นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)
การแก้ไขหลักสูตรได้เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว NCERT ได้ปรับลดบทเรียนเพื่อลดความกดดันต่อการเรียนออนไลน์ในช่วงภาวะระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลือกถอนเนื้อหาที่มีความยากเกินระดับ เนื้อหาที่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งอื่น และเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต่อปัจจุบันออก แต่ปรากฎว่าในปีการศึกษาใหม่นี้ บทเรียนต่าง ๆ ก็ยังถูกถอนจากหลักสูตรเช่นเคย ทำให้ผู้คนบางส่วนไม่พอใจกับการถอนบทเรียนที่พวกเขามองว่ามีความสำคัญออก
ก่อนหน้านี้ NCERT ก็เคยตกเป็นเป้าจากการถอนบทเรียนที่นับว่าเป็นพื้นฐานของชีววิทยาอย่าง "ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ชาร์ล ดาวิน” ออกจากวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 10 มาแล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษามากกว่า 1,800 คนได้เขียนจดหมายแสดงความกังวล แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธคำวิจารณ์ทั้งหมดว่าเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อ โดย Subhas Sarkar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาแห่งรัฐ ได้กล่าวว่า "เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงต้องลดเนื้อหาเพื่อลดภาระในการเรียน โดยหากนักเรียนสนใจในทฤษฎีวิวัฒนาการก็สามารถศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึงทฤษฎีดังกล่าวก็มีในหลักสูตรของชั้นปีที่ 12”
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่ว่าการแก้ไขหลักสูตรในอินเดียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางศาสนา นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru ในนิวเดลี กล่าวว่า การแก้ไขหลักสูตรนั้นถูกสนับสนุนโดยองค์กรอาสาสมัครมวลชน Rashtriya Swayamsevak Sangh (RSS) ที่มีความคิดว่าศาสนาฮินดูถูกคุกคามจากศาสนาและวัฒนธรรมอื่น ๆของอินเดีย รวมถึง ในอินเดียนั้นยังมีการต่อต้านความคิดของฝั่งตะวันตก ซึ่งทฤษฎีวิวัฒนาการเอง ก็ขัดแย้งกับตำนานการสร้างโลก
ที่มา : รัฐบาลปฏิเสธคำวิจารณ์ว่าเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อ via NDTV, SCIENTIFIC AMERICAN
Comments
ชั้นที่ 10 นี่คือ grade 10 = ม.4 ใช่มั๊ย?
เลื่อนเป็น grade 11 คือ ม.5
แถมต้องเลือกเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยถึงจะได้เรียน?
เรื่องตารางธาตุจะกลายเป็นเรื่องไกลตัวไปเลยนะแบบนี้ 🤔
เอาจริงๆ...ก็เห็นด้วยนะ
จะเอาตารางธาตุไปทำไม?
ผมว่ามันคือพื้นฐานนะครับ น่าจะมีความรู้อันนี้ติดตัวไว้บ้าง อาจจะไม่ต้องท่องจำแต่พอจำได้เห็นแล้วรู้จัก
ถอน (เว้นวรรค) "ตารางธาตุ"
ปรากฏ
ชาลส์ ดาร์วิน, ชาร์ลส ดาร์วิน, Charles Darwin
ก็อย่างทฤษฎี Big Bang ที่มาตอนนี้ แทบจะล่มสลายไปแล้ว
แล้วนึกย้อนกลับไป ตอนที่จริงจัง ว่ามันถูกๆๆๆ
ทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็ควรถูกมองว่า เป็นทฤษฎีนึง
เป็นแนวคิดนึง ที่อาจจะถูกก็ได้ อาจผิดก็ได้
