Alexander Hanff นักรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการปกป้องข้อมูลของไอร์แลนด์ เพื่อให้สอบสวน YouTube ว่าการบล็อกไม่เล่นวิดีโอหากตรวจพบตัวบล็อกโฆษณาในเบราว์เซอร์ เข้าข่ายการละเมิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU) หรือไม่
ในรายละเอียดคำร้องบอกว่า กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของ EU ระบุว่าผู้ให้บริการออนไลน์ต้องแสดงข้อความขออนุญาต หากมีการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน กรณีของ YouTube นั้นพบว่ามีการฝังสคริปต์เพื่อตรวจสอบดูว่า HTML ที่เรนเดอร์แล้วของฝั่งผู้ใช้งานใช้ตัวบล็อกโฆษณาหรือไม่ ซึ่งเขามองว่าสคริปต์นี้เป็นการละเมิดข้อมูลและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องมีการควบคุมเหมือนการร้องขอจัดเก็บคุกกี้
ตัวแทนของ YouTube ชี้แจงกับ WIRED ว่าโฆษณาเป็นสิ่งที่สนับสนุนครีเอเตอร์และทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงคอนเทนต์ที่ต้องการได้ใน YouTube การใช้โปรแกรมบล็อกโฆษณาจึงขัดต่อข้อตกลงในการใช้งาน ส่วนตัวแทนจากคณะกรรมการปกป้องข้อมูลของไอร์แลนด์ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อคำร้องเรียนนี้ ขณะที่ Hanff ยืนยันว่าทางการจะลงมาสอบสวนเคสนี้
ที่มา: WIRED
Comments
งั้นการที่ผู้ใช้ใช้โปรแกรมเพื่อแก้ไขให้แอป/เว็บนั้นๆ ทำงานไม่ถูกต้องตามปกติ ถือว่าผิดกฎหมายมั้ยนะ
จริงๆ การ ดักว่าใช้ adblock มั้ย ทางเทกนิกมันไม่จำเป็นต้องตรวจว่าคนใช้ลง adblock หรือเปล่า แค่ตรวจเนื้อหาที่เป็นเหยื่อล่อว่ายังอยู่มั้ย ซึ่งไม่น่าจะผิดกฎความเป็นส่วนตัวไม่นะ
The Dream hacker..
โดยหลักการแล้วมันดัดแปลงโค้ดที่อยู่ในเครื่องของเราเองครับ ไม่ได้ไปดัดแปลงโค้ดที่ต้นทาง เพราะงั้นมันจึงไม่ผิดกฎหมายครับ ทำนองเดียวกับของใช้อื่นๆนั่นแหละครับ ตราบใดเท่าที่มันเป็นของเราแล้ว เรามีสิทธิ์จะดัดแปลงมันยังไงก็ได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย (แต่จะผิดเงื่อนไขต่างๆของผู้ผลิตหรือไม่นั่นคืออีกเรื่อง)
ส่วนเรื่องละเมิดความเป็นส่วนตัว อันนี้ก็ต้องดูเทคนิคที่ใช้ครับ ถ้าไม่ได้ไปยุ่มย่ามกับข้อมูลผู้ใช้ก็ไม่น่าละเมิดอะไร
อย่างนี้แปลว่าผมไปโหลดโปรแกรมที่เค้าให้ลองใช้ และใส่ key เพื่อปลดล็อค feature แต่ผมไม่ซื้อ ผมเอามาดัดแปลงโค้ดในเครื่องผมให้ผ่านขั้นตอนเช็ค key และใช้ได้ทุก feature ก็ไม่ผิดกฏหมายลิขสิทธิ์สิครับ
ถูกต้อง ที่ผิดจริงตามประวัติที่ผ่านมาคือ Unfair Competition ที่เป็นในกรณีที่ใช้ช่องโหว่นั้นหาผลประโยชน์จนกระทบกับเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างชัดแจ้ง (กรณีศึกษามีเพียบ) อย่างพวก CAD แคร็กทั้งหลาย จริง ๆ เกมแคร็กก็ฟ้องได้แต่ไม่ค่อยมีใครทำเพราะไม่คุ้มฟ้อง หนำซ้ำบางบริษัทยังยืมจมูกแคร็กเกอร์หายใจอีกด้วย (กรณีศึกษา Rockstar เผยแพร่แคร็กโปรแกรมของ Razor1911 บน Steam) กลับกัน โปรแกรม Extension บนเว็บเบราว์เซอร์นั้นแทบไม่มีการหาผลประโยชน์นอกจากพัฒนาเป็นส่วนเสริมเชิงพาณิชย์ ซึ่งถ้ามี Adblock เชิงพาณิชย์ก็เสี่ยงเข้าหมวด Unfair Competition ได้ แต่เท่าที่รู้จักยังไม่เคยเห็นโปรแกรม Adblock ที่สร้างมาในเชิงพาณิชย์อยู่เลย ส่วนมากทำให้ฟรี รับบริจาคเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเป็นส่วนหนึ่งของ Software Suite ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น Adblock บน Brave ซึ่งถ้าจะบอกว่า Brave กำลังหาผลประโยชน์จาก YouTube ด้วย Adblock ก็จะฟังดูตลกดีเช่นกัน
กรณีของการแก้ไขโปรแกรมบนเว็บเบราว์เซอร์นั้น ตัวโปรแกรมเองมันเล็กมาก และโปรแกรมเองก็ฟรีที่จะใช้งาน การดาวน์โหลด (ตั้งแต่การจิ้มเข้าเว็บ) จึงเป็นเสมือนว่าเราเป็นเจ้าของโปรแกรมนั้นบนเครื่องแล้ว จะฟ้องให้มันเข้าส่วนของที่มันผิดจึงยาก ทางเทคนิคโปรแกรมบนเว็บเหล่านี้เองก็อยู่ในรูปแบบโปร่งใส อ่านโค้ดได้ค่อนข้างง่าย การอ้างว่าแก้ไขบรรทัดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์จึงฟังขึ้นยาก หนำซ้ำถ้าทำแบบนั้นแล้วฟ้องได้ โปรแกรมโอเพนซอร์สจะไม่ได้เกิดเลย
เอาจริง ๆ ตัวกฎหมายมันไม่มีถูกผิดแบบไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งไปเลย อย่างถ้าผลกระทบมันไม่ได้กว้าง เจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนมากก็เลือกที่จะอยู่เฉย หรือรู้ตัวว่าถ้าทำแล้วผิดหูผิดตาคนก็จะเลือกวิธีการประนีประนอมก่อน อย่าง YouTube เองจริง ๆ จะตัดคนใช้ Adblock ออกไปจากสารบบก็ได้ (เพราะผิด ToS ตั้งแต่แรก) แต่เลือกที่จะไม่ทำแบบนั้นแล้วใช้วิธีการทำให้รำคาญแทน คุณคิดว่ามันแปลกไหมล่ะ
ผมว่าเคสนี้น่าสนใจตรงที่มีพรรคโจรสลัด (Pirate Party) อยู่เบื้องหลัง ฟังดูแล้วเหมือนการ์ตูน แต่เป็นพรรคที่มีตัวตนอยู่จริง แถมยังได้นั่งตำแหน่งแล้วด้วยในบางประเทศของยุโรปและตำแหน่งในอียู แม้จะมีจำนวนไม่กี่เก้าอี้ก็ตาม จุดประสงค์ของพรรคก็ตรงตามชื่อ แต่ถ้าเอาแบบคำพูดสวยๆก็ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฏหมายลิขสิทธิ์
จริงๆ แค่ตรวจ delay การโหลดเนื้อหาก็ได้แล้วรึเปล่า?
แบบ คนใช้ปกติต้องนิ่งไป 5-15วิ ก่อน ตามเวลาให้ดูโฆษณา
ถ้าไม่ถึงก็โหลดแล้ว แสดงว่ามีการข้ามโฆษณา
วิธีนี้ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวด้วย
เขาไม่ได้ห้ามการเปิดเผยความเป็นส่วนตัวนิ (ไม่ได้ห้าม do not track) แต่แค่ต้องดูโฆษณา จะดูแบบไม่เปิดเผยตัวตนก็ได้นิ
สงสัยอย่างนึงทำไมฝั่งไทยเราเห็นชอบกับการให้ Block ไม่ได้และให้ไปซื้อ Premium แทน กลับกันฝั่งตะวันตกจะไม่เห็นด้วยกับ Youtube ซะเป็นส่วนมากทั้งๆที่รายได้เทียบกับราคา Premium อาจจะถูกกว่าไทยด้วยซ้ำ
สิทธิผู้บริโภคมาก่อนอันดับแรก คนบ้านเขาคิดแบบนั้น
YU ของอเมริกา ส่วน EU ไม่ใช่อเมริกา ระหว่าง สิทธิผู้บริโภค VS EU ไม่อยากให้ประชากร เสียเงินให้อเมริกา มันอาจจะเป็นแค่เส้นบาง ๆ ที่มองไม่เห็น
???
ไม่ใช่แค่ EU นะครับ คนอเมริกาก็ด่ากระจุยตามหาอ่านได้ทั่วไปใน Reddit
จริง ฝรั่งชาติตะวันตกเงินเดือนเป็นแสน กับอีกแค่ Premium ไม่กี่ร้อยบาท ไม่ยอมจ่ายกัน กรูละงึด จะงกไปถึงไหน 5555😆
ปัญหามันอยู่ที่วิธีการครับ ไม่ใช่เรื่อง Block ไม่ Block
ให้ยูทูปมันมีกำไรบ้างเหอะ 555 คลิปวิดิโอเพิ่มขึ้นทุกวัน เดือนๆนึง มันต้องเพิ่มฮาร์ดดิสไม่รู้กี่ Petabyte ไหนจะมีฮาร์ดดิสตัวที่เสียอีก
รู้สึกว่าหลายปีที่แล้วก่อนมีการบังคับดูโฆษณา และ มี Premium เคยมีข่าวว่า YouTube เป็นบริการตัวเดียวที่กูเกิ้ลขาดทุนมาตลอด
เอาแพคเกจ Youtube Premium Lite ไปรวมกับ Google One Basic ซ้าาาา จะได้รู้สึกแฟร์หน่อย
อารมณ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องส่วนตัว ที่เจ้าของ plateform หรือ content ไม่มีสิทธิ์เข้ามาห้าม
ยังงี้ก็ได้เหรอครับ
ผมว่ามันคนละประเด็นนะ
การตรวจสอบโดยวิธีการที่ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวมันก็มีแต่เขาเลือกที่จะไม่ใช้
มันมีวิธีการตรวจที่ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวได้
ในข่าวเรากำลังถกกันถึงวิธีการตรวจสอบไม่ได้หมายถึงห้ามการตรวจสอบ
YouTube: เก็บเงินคนใช้ ไม่จ่ายก็มีโฆษณา ได้เม็ดเงินจากสินค้า บริการต่างๆ สมประโยชน์ตน
ผู้บริโภค: ฉันดูบนอุปกรณ์ของฉัน ฉันจะดูอย่างไร วิธีใด ก็เรื่องของฉัน
ถ้าผู้บริโภคชนะ คนเจ๊งไม่ใช่ YouTube หรอก เหล่า Content creator ต่างหาก YouTube ได้เงินน้อยลง พวกนั้นก็ได้เงินน้อยลง ผลงานดี ๆ ก็จะน้อยลง แล้ว YouTube ก็จะตายไปเอง
สิ่งที่น่าสนใจคือเหล่า Content Creator ส่วนหนึ่งเองก็สนับสนุนให้ผู้ใช้ใช้งาน AdBlock เช่นกัน
ผมว่ายูทูบยังไม่ได้กำไรด้วยมั๊ง เสียเงินไปกับ hdd ใหญ่มากๆ