Ubuntu ออกเวอร์ชัน 23.04 โค้ดเนม Lunar Lobster กุ้งมังกรแห่งดวงจันทร์ มีของใหม่ดังนี้
- ตัวติดตั้ง Subiquity Installer ใช้งานกับฝั่งเดสก์ท็อปแล้ว (ก่อนหน้านี้ใช้เฉพาะฝั่งเซิร์ฟเวอร์) สามารถทำ autoinstall configuration ช่วยให้การติดตั้ง Ubuntu Desktop กับพีซีจำนวนมากๆ ในองค์กรทำได้ง่ายขึ้น
- รองรับการล็อกอินของผู้ใช้งานผ่าน Azure Active Directory (Azure AD) ได้ในตัว สำหรับองค์กรที่ใช้ Microsoft 365 หรือ Azure อยู่แล้ว ก็นำบัญชีเหล่านี้มาล็อกอินเดสก์ท็อป Ubuntu ได้เลยทันที
- GNOME 44, แพ็กเกจ Snap รองรับการอัพเดตอัตโนมัติ โดยจะดาวน์โหลดไฟล์มาเบื้องหลัง และรออัพเดตหลังปิดแอพแล้ว, แอดมินสามารถสั่งหยุดการอัพเดตอัตโนมัติของแอพเป็นรายตัวได้
- แพ็กเกจ Steam แบบ snap เข้าสถานะเสถียร และรวมแพ็กเกจที่จำเป็นให้รันเกมได้ โดยไม่ต้องเพิ่มแหล่งซอฟต์แวร์ PPA ภายนอก
ที่มา - Ubuntu
Comments
คนที่ใช้ Flatpak ไม่ถูกใจสิ่งนี้ เพราะพี่แกเล่นตัดไฟทุกดิสโทรของตัวเองไม่ให้ Flatpak เป็นค่าเริ่มต้น เห็นข่าวของต่างประเทศบ่นกันพอสมควร
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
SNAP นี่ Ubuntu พัฒนาเองนิครับ ผมเลยเดาว่า เขาก็แค่ใช้ของตัวเองเป็นค่าเริ่มต้น
อะไรดีกว่ากันครับ เพราะทั้งคู่ก็มี concept เดียวกัน
จากประสบการณ์คนไม่ค่อยชอบ snap เพราะเหมือนมันคัดเอา package ที่ stable ระดับนึงกว่าจะเอาเข้า repo แล้วบางทีก็ลงช้า อัพเดทเอง หรือบางทีตีกันกับ apt อะไรงี้ครับ
หลัก ๆ คือมันไม่กระจายศูนย์ (ใช้ repo ข้างนอกไม่ได้ ต้องเอาขึ้นคลาวด์ของ Canonical เท่านั้น) และแพ็กเกจอัปเดตช้าสำหรับ core สำหรับปัญหาส่วนตัวของผมคือยังหาวิธีไม่เก็บแพ็กเกจเดิมไม่ได้ ฉะนั้นต้องคอยสั่งลบเองทุกครั้งที่อัปเดต
หลัง ๆ มาผมเลี่ยง snap ตลอด (เพราะใช้ Manjaro เลยทำได้) จริง ๆ ผมก็เลี่ยง Flatpak เหมือนกันเพราะ core repo แยกจากระบบแล้วมันทำให้บวมมาก ตอนนี้ใช้ตัวจัดการภายในระบบ (Pacman + AUR) ผสมกับใช้ AppImage
snap นี่ผมอาจจะหูเบา เลยเลี่ยงมาตลอด ส่วน Flatpak ผมเคยลองลงแอพไปครั้งสองครั้ง เหมือนผมยังไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง เลยรู้สึกว่าแอพมัน install แบบที่เราไม่คุ้น ตอนนี้ก็พยายามเลี่ยงมาตลอดเหมือนกันครับ ใช้แต่ Package manager ของ distros นั้นๆแทน (จริงๆก็แค่ apt กับ dnf)
..: เรื่อยไป