กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น
สถานะ gatekeeper ตามกฎหมาย Digital Markets Act ระบุให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม, มีผู้ใช้เป็นคนหรือธุรกิจจำนวนมาก, และมีความสามารถในการป้องกันสถานะตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทที่ถูกจัดเข้าหมวดจะถูกบังคับให้เปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาแข่งขันได้ และต้องไม่สร้างความได้เปรียบบริการของตัวเองเหนือบริการของผู้ให้บริการภายนอก เช่นการบังคับติดตั้งแอปบางตัวโดยไม่ให้ถอนออก
ทั้งหกบริษัทถูกจัดเป็นสถานะ gatekeeper ในตลาดหลายอย่าง ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์, แชต, ตัวกลาง/แพลตฟอร์มต่างๆ, โฆษณา, เบราว์เซอร์, ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์, บริการค้นหา
ก่อนหน้านี้ Apple และ Microsoft ยื่นหนังสือโต้แย้งว่าบริการ iMessage, Bing, และ Microsoft Advertising นั้นไม่เข้าข่าย ประกาศครั้งนี้จึงยังเว้นทั้งสองบริการไว้ระหว่างการสอบสวน
ที่มา - Europa.eu
Comments
สงสัยเริ่มกลัวเอกชนมีอำนาจเหนือรัฐ ดีแล้วถ้าปล่อยให้ควบคุมไม่ได้ มันจะกลายเป็นการสร้างอาณานิคมในรูปแบบ อาณานิคมของเอกชนโดยมีประเทศต้นทางหนุนหลัง ทำให้เกิดอำนาจต่อรองกับรัฐโดยใช้ประชาชนที่อยู่ระบบเป็นแรงขับเคลื่อน ทำให้เกิดภาวะกีดกันทางการค้าแบบกลายๆ
คนเราพอมันสะดวกสบายแล้วให้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นมันก็ลำบาก ทำให้เอกชนพวกนี้เวลามีปัญหากับรัฐทั้งเรื่องภาษี การแข่งขัน หรืออื่นๆ ก็จะบีบให้ผู้ใช้ในระบบที่เป็นประชากรในประเทศที่เกิดปัญหา สร้างแรงกดดันไปที่รัฐอีกที
จริงๆกฎหมายพวกต่อต้านการผูกขาดหรืออะไรพวกนี้ หลักๆก็เพื่อผลประโยชน์ของรัฐนั่นแหละครับ (ก็คือรักษาอำนาจของรัฐไม่ให้เอกชนมีอำนาจเหนือรัฐจากการผูกขาด แม้จะเป็นเอกชนจากประเทศเดียวกันก็ตาม) ส่วนเรื่องผู้บริโภคเป็นผลพลอยได้ซะมากกว่า
ยิ่งหลังๆมานี่ก็เริ่มมีประเด็นเรื่องเอกชนขู่รัฐเกิดขึ้นด้วย ก็คงต้องจริงจังกันหน่อยแหละครับ
ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนถึงขั้นที่เวลารัฐจะออกหรือบังคับใช้กฎหมายอะไรก็ต้องเกรงใจเอกชนรายใหญ่ไว้ก่อนเสมอมันก็ยากที่จะแก้แล้วล่ะครับ (ไม่รู้เหมือนกันว่าประเทศเราถึงขั้นนั้นแล้วรึยัง)
ไทยควรมีกฎหมายแบบนี้
แค่จะฟ้องปิดเฟส ยังมีคนมาแอนตี้เพียบเลยครับ แต่ถ้าพรรคที่ตัวเองชอบเป็นคนทำคงบอกว่าเยี่ยม ทำไมพรรคอื่น ไม่มีความคิดที่จะทำแบบนี้กันนะ พรรคเรานี่วิสัยทัสน์เยี่ยมยอดจริงๆ
ก็การปิดเฟสมันไม่ใช่บทลงโทษที่ประเทศที่เจริญแล้วเขาทำกันนะครับ ลองดูในข่าวนี้ก็ได้ว่าบทลงโทษของอียูเป็นอย่างไร
In case a gatekeeper does not comply with the obligations laid down by the DMA, the Commission can impose fines up to 10% of the company's total worldwide turnover, which can go up to 20% in case of repeated infringement. In case of systematic infringements, the Commission is also empowered to adopt additional remedies such as obliging a gatekeeper to sell a business or parts of it or banning the gatekeeper from acquisitions of additional services related to the systemic non-compliance.
เข้าใจว่ามี แต่มีปัญหาคนบังคับใช้กฎ คิด/รู้ไม่ทัน
อย่าง เน็ตมือถือขายพ่วงเน็ตบ้าน จริงควรโดนสอย แต่ไม่ทำ
จนในที่สุด บ.มือถือเพียวๆ/บ.เน็ตบ้านอย่างเดียว อยู่ไม่ได้
ก็โดนซื้อ/ควบรวมไป
มีแค่เจ้าที่ขยายมาทำเน็ตบ้านที่รอดมาได้
ไม่มี X Elon งอนละ
น่าจะใช้คำว่าอียูเหมาะสมกว่ายุโรปครับ ยิ่งตอนนี้อังกฤษไม่ได้เป็นส่วนนึงของอียูอีกต่อไป
ส่วนทั้ง 6 บริษัทนี่ Alphabet/Amazon/Apple/Microsoft พวกนี้หลักล้านล้านยูโร ต้องคุมเข้มถูกแล้ว ส่วน Meta มูลค่าไม่ถึงล้านล้าน แต่พฤติกรรมหมิ่นเหม่ว่าจะผูกขาด ก็ต้องคุมความประพฤติด้วย แต่แปลกใจที่ ByteDance ติดด้วย คือมันก็เป็นบริษัทที่เจาะไปที่ตลาดวิดีโอสั้น ต่อให้ผูกขาดก็จริง แต่ตลาดมันก็ไม่ได้สำคัญอะไรขนาดนััน น่าจะมีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องไหม (ว่าเป็นของจีน?)
