Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Children’s Hospital of Philadelphia (CHOP) ประกาศความสำเร็จในการรักษาอาการหูหนวกในเด็กอายุ 11 ปี หลักจากเริ่มกระบวนการรักษาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตอนนี้อาการของคนไข้เหลือเพียงสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง คนไข้สามารถฟังเสียงพูดคุย, ได้ยินเสียงรถยนต์, หรือเสียงตัดผมของตัวเองได้

คนไข้รายนี้มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดเนื่องจากยีน otoferlin (OTOF) กระบวนการรักษาอาศัยการผ่าตัดเข้าไปหูชั้นในรูปหอยโข่ง (cochlea) แล้วให้ยายีนบำบัด AK-OTOF เป็นการนำยีน OTOF ที่ปกติเข้าไปแทนยีนเดิมด้วยไวรัส (viral vector) เมื่อเซลล์ได้รับยีนนี้แล้วจะตอบสนองต่อเสียง และส่งสัญญาณประสาทตามที่ควรจะเป็น

อาการหูหนวกแต่กำเนิดนั้นอาจจะเกิดได้จากยีนประมาณ 150 ตัว โดยรวมแล้วกระทบเด็กทารก 1 ใน 500 คนที่สูญเสียการได้ยินในบางระดับ John A. Germiller นักวิจัยที่นำการศึกษาครั้งนี้ระบุว่า OTOF ไม่ใช่สาเหตุของการหูหนวกที่พบได้บ่อยที่สุด แต่นักวิจัยเลือกศึกษายีนตัวนี้ก่อนเพราะดูจะรักษาได้ง่ายกว่า เพราะ OTOF ที่ผิดปกติไม่ได้ทำลายโปรตีนในหูไปเสียหมดทำให้มีโอกาสรักษาให้หูชั้นในกลับมาทำงานได้

ที่มา - CHOP.edu, The New York Times

No Description

ภาพโครงสร้างหูชั้นในรูปหอยโข่ง

Get latest news from Blognone

Comments

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 24 January 2024 - 11:52 #1304229

น่าตกใจเรื่องเด็กทารก 1 ใน 500 สูญเสียการได้ยินในบางระดับแฮะ ไม่คิดว่ามันจะคอมม่อนขนาดนี้


iPAtS

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 24 January 2024 - 13:18 #1304234 Reply to:1304229
TheOrbital's picture

ต้องขออนุญาต จขม ไม่ทราบว่ามีลูกหรือยัง
แต่พอลูกเราคลอดปั๊บ จะมีหลายสิ่งที่กุมารแพทย์จะตรวจติดตามตั้งแต่คลอดเลย เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบพัฒนาการ เช่น อาการตัวเหลือง ตัวเขียว ภาวะโลหิตจาง และ การตอบสนองต่อเสียงก็เป็นหนึ่งในนั้น เราต้องคอยสังเกตตลอดว่าเวลามีเสียง เด็กเค้ามีปฏิกิริยารับรู้ไหม เพราะภาวะนี้มันมีเยอะครับ

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 25 January 2024 - 00:03 #1304271

จะใช้แก้อาการของโรคหูดับได้ไหมนะ เพราะร่างกายอาจจะสูญเสียบางอย่างไปจากการติดเชื้อ