Intel และ AMD ประกาศตั้งกลุ่ม x86 Ecosystem Advisory Group เชิญบริษัทผู้ผลิตพีซี เซิร์ฟเวอร์ และคลาวด์ เข้ามาช่วยผลักดันสถาปัตยกรรมซีพียู x86 ให้ก้าวหน้าต่อไป
Intel และ AMD บอกว่าสถาปัตยกรรม x86 เป็นรากฐานของโลกคอมพิวเตอร์มานาน 4 ทศวรรษ แต่ตอนนี้ตลาดคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไปมาก มีรูปแบบการทำงานใหม่ๆ อย่างการรัน AI, การวางชิปแบบ custom chiplet, การวางแพ็กเกจชิปแบบ 3D ฯลฯ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางการผลักดัน x86 ต่อไปในอนาคต
บริษัทที่เข้าร่วมได้แก่ Broadcom (ในฐานะเจ้าของ VMware), Dell Technologies, Google Cloud, HPE, HP, Lenovo, Meta, Microsoft, Oracle, Red Hat และเชิญระดับบุคคล 2 คนคือ Linus Torvalds และ Tim Sweeney แห่ง Epic Games บริษัทเหล่านี้จะให้ความเห็นต่อ Intel และ AMD ว่าควรพัฒนา x86 ต่อไปอย่างไร
แนวทางการพัฒนา x86 นั้นพูดไว้กว้างๆ ว่าต้องการรวมชุดคำสั่งและสถาปัตยกรรมย่อยของ x86 เข้าด้วยกัน (a more unified set of instructions) และขยายการใช้งานในทุกรูปแบบ ตั้งแต่คลาวด์ ศูนย์ข้อมูล ไปจนถึงอุปกรณ์ฝังตัว โดยยังรักษาความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอาไว้
ทั้งสองบริษัทบอกว่าแม้ว่า Intel กับ AMD เป็นคู่แข่งโดยตรงระหว่างกัน แต่ก็มีความร่วมมือระหว่างกันมาโดยตลอด เช่น PCI, PCIe, ACPI, USB ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็ช่วยผลักดันวงการคอมพิวเตอร์ไปข้างหน้า
เว็บไซต์ Tom's Hardware ชี้ว่าประกาศนี้จะมีผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง (ISA หรือ instruction set architecture) ของแต่ละค่าย ที่ก่อนหน้านี้ต่างคนต่างทำและใช้ร่วมกันไม่ได้ (ตัวอย่างคือ Intel มี X86S ส่วน AMD เสนอ Supervisor Entry Extensions ที่ทำเรื่องเดียวกัน) ในอีกทาง x86 เองก็เริ่มเจอคู่แข่งหน้าใหม่ๆ ทั้ง Arm และ RISC-V ที่กินตลาดเดิมของ x86 มาเรื่อยๆ ทั้งฝั่งไคลเอนต์และศูนย์ข้อมูล ทำให้ทั้ง Intel และ AMD ต้องหันมาร่วมมือกันเองมากขึ้น
ที่มา - AMD, Intel, Tom's Hardware
ภาพที่หาดูได้ยากคือ ซีอีโอของทั้งสองบริษัทมาถ่ายคู่กัน
Today, in partnership with @intel, we announced the creation of the x86 ecosystem advisory group, bringing together technology leaders to shape the future of the world’s most widely used computing architecture. Learn more: https://t.co/5ZNqDfuK00 pic.twitter.com/zqa5vFvjxs
— AMD (@AMD) October 15, 2024
Intel and @AMD are creating an x86 advisory group to evolve x86 with founding member ecosystem partners @Broadcom, @DellTech, @GoogleCloud, @HPE, @HP, @Lenovo, @Meta, @Microsoft, @Oracle, @RedHat, @Linus__Torvalds and @TimSweeneyEpic.Learn more. https://t.co/sRn32x8IlI pic.twitter.com/QMt3novCIf
— Intel News (@intelnews) October 15, 2024
Comments
เอาหน่อยโว้ย ติ่งx86อยุ่ตรงนี้
The Last Wizard Of Century.
ใครจะนึกว่าจะมีวันนี้ 555
ใช่ครับ 555
ก่อนหน้านี้ Intel VS AMD
ตอนนี้ Intel x AMD
lol
+8086
"มีความร่วมมือระหว่างกันมาโดยตลอด เช่น PCI, PCIe, ACPI, USB" แต่กั๊กTB
รวมกันตั้งกลุ่มแบบนี้ ชัดเลย ว่ากลัว
Apple ก็ใช้ Thunderbolt ของ Intel บน ARM ได้นะ
ถ้าหลังจากความร่วมมือนี้ AMD จะใช้ Thunderbolt ได้ก็ไม่แปลก
อยากรู้ว่าท่านศาสดาไลนัสเสนออะไร
พี่ไปชวน Cyrix กลับมาร่วมวงด้วยสิ
ถ้าฟัง Podshark ของพี่หลาม จะไม่แปลกใจว่าทำไมร่วมมือกันได้
Microsoft: พอดีใจผมไป ARM แล้วอ่ะวันที่พวกคุณไม่พัฒนา ผูดขาดกั๊กไม่เลิก จริงๆผมอยากจะทำ CPU เองด้วยซ้ำ แต่คงโดนผูกขาดแน่ๆ ผมจึงดึง ARM เข้าตลาดเต็มตัว มาวันนี้ขอบคุณนะที่ขยับตัว 5555
+2048
Apple: +1
กลุ่มอำนาจเก่าข้ามขั้วจับมือกัน
:-)
นึกว่าการเมืองไทย
[S]
ดาต้าเซนเตอร์เปลี่ยนไปใช้ ARM งั้นเหรอ
ครับ
มีย้ายระบบไปทั้ง jvm, go, postgresql, mysql ไป arm ถูกกว่า 30% เร็วขึ้นสูงสุด 40%
ใช่ครับ สักพักแล้ว
มี Ampere, Amazon ก็มี Graviton, Google ก็มี, Microsoft ก็จะทำ, Meta เห็นพยายามทำมาสักพัก (แต่ไม่รู้เป็นไงละ) ส่วน Workload ก็ตามที่ท่านข้างบนกล่าว ก็เริ่มรองรับกันแล้ว ไม่เหมือน Consumer ที่ยังปัญหาเยอะ
"มีนัยสำคัญ"
เพราะ ARM สเกลยังไงก็ได้ แถมเรื่อง Legacy ก็เป็นเรื่องรองด้วย
ซะที
..: เรื่อยไป
ที่ผมเข้าใจคือ x86 มันคือชุดคำสั่ง 32bit
คือจะดัน 32bit ต่อเพื่ออะไร เมื่อโลกนี้เขาจะไป 64bit กันหมดแล้ว (ARM ก็มีแต่คำสั่ง 64bit)
Windows, Linux ก็ support แต่ x64 แล้ว
CPU x86 ปัจจุบันทุกรุ่นมัน มีชุดคำสั่ง 2 ชุด x86_x64 ทำให้กินไฟ+เปลืองที่มากขึ้น
ุ่ถ้าหาทางตัด x86 ออกจากได้น่าจะใส่อะไรได้อีกเยอะ
เค้าใช้คำว่า x86 ecosystem และ x86 instruction set architecture ในการจัดตั้ง x86 Ecosystem Advisory Group นะครับ ที่คุณคอมเม้นมา นั่นมันส่วนหนึ่งของ ecosystem
เรื่องตัด 32bit ออก มาในชื่อ x86S และรวมถึงเรื่อง cross-licensing หลายๆ อย่างร่วมกัน อย่าง AVX-512 หรือ AMD64
มันจะซ้ำรอยแบบ IA64 น่ะสิ
แค่ตัดส่วนที่ล้าหลังออกจาก CPU ครับ (x86)
program ที่ compile สำหรับ x64 อยู่แล้ว มันไม่มีปัญหาอยู่แล้ว
และ toolchain มันสมัยนี้ default build x64 ให้แล้ว (Cmake, vcpkg)
x86 ในที่นี้น่าจะหมายถึง CISC ทั้งหมด (รวมทั้ง 64bit ด้วยครับ) ซึ่ง ตอนนี้โดน RISC (ARM) กินตลาดใหม่ไปหมดแล้ว
ก็คือ x86S ไม่ใช่เหรอฮะ?