iMessages สมควรเข้าเกณฑ์ด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ตัว Services ทำตัวเป็น gatekeeper อยู่ ใช้ได้เฉพาะ ecosystem ของแอปเปิลเท่านั้น
ส่วน Bing และ Edge ถ้าไมโครซอฟท์ไม่ยัดเยียดสุดแรง ผมว่าไม่เข้าข่าย แต่ทุกวันนี้มันเป็นแบบนั้นก็สมควรโดนอยู่ โดยเฉพาะบน Windows
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ประเทศที่นิยมใช้ iMessage ส่งข้อความนี่มีแค่สหรัฐฯ เท่านั้น (เพราะเดิมทีนิยม SMS แล้ว iMessage มันเข้ามาทดแทนจนแทนที่) นอกนั้นใช้ช่องทางอื่นหมด ส่วนใน EU นั้นไม่นิยมใช้ iMessage ครับ
นึกภาพไม่ออกเลยถ้าไม่มีอียูมานำเรื่องการออกกฏหมายแบบนี้ โลกจะเป็นยังไง
บริษัทของ US ทั้งนั้น
แต่ต้องมาปวดหัวกับกฏหมายของประเทศอื่น
เอาเงินเขามาก็ต้องทำตามกฎเขาแหละครับ ไม่งั้นก็โดนแบบ GDPR กันไป
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ทำธุรกิจประเทศเค้าก็ต้องทำกฏสิ ถถถ
ปรับเงินไปเรื่อยๆ ถ้าทำตาม ก็ดีไม่ทำตามก็ โดนไปเรื่อยๆ
หมวด OS ไม่มี macOS แฮะ
อันนี้ผมอยากทราบนะถ้าเกิดผู้ใช้งานอย่าง IPAD Iphone ไปโหลดแอพ จากสโตว์ 3RD Party มาแล้วโดนโกงแบบนี้ ใครต้องรับผิดชอบ ผู้ใช้งานต้องรับผิดชอบเองล้วนๆ หรือเปล่า???
ใช่ครับ ในปัจจุบัน อย่างมากเจ้าของ store ก็แค่ลบแอปที่ว่าออกและอาจจะให้ความร่วมมือในการสืบสวน แต่ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบอะไรด้วย (ไม่ใช่แค่ 3rd party แต่ Play Store/App Store ก็ทำแบบนี้เหมือนกัน)
ยกเว้นแต่ว่าจะมี 3rd Party Store เจ้าไหนใจถึงกล้ารับผิดชอบน่ะนะ ซึ่งถ้าเปิดให้แข่งขันกัน อาจจะมี Store แบบนี้เกิดขึ้นมาก็ได้
ไม่ว่าสินค้าตัวไหนก็เหมือนกันครับ คุณไปใช้สินค้าจากแหล่งอื่นที่เขาไม่ได้รับรอง ก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง ง่ายๆ เทียบกับอะไหล่เทียบของรถยนต์ก็ได้ ถึงมันจะใช้ได้เหมือนไม่มีปัญหาอะไร แต่ระยะยาวเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชิ้นส่วนอื่นๆ ของผู้ผลิตหรือเปล่า ถ้าเกิดผลต่อเนื่องทำให้ชิ้นส่วนอื่นพัง ผู้บริโภคก็ต้องรับชอบตัวเองไป เช่น สมมุติว่าคุณเปลี่ยนไปใช้ไส้กรองที่ผู้ผลิตไม่ได้ certify แล้วปรากฎว่าเครื่องยนต์พัง ถึงแม้จะอยู่ในระยะประกัน ถ้าเขาตรวจพบคุณก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนไป
ในทาง software ถ้าคุณไป download สินค้าจากนอก store มันก็ผิด policy ของการรับประกันแล้ว ดังนั้นหากเกิดความสูญเสียก็ต้องรับผิดชอบตัวเองไป
ถ้ามีสโตร์ข้างนอก นี้ น่าจะเหมือนฝั่งดรอยนะ ซื้อมาจากร้านไหน ร้านนั้นก็รอผิดชอบ ต้องดูร้านนั้นแล้วจะทำยังไง เค้าอุตส่าห์เปิดให้เข้ามาแข็งขันขนดนี้ ยังดูแลลูกค้าไม่ดีอีก
มันก็ดูดีนะ เปิดให้ราายเล็กๆ เข้ามาแข็งขันบ้าง แต่ดูจะมีปัญหาหน่อย รอดูต่อไป
การถ่วงดุลกันระหว่างภาครัฐกับเอกชนในระดับที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ดีแหละ
..: เรื่อยไป