SCB EIC ประเมินว่าความต้องการ AI ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ โดยผลประโยชน์จะตกไปที่ผู้ประกอบการไทย 2 ด้าน ดังนี้:
โดยอุปสรรคหลักของไทย คือซัพพลายเชนที่ยังไม่ครบวงจร เนื่องจากขาดชิปต้นน้ำ, ขาดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม, และขาดแคลนแรงงานดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
SCB EIC แนะนำว่าไทยควรเร่งส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง และขยายการลงทุนในสินค้าไฮเทค โดยเฉพาะการผลิตชิปขั้นสูง คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ AI และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
นอกจากนี้ ไทยควรเร่งพัฒนาทักษะแรงงานดิจิทัล โดยเฉพาะวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ยังขาดแคลน
ส่วนภาครัฐควรเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบิ๊กเทคฯ และผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งอาเซียน และตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคต
ที่มา: SCB EIC
Comments
10 อันดับเศรษฐีไทย ไม่เห็นมีใครทำธุรกิจผลิต หรือสร้างสินค้าไฮเทคสักคน แล้วเขาจะสนทำไม
ผู้ที่มี power ผลักดันทิศทางคือกลุ่มทุน
แต่กลุ่มทุนเหล่านี้ไม่ได้เติบโตด้วยนวัตกรรมเท่าไหร่นัก
ส่วนใหญ่คือสัมปทานหรือธุรกิจที่ต้องพึ่งใบอนุญาต
ซึ่งแน่นอนว่าชีวิตพวกเรานั้นขึ้นอยู่กับคนที่มีสิทธิ์เคาะที่แท้จริงคนเดียว
คิดว่า ก่อนที่เราจะคิดไปไกลถึงขั้นผลิตชิพเอง มาลองดูปัญหาพื้นฐานสำคัญ ๆ ของบ้านเรากันก่อนน่าจะดีกว่าไหมครับ
เช่นพวกปัญหาการวางบิลล์ เครดิตเทอม อะไรพวกนี้
R&D ต้องใช้เงินสูงมาก บางทีต้องทำใจว่าลงทุนวิจัยไปแล้วมันจะเสียเปล่าไม่ได้อะไรเลย แล้วใครล่ะในไทยคนที่มีเงินถุงเงินถังขนาดยอมเสียเปล่าได้ มองไปคนมีตังขนาดนั้นก็มีแต่คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการเทค เขาจะสนใจหรอ
ทางสายวิชาการทำวิจัยไม่รู้ว่าจะของบไปทำอะไรเยอะแยะ TDRI ก็เคยพูดมาหลายทีว่ามีแต่งานวิจัยที่จะทำไปเพื่อ หรือบางอันก็ลง journal แค่นั้น จบ (เพื่อ?)
ปล.elite เขาเชียร์ให้เรียนอาชีวะอยู่เลยครับ
คนที่อยู่ในวงการต่างๆ เช่นวงการนักวาดการ์ตูน ทำอนิเมะ ก็คาดหวังไทยจะเหมือนญี่ปุ่น
แต่ว่าไทยทำไม่ได้หรอก ควรทำสิ่งที่ถนัดจะดีกว่า
อุตสาหกรรมชิพในไทย เกือบทั้งหมดเป็นแค่แพคเกจ
(เอาเวเฟอร์มาตัดแล้วใส่ในตัวถึง) แล้วก็เป็นพวกเทคโนโลยีเก่า พวกคอมโพเนนท์ย่อย ตามหลังมาเลย์และเวียดนามอยู่มาก
ผมว่าขนาดประเทศเราเล็ก แล้วเราไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก โอกาสที่จะทำอะไรออกมาแล้วส่งขายไปตลาดต่างประเทศที่ยากมาก ทำให้ยากที่จะมีใครกล้าลงทุนในกลุ่มนี้ แม้กระทั้งภาครัฐฯเองก็ตาม
แต่ที่เราพอทำได้ คือลงทุนให้มี lab สำหรับระดับอุดมศึกษาที่ตามทันเทคโนโลยีใหม่ๆและมีกระจายไปตามมหาลัยต่างๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาบุคลลากรให้มีทักษะที่ดีออกมาสู่ตลาด ถ้าเรามีบุคลากรพร้อม อย่างน้อย เรายังสามารถดึงศูนย์วิจัยจากบริษัทต่างชาติให้เค้ามาตั้งในบ้านเราได้บ้าง เพราะยังไงแล้ว ค่าจ้างก็ถูกกว่า
..: เรื่อยไป
เริ่มจากซอร์ฟแวร์ก่อนก็ได้ เช่น วิดีโอเกม ตอนนี้มีแต่ทำกันเอง ขาดการสนับสนุน
เหมือน SCB EIC พูดงี้ใครๆ ก็พูดได้หรือเปล่า? ไม่ได้มอง Humanware คนไทยว่าเป็นอย่างไร? คนไทยไม่ได้เก่ง R&D คนไทยเก่ง creativity ถ้าวันนี้ให้คนไทยพัฒนาอะไรบางอย่างแข่งกับคนต่างชาติ ผลลัพธ์คือ...คนไทยแพ้ แต่ถ้าให้เอางานที่มีอยู่มาแข่งกันพัฒนาต่อเพื่อให้ดีที่สุด ผลลัพธ์คือ...คนไทยชนะ
ดังนั้นจะแนะนำอะไรช่วยมอง Humanware คนไทยด้วยว่า คนไทยถนัดอะไร? ไม่ถนัดอะไร? เช่นบอกว่า ควรเร่ง R&D พูดง่ายนี่... แนะนำแก้ไขอย่างไร? ผมเห็น อว. สวทช. ทำ R&D พอได้เทคโนโลยีดีๆ ออกมาสุดท้ายจบแค่การตีพิมพ์วารสาร ผลงานวิจัยจบ... หรือไม่ก็พอประชาชนทั่วไปเห็นว่ามีไอเดียต่อยอดได้ จะขอถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัย บอกต้องจ่ายเงิน... ประเด็นกลับมาที่ เงินทุน แล้วบางผลการวิจัยใช้ทุนสูงมาก สูงจนบางครั้งประชาชนทั่วไป SME สู้ไม่ไหว สุดท้ายก็ไม่ไปไหนถอดใจ ยอมเป็นอยู่ในแบบทุก ๆ วันนี้พอ ปล่อยให้บริษัทใหญ่ๆ มีเทคโนโลยีไป แล้ว SME ค่อยเป็นเหาฉลามค่อยรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีอีกทีครับ
เรื่องเริ่มทักษะแรงงานดิจิทัล ถามจริงๆ เถอะว่า อันนี้ลงสนามทำวิจัยจริงๆ หรือนั่งเทียนจิ้มกูเกิ้ล ChatGPT แล้วเอามาตีพิมพ์? ตอนนี้มีแรงงานบางส่วนที่ ไม่ได้จบตรงสายเทค แต่จ่ายเงินคอร์ส reskill ที่การันตีเรียนจบมีงานทำ แต่จบมาไม่ได้งานทำ เพราะไปสมัครงานที่ไหน ก็ปฏิเสธเพราะ ไม่ได้จบป.ตรี ตรงสาย หรือบางที่ก็รับนะ แต่กดค่าจ้างยับ สุดท้ายมันก็บอกปากต่อปากไปเรื่อยๆ แล้วแบบนี้ใครมันจะอยาก reskill???
ดังนั้นก่อนจะแนะนำอะไรช่วยนึกถึง Humanware คนไทยก่อน แล้ววิเคราะห์ว่า เราไปได้ไหม? แล้วไปแบบไหนดี? ที่มันเวิร์ก และทุกคนเห็น แล้วพูดออกมาเป็นคำเดียวกันว่า ใช่!! แบบนี้เราทำได้ไม่ยาก
ขอบคุณครับ
พูดถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแล้ว น่าผิดหวัง.. วัตถุประสงค์หลักคือเอาทุนวิจัยออกมาเข้ากระเป๋าแค่นั้น เรื่องก็วนๆ คล้ายเดิม จะได้เบิกทุนทุกปี เนื้อหาในเล่มก็ไม่ค่อยมีเนื้อ แค่นิยามก็หลายหน้าแล้ว ขึ้นบทใหม่ก็นิยามเดิมซ้ำอึก 🤣 จะได้หนาๆ แต่ผักบุ้งโหรงเหรง