ผมว่าเข้าไม่น่าจะหมายถึง
แบบนั้นหรอกฮะ น่าจะหมายถึง x86 โดยรวมตอนนี้ จะเอายังไงต่อ จะตัดอะไรทิ้ง จะเพิ่มอะไรดี จะได้ไม่ต้องต่างคนต่างทำแข่งกันเอง แยกสายไปอีก ลำบากทั้ง Intel AMD Linux Microsoft และนักพัฒนา
รวมกันเราอยู่
รวมกันเรา(อาจ)อยู่ แยกกันเราตายแน่
สงสัยแค่ตา Tim มานั่งคู่ศาสดาได้ไง
+3rdParty
ไม่ต้องรีบหรอก แค่ Windors Arm ทำหลายปีละ ยังไม่ถึงไหนเท่าไร ฝั่ง Dev ต้องมาดูสองฝั่งอีกไม่ได้หักดิบแบบ Apple ที่บังคับต้องตาม แอพจาก Micrsoft เห็นยังรันด้วย x86 บนเครื่อง ARM อยู่เลยย
นึกถึง Intel + การ์ดจอออนชิพ AMD เมื่อหลายปีก่อน ออกรุ่นเดียวเลิกมั้ง ถถ
มันจะตันแล้ว ถึงเวลาร่วมมือ
X86 ปรับตัวตอนนี้สายไปไหม เพราะจริง ๆ X86 พลาดตั้งแต่ iPhone แล้วที่หันไปใช้ arm แทน จนสุดท้ายกลายเป็นลากทั้งวงการคอมพิวเตอร์ไป arm กันหมด พอเจอ apple m1 เข้าไป ถ้าตอนนั้น intel ไม่มีปัญหากับ apple (สตีฟ จอบส์) มือถือหลายรุ่นตอนนี้อาจยังมี intel atom หรือ amd mobile อยู่ก็ได้ แถมปีหน้า X86 น่าจะเจอศึกหนัก สัญญา Windows on ARM ปลดล็อก คราวนี้ทุกตลาดมาแน่ และมาทุบ X86 รั่ว ๆ หลาย ๆ คนอาจจะไม่ทราบว่าตอนนี้สามารถใช้การ์ดจอ NVIDIA รัน cuda เทรน AI เล่นเกมบน Linux ARM ได้แล้วด้วย (แต่ NVIDIA ยังไม่ทำไดร์เวอร์บน Windows on ARM)
นอกจากนี้คู่แข่งรายที่ 3 RISC-V เริ่มมาเรื่อย ๆ จากวงการ IoT เริ่มมีโน้ตบุค แท็บเล็ตจากจีน ต่อไปก็มือถือมาแน่ ขณะที่ X86 พลาดตรงนี้ไปแล้ว
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
อีก 5 ปีน่าจะพอเห็นภาพมั้ยครับว่าส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละสายจะอยู่ประมาณไหน ARM คงกิน Mobile ทั้งหมด ในขณะที่จำนวนลูกค้าฝั่ง Apple ก็น่าจะโตขึ้นได้อีกไม่มาก เพราะน่าจะย้ายมารันบน ARM กันเกือบหมดละ
ส่วนลูกค้า ARM ที่จะได้จากฝั่ง Windows ผมว่าน่าจะมาแบบค่อยเป็นค่อยไปนะ และเส้นกราฟจะเป็นยังไง อยู่ที่การขยับตัวก้าวแรกหลังจากความร่วมมือของ Intel กับ AMD ครั้งนี้ด้วย
RISC-V นี่ผมว่าน่าจะอีกนาน และคงเข้ามาแบ่งในตลาดที่สินค้าราคาไม่แพงมากกว่า เพราะโดนเตะตัดขาจากกรณีสงครามการค้าระหว่างจีนกับเมกาด้วย
จุดที่จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญน่าจะเป็นตลาดศูนย์ข้อมูลนี่ล่ะ
..: เรื่อยไป
จำนวนลูกค้าฝั่ง Apple ยังมีแนวโน้มโตได้อีกครับ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือ ecosystem ที่มาจาก iPad กับ iPhone ตรงนี้จุดขยายของ apple และ apple มีไพ่ตายตรงที่สามารถหั่นกำไร (บางส่วน) จากที่กำไรต่อต้นทุนมีสัดส่วนมากกว่าคู่แข่งหลายเท่า หั่นมาหน่อยก็ไม่ได้ทำให้กำไรหายไปมากเท่าไร เพื่อทำสงครามราคาได้ ถ้าต้องทำจริง ๆ ในยุคทิมเป็นไปได้ เพื่อทำลายตลาดคู่แข่งอย่าง Windows on ARM
ส่วนความร่วมมือก็หวังว่าจะไม่สายไป NVIDIA บุก ARM ปีหน้าน่าจะสนุกแน่ ๆ ครับ ถ้า NVIDIA ทำ DGX รุ่นใหม่ การ์ดจอรุ่นหน้า เครื่องเป็น ARM ไม่ใช่ x86 ไม่ใช้ AMD คราวนั้น X86 มีหนาวแน่ ๆ
RISC-V อีกนานจริง แต่พัฒนาการถือว่าไวพอควรนะครับ ถ้าเทียบกับ ARM ส่วนตัวเชียร์ RISC-V แต่อยากให้ทำ bootloader ง่าย ๆ เหมือน x86 จะดีมาก
