ต่อจาก โต้จดหมายของสตีฟ จ็อบส์ ภาค 1 โดย OSNews ผมคัดบทความโต้สตีฟ จ็อบส์ มาให้อ่านกันอีกชิ้น บทความนี้มีน้ำหนักกว่าบทความแรก เพราะมันเขียนโดย John Sullivan แห่ง Free Software Foundation องค์กรที่มีภาพเรื่อง "ความเสรี" มากเป็นอันดับต้นๆ
หมายเหตุ: เช่นเดียวกับบทความชิ้นแรก อันนี้เป็นการเรียบเรียงและสรุปเนื้อหา ควรอ่านฉบับเต็มประกอบอีกครั้งหนึ่งครับ
John Sullivan เขียนบทความนี้ไปลงพิมพ์ในเว็บไซต์ Ars Technica เขาเริ่มต้นอย่างน่าสนใจว่า การมองดู "บริษัทซอฟต์แวร์ระบบปิด" สองแห่งโต้กันว่า อีกฝ่ายปิดกั้นเสรีภาพของผู้ใช้อย่างไร นั้นเป็นเรื่องเหนือจินตนาการมาก
แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ "เสรีภาพ" ที่ทั้งสองฝ่ายนำมาอ้าง หมายถึง "เสรีภาพของบริษัท" ไม่ใช่ "เสรีภาพของผู้ใช้" แน่ๆ และที่สำคัญ "เสรีภาพ" ในความหมายของทั้งสอง แท้จริงแล้วคือ "ความสามารถในการควบคุม" ต่างหาก
Adobe โกรธเมื่อแอปเปิลไม่ยอมให้ควบคุมผู้ใช้ iPhone, iPod, iPad ผ่าน Flash และในทางกลับกัน แอปเปิลก็โกรธที่ Adobe โจมตีว่า แอปเปิลควบคุมผู้ใช้ App Store อย่างเข้มงวด
Sullivan เริ่มวิจารณ์จดหมาย Thoughts on Flash ว่าไม่ยอมอธิบายว่า เทคโนโลยีปิดมีผลเสียกับเว็บอย่างไร และมาตรฐานเสรี (free standard) มีข้อดีอย่างไร การที่จ็อบส์เว้นเรื่องนี้เอาไว้ ช่วยให้เขาทำความเข้าใจได้ดีขึ้นว่า ทำไมข้อเสนอของจ็อบส์นั้นแปลกและรับไม่ได้ (bizarre and unacceptable) แม้ว่าเขาจะเห็นด้วยกับประเด็นที่จ็อบส์โจมตี Flash ก็ตาม
Sullivan สรุปความในจดหมายของจ็อบส์ออกมาสั้นๆ ว่า
Don't use Adobe's proprietary platform to engage with information on the Web. Use Apple's.
จ็อบส์ไม่ต้องการให้ผู้ใช้ท่องเว็บหรือใช้งานคอมพิวเตอร์ของตัวเองอย่างเสรีไร้ขอบเขต แต่สิ่งที่เขาต้องการคือให้ผู้ใช้ย้ายจาก "เขตปลอดภัย" ใน San Jose (สำนักงานใหญ่ของ Adobe) มายัง Cupertino (สำนักงานใหญ่ของแอปเปิล) แทนต่างหาก
"เสรีภาพ" บนเว็บมีองค์ประกอบหลายอย่าง มาตรฐาน HTML5 ที่ออกโดยองค์กรอิสระอย่าง W3C ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่นั่นก็เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง เพราะระหว่างมาตรฐานกับผู้ใช้ เรายังมีชั้นของซอฟต์แวร์มาคั่นกลางอยู่
เสรีภาพในการเผยแพร่เนื้อหาบนเว็บ (web publishing) ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ถ้าหากซอฟต์แวร์นั้น "ห้าม" ไม่ให้เราเข้าถึงเว็บ ซอฟต์แวร์ปิดสามารถทำงานร่วมกับมาตรฐานเปิดได้ แม้ว่ามันจะทำให้ค่าของมาตรฐานเปิดลดลง ดังนั้น เพื่อ "เสรีภาพบนเว็บที่แท้จริง" เราควรมีทั้งมาตรฐานเปิดและซอฟต์แวร์เปิดควบคู่กันไป
จ็อบส์พูดว่า "เชื่อมั่นว่ามาตรฐานของเว็บต้องเปิด" แต่เขากลับทำในสิ่งตรงข้าม นั่นคือส่งเสริมมาตรฐานปิดอย่าง H.264 และซอฟต์แวร์ปิดอย่าง iPhone OS
จ็อบส์โจมตี Flash ว่าเป็นซอฟต์แวร์ปิดไว้ดังนี้
Adobe's Flash products are 100% proprietary. They are only available from Adobe, and Adobe has sole authority as to their future enhancement, pricing, etc. While Adobe’s Flash products are widely available, this does not mean they are open, since they are controlled entirely by Adobe and available only from Adobe. By almost any definition, Flash is a closed system.