บิกแบงยังแข็งแรงและเป็นที่ยอมรับของนักดาราศาสตร์อยู่ครับ และมันก็น่าจะยังถูกอยู่แหละ
จริงๆทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใหญ่ๆที่เก่าหน่อย และยังอยู่มาถึงวันนี้ได้ โอกาสที่จะโดนล้มแบบโละทิ้งเลยเป็นได้ค่อนข้างยาก
ทฤษฎีจะยังถูกต้องเมื่อการทดลองยังตรงตามทฤษฎีครับ ดังนั้นทฤษฎีระดับตำนานสมัยก่อนก็โดนถอดไปเยอะครับ คนดังๆ เช่นอลิสโตเติน ไอแซกนิวตัน รวมถึงไอสไตล์ ก็โดนถอดครับถ้าการทดลองในปัจจุบันทดลองแล้วมันไม่สอดคล้องก็เกิดทฤษฎีใหม่ครับ บางทีที่ยังสอนกันอยู่เพราะมันเป็นพื้นฐานที่เข้าใจง่าย แต่พอเรียนจริงจังก็จะมีคำอธิบายที่ลึกลงไปแล้วถูกต้องกว่าครับ
แบบจำลอง Big Bang ใช้อธิบายปรากฎการณ์หลายอย่างในจักรวาลขนาดใหญ่ได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่อง Cosmic Microwave Background (CMB) ปราฎการณ์ที่กาแล็กซี่(ส่วนใหญ่)เคลื่อนที่ห่างจากเรามากขึ้นด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่ห่างจากเรา หรือแม้การทำนายสัดส่วนธาตุที่อยู่ในจักรวาล (H/He/other) ซึ่งสองตัวแรกเป็นหลักฐานสำคัญที่หนุนทฤษฎีนี้อยู่แบบที่แบบจำลองอื่นให้ไม่ได้
ยิ่งมีการสำรวจเพิ่ม ยิ่งอาจจะได้สังเกตปรากฎการณ์ใหม่ๆ แน่นอนว่าแบบจำลอง BB และองค์ความรู้ที่มีอยู่ปัจจุบันมันอาจจะตอบไม่ครบทุกอย่าง แต่ดูทรงแล้วน่าจะเป็นการปรับปรุงข้อสันนิษฐานและขยายต่อ มากกว่าจะรื้อทิ้งทั้งหมดครับ
เพราะถ้าบอกว่า Big Bang "ล่มสลาย" คนคิดทฤษฎีอื่นที่มาแทน งานคงหนักหน่อยในการพยายามสร้างแบบจำลองที่ตอบได้ครอบคลุมอย่างที่ Big Bang ทำได้ โดยที่ไม่ "ยืม" ความคิด Big Bang เลย
ล่มตรงไหนครับ ยังแข็งโป๊กเลย แล้วมีอันไหนมาแทนครับ อย่าบอกทฤษฏีมนุษย์ต่างดาวสร้างจักรวาลนะครับ อันนั้นมันก็เพ้อเกิ๊น
ของไทยไม่อยากรู้ก็ไปสายศิลป์
สมัยผมเรียน มปลาย วิชาเคมีแทบไม่ได้สนใจเลย พอขึ้นมหาลัย ไปเจอ organic chemistry เหมือนอยู่คนละโลกกับเพื่อนๆในคลาส อ่านไม่รู้เรื่องสักตัวเลย
เรียนสายอาชีวะ ไม่ได้เรียนตารางธาตุจนไม่กี่ปีอายุจะห้าสิบแล้ว ยังคิดไม่ออกว่าต้องเอาไปใช้ตอนจังหวะไหนของชีวิต ปีธาโกรัส แคลคูลัส ยังได้ใช้เรื่อยๆ นะ
คือปีนี้ กล้อง james webb เพิ่งค้นพบ 6 กาแล็กซี่
และเป็น กาแล็กซี่ ที่เก่าแก่กว่า Big Bang ซะอีก
ใน Youtube 3-4 เดือนมานี้ จึงมีนักวิทย์ถกเรื่องนี้กันมากหน่อย
เอ่อ ช่องที่บอกว่าเก่าแก่กว่านี่มั่วทั้งนั้นแหละครับ เลข 6 นี่ชัดเลย
ช่องทางการและช่องวิทย์จริงจังไม่มีช่องไหนบอกว่าเก่าแก่กว่าบิกแบงเลย หลายช่องอธิบายด้วยว่าทำไมหลายๆช่องถึงเต้าข่าวผิดๆแบบนั้น
ส่วนใหญ่มาจากการตีความสองสิ่งนี้ผสมกันคือ
- JWST พบกาแลคซี่ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา (ซึ่งปกติ เพราะมันออกแบบให้เจอแลคซี่ที่ redshift สูงจนกล้องอื่นหาไม่เจออยู่แล้ว)
- JWST พบว่ากาแลคซี่หลายๆกาแลคซี่มีพัฒนาการและขนาดใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหมายถึงแบบจำลอง "วิวัฒนาการ" กาแลคซี่ที่เรามียังไม่ถูกต้อง
หลายที่เลยจับยำเป็น "เก่าแก่กว่าอายุจักรวาล" มันซะเลย!!
ย้ำว่าไม่มีหลักฐานใดๆของ JWST ที่พบว่าอายุของกาแลคซี่เก่าแก่กว่าบิกแบง เพราะ 6 กาแลคซี่ที่วิวัฒนาการเร็วที่ค้นพบล่าสุดนั้นเกิดหลังบิกแบง 500 ล้านปี
กาแล็กซี่ที่ค้นพบนี่ ขนาดพอๆกับ กาแล็กซี่ของเราครับ
ที่ว่ากันว่า กาแล็กซี่ของเรา ต้องใช้เวลาหลายพันล้านปี ถึงจะใหญ่ได้ขนาดนี้
เวลา 500 ล้านปี แล้วใหญ่เท่ากาแล็กซี่ของเรา
ถ้า Big Bang คือกำเนิดจักรวาลจริง แปลว่า ใช้เวลาแค่ 500 ล้านปี
ถือว่าใช้เวลาน้อยมาก
ช่องทางการ ก็เหมือนพวกศาล มองดูคดีแอมไซยาไนด์
คือต้องมีหลักฐานสุดๆ ถึงจะลงโทษได้
แต่ประชาชนไทย ส่วนใหญ่ มองแล้วยัยนี่ก็ใช่แน่ๆ ไม่จำเป็นต้องมีคลิปตอนวางยา
ส่วนใหญ่แล้วไม่เชื่อว่า 500 ล้านปี จะทำอะไรได้มากขนาดนี้
มักจะเลือกเชื่อว่า
เทียบเรื่องไซยาไนด์ไม่ค่อยถูกครับ
มาแนวๆไม่เชื่อ NASA ลงดวงจันทร์เพราะเจอคลิปธงขยับอันเดียวน่าจะดีกว่าครับ
นักดาราศาสตร์ยังไม่ได้คอนเฟิร์มเลยด้วยซ้ำว่าผลจาก JWST ถูกต้องจริงๆใช่มั้ย ทั้งเรื่องอายุและขนาด เพราะมันเป็นข้อมูลชุดเดียว
เรามีหลักฐานบิกแบงตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมากองเป็นภูเขาเลย จะมาล้มบิกแบงด้วยหลักฐานนี้อย่างเดียวคงเกินเหตุไปมากเพราะไปขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆเต็มไปหมด
แทนที่จะบอกว่าบิกแบงไม่ถูกต้อง เราไปบอกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการกาแลคซีมีข้อบกพร่องจะดีกว่า
เพราะ 20 ปีก่อน เราก็ต้องรื้อวิวัฒการกาแลคซี่ใหม่ไปทีนึงจากเรื่องสสารมืด ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงเลือกมาทางนี้
บิกแบงอาจจะผิดจริงก็ได้ แต่คงไม่สะเทือนด้วยข้อมูลเพียงเท่านี้ครับ ยังไม่เจอนักดาราศาสตร์คนไหนที่จริงจังเรื่องบิกแบงจากข้อมูลนี้สักคนนะ
จะล้ม ทฤษฎี Big Bang ผมทำได้นะ
(ผมเคย เขียนทฤษฏีที่ผมคิดเอง ไว้ใน Webboard JuSCI เมื่อ 10 ปีก่อน)
แต่ จะให้ผมล้างภาพจำในหัวพวกคุณ มันยากเหมือนยุค โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล
ซึ่ง Big Bang ก็เหมือนกันเลยคือ โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล
เช่น ผมอธิบายว่า แสงเดินทางด้วยความเร็วแสง มันต้องใช้พลังงานในการเดินทาง
เพราะงั้น พลังงานในตัวมันจะลดลงไปเรื่อย ๆ (ทำให้เกิด Red shift) เมื่อถึงระยะก่อน
CMB นั่นคือ red shift จาก 1Hz ลงไปที่ 0Hz ตรงนี้คือ void หรือ ยุคมืด
เมื่อถึงจุดระยะ 0Hz พอดี เราจะได้ CMB เกิดจากการที่ แสงวิ่งไปจนสุดระยะ ที่มันจะ
red shift ได้ จนทะลุออกนอก มิติที่มันอยู่ได้ คุณจะได้ Pion (ที่เป็น
virtual particle เกิดจากการคำนวนนะ ) ออกมาเป็นแบบนี้ พอดีเปีะ
Pion ควรจะมี 12 มิติ ที่ Spin ตรงกันข้ามกันทั้ง 12 มิติ เรียกว่าตัวนึง Spin in ตัวนึง Spin out หรือ เรียกว่า Pion +, Pion - เมื่อ Pion Decay จะได้ Z (6 มิติ) , W (6 มิติ) แล้ว W Decay เป็น W+, W- แบบ 3 มิติ แต่ Z ไม่ Dacay มันจะอยู่ระหว่างมิติจักรวาล (Quantum Fields) เหมือนมันแปะอยู่ทั้งสองด้าน ด้านนึงจะเป็นแค่ 3 มิติ ทั้งสองด้าน หลังจากนั้น เราจะได้
[W+ , Z , W-] Spin in = t, Tv + [c, Uv] + e, + d
[W-, Z , W+ ] Spin out = T, b, [U, s], u, ev
t = top, b = bottom, c = charm, s = strange, u = up, d = down
T= tau, Tv = tau-neutriono, U = muon, Uv = muon-neutriono, e = electron, ev = electron-neutriono
ถ้าเราแยกออกมาแบบนี้
[Z , W-] Spin in + [W+ ] Spin out ชุดนี้ อยู่ Space ที่วิ่งไปทาง เดียวกัน
.........................
t, Tv + [c, Uv]
T, b
ชุดนี้จะได้ : top + tau-neutriono + charm + muon-neutriono + tau + bottom หรือก็คือ
= up + neutriono + up + neutriono + electron + down หรือก็คือ
= up + up + down + electron + neutriono + neutriono หรือก็คือ
= Newton + electron + neutriono + free neutriono
[W+] Spin in + [W-, Z ] Spin out ชุดนี้ อยู่ Space ที่วิ่งไปทาง เดียวกัน
.........................
e, + d
[U, s], u, ev
ชุดนี้จะได้ : electron + down + muon + strange + up + electron-neutriono หรือก็คือ
= electron + down + electron + down + up + neutriono หรือก็คือ
= down + down + up + electron + electron + neutriono หรือก็คือ
= Proton + electron + neutriono + free electron
.........................
เราจะพบว่า ชุดที่ Decay มาจาก Z จะมี Spin = 2/3 ชุดที่ Decay มาจาก W Spin = 1/3
และเมื่อนำทั้งหมดมารวมกัน
= [Newton + (Anti)electron + (Anti)neutriono + free neutriono] + [Proton + electron + neutriono + free electron]
= Newton + Proton + (Anti)electron + electron + (Anti) neutriono + neutriono + free neutriono + free electron
= Newton + Proton + free neutriono + free electron
= Standard Model พอเด๊ะ
เราจึงเห็น Atom H อยู่ทั่วอวกาศไปหมดและมองออกไปมากกว่าระยะ 13.78 พันล้านปีแสง ที่เป็นระยะ CMB ไม่ได้ ถ้าวันหนึงเราสร้างยานอวกาศ วิ่งไปซัก 1000 ปีแสง แล้วส่องกล้อง ดูระยะ CMB คุณจะเห็นทุกอย่าง ที่ 13.78 พันล้านปีแสง รอบตัวทุกทิศทางเหลือเดิม เป๊ะ แล้วจะเข้าใจเอง
คุณจะพบว่า มันจะกระโดดไปกระโดดมา ระหว่าง scal จักรวาล กับ scal atomic นะครับ เพราะมันคือเรื่องเดียวกัน
สำหรับผม ไม่มี BIG BANG ครับ ตามนั้นเลย
ผมเคยคิดว่า แรงดึงดูด มีผลกับแสง ทำให้เกิด redshift
เหมือนน้ำจากก๊อกเป็นเส้น แล้วกลายเป็นหยด
แต่ละหยดจะยิ่งห่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปและไม่มีอากาศต้าน
แสงที่วิ่งมาหาเราก็เช่นกัน
จะโดนแรงดึงดูดของกาแล็กซี่เรา ทำให้เกิด redshift
ยิ่งรวมกับการที่ แสงที่ออกมาจากกาแลกซี่ต้นกำเนิดก่อน
จะรับผลแรงดึงดูดน้อยกว่าแสงที่ออกมาทีหลัง ก็เกิด redshift ด้วยอีกแรง
ทำให้เราคำนวนการเคลื่อนที่จักรวาลผิดไปจากที่ควร
ผมแค่ จำขี้ปาก Dr. Becky มาเล่าให้ฟัง
https://www.youtube.com/watch?v=W4KH1Jw6HBI
ข้อแรก กาแล็กซี่ JWST ที่เจอ อายุราว 320-350 ล้านปี (ซึ่งอนุมาณจาก ค่า Redshift ตามแบบจำลองที่มีอยู่ในปัจจุบัน) แล้วจากสเปคตรัมบางจุดที่ JWST วัดได้ไม่กี่จุด (JWST ไม่สามารถวิเคราะห์ full spectrum ได้) เอามาอนุมาณ full spectrum ซึ่งก็จะใช้อนุมาณว่า มีดาวฤกษ์คลาสต่างๆ (O,B,A,F,G,K,M) สัดส่วนกี่มากน้อย แล้วก็เอามาอนุมาลมวล ซึ่งก็อนมุมาน (extrapolate) เอามาจากดาราจักรระยะใกล้ๆที่เรารู้มวลค่อนข้างแม่น และมี full spectrum จริงๆ
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีข้ออนุมาณแบบ extrapolate กันแบบเยอะมาก ซึ่งอิงสมมติฐานหลายอย่างที่อาจจะไม่จริงก็ได้ เช่น
เอาเป็นว่า ใจร่มๆ ปล่อยให้ Astrophysic ตัวจริงเค้าไปศึกษากันเถอะ ยิ่งสำรวจมาก ยิ่งเจอมาก ก็ปรับแก้โมเดลกันไป