กระบายสีแล้วเขียนศัพท์ลงใต้กระดาษ ได้ชิ้นงานนึงแต่เด็กไม่ได้ความรู้อะไรเลย
นี่คือความอุบาทว์นึงที่คงไว้ในพรบ.ครูปี 46 ครับ ครูหน้าใหม่คือฐานพีระมิด ส่วนคนที่อยากไต่เต้าก็ต้องเหยียบหัวคนอื่นขั้นไป คนรุ่นใหม่ถึงลาออกกันครับ
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเท่าไหร่
ผมมองว่าสิ่งที่จำเป็นจริงๆไม่ใช่การ "เขียน" แต่เป็นการ "อ่าน" มากกว่า (ไม่ได้หมายถึงอ่านโค้ดตามตัวอักษรแต่หมายถึงสามารถเข้าใจการทำงานของมันได้) ซึ่งการอ่านภาษาโปรแกรมนั้น ผมคิดว่าเรียนรู้เรื่องวิธีคิดอย่างเป็นระบบหรือตรรกะอะไรพวกนี้ก็เพียงพอแล้ว
ภาษาเขียนโปรแกรมเกือบทั้งหมดมันก็เป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ถ้าเข้าใจวิธีคิดหรือตรรกะมันก็อ่านรู้เรื่องในระดับนึงและน่าจะเพียงพอก็คนที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสายงานนี้อยู่ อีกทั้งยังสามารถนำวิธีคิดไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย
แน่นอนถ้าเป็นขั้นสูงยังไงก็ต้องเรียนรู้จากการเขียนโปรแกรมแหละ และถ้าได้ทั้งอ่านและเขียนมันก็เป็นเรื่องดี แต่นี่คือกำลังพูดถึงวัยประถม คิดว่ายังไงวัยนี้ก็คงยากที่จะเรียนรู้ทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน และด้วยความที่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ประโยชน์จากการเขียนโปรแกรม ผมคิดว่าควรให้ความสำคัญกับวิธีคิดและการอ่านมากกว่า
ส่วนเรื่องการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์มันก็มีประโยชน์จริง แต่ทุกวันนี้มีเครื่องมือที่ช่วยเรื่องพวกนี้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดมากขึ้นเรื่อยๆ อนาคตยังไงมันก็ต้องมีมากขึ้นแน่นอน ซึ่งถึงตอนนั้นการเขียนโค้ดอาจจะไม่จำเป็นแล้ว แต่ทักษะการคิดเชิงตรรกะอะไรพวกนี้นี่แหละที่ยังต้องใช้อยู่
อาจเป็นวิชาพื้นฐานให้เด็กรู้จักโปรแกรม รู้จัการทำงานของโปรแกรม และได้ทดสอบความชอบก็พอ
เด็กเองก็ต้องมีพัฒนาการของเด็กด้วย อันนี้ต้อง Balance ครับ
จะแทงสุดซอยก็เสี่ยงต่ออนาคตเด็กมากไปหน่อย
FYI เท่าที่เห็นการเรียนโค้ดดิ้งโรงเรียนไทยตอนนี้ เด็กประถมต้นก็มักจะเป็น unplugged coding หรือ Lego WeDo โตมาหน่อยค่อยจับพวก microbit หรือ scratch ที่ทำงานกับ hardware ไม่ได้ไปนั่งเปิด editor พิมพ์โค้ดอย่างเดียวครับ
บิดาผมเป็นวิศวกรอิเล็คฯ ทำงานกับ Gestetner ประเทศอังกฤษ ตอนประถมผมมีโอกาสได้เริ่มที่เล่น 2SC458 และ CMOS+TTL ครับ สนุกมากและทำให้ได้เข้าใจ Logic ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกอย่างมาเป็นผมทุกวันนี้ (มีบิดาเป็นครูซะเอง)
2SC458+Bulb และ Buzzer ปูความเข้าใจเชิงเส้นให้กับผม (Linear)
CMOS+TTL และ NE555 ปูความเข้าใจเชิงเลขให้กับผม (Digital)
โดยที่ยังไม่ต้องเขียนโปรแกรมใดๆ (ตอนนั้นยังไม่มีภาษาโปรแกรมชั้นสูงเกิดอยู่แล้ว/ผมจึงเชี่ยวชาญ ASM) และไม่ต้องไปคำนึงถึงคณิตศาสตร์ชั้นสูงใดๆ เลย (ผมถูกบิดาหลอกล่อด้วยวงจรกำเนิดเสียงและไฟวิ่ง ตื่นตาตื่นใจมาก)
ดังนั้น ผมพอเข้าใจว่า Tim Cook หมายถึงอะไรสำหรับเด็กประถม
แต่... รุ่นผมโชคดีที่อยู่ในยุค 8086 เพิ่งเกิด (Z80 ด้วย) ทำให้ผมได้พัฒนาตัวเองมาพร้อมๆ กับที่ PC เกิดขึ้นมาบนโลก สะสมความชำนาญตามมาตลอด
สำหรับเด็กเดี๋ยวนี้ นวตกรรมมันทับถมมามาก คงไม่ง่ายเหมือนสมัยผมเริ่มต้นแล้ว
เขาเสนอความเห็นในส่วนที่เป็นประโยชน์กับเขาด้วยละครับ ถ้าคนเกิดชอบเยอะ เขาก็จะมีโอกาสได้แรงงานในส่วนของเขา แต่มองในอีกมุม เด็กก็ได้เรียนรู้ทักษะ การคิด แก้ปัญหาต่างๆด้วยครับ win win
เวลาความเป็นเด็กมันหายไปเพราะความคิดของผู้ใหญ่ เอาความคิดตัวเองไปใส่ให้เด็ก วันๆเรียนมันอย่างเดียว
อ่านข่าวแล้วให้ความรู้สึกเหมือนเห็นอาม่า อยากให้หลานเรียนหมอ หวังดีแหละ แต่ถามเด็กมันด้วยนะคร๊าบ อยากเรียนจริงมั้ย เพราะส่วนตัวรู้จัก คนที่เอนทรานซ์ ไม่คิด แต่เดินไปขอพ่อมันว่า อยากเรียนหมอครับ ขายสมบัติจ่ายไป 5-6 ล้านให้เรียนหมอแบบเอกชน จบมาก็ได้เป็นหมอผ่าตัด มือต้นๆ ของประเทศได้นะ รักที่จะเรียน กล้าเอามีดผ่าอกคนไข้มั้ย ? มันไม่เกี่ยวกับ ความเก่ง ใจล้วน ๆ (แต่คนนี้หัวใจวาย เสียชีวิตไปแล้ว เสียดายเหมือนกัน)
ผมไม่เห็นด้วยเท่าไรนะ ควรเน้นสอนวิธีการคิดแบบ critical thinking มากกว่า ถ้าอยากจะไปทางนั้น
That is the way things are.
สอนน่ะสอนได้ แต่ถ้าจะเอาแรงจูงใจในการเรียนรู้ ต้องให้คนเรียนได้ลองเอาสิ่งที่เรียนใช้ทันทีทีละเล็กละน้อยก็ได้ ไม่ใช่มาแต่ทฤษฏีไว้สอบ ประสบการณ์ส่วนตัวของผมเลย มารู้เลยว่าอะไรต้องใช้ในตอนโตนี่หล่ะต้องกลับไปรื้อฟื้นหาความรู้ใหม่ในที่สิ่งที่เคยผ่านมา ถึงตอนนี้มันจะจำได้เองเพราะมีการใช้งานจริง
ลูกผมก็เรียน Block programming พวก Scratch และ Code.org จากโรงเรียน
มันมี block พวก If...Else , Loop...for...while
มี Event ต่างๆให้ใช้
กึ่งๆ OOP
กำลังคิดๆว่า ถ้าหากว่า ผ่าน Scratch มาได้ ว่าจะได้ลอง Python
เขาบอกว่า Coding ไม่ใช่ Programing นะครับ
น่าจะคล้ายๆของไทยที่มีกระแสอยุ่ช่วงหนึ่ง ที่ไ่ม่ใช่การเขียนโค้ด แต่เป็นกให้คิดขั้นตอน ตรรกศาตร์ มีเกมให้เด็กเล่นสนุกๆ
เข้าใจว่า ระบบตรรกะ เริ่มทำงานช่วง 7ขวบขึ้นไป
ดังนั้นเร็วสุดน่าจะ ป.ปลาย
อายุน้อยกว่านั้น ระบบความจำทำงานได้ดี ควรเน้นวิชาที่ใช้ความจำอย่างเรื่องภาษา/เลขง่ายๆ จะดีกว่า
ทำให้อ่านหาความรู้เองได้บ้างเมื่อเข้า ป.ปลาย ด้วย