Sullivan บอกว่าเราสามารถเปลี่ยนคำว่า "Adobe" ในย่อหน้าข้างบนเป็น "แอปเปิล" และคำว่า "Flash" เป็น "iPhone OS" ได้ทันที เพราะ EULA ของทั้งสองแทบไม่มีอะไรแตกต่าง นี่แปลว่าแอปเปิลก็ทำซอฟต์แวร์ปิดเหมือนกันหรือไม่ คำกล่าวหาของจ็อบส์ต่อ Adobe นั้นถูกต้อง แต่มันก็เข้าตัวแอปเปิลด้วยเช่นกัน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทั้งแอปเปิลและ Adobe ต้องปิดซอฟต์แวร์ของตัวเอง ก็เป็นเพราะ H.264 ซึ่งต้องจ่ายค่าใช้งานให้กับ MPEG-LA
ถ้าเราอ่าน EULA ของ Flash, iPhone OS รวมถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Chrome, Windows 7, Mac OS X, Final Cut Pro ก็จะเจอข้อความนี้เช่นกัน
THIS PRODUCT IS LICENSED UNDER THE AVC PATENT PORTFOLIO LICENSE FOR THE PERSONAL AND NON-COMMERCIAL USE OF A CONSUMER TO (I) ENCODE VIDEO IN COMPLIANCE WITH THE AVC STANDARD ("AVC VIDEO") AND/OR (II) DECODE AVC VIDEO THAT WAS ENCODED BY A CONSUMER ENGAGED IN A PERSONAL AND NON-COMMERCIAL ACTIVITY AND/OR WAS OBTAINED FROM A VIDEO PROVIDER LICENSED TO PROVIDE AVC VIDEO. NO LICENSE IS GRANTED OR SHALL BE IMPLIED FOR ANY OTHER USE. ADDITIONAL INFORMATION MAY BE OBTAINED FROM MPEG LA, L.L.C. SEE HTTP://WWW.MPEGLA.COM
การที่ H.264 เป็นมาตรฐานที่มีคนใช้เยอะ ไม่ได้แปลว่ามันเป็นมาตรฐานเปิด
จดหมายของจ็อบส์นั้นกล่าวถึงปัญหาของระบบปิด แต่เขาเสนอทางออกให้ผู้ใช้โดยเลิกใช้ระบบปิดเดิม และเปลี่ยนมาใช้ระบบปิดอันใหม่แทน
Sullivan บอกว่าแนวคิดของจ็อบส์ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าเลือกเข้าไปอยู่ในโลกของแอปเปิลแล้ว ก็ต้องรอการอนุมัติจากแอปเปิลน่ะถูกแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก และการจะหลุดพ้นจากโลกปิดของแอปเปิลหรือ Adobe ได้ ก็คือการเลือกใช้ซอฟต์แวร์เสรี (free software)
สุดท้าย Sullivan กล่าวถึงคำอ้างของจ็อบส์ว่า แอปเปิลมีส่วนผลักดันซอฟต์แวร์เปิดอย่าง WebKit ว่า จ็อบส์ชูเรื่อง WebKit มาเพื่อบดบังนโยบายปิดของ App Store และความสำเร็จของ WebKit ไม่ได้มาจากแอปเปิลเพียงลำพัง เพราะมีนักพัฒนาอื่นๆ มาร่วมด้วย การที่ผู้ใช้ได้ประโยชน์จาก WebKit ไม่ใช่เพราะความเมตตาของแอปเปิล แต่นี่คือผลดีของการพัฒนาแบบโอเพนซอร์สต่างหาก
ที่มา - Ars Technica: Pot, meet kettle: a response to Steve Jobs' letter on Flash
