Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยห้องปฎิบัติการ MRC Laboratory of Molecular Biology มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศความสำเร็จในการทำแผนที่สมองแมลงวันทอง (Drosophila fruit fly) ครบทั้งสมอง รวม 140,000 นิวรอน การเชื่อมโยงไซแนปส์รวม 15 ล้านชุด สามารถระบุประเภทเซลล์สมองได้ 8,452 ประเภท จากเดิมที่จำแนกได้เพียง 3,643 ประเภทเท่านั้น

กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน

สมองของแมลงวันทองเป็นสมองสัตว์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยมีการทำแผนที่ครบถ้วน โดยแมลงวันทองมีความสามารถในการเดิน, บิน, นำทาง, ส่งเสียงร้อง, และสร้างความทรงจำ

เมื่อปี 2020 กูเกิลก็เคยปล่อยแผนที่สมองแมลงวันทองเหมือนกันแต่การทำแผนที่ยังหยาบกว่ามาก โดยตัวอย่างหนา 20 ไมครอน หรือ 20,000 นาโนเมตร คิดเป็น 500 เท่าของงานวิจัยนี้

ที่มา - MRC Laboratory

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Mediumrare
AndroidWindows
on 5 October 2024 - 22:41 #1324142

หรือ 20,000

หรือ 20,000 นาโนเมตร

By: twometre
WriterAndroidWindows
on 6 October 2024 - 03:19 #1324144
twometre's picture

แมลงวันทองเป็นแมลงในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนหรือเปล่าครับ #ผิด

By: Tasksenger on 6 October 2024 - 08:38 #1324152

สงสัยสมองแมลงวันจะเอาไปทำ drone 555

By: schanon
Android
on 6 October 2024 - 08:44 #1324154
schanon's picture

เอาไปเป็นพิมพ์เขียวสร้างปัญญาประดิษฐ์ได้ไหม?

By: Tasksenger on 6 October 2024 - 10:47 #1324164 Reply to:1324154

ทำไมจะไม่ได้ล่ะครับ เพราะนั่นคือจุดประสงค์หนึ่งของโครงการเลยล่ะ นอกเหนือจากด้านการแพทย์ แต่ต้องมีการ train เพิ่มเติมหน่อย โดยการเปลี่ยนข้อมูล digital จาก sensor ที่จะมาแทนที่ประสาทสัมผัสเดิมของสัตว์ มาเป็นสัญญาณกระตุ้นที่ตรงกับสัญญาณในสมองของสัตว์ที่เป็นต้นแบบ แล้วนำไปใช้ในสภาวะแวดล้อมจริง เพื่อ calibrate ให้การตอบสนองเหมือนกับที่ยังอยู่ในสัตว์จริง หากพบก็จะรู้ช่วงสัญญาณที่จะใช้กระตุ้น ที่ได้ผลตอบสนองจากปัญญาประดิษฐ์ และในสัตว์ทดลองแล้วที่ตรงกันแล้ว ก็ถึงจะนำปัญญาประดิษฐ์ไป apply ในสถานะการณ์จริงอีกที ซึ่งการนำไปใช้งานก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลียนแบบประสาทสัมผัสไหนบ้าง ตา หู จมูก ปาก สัมผัส ฯลฯ แต่ถ้าเอาไปทำ drone ก็ตัดบางอย่างออกได้

ทั้งหมดเป็นในเชิงทฤษฎีนะครับ แต่ผมเองมีความเห็นส่วนตัวว่ามันทำได้ และใช้งานจริงได้ด้วย เพียงแต่อาจจะต้องไปปรับแต่งสัญญาณเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีสมองขนาดเล็ก ดังนั้นหากไปทำ drone มันก็จะบินสะเปะสะปะหน่อย แต่น่าจะสามารถหลบสิ่งกีดขวางได้โดยอัตโนมัติเลย เหตุผลคือ สมองของสัตว์มันมีสัญชาติญาณในการหลบหลีกอันตรายอยู่แล้ว

สัตว์อีกตัวที่มีการทดสอบตามสมมุติฐานด้านบนมาแล้วก็คือ แมลงสาบครับ มีการทดลองในอดีตที่เขาสามารถ remote จากสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ เพื่อไปควบคุมการเคลื่อนที่ของแมลงสาบที่ฝัง chip เอาไว้ ซึ่งถ้ามองจาก knowledge นี้ แล้วแปลงกลับไปมองอีกด้านนึงของความรู้ชุดนี้ ก็มองเห็นอุโมงของคำตอบของโครงการนี้ วิธีคิดคือ อย่ามองปัญหาเป็นดิจิทัลอย่างเดียว ให้มองเป็นคลื่นด้วยแล้วคุณก็จะมองเห็นโอกาสประสบความสำเร็จในโครงการเหมือนผม และมันเป็นเหตุผลนึงที่ผมเชื่อว่ามันสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับ drone ได้ โดยเฉพาะ drone ทางการทหาร

By: zerost
AndroidWindows
on 6 October 2024 - 13:33 #1324173
zerost's picture

ว่าไงนะเกิน 80k งั้นรึ

By: whitebigbird
Contributor
on 7 October 2024 - 10:05 #1324217
whitebigbird's picture

ส่งเสียงร้อง?

เพิ่งรู้ว่ามันร้องได้

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 7 October 2024 - 13:55 #1324255
TeamKiller's picture

<33 ปีทำงาน>

นานมาก ทำงานแทบเกษียนไปแล้วไหมบางคน

By: nununu
Windows Phone
on 7 October 2024 - 17:49 #1324275 Reply to:1324255

น่าจะหมายถึง ManDay บอกปริมาณงานในการทำงานครับ เช่นถ้างานนี้ใช้ 2 คนก็เหลือ 16.5ปี ใช้ 10 คนก็เหลือ 3.3 ปี ถ้ามีคนมาช่วยเยอะๆ หรือ AI มาช่วย ก็ลดเวลาที่ใช้จริงลงไปครับ