Tags:
Node Thumbnail

สภาผู้บริโภครายงานถึงคดีระหว่างผู้บริโภครายหนึ่งที่ถูกธนาคารฟ้องร้อง หลังจากผู้บริโภครายนี้เป็นเหยื่อของแอปดูดเงิน ติดตั้งแอปจนกระทั่งถูกดูดเงินออกไป และคนร้ายยังเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตพร้อมกับถอนเงินจากบัตรเครดิตเป็นเงินสดออกไป

คดีนี้ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตฟ้องร้องเนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ชำระเงินตามรายการที่คนร้ายถอนเงินสดออกไปนั้น หลังจากถูกดำเนินดคี ทางสภาผู้บริโภคสภาผู้บริโภคแต่งตั้งทนายเข้าช่วยเหลือ และศาลแขวงระยองได้พิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าผู้บริโภคไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และเงินที่โอนออกไปไม่ใช่เงินของผู้บริโภค

ปัจจุบันแนวทางการช่วยเหลือเหยื่อแอปดูดเงินยังพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยเคยระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ยังจำกัดเฉพาะกรณีธนาคารไม่สามารถปิดช่องโหว่ภายใน 1 เดือน ธนาคารจึงรับผิดชอบเต็มจำนวน

ที่มา - สภาผู้บริโภค

No Description

ภาพโดย TheInvestorPost

Get latest news from Blognone

Comments

By: KuroNeko_Hiki
AndroidUbuntuWindows
on 18 September 2024 - 12:55 #1322372
KuroNeko_Hiki's picture

ปกติบัตรเครดิตน่าจะคุ้มครองผู้ใช้สินะ แต่นี้โยนเลยสินะ

By: PATalentino
iPhone
on 18 September 2024 - 14:42 #1322394 Reply to:1322372

ถ้าจำไม่ผิดในสัญญาการขอบัตรเครดิต จะระบุไว้เลยว่า "บัตรฯเป็นของธนาคาร(ผู้ถือกรรมสิทธิ์คือธนาคาร) เราเป็นผู้ครอบครอง" ผู้ครอบครอบจะต้องรักษาบัตรแทนธนาคาร ...ถ้าบัตรถูกใช้งานเราไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามแต่(รวมถึงโดนขโมยหรือโดยมิจฉาชีพหลอกด้วย) เราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทุกกรณี

ซึ่งอ่านๆแล้วผมเองก็ไม่เห็นด้วยทั้งหมดนะครับ... เข้าใจแหละการรูดบัตรฯคือ ตัวคนใช้เป็นผู้ approve transaction และรับผิดชอบเอง... อย่างน้อยถ้ามีการตรวจสอบในขั้นตอนของธนาคารเพิ่มมาอีกชั้นก็จะปลอดภัยขึ้น

เมื่อก่อน ถ้ามี transaction ที่จ่ายเงินมากผิดปกติ หรือถี่เกินไป... ธนาคารจะโทรมาถามเลยว่า เรามีการใช้บัตรจริงๆตามนั้นหรือเปล่า แต่เดี๋ยวนี้เหมือนจะไม่โทรถามแล้ว

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 19 September 2024 - 04:16 #1322478 Reply to:1322394
Jonathan_Job's picture

อาจจะเป็นปัญหาหรือข้อจำกัดของข้อกฏหมายไทยที่อนุญาตให้ธนาคารไทยเขียนสัญญาในลักษณะนั้นได้?

เพราะ Visa เองมีกำหนด Zero Liability ไว้ว่า ถ้าผู้ใช้พบ fraud แล้วรายงานภายใน 5 วันทำการ ธนาคาร (issuer) จะต้อง refund เงินคืนให้ผู้ใช้บัตร

Ref: https://usa.visa.com/pay-with-visa/visa-chip-technology-consumers/zero-liability-policy.html

Important things to note
Visa's Zero Liability Policy requires issuers to replace funds taken from your account as the result of an unauthorized credit or debit transaction within five business days of notification. Visa’s Zero Liability Policy does not apply to certain commercial card and anonymous prepaid card transactions or transactions not processed by Visa.