ป.ล. ตอนแรกผมตั้งใจว่าจะให้มีแค่สองภาค แต่ล่าสุดทั้ง OSNews และ Engadget มีบทความเกี่ยวกับ H.264 ตามมาอีก ถ้าขยันและมีเวลาจะต่อภาคสามและสี่ครับ ระหว่างนี้ใครสนใจก็อ่านต้นฉบับกันเองไปก่อนนะ
Comments
ชอบประโยคนี้ "แต่นี่คือผลดีของการพัฒนาแบบโอเพนซอร์สต่างหาก"
ผมกลับชอบประโยคนี้ "จดหมายของจ็อบส์นั้นกล่าวถึงปัญหาของระบบปิด แต่เขาเสนอทางออกให้ผู้ใช้โดยเลิกใช้ระบบปิดเดิม และเปลี่ยนมาใช้ระบบปิดอันใหม่แทน"
ประโยคนี้โดนเหมือนกันครับ
+1
+1
{$user} was not an Imposter
+1 โดนมาก
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
ซัดกันจุกทีเดียว
ก็จริงนะ
ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเข้าไปอยู่ในโลกของค่ายไหนแค่นั้นเอง เพราะแต่ละค่ายก็ต้องพยายามสร้างโลกของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริโภคของตนจ่าย(อาจจะไม่ใช่เงินอย่างเดียว)ให้กับส่วนต่อขยายที่ทางบริษัททำออกมา ส่วนการเข้าไปอยู่ในโลกเสรีนั้นก็จะได้ประสบการณ์อีกแบบหนึ่ง แบบว่าถ้าเข้าไปโลกเสรีต้องมีความเข้มแข็งพอตัวทีเดียว เพราะทุกอย่างต้องพึ่งกลุ่มสังคมผู้ใช้นั้นหรือต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าใครไม่เข้มแข็งจริงอาจใจอ่อนยอมจ่ายให้ค่ายใดค่ายหนึ่ง เพื่อหาใครสักคน(บริษัท)มาช่วยรับผิดชอบหรือให้รู้สึกอุ่นใจว่าปัญหาที่เจอจะแก้ได้ หรือจะต้องก้มหน้ารับกรรมใช้ต่อไปกรณีใครคนนั้นไม่สามารถหรือปล่อยเวลาให้เนิ่นนาน
เจ๋งมากครับ จะรออ่านภาค 3 ต่อนะครับ คุณ MK :)
แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไม h264 ถึงได้เป็นมาตรฐานของแทก video ใน html5
มีหลายเจ้าสนับสนุนครับ
ซึ่งแอปเปิลสนับสนุนสุดตัวเลย
3 เจ้าใหญ่รองรับ ทั้ง Apple, Google, MS
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มันไม่ได้อยู่ในมาตรฐาน (จำได้ว่าในร่างของ W3C ไม่ได้ระบุว่าจะใช้ codec ตัวไหน) แต่เป็นตัวที่เจ้าของ Browser ได้รับใบอนุญาตมาแล้ว และถ้าไม่ใช้ก็คงเสียเงินโดยใช่เหตุ
Mozilla เป็นเจ้าหนึ่งที่ไม่ได้ซื้อใบอนุญาตนี้มา ก็เลยไม่ได้ใช้ บวกกับเจ้าตัวก็สนับสนุน Theora อยู่แล้ว (จ่ายเงินสนับสนุนให้ด้วยเอ้า)ก็เลยใช้ Theora เป็นหลักแทน
IE เดาว่า Microsoft น่าจะใช้เทคโนโลยี ActiveX ของตัวเองมาจัดการกับตรงนี้ เดาว่า...ในอนาคตน่าจะใช้ Encoding อะไรก็ได้ที่ WMP ในระบบเล่นได้ (อาจจะผ่านทาง DirectShow) คงไม่เขียนตัวถอดรหัสขึ้นมาใหม่ (จะสร้างล้อขึ้นมาใหม่ทำไม?)
