หลังจากแบงค์ชาติออกประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กำหนดเกณฑ์การให้บริการผ่านช่องทาง Mobile Banking ห้ามไม่ให้หยุดชะงักเกิน 8 ชั่วโมงต่อปี และมีข่าวระบุว่าหากธนาคารทำไม่ได้ตามเกณฑ์นี้ก็จะถูกปรับสูงสุด 500,000 บาทและอีกวันละ 5,000 บาท ทาง Blognone ขอข้อมูลแบงค์ชาติเพิ่มเติม
สำหรับการกำหนดเกณฑ์ระยะเวลาล่มเฉพาะ Mobile Banking นั้นทางแบงค์ชาติระบุว่าตัวประกาศมีมาตรการสำหรับระบบไอทีด้านอื่นๆ ด้วย แต่กำหนดระยะเวลาขัดข้องสูงสุดเฉพาะ Mobile Banking เนื่องจากหากเกิดปัญหาขัดข้อง จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการวงกว้าง
สำหรับประเด็นโทษปรับนั้นทางแบงค์ชาติระบุว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 2551 (ปรับปรุง 2561) ที่กำหนดโทษปรับในกรณีต่างๆ เอาไว้ ในมาตรา 121-155 โดยโทษปรับต่อสถาบันการเงินที่ไม่ทำตามประกาศต่างๆ ของแบงค์ชาตินั้นมีเพดานตามความผิดในหมวดต่างๆ โทษสูงสุดของแต่ละหมวดนั้นอยู่ที่ 300,000 บาท, 500,000 บาท, และ 1,000,000 บาท พร้อมกับค่าปรับรายวันอีก 1% ของค่าปรับสูงสุด สำหรับค่าปรับ 500,000 บาทและวันละ 5,000 บาทอยู่ในมาตรา 126 เป็นค่าปรับสูงสุดตามความผิดจากการที่สถาบันการเงินทำผิดหลักเกณฑ์ที่แบงค์ชาติออกเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ที่ผ่านมาแบงค์ชาติเปิดเผยรายงานระยะเวลาระบบขัดข้องของธนาคารต่างๆ แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน หรือธกส. ประกาศหลักเกณฑ์ล่าสุดนี้ก็มีผลต่อสถาบันกรเงินเหล่านี้ด้วย และแม้จะไม่ได้เปิดเผยระยะเวลาออกมาแต่แบงค์ชาติก็เก็บข้อมูลและระบุว่าแนวโน้มดีขึ้น
Comments
ล่มทุกวันตอนเที่ยงคืน เพราะปิดระบบเมนเทน นับไหมครับ
MA ไม่นับว่าล่มครับ และไม่เกี่ยวกับเวลาด้วย
มันมีเคสที่ MA แล้วแจ้งปิดบริการแบบ Official นะครับ กลับกลางคืน โอนไม่ได้บ้าง หรือตอนกดกลางคืนแจ้ง popup ขึ้นว่าช่วงนี้ถึงนี้ใช้บริการไม่ได้
ITMX รวมด้วยไหม ต้นขบวนพาล่ม
เยอะมากนะ
ปรับเยอะมาก (เสมหะติดคอ)
มาตราแรงๆ ก็มีนะ ไม่ใช้อำนาจเอง เช่น มาตรา 90 ในกรณีที่สถาบันการเงินสร้างความเสียหายแก่ประชาชน สามารถลดทุน ถอดถอนกรรมการ ผู้มีอำนาจได้เลย