และ

Ref: https://www.visa.co.th/th_TH/products/visa-secure.html

Zero Liability**
วางใจได้ว่าคุณจะไม่ถูกคิดค่าบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตเมื่อบัตร Visa ของคุณสูญหาย ถูกขโมย ถูกใช้ที่เป็นการฉ้อโกงทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์

**นโยบาย Zero Liability ของ Visa ไม่มีผลใช้กับธุรกรรมบัตรเชิงพาณิชย์บางอย่าและธุรกรรมบัตรเติมเงินที่ไม่ได้ระบุตัวตน หรือธุรกรรมใด ๆ ที่ไม่ได้ดำเนินการโดย Visa ผู้ถือบัตรต้องใช้ความระมัดระวังในการปกป้องบัตรของตนเอง และต้องแจ้งให้สถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกบัตรทราบโดยทันทีที่มีการใช้งานใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต ติดต่อผู้ออกบัตรของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แต่ทั้งนี้ผมไม่มั่นใจว่ากฏ Zero Liability ของ Visa นั้น ครอบคลุมเฉพาะในเมกาอย่างเดียวหรือเปล่า หรือว่าคุ้มครองทุกประเทศ

ถ้าเป็นกรณีของผู้ใช้ในเมกา เมกามีกฏหมาย Fair Credit Billing Act (FCBA) คุ้มครองผู้ใช้บัตรอยู่อีกชั้นหนึ่ง โดยกำหนด liability ไว้สูงสุดที่ $50 โดยผู้ใช้จะต้อง report ภายใน 2 เดือน ผมไม่แน่ใจว่าไทยมีกฏหมายคุ้มครองแบบเดียวกันนี้อยู่ไหม แต่คิดว่าอาจจะไม่มี

Ref: https://stjececmsdusgva001.blob.core.usgovcloudapi.net/public/documents/FCBA_Mar_2016.pdf

CARDHOLDER LIABILITY FOR UNAUTHORIZED USE
According to the FCBA, credit card holders are liable for unauthorized use of the card ONLY up to fifty dollars ($50.00) provided that the cardholder notifies the bank/creditor within 60 days of the unauthorized use.

By: Eros on 18 September 2024 - 13:22 #1322378

ต่อไปบริการต่าง ๆ ที่ทำผ่านแอปคงจะใช้งานยากขึ้น

By: ash_to_ash
AndroidWindows
on 18 September 2024 - 14:10 #1322389 Reply to:1322378

OTP กับ ฺBIOMETRIC น่าจะช่วยได้นะครับ

By: sialsialsial on 18 September 2024 - 13:41 #1322380
sialsialsial's picture

ก็การฝากเงินกับธนาคาร คือการสัญญาว่าธนาคารใจให้เงินคุณตามจำนวนในบัญชี แต่เงินนั้นไม่ใช่ของคุณ เป็นของธนาคาร

แต่พอมีปัญหาเงินหาย ธนาคารกลับจะบอกว่าเป็นเงินของคุณ คุณต้องรับผิดชอบเอง

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 18 September 2024 - 13:45 #1322381

เคสนี้เป็นบัตรเครดิตผสมด้วย แต่ถ้าทำ e-KYC เองแล้วปฎิเสธได้โดยอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ แบบนี้อีกหน่อยสมัครแอพคงย้อนไปสมัยแรกที่ต้องไปยืนยันตัวที่สาขาด้วยตัวเองเท่านั้นหรือเปล่า?(สมัย internet banking ยุคแรกต้องสมัครที่สาขาเท่านั้น)

By: darkmaster
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 18 September 2024 - 14:05 #1322388 Reply to:1322381
darkmaster's picture

ตาม Source สาระสำคัญคือ "หลังจากรู้ตัวผู้บริโภคพยายามขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการบัตรเครดิต แต่ได้รับคำแนะนำให้ไปแจ้งความเพียงอย่างเดียว"
เท่ากับว่าธนาคารไม่ดำเนินการในขอบเขตหน้าที่ของตนตั้งแต่แรก และพยายามทำเรื่องให้ยุ่งยากแบบสมัยก่อน

จะแพ้ก็ไม่แปลก

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 18 September 2024 - 15:34 #1322404 Reply to:1322388