Google นอกจาก H.264 แล้วยังมีเทคโนโลยีที่ได้จากการซื้อ On2 (ซึ่งเป็นเจ้าของ VP3 ที่ Theora มีพื้นฐานมาจาก) เช่น VP8 ที่ Open Source ไปแล้ว ดังนั้นก็ไม่เห็นว่าทำไมที่จะไม่ใช้นิ ?
เพราะว่า h.264 นั้น
อีกเจ้า (ogg) ดันมีปัญหาลิขสิทธ์หนักหน่วงกว่าอีก
อย่างไรหรือครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตกลงมันดียังไงเนี่ย ไอ้ดีที่สุดอ่ะครับ?
{$user} was not an Imposter
ogg เป็น container ครับ (มันเก็บ H.264 ได้ด้วยนะ) ไม่ใช่ codec/encoding
ใครๆ ก็พูดให้ตัวเองดูดีกันทั้งนั้น สำคัญที่เราจะรู้ทันเค้าหรือเปล่า??
บทความดีมากครับ ขอบคุณมากที่เอามาแชร์กัน
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับบทความนี้เพราะจอบส์ย้ำชัดเจนว่า "Client App ทั้งหมด ต้องปิด แต่ WebApp ต้องเปิด"
ซึ่งผมคิดว่าจอบส์หมายถึง iPhone คือ Client และอะไรก็ตามใน Browser คือ Web
ซึ่ง Flash มันทำงานบน Web และมันเป็นระบบปิด
ในทางตรงกันข้ามที่ Google ใช้แต่ระบบเปิดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น App ตัวไหน iPhone ก็ไม่เคยจำกัดการเข้าถึง App ทุกตัวที่ Google มี (รวมถึง Browser Based WebApp ของเจ้าอื่นๆเช่นกัน)
ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของจอบส์ แต่ผมคิดว่าประโยคที่จอบส์ย้ำ
อันนี้ "Client App ทั้งหมด ต้องปิด แต่ WebApp ต้องเปิด"
มีเหตุผลพอทแอปเปิลจะไม่ต้องถูกโจมตีแบบนี้
ผมว่าประเด็นคือ H.264 vs Flash ซึ่งบทความก็พูดถึงในกรณีการใช้งานบนเว็บทั้งคู่นะครับ
Flash ก็ใช้ h264 ได้น่ะครับ
แต่ส่วนตัวแล้วผมไม่ค้านเรื่อง h264 นะ ว่าแอปเปิลก็ทำไม่ถูก
แต่ขณะเดียวกัน ถ้าร่าง HTML5 ผ่านสมบูรณ์ มันอาจไม่ใช่ h264 ก็ได้
ดังนั้นการที่แอปเปิลพูดโดยอ้างแต่คำว่า HTML5 โดยไม่เอ่ยคำว่า h264 ออกมาตรงๆ ก็ทำให้ Apple ลอยตัวเหนือปัญหานี้ไปได้ เพราะสุดท้ายแล้วถ้ามาตรฐาน HTML5 กางออกมาแล้วไม่ใช่ h264 แอปเปิลก็คงไม่เจ็บปวดอะไร
เชิญผู้สนใจไปอ่านใน engadget ครับ น่าสนใจทีเดียว
บทความชื่อ Know Your Rights: H.264, patent licensing,and you
ประโยคที่ให้สลับคำว่า Adobe เป็น Apple และ Flash เป็น iPhone OS ก็ใช้ได้ มันก็ต้องแน่อยู่แล้วสิครับ เพราะจ็อบส์ก็บอกในจดหมายอันนั้นว่า iPhone OS ปิด
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ขอบคุณที่ลงแรงแปลมาให้อ่านง่ายๆครับ
ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมไม่มีเครื่องแมคแบบประกอบเหมือนพีซี
