EU เห็นชอบร่างกฎใหม่ที่จะแบนการผลิตรถยนต์โดยสารที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (หรือแปลง่ายๆ ก็คือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน) ตั้งแต่ปี 2035 และเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้นได้มีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 รถยนต์โดยสารจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ 50%
EU ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลที่จริงจังเข้มงวดกับมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ว่าด้วยเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากหากเทียบกับภูมิภาคอื่นในโลกขณะนี้ ปัจจุบัน EU บังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ที่ขายในยุโรปจะต้องผลิตรถที่ปล่อยก๊าซเฉลี่ยไม่เกิน 95 กรัมต่อระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร
หากผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถทำได้ตามตัวเลขข้างต้นนี้ EU จะสั่งปรับเงินจากผู้ผลิต 95 ยูโรต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 กรัมที่สูงกว่าเกณฑ์ต่อรถ 1 คัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าผลิตรถออกมาขาย 1,000 คัน โดยแต่ละคันมีผลการทดสอบปล่อยก๊าซ 96 กรัม ต่อระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร (เกินมาตรฐานไป 1 กรัม) ก็ต้องเสียค่าปรับ 1,000*1*95 = 95,000 ยูโร ซึ่งเกณฑ์นี้ถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2020
ทั้งนี้จากการเก็บข้อมูล ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยของรถยนต์โดยสารในยุโรปปี 2019 อยู่ที่ 122.3 กรัมต่อระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร และลดลงมาเหลือ 107.5 กรัม ในปี 2020 (สามารถดูค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซของรถยนต์โดยสารในยุโรปย้อนหลังตั้งแต่ปี 2000 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ของ EU ที่ปรับเข้มงวดขึ้นตามช่วงเวลาได้จากแผนภูมิด้านล่างนี้)
ที่มาข้อมูลจาก Europian Environment Agency
ทั้งนี้ตัวเลขเกณฑ์การปล่อยก๊าซของรถยนต์โดยสารตามกฎของ EU จะเข้มงวดมากขึ้นโดยตัวเลขดังกล่าวจะถูกปรับเหลือ 80.8 กรัม ในปี 2025 และผู้ผลิตรถยนต์จะถูกบังคับให้ลดการปล่อยก๊าซไม่เกิน 59.4 กรัม ในปี 2030 ก่อนจะมีการแบนการผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างสมบูรณ์ในปี 2035
หากสงสัยว่าค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถในยุโรปและมาตรฐานที่ถูกตั้งไว้นั้นมากหรือน้อยเพียงใด ก็อาจพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากฝั่งสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมจัดทำโดย EPA (หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา) ซึ่งระบุว่าค่าเฉลี่ยของรถยนต์ในปี 2018 นั้นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 404 กรัมต่อระยะทางวิ่ง 1 ไมล์ หรือเทียบเท่ากับ 252.5 กรัมต่อระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตามกฎใหม่นี้มุ่งเน้นไปที่ "รถยนต์โดยสาร" (passenger cars and vans) ซึ่งนั่นย่อมไม่รวมถึงรถยนต์ใช้งานเพื่อการบรรทุกขนส่งหรือรถเพื่อใช้งานพิเศษอย่างอื่น (ตัวอย่างเช่น รถเครน, รถดับเพลิง ฯลฯ) จึงน่าสนใจว่านโยบายที่เกี่ยวข้องกับรถบรรทุกและรถใช้งานเพื่อการอื่นนอกเหนือจากการโดยสารนี้จะมีทิศทางอย่างไร หรือจะมีการบังคับใช้กฎแบนระบบเครื่องยนต์สันดาปภายในตามหลังกลุ่มรถยนต์โดยสารหรือไม่
เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ที่มาภาพ: Marco Verch Professional Photographer, CC BY 2.0)
ที่มา - Ars Technica
Comments
มีแผนก็ดี เพื่อรักษ์โลก แต่อนาคต มีแต่สิ่งที่ไม่แน่นอน 13 ปีนี่ถือว่าเร็ว เพราะแค่ผลพวงจากสงครามยูเครน ยังถึงกับต้องกลืนน้ำลาย หันกลับไปเผาถ่านหินที่ยี้ว่าสกปรกเลย แร่ธาตุที่นำมาทำแบตเตอรีก็มีจำกัด และราคาพุ่งสูงมากหลายร้อย % หลังจากกระแสรถไฟฟ้าบูม ก็ยังไม่มีแนวทางชัดเจนว่าจะทดแทนอย่างไร ในอนาคตถ้ามีแต่รถยนต์ไฟฟ้า จะสามารถทำราคาให้ถูกได้หรือไม่ ปัญหาการขาดแคลนชิป ก็ยังไม่มีทางออกที่ดี ถ้ามีสงครามเอเชียบูรพา ซึ่งเกิดจากชนวนจีนและเกาะไต้หวันขึ้นมา สายการผลิต-ส่งออก Rare-earth element มีปัญหา 2035 อาจได้เลื่อนเป้น 2050
น้ำมันขายปลีกจะขายไม่ออก ก็ราคาถูกลงไหมนะ แร่ แบต แพงแทน
สงสัยว่ารถยนต์ไฟฟ้ามันมีแรงบิดเยอะกว่าปกติมั้ย ผมนั่งรถเมล์ไฟฟ้า ออกตัวหรือเบรคทีมันกระชากมากกว่าปกติ จะว่าเป็นที่คนขับก็ไม่แน่ใจเพราะเป็นหลายคัน
หวังว่าอนาคตจะมีรถเมล์ไฟฟ้าเยอะกว่านี้นะ พวกครีมแดง ยูโรทูนี่เห็นตั้งแต่ ม.ปลาย จะสามสิบปีแล้ว
รถไฟฟ้าอัตราเร่งมันสูงกว่ารถน้ำมันอยู่แล้วถ้าเจอคนขับตีนหนักๆมันก็พุ่งแหละ
แล้วพอทำความเร็วได้ไวเบรคทีมันก็กระชากตามความเร็วที่ขับ
แรงบิดเยอะน้อยอยู่ที่สเปกครับ มากน้อยแล้วแต่มอร์เตอร์ไฟฟ้าตัวเริ่มต้นก็แรงบิดสูงสุดน้อยกว่าเครื่องยนต์สันดาปใหญ่ ๆ ได้ครับ แต่ที่ต่างคือ แรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์สันดาปมันต้องดูที่รอบเครื่องยนต์ครับ ถ้าดีเซลมันก็รอบต่ำหน่อย อาจจะสัก สมมุติ 2000 RPM แต่แรงบิดสูงสุดของมอร์เตอร์ไฟฟ้ามันมาเลยที่ 0 RPM ครับ ออกตัวเลยจะกระชากมากกว่า
มันคือ ลูกสูบ VS มอเตอร์
สิ่งที่ทำให้ลูกสูบอัตราเร่งต่ำกว่ามอเตอร์เพราะ
https://en.wikipedia.org/wiki/Torque
ถ้าแก้ปัญหาชาร์จทีเป็นชม.ได้ก็อยากใช้เหมือนกัน หรือถ้าให้วิ่งเกินพันกิโลได้ก็ลดปัญหาเรื่องการชาร์จไปได้เยอะ
น่าจะอีกนานเลยครับ ต่อให้แก้ปัญหาการชาร์จได้ การวิ่งพันกิโลต่อ1ชาร์จ ต้องใช้แบตที่เทคโนโลยียังไม่นิ่ง สินแร่ก็ไม่รู้จะพอไหม มันน่าจะแพงมาก
ทำใจใช้ยากเหมือนกันนะครับ วิ่งครึ่งทางชาร์จแบตอีกชั่วโมงกว่าๆ