คำถามนะครับ ขอความช่วยเหลือแล้วจะให้ช่วยยังไง? เงินถูกโอนออกไปแล้ว เผลอๆถอนออกไปแล้วจากบัญชีปลายทางด้วย? ถ้าโอนออกไปยังบัญชีธนาคารเดียวกันยังจะพอทำอะไรได้ หรือถ้าแจ้งความทันทีอาจจะอายัดบัญชีปลายทางทัน

แต่แนะนำให้แจ้งความก่อนอันนี้เห็นด้วยนะครับ จู่ๆจะให้ธนาคารไปละเมิดบัญชีปลายทางโดยไม่มีหลักฐานชัดเจน โดนปลายทางฟ้องกลับอีกสิ

อันนี้อาจจะมีpain จาก red tape สมัยก่อน แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าเรามีระบบแจ้งความและอายัดบัญชีปลายทางได้ในสองชั่วโมงแล้ว

ไม่งั้นอีกหน่อยคงมีเคส สวมรอยว่าโดนhackแต่จริงๆจงใจเพื่อใช้ช่องโหว่ของเรื่องความรับผิดชอบ หรือต้องทำเรื่องบ้าบอแบบการเรียกร้องให้มีการพักเงินรอตรวจสอบข้ามวันตอนโอนเงินเยอะๆ ธุรกิจเสียหายอีกมหาศาลแน่ๆ ถ้าจะต้องพักเงินจากการโอนแค่หลักหมื่น ย้อนเวลาเหมือนโอนเงินข้ามธนาคารเมื่อสามสิบปีที่แล้วเลยทีเดียว

By: darkmaster
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 18 September 2024 - 15:56 #1322406 Reply to:1322404
darkmaster's picture

ถ้าคุณพูดถึงบัญชีปลายทาง แสดงว่าคุณเข้าใจคดีนี้ผิดไปอย่างมากครับ

สาระของคดีนี้ มีเพียง 1 ส่วน คือ
"บัตรเครดิตของจำเลย ถูกใช้ในการขอเพิ่มวงเงินและเบิกถอนเงินสด 2 ครั้ง"
ส่วนเรื่องการโอนเงินออกจากบัญชี เกิดขึ้นในคาบเกี่ยวเวลาเดียวกัน แต่ ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของคดีนี้

คดีนี้ ธนาคารเป็นโจทย์ ฟ้องเจ้าของบัญชีให้ตกเป็นจำเลย ในคดี "ไม่ทำการชำระบัญชีกดเงินสดออกจาก Credit Card"

เอาแค่นี้ เรื่องอื่นไม่เกี่ยว

ซึ่งจำเลยดำเนินการติดต่อโจทย์แล้วให้อาญัติ Credit Card แต่ โจทย์ปฏิเสธในการดำเนินการ และไม่ดำเนินการใด ๆ ตามขอบเขตความรับผิดชอบ

เมื่อดูองค์ประกอบอื่น ๆ อีก ศาลก็ตัดสินให้ "คำฟ้องตกไป"

By: keanus
Android
on 18 September 2024 - 17:37 #1322431

ความจริงแล้ว เรื่องแกงค์ Call Center
ธนาคารควรจะ Action มากกว่านี้
Transaction ทุกอย่างธนาคารเห็นหมดแต่ไม่ทำอะไร ไม่ Blocked ไม่จัดการ ความผิดปกติ บัญชีไหนที่โอนเงินเข้าอยู่ไม่เกิน1นาทีแล้วโอนต่อๆกันไป ถ้า Tracking จริงๆ ก็น่าจะจับได้แล้วว่ามีบัญชีไหนน่าสงสัยบ้างรวมถึงวงเงินที่วิ่งแต่ละครั้งแต่ละวัน แต่ธนาคารเลือกที่จะไม่จริงจัง

By: Mediumrare
AndroidWindows
on 18 September 2024 - 18:54 #1322440

ทนายเจ้าช่วยเหลือ

ทนายเข้า?ช่วยเหลือ

By: maxmin on 18 September 2024 - 21:44 #1322452

แอปดูดเงินมีจริงๆหรอ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 19 September 2024 - 00:05 #1322471 Reply to:1322452
lew's picture