มหากาพย์สาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ที่อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดดูมีเค้าลางยิ่งขึ้น หลังห้องวิจัยหลายแห่งพยายามทำซ้ำรายงานวิจัยของ Quantum Energy Research Centre และพบว่า LK-99 มีคุณสมบัติของตัวนำยิ่งยวดจริงในบางสภาวะ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Huazhong University of Science and Technology (HUST) ก็พบ Meissner effect ของ LK-99 ที่อุณหภูมิห้อง (340K) บ่งชี้ว่า LK-99 อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องได้จริงๆ
เนื่องจากปริมาณ LK-99 ที่สังเคราะห์ได้ในตอนนี้ยังมีปริมาณน้อยมากๆ ในรายงานนี้ HUST สังเคราะห์ออกมาได้เพียงขนาดเท่าเม็ดฝุ่นเท่านั้น จึงยังไม่สามารถวัดค่าความต้านทานได้โดยตรง
ตอนนี้มีห้องวิจัยอย่างน้อย 11 แห่งจาก 5 ชาติกำลังลงมือทำซ้ำรายงานวิจัย LK-99 อยู่ แต่ห้องวิจัยในเกาหลีใต้เองและในสหรัฐฯ นั้นยังไม่มีการรายงานผลออกมา
ที่มา - arXiv
Comments
มีข่าวเดียวกันเมื่อเช้านี้
https://www.blognone.com/node/135114
แต่เนื้อหาตรงกันข้ามครับ จากข่าวนี้
ล่าสุดทีมวิจัยจาก Huazhong University of Science and Technology (HUST) ก็พบ Meissner effect ของ LK-99 ที่อุณหภูมิห้อง (400K) บ่งชี้ว่า LK-99 อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องได้จริงๆ
ข่าวเมื่อเช้า
โดยทีมวิจัยไม่พบ Meissner effect หรือการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
They
claimed that the synthesized LK-99 materials exhibit the Meissner levitation
phenomenon of superconductors and have a superconducting transition temperature (Tc)
higher than 400 K.
คนละทีม คนละผลครับ ข่าวเก่าอันนั้นของ Southeast University
lewcpe.com, @wasonliw
แสดงว่าข่าวไปเร็วมากครับ ทำกันหลายทีม ผลออกมาเวลาใกล้ ๆ กัน
นี่ไม่นับพวก simulate คุณสมบัติจากโครงสร้างโมเลกุลเอา มีอีกหลายทีมแถลงผลออกมาแล้ว น่าจะอีกเป็นเท่าเลยครับ
ผมเข้า Hacker News สัปดาห์นี้ต้องมีขึ้นหน้าแรกอย่างน้อย 2-3 โพสเรื่อง LK-99
lewcpe.com, @wasonliw
เหมือนข่าวเดิม ทดลองที่อุณหภูมิ 100K
ได้ผล ไร้ความต้านทาน
แต่ไม่เกิด Meissner effect
ข่าวนี้ ทดลองที่ 340K
เกิด Meissner effect
แต่ไม่ระบุความต้านทาน
ข่าวนี้ลุ้นจริง ทำได้ คือ ปฏิวัติแทบทุกอย่าง อย่างน้อยก็พิสูจน์ได้ว่า มีสสารที่ทำได้ที่อุณหภูมิห้อง หรือ เกิดสถานะนี้ได้หลายช่วงอุณหภูมิ อนาคตอาจจะสสารทดแทนที่ต้นทุนต่ำลง
จริงๆตัวนี้ถ้าทำได้จริงๆต้นทุนก็ถูกมากแล้วนะ ตะกั่ว กับทองแดง
กระบวนการผลิต ดูเหมือนจะไม่ง่ายนะครับ
ใช่ครับไม่ง่ายแต่ถ้ามันใช้งานได้ก็น่าจะมีการคิดการผลิตจำนวนมาก ราคาก็จะถูกลง คล้ายๆอะลูมิเนียมครับกว่าจะผลิตจำนวนมากๆได้ก็หลายปีจนราคาไม่แพงในปัจจุบัน
จะไปน่าห่วงก็ตรงใช้ตะกั่วเยอะนี่แหละครับ 😱
เพชรนี่ก็เป็นแค่คาร์บอนนะครับ
ใช่ครับ เพชรธรรมชาติราคาประมาณ 10,000 เหรียญต่อกะรัต ในขณะที่เพชรสังเคราะห์ราคาเพียง 500 เหรียญต่อกะรัต และมันก็ถูกลงเรื่อย ๆ ครับ
ถ้าสิ่งนี้ทำได้ไม่ยากแบบเพชรล่ะก็คงจะดีไม่น้อย
Jusci - Google Plus - Twitter
รอลุ้นด้วยคน
..: เรื่อยไป
400K ไม่น่าใช่อุณหภูมิห้องนะคะ
อันนี้เขียนผิดครับ ไปอ่านใหม่มันคือ 340K (ยังร้อนเกิน แต่เกินน่าจะดีกว่าขาด)
lewcpe.com, @wasonliw
340K นี่ก็ 67 องศาเซลเซียส ร้อนอยู่นะคะ
น่าจะเป็นอุณหภูมิเฉยๆ ไม่ใช่ Room temp.
แต่บทความต้นทางก็บอกว่า อุณหภูมิห้อง นิ (ฮา)
ปกติแล้วมันยิ่งเยอะยิ่งดีครับ ถ้ามันรอดที่ 67 C ก็ควรจะใช้ได้ที่ 3-40 C ด้วย (จากสารอื่น ๆ ที่เคยมีมา) เลยใช้คำว่าที่อุณหภูมิห้องครับ
400K=126.85°C