ถ้า 0-100% ก็อาจจะเป็นชั่วโมงครับ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เราไม่สามารถขับจนถึง 0 ได้ปกติจะหาที่ชาจกันที่ 10-20% แล้วชาจเร็วกันจน 80% ก็จะชาจต่อช้าจนไม่คุ้มจะรอแล้ว ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาทีคือเวลากินข้าวครับ
แต่ข้อจำกัดก็คือข้อจำกัด เราไปเที่ยวต่างจังหวัด จะกินข้าวปั้มตลอดมันก็คงไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร แล้วยังต้องวางแผนล่วงหน้าอีกว่าจะไปชาจจุดไหนอะไรยังไง ถ้าจุดนี้ชาจไม่ได้ต้องไปตรงไหน คือมันมีความไม่สะดวกหลายอย่าง แลกกับค่าใช้จ่ายที่ถูกลงมาน่ะครับ แต่เห็นด้วยนะครับว่า ถ้าชาจทีวิ่งได้ 1000 กิโล หรือชาจเร็วกว่านี้จะน่าใช้ขึ้นยอะเลย
ขอบคุณครับ ขอบคุณเม้นล่างอีกเม้นด้วยครับ พอดีโควต้าหมด ขอบคุณรวมไว้ในเม้นนี้เลย จริงๆ สักห้าร้อยกิโลก็เพิ่มตัวเลือกในการหาที่ชาร์จได้เยอะมากแล้วครับ เผื่อหลง เผื่อหาร้านกิน เผื่อรถติด
อันนี้เห็นด้วยเลยครับ จุดชาร์จมีเพียงพอก็จริง แต่ส่วนมากไปกองอยู่ในปั้ม ซึ้งเราต้องกินข้าวก็จริง แต่เราไม่ได้อยากกินข้าวในปั้มทุกครั้ง 555
ดูพวก Youtuber เค้าไม่เน้นชาร์จจนเต็มกันนะครับ หยุดกินข้าวครึ่งชั่วโมง ชาร์จที่ 50kW ได้มาเกือบ 200 กิโล ถ้าเป็นหัวชาร์จ 150kW ก็เร็วขึ้นอีก พักเข้าห้องน้ำ ยืดเส้นยืดสายก็เสียบชาร์จ
มันจะค่อย ๆ ได้รับการแก้ไขไปตามความนิยมครับ คือยิ่งรถไฟฟ้าขายดี จุดชาร์จมันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาศัยแวะพักบ่อย ๆ เอา เข้าห้องน้ำห้องท่าซัก 10-15 นาที ก็ได้มาเป็นร้อยกิโลแล้วครับ ซึ่งถ้าไม่ไปไกลจนเกินไป มันก็ไม่ลำบากมากนัก เพราะแบตมันก็จุมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว คงไม่ต้องแวะถี่ ๆ ตลอดทาง แต่ไปแวะถี่ช่วงปลายทางเอา
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ข้อดีของรถไฟฟ้าที่มาจากข้อเสียของมันในช่วงที่มันยังไม่ได้รับความนิยม คือการเติมไฟฟ้า 10 - 15 นาทีต่อคันนี่ตอนที่รถไฟฟ้ายังไม่เยอะนี่แหละครับ
คิดภาพไม่ออกว่าถ้ารถโดยสารส่วนบุคคลกลายเป็นรถไฟฟ้าสัก 50% แล้วต้องมีจุดเติมแบตเยอะขนาดไหนถึงจะเพียงพอกับรถที่ต้องเติมน้ำมันคันละ 10 - 15 นาที
ผมคิดว่าก็เยอะขนาดอย่างน้อย 50% ของที่จอดรถในปั๊มต้องมีที่ชาร์จแหละครับ ผมคิดว่าสุดท้ายแล้ว ความนิยมมันจะผลักดันให้เป็นแบบนั้นแหละ ถึงจุดนึงมันจะมีแอพเดียวใช้ชาร์จได้ทั่วประทศ (หรือทั่วโลก) คือไปเสียบชาร์จที่ไหนก็ได้ แอพก็หักเงินเราไปตามไฟที่ชาร์จไป เราก็มีหน้าที่เติมเงินไป พนักงานปั๊มก็ไม่ต้องจ้างละ เอาเงินไปลงกับค่าหัวชาร์จอย่างเดียว ลงทุนทีเดียวจบ ใช้ยาว ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
กำลังคิดโมเดลธุรกิจทำตู้ชาร์จกดเงินขายให้ตามบ้าน ไปต่อไฟต่อหม้อแปลงเอาเอง ขายครั้งเดียวจบ
ทีนี้เราก็จะมีตู้ชาร์จเพียบ กลัวอย่างเดียวคือตู้ชาร์จเยอะเกินตามข้างถนนจนทำรถติด
อยากให้เป็นแบบนั้น แต่เห็นขนาดเมืองหลวง EV อย่างนอร์เวย์ยังมีแอพเยอะมาก RFID tag/card ต้องพกเยอะมาก แล้วก็ไม่มีหวัง 555