AMD กลับมาขายซีพียูรุ่นท็อปสุดของสายคอนซูเมอร์ Threadripper อีกครั้ง โดยรอบนี้เปิดตัวทั้ง Threadripper 7000 และ Threadripper Pro 7000 สำหรับภาคธุรกิจ-สายงานมืออาชีพ (ตอน Zen 3 มีเฉพาะ Threadripper Pro 5000 ไม่มีรุ่น non-Pro)
Threadripper 7000 ใช้แกน Zen 4, ผลิตที่กระบวนการขนาด 5nm, รองรับ PCIe สูงสุด 48 เลน, จำนวนคอร์สูงสุด 64 คอร์ / 128 เธร็ด, TDP 350 วัตต์ มีทั้งหมด 3 รุ่นย่อยคือ
Threadripper Pro 7000 WX มีทั้งหมด 6 รุ่นย่อย โดยเพิ่มรุ่นเรือธง Threadripper Pro 7995WX อัดพลัง 96 คอร์ 192 เธร็ด, แคชรวม 480MB เพิ่มเข้ามาด้วย และมีรุ่นล่าง Threadripper Pro 7955WX (16 คอร์ 32 เธร็ด) กับ 7945WX (12 คอร์ 24 เธร็ด) มาให้ด้วเช่นกัน
ซีพียูกลุ่ม Pro ไม่มีขายปลีก แต่ขายผ่านพาร์ทเนอร์ OEM และ SI ที่นำไปประกอบใส่เครื่องเวิร์คสเตชันเท่านั้น ที่ระบุชื่อแล้วมี Dell Precision, Z by HP และ Lenovo
AMD ยังออกชิปเซ็ตเมนบอร์ดสำหรับ Threadripper 7000 ออกมาอีก 2 รุ่นคือ AMD TRX50 ที่รองรับทั้งซีพียูตัวธรรมดาและ Pro (PCIe 48 เลน) และ AMD WRX90 ที่รองรับเฉพาะรุ่น Pro (PCIe 128 เลน)
ที่มา - AMD
Comments
อยากเห็นเบนซ์มาร์คแล้ว
เธร็ด ทำหน้าที่อะไรครับ
Simultaneous Multi-Threading (SMT)
TLDR; ซีพียูพวกนี้โดยเฉพาะ Core ใหญ่ไม่ได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา และมักจะมี Cycle ว่างอยู่ตลอด การจำลอง Thread ขึ้นมาบน CPU คอร์เดียวกันจึงถูกนำมาใช้เพื่อทำให้ Core ซีพียูเดียวทำงานเสมือนหลายคอร์และถูกใ้ช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แลกกับข้อเสียที่ Single Core Performance จะลดลงหน่อย เสี่ยง Cache Miss สูงขึ้น (เพราะตอน Execute อาจจะทำงานหลายอย่างที่ไม่มี Cache เพียงพอสำหรับหลายงาน) และประสิทธิภาพ Memory หลักที่ลดลง
สถาปัตยกรรมที่อัด Thread หนักๆ คือ IBM POWER เห็นว่าไปสุดที่ 8 Thread ต่อ 1 Core เลย