แมคโคลนที่เคยออกมาจริงๆเมื่อนานมาแล้ว ก็ตายไปจากตลาด
ไม่เคยขายโอเอสแยก ส่วนพีซีที่ลงแมคโอเอสได้ ก็ถูกฟ้องไป(เมื่อไม่นานนี้เอง)
ก็เข้าใจว่าคนพัฒนาก็อยากที่จะควบคุมตัวแปรให้มากที่สุด เพื่อให้เป็นระบบที่ดีที่สุด
แต่มันก็สะท้อนแนวคิดบางอย่างได้เหมือนกันนะ
รู้สึกว่า OS X จะมีขายแบบ Retail นะครับ
มีแต่ติดตั้งไม่ได้ครับ ต้องลมปราณกล้าแข็งพอ ที่แย่กว่านั้นต้องกล้าแข็งพอที่จะรักษาระดับพลังวัตรเอาไว้ ไม่งั้นธาตุไฟเข้าแทรกอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ ...
คำแปลข้างบน ติดตั้งไม่ได้ครับ ถ้าอยากติดตั้งต้องใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่าง ทั้งการโมดิฟายด์ Kernel การติดตั้ง Bootloader ให้บูทเข้า OSX ได้ รวมทั้งต้องคอยติดตามข่าวและไม่อัพเดตอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า ไม่เช่นนั้นอาจจะบูทเข้าระบบไม่ได้ และถึงขั้นต้องติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมด ...
เข้าใจครับ แค่แย้งคำพูดด้านบนที่บอกว่า "ไม่เคยขายโอเอสแยก" น่ะครับ
แต่ต้องลงบนเครื่อง Mac
แต่ต้องลงบนเครื่อง Mac
ดีนะ ที่ Jobs เริ่มเขียนจดหมายโต้เป็นลายลักษณ์อักษร นั่นทำให้เกิดข้อวิพากษ์ในวงการ Software จริงๆ จังๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ Dev และ Users ควรจะได้ใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้ ให้มากกว่าที่เคยคิดๆกัน ..
ขอบคุณครับที่นำข่าวเหล่านี้มาลง มันพัฒนาความคิดกันดีกว่ารับรู้เพียงอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ;)
my blog
ต้องยกความดีให้ "กองเชียร์แอปเปิล" หลายๆ ท่านครับ ผมอ่านความเห็นแล้วห่อเหี่ยวใจ จนต้องไปหาความจริงอีกด้านมาลง แฮ่
ใช้คำว่า "กองเชียร์" แล้วค่อยยังชั่วหน่อยครับ (ดีกว่า "สาวก" เป็นไหนๆ) อย่างน้อยก็ไม่ผิดกฎข้างล่างข้อ "ไม่ใช้ถ้อยคำเสียดสี กระทบกระทั่งผู้อื่น"
ทั้งหมดนี่เริ่มต้นจากวิวาทะระหว่าง apple กับ adobe ผมกลับมองว่านี่เป็นผลมาจากความไม่ชอบส่วนตัวของ สตีฟจ็อป เท่านั้นเอง เหตุผลที่ยกขึ้นมาก็ล้วนเป็นข้ออ้างที่จะกัน แฟลชให้ออกห่างจาก iphone,ipad อีกหน่อย apple จะไม่มีเพื่อนเหลือแต่คู่ค้าที่คอยแต่จะหาผลประโยชน์เท่านั้นเอง
ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในวงธุรกิจอยู่แล้วนี่ครับ
onedd.net
สำหรับความเชื่อของผม คือ การให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ เลือก