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ถ้า iPhone ใช้ x86 ทุกวันนี้เราอาจจะยังใช้ Nokia อยู่ก็ได้ครับ กินไฟซะละเกิน
เจอพลังสตีฟ จ็อบส์ เข้าไปอาจจะคนละแบบฉบับ what if ก็ได้ครับ จาก CPU ตัวล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่าจริง ๆ ถ้าจะทำก็ทำได้ หรือเทียบ cpu atom ตัวสุดท้ายบนมือถือก็ได้ครับ ตามข่าวมีข่าว 2 ทาง อันแรกของ iPhone คือ สตีฟ จ็อบส์ เคยพยายามบอกอินเทลแล้วกับไม่อยากสอนอินเทลทุกอย่าง อันที่สอง iPad คือตกลงราคากันไม่ได้ พลาดไปสองอย่างจบเลย
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
เสริมให้คือ ทีมที่ทำ Apple M1
หลายคนก็มาจาก Intel ทั้งนั้นครับ (เอาจริงๆ มาจากหลายที่ ดึงมาจาก Industry โดยรวมนั่นแหละ) อยู่ดีๆ Apple ไม่สามารถทำ Silicone เองได้จากกอไผ่ ก็คือเขารู้วิธีออกแบบกันแหละ แต่การที่อยู่ใน Intel มันไม่สามารถทำได้อิสระ
- Partner ต้องขาย MB
- GPU ต้องต่อผ่าน PCIe
- RAM ต้องเป็นแผง ต้องอัพเกรดได้
- โปรแกรมเก่าแก่ ต้องรองรับ จะตัดอะไรทิ้งไม่ได้
ในขณะที่ Apple คุมเองได้หมด
ตั้งแต่ HW SW OS App โปรแกรมเก่าไม่รองรับ ก็ออกใหม่มาซะ
เรื่อง iPhone, Mobile พลาดจริง
แต่ผมมองว่ามันก็ดีแล้ว ไม่งั้น Intel จะครองโลกเกินไป แถมตอนนั้นก็ไม่จริงจัง ไม่ยอมออกแบบ Chip มือถือ จะให้เอาแต่ Atom ไปลง (เท่าที่ดูไม่มีใครชอบเลย)
เรื่อง Laptop/Desktop PC
ผมว่า ARM เข้ายากอยู่ ขนาด Qualcomm Snapdragon X-Elite ก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากว้าวกันตอนเปิดตัว แต่คนก็ยังใช้ Intel/AMD อยู่ดี เพราะปัญหามันเยอะ ไหนจะเกม ไหนจะโปรแกรมเก่าต่างๆ ตอนนี้เจอ Ryzen AI, Lunar Lake เข้าไปทั้งสองทาง
ต่อให้ปลดสัญญา Windows on ARM ก็ปัญหาเดียวกัน เพราะ Qualcomm นี่ก็คือเบอร์หนึ่งของแล้ว จะมีกี่คนต้องการใช้ Exynos, Mediatek, Kirin ราคาอาจถูกลงมาหน่อย แต่สุดท้าย Laptop ก็มีต้นทุนชิ้นส่วนอื่น
ที่น่ากังวลมากกว่าคือ Datacenter/Server
เพราะ Workload มันตรงไปตรงมา ไม่ต้องยึดติดกับ x86
ส่วน RISC-V ยังอีกยาวไกล ARM ต้องเข้าตีให้ได้ก่อน
ออกCPUตัวใหม่เป็นสีม่วงที่นำข้อดีของcpuทั้งสองตัวลงไปเฮนไตกันเอ้ยเฮนชิน แอบอยากรู้ว่าร่วมมือกันแล้วไงต่อจะมีอะไรที่พอร่วมมือกันแล้วจะทำให้เป็นจุดแข็งไปสู้กับarmได้
IntelAMD Core Ryzen AI6969
ผมคิดว่าสุดท้ายแล้ว server arm น่าจะกินเพราะประหยัดพลังงานมากกว่า x86 เป็นส่วนสำคัญเลบ ทุกวันนี้ data center ใช้ไฟกันทีเป็น MW เลย
GPU น่าจะกินไฟกว่าเยอะนะครับเครื่องหนึงก็หลายใบอีก
คู่นี้โรแมนติก ควงกันไปดูพระอาทิตย์ตกเลยก็ดีนะครับ 😆 go to sunset 🌅
WE ARE THE 99%
arm จะตกม้าตายตรงราคา license นี่แหละแพงขึ้นทุกปี ผูกขาดอยู่เจ้าเดียว
เห็นด้วยตรงประเด็นนี้เหมือนกันครับ สมมุติว่าเรื่องการประหยัดพลังงานฝั่ง x86_64 อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าแต่สามารถพัฒนาขึ้นมาจนตกเป็นรองไม่มากนัก ก็อาจจะไปเล่นเรื่องราคาเพิ่มอีกทางได้
จุดนี้จะเป็นตัวช่วยชะลออัตราการเติบโตของซีพียู ARM ฝั่ง Server/Data center ได้ระดับนึงเลยแหละ
..: เรื่อยไป
อนาคตเราอาจจะได้เห็น x86-128 bit อย่างแน่นอน