นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)
DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold2 สำหรับการทำนายโครงสร้างการ "พับ" ของโปรตีน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายกระบวนการทำงานของโปรตีนแต่ละตัวได้รวดเร็วขึ้นในราคาถูกลง เปิดทางการพัฒนายาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ไอบีเอ็มเปิดตัวบริการ RoboRXN ห้องแล็บเคมีอัตโนมัติ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงห้องแล็บเพื่อสร้างสารเคมีที่ต้องการได้จากที่บ้าน
RoboRXN เปิดให้นักวิทยาศาสตร์วาดโครงสร้างโมเลกุลที่ต้องการ จากนั้นปัญญาประดิษฐ์จะแนะนำว่ากระบวนการสังเคราะห์โมเลกุลต้องทำอะไรบ้าง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบขั้นตอนที่ปัญญาประดิษฐ์เสนอให้แล้ว สามารถสั่งให้หุ่นยนต์สังเคราะห์โมเลกุลจากห้องแล็บได้ทันที ทางไอบีเอ็มระบุว่าทดสอบความแม่นยำจากผู้ใช้ที่ทดสอบระบบ 15,000 คน รวมออกแบบสูตรสังเคราะห์เคมี 760,000 สูตร
ดีลใหม่ระหว่าง Amazon กับค่ายหนังรอบนี้อาจดึงดูดใจแฟนๆ สาวกเนื้อหาแนววิทยาศาสตร์ และที่สำคัญคราวนี้มีตัวละครหลักเป็นผู้หญิงด้วย โดย Amazon ร่วมกับ Studiocanal สตูดิโอทำหนังในฝรั่งเศสทำ "Radioactive" หนังชีวประวัติสร้างจากเรื่องจริงของของ Marie Curie หญิงสาวนักเคมีเจ้าของรางวัลโนเบล โดยใน Radioactive จะนำเสนอมุมความรักโรแมนติกระหว่าง Marie และสามีของเธอ Pierre
Marie Curie เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียมที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1903 และโนเบลสาขาเคมีในปี 1911 ตัวหนังสร้างจากหนังสือเรื่อง Radioactive: Marie & Pierre Curie: A Tale of Love and Fallout และนักแสดงที่จะมารับบทบาท Marie Curie คือ Rosamund Pike จาก Gone Girl นั่นเอง
สหภาพเคมีนานาชาติ (International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC) มีมติอย่างเป็นทางการ ประกาศชื่อธาตุใหม่ 4 ตัวในตารางธาตุ ได้แก่
นักวิจัยจากกูเกิล ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard, Lawrence Berkeley National Labs, UC Santa Barbara, มหาวิทยาลัย Tufts, และ University College London จำลองพลังงานของโมเลกุลไฮโดรเจน (H2) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้สำเร็จ
ปัจจุบันการหาพลังงานทดแทนมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีราคาสูงขึ้นและมลพิษที่เกิดขึ้นทำให้หลายหน่วยงานวิจัยทำการวิจัยในพลังงานทดแทน หนึ่งในพลังงานที่ได้รับความสนใจคือพลังงานจากไฮโดรเจนที่นำมาทำเซลลฺ์เชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะหลังจากเผาไหม้แล้วจะได้แค่ไอน้ำออกมา
นักวิจัยชาวเยอรมัน Gerhard Ertl ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีไป จากผลงานวิจัยเรื่อง ปฏิกิริยาของสารเคมีต่อพื้นผิวของแข็ง ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมว่า มลพิษทำลายชั้นโอโซนอย่างไร
โดยงานของนักวิจัยท่านนี้จะเป็นการนำให้คนมาสนใจการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งทำให้ไม่ก่อเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา - CNN.com, Nytimes.com