มันจะดีหรือไม่ดี ก็ต้องมีให้เลือกใช้ แล้วผู้ใช้จะตัดสินเอง
มาตรฐานเปิด ต่าง ๆ เช่น html5 จะดี ก็ต้องดีด้วย
คุณภาพของมันเอง ไม่ใช่ด้วยการเป็นแค่มาตรฐานเปิด
( แล้วกลายเป็นลัทธิเชื่อฝังหัวในการ ปฎิเสธระบบอื่น )
ซึ่งการแข่งขันกับ คู่แข่งอื่น ๆ (ไม่ว่าเปิดหรือปิด)
เป็นผลดี การแข่งขันในรูปแบบนี้ทำให้ เกิดการพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพอย่างต่อเนื่อง
+1
ผมยังคงขอย้ำว่า
ผู้ใช้มีสิทธิ์ เลือก ที่จะ ไม่ใช้
นะครับ
ผมเองก็ไม่ชอบแนวคิดของ Apple และไม่แนะนำให้ใครใช้(ใครมาถามผม ผมจะบอกว่า iPhone / iPad ไม่ดี มันปิด)
แต่ผมก็เห็นว่า เราทำได้แค่นี้ คือแนะนำคนอื่นว่าไม่ให้ใช้แอปเปิล และแนะนำว่าแอปเปิลควรปรับปรุงยังไงถึงจะเป็นประโยชน์ต่อแอปเปิลเอง
มันเป็นอิสระของแอปเปิลที่จะวางระบบปิดแค่ไหนออกมาขายก็ได้ และอยู่ที่ผู้ใช้จะซื้อหรือไม่ซื้อ
ซื้อไปแล้ว JailBreak ก็ว่ากันไป
ผู้ใช้มีสิทธิ์ ที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตามคำโฆษณา การไปกล่าวอ้างว่า เล่นผลิตภัณฑ์นี้แล้วจะได้รับ web browsing experience ขั้นสุดยอด ครั้งแล้วครั้งเล่า สำหรับในสายตาผู้บริโภคธรรมดาแบบผม เป็นการจงใจโกหก
เราไม่ควรหยุดที่ความคิด มันเป็นอิสระของ ... แบบนี้ไม่น่าจะดี ไอทีจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ และกฎหมายก็ควรจะปรับตามให้ทัน ในหลายปีมานี้เราได้เริ่มเห็นความเคลื่อนไหว เช่นกรณี browser ballot ที่ ms ต้องทำตาม EU ผมเชื่อว่าในอนาคตกฎหมายจะชัดเจนกว่านี้ กำหนดบทบาทชัดเจนลงไป ว่าควรทำอะไร อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ ในฐานะคนทำ OS platform อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ อะไรที่คิดว่ายุติธรรมหรือไม่ยุติธรรมต่อเรา เราควรอภิปรายซึ่งในที่สุดมันจะไปเป็นกฎหมาย
ผมชื่นชมฝีมือในการสร้างผลิตภัณฑ์ของ Apple แต่ผมคิดว่า ควรสนับสนุนให้ Apple ใช้ฝีมือในการแข่งขัน มากกว่าใช้เล่ห์เหลี่ยมในการกีดกันทางการค้า Apple ควรเอาความสร้างสรรค์ และความพยายามไปหาสิ่งดีดีมาตอบสนองผู้ใช้ต่อไป
เรื่องคำโฆษณา web browsing experiences ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการโฆษณาโดยทั่วไปแหละครับ ใครๆ ก็ทำกัน อย่างที่คุณ mk บอกว่าธุรกิจก็ต้องพูดให้ตัวเองดูดี หลายๆ อย่างผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องรู้ให้ทัน
เรื่องกฎหมