Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากทีมวิจัยจากเกาหลีรายงานถึงสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ว่ามีมีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง จนมีห้องวิจัยหลายแห่งทั่วโลกกำลังพยายามทำซ้ำ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Southeast University ในเมืองหนานจิงประเทศจีนออกมายืนยันว่า LK-99 มีความต้านทานเป็นศูนย์จริงที่อุณหภูมิ 100K (-173 องศาเซลเซียส)

แม้ว่าจะมีความต้านทานเป็นศูนย์แต่ก็ยังไม่ครบคุณสมบัติของการเป็นเหนี่ยวนำยิ่งยวด โดยทีมวิจัยไม่พบ Meissner effect หรือการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา

งานวิจัยนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า LK-99 เป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้อง แต่ก็ยืนยันว่าเป็นสารตัวหนึ่งที่ควรมีการศึกษาว่าเป็นสารตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง

ที่มา - arXiv

Get latest news from Blognone

Comments

By: ECOS
Windows
on 3 August 2023 - 19:11 #1290932
ECOS's picture

100K เป็น HTS (>77K) ก็จริง แต่ยังห่างไกลกับอุณภูมิห้องมาก
ไม่มี Meissner effect ด้วย แปลกดี
ปล. จริงๆ Meissner effect ไม่ใช่การปลดปล่อยสนามแม่เหล็กซะทีเดียว แต่เป็นการที่สารตัวนั้นไม่รับสนามแม่เหล็กใดๆจากภายนอกเลย หากมีสนามแม่เหล็กภายนอก ตัวมันถึงจะสร้างสนามแม่เหล็กออกมาหักล้าง แต่ถ้าไม่มีสนามแม่เหล็กภายนอกเข้าไปรบกวน มันก็ไม่ได้สร้างสนามแม่เหล็ก

By: Hoo
AndroidWindows
on 3 August 2023 - 22:02 #1290935

เห็นใน feed fb นึง(เชื่อได้?)
บอกว่า simulate ในคอมฯ ได้ผลลัพธ์ตัวนำยิ่งยวดจริง
ถ้าเป็นจริงคือต้องมีการจัดเรียงโมเลกุลให้ไปทางเดียวกัน
เหมือน เหล็ก -> แม่เหล็ก ?

By: N Pack on 4 August 2023 - 14:19 #1290984
N Pack's picture

ตัวนี้เอาไว้ทำอะไรครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2023 - 14:37 #1290989 Reply to:1290984
hisoft's picture

ตัวนำยิ่งยวดคือสารที่นำไฟฟ้าได้โดยไม่สูญเสียพลังงานใดๆ ครับ เมื่อเทียบกับตัวนำทั่วไปที่จะสูญเสียออกมาในรูปของความร้อนและสนามแม่เหล็ก ที่เราเรียกกันว่าความต้านทานไฟฟ้าของตัวนำ

เราสามารถต่อสายไฟที่ทำจากตัวนำยิ่งยวดขนาดเท่าเส้นผมกับถ่าน AA 1.5V ที่เชียงใหม่ลากไปถึงยะลาไปเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ถ่าน AA 1.5V ที่ยะลาได้โดยไม่เสียแรงดันไฟฟ้าหรืออะไรเลย
และเราสามารถลากสายไฟที่จ่ายทั้งจังหวัดได้โดยใช้ขนาดเท่าเส้นผมมาเป็นแรงดันที่จะจ่ายให้บ้านเรือนเพียงเส้นเดียวได้โดยที่สายมันไม่ไหม้เพราะมันไม่มีความต้านทานที่จะทำให้แรงดันตกลงหรือร้อนจนสายละลายใดๆ

ซึ่งปัจจุบันเราเสียพลังงานไฟฟ้าไปกับความต้านทานพวกนี้สูงมากทั้งในระดับการส่งพลังงาน (สายไฟฟ้า) และในระดับอุปกรณ์ที่ใช้งาน

ทั้งนี้ เรายังสรุปกันไม่ได้ว่า LK-99 เป็นตัวนำยิ่งยวดไหม และถ้าเป็นจะเป็น Type I หรือ Type II แต่หากเป็น Type II เราสามารถเอามันมาทำ quantum locking ให้ลอยอยู่เฉยๆ ข้างๆ แม่เหล็กได้ด้วยครับ แบบคลิปนี้ที่ใช้ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิต่ำ (และหล่อเย็นอยู่ด้วยไนโตรเจนเหลว) ซึ่งหาก LK-99 เป็น Type II ที่อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศก็คือมันจะลอยอยู่แบบนั้นได้ทั้งวันทั้งคืนเลย

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 4 August 2023 - 15:58 #1290998 Reply to:1290989

ขอบคุณครับ พยายามทำความเข้าใจความสุดยอดของมันอยู่ตั้งนาน มาเจอเมนต์นี้กระจ่างเลย


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2023 - 17:37 #1291005 Reply to:1290998
hisoft's picture

เสริมนิดนึง อันนี้ผมพยายามหาข้อมูลมานานแต่ยังไม่มีข้อมูลนะครับ ตรงส่วนที่ผมบอกว่า จ่ายไฟทั้งจังหวัดได้ด้วยสายเท่าเส้นผม

จริงๆ ผมค่อนข้างสงสัยว่ามันจะมี limit ว่าได้สูงสุดแค่ไหนก่อนที่จะเสียสภาพตัวนำยิ่งยวด (ในลักษณะเดียวกับถ้าโดนสนามแม่เหล็กแรงเกินจุดนึงมันจะกลายเป็นตัวนำที่ไม่ยิ่งยวด) คือถ้ามันเยอะมากจริงๆ แต่พื้นที่หน้าตัดมันกว้างแค่ 100 อะตอม มันก็ไม่น่ารองรับการวิ่งผ่านของอิเล็กตรอนได้ไม่จำกัดเหมือนกัน

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 5 August 2023 - 21:58 #1291078 Reply to:1291005

อีกเรื่องนึงคือเราจะสามารถสร้าง Quantum Computer ที่ใช้งานในอุณหภูมิห้องหรือเปล่าครับถ้าจำไม่ผิด เพราะเข้าใจว่า Quantum ต้องใช้ตัวนำยิ่งยวดเลยต้องคุมอุณหภูมิทั้งที่ชิปมันก็เล็กเหมือน CPU อื่นๆ ถ้าทำในอุณหภูมิห้องได้ เราน่าจะได้ super computer ขนาดเท่าสมาร์ทโฟนเล่น facebook กันในเร็ววันแน่ๆ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 5 August 2023 - 22:17 #1291079 Reply to:1291078
hisoft's picture

quantum computer เรากดอุณหภูมิต่ำอีกส่วนนึงคือเพื่อให้อนุภาคมันหยุดนิ่ง ไม่งั้นพอระดับพลังงานสูง (อุณหภูมิสูง) แล้วมันดิ้นไปดิ้นมามันไปกวน qubit จนค่าผิดไปครับ T-T

By: Hoo
AndroidWindows
on 6 August 2023 - 17:23 #1291122 Reply to:1291005

ถ้า A คือ หน้าตัด = จำนวนอะตอมที่ส่งต่ออิเล็กตรอนได้
ส่วน V คือ จำนวนอิเล็กตรอนที่ไหลต่อหน้าตัดขนาดเท่าเดิม

คิดว่าตัวที่จะทำลายความเป็น superconductor น่าจะเป็น Volt สูงๆ
แต่ที่ผ่านมาคงวัด limit Volt ของ superconductor ไม่ได้
เพราะพอ Volt สูงมากๆ ตัวนำอื่นๆที่ป้อนไฟฟ้าให้ superconductor น่าจะละลายไปก่อนถึง limit

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 6 August 2023 - 18:49 #1291127 Reply to:1291122
hisoft's picture

เห็นว่า superconductor มีขีดจำกัดว่าจะเสียสภาพ superconductor เมื่อเจอสนามแม่เหล็กที่เกินค่า critical ของมัน ผมไม่รู้สนามแม่เหล็กจากที่ไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเองนี่นับมั้ย ถ้านับก็อาจจะมีตัวนั้นเป็น limit ก็ได้ครับ T-T

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 6 August 2023 - 22:32 #1291136 Reply to:1291122

จำนวนอิเล็กตรอนน่าจะเป็น I รึเปล่าครับ เข้าใจว่า V คือความแรงนะครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Hoo
AndroidWindows
on 7 August 2023 - 00:38 #1291138 Reply to:1291136

อ๋อ คือ สูตรกำลังไฟฟ้า
Power(P) = Current(I) * Voltage (V)
โดยหน่วยวัดคือ
Watt(W) = Ampere(A) * Volt(V)

เพราะชีวิตประจำวันเขียนข้างเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็น W=AV
ผมเลยชินกับ W=A
V ไป 😅

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 4 August 2023 - 20:37 #1291011
mr_tawan's picture

จะว่าไป จะมีสารกึ่งตัวนำยิ่งยวดไหมครับ :)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2023 - 22:33 #1291019 Reply to:1291011
hisoft's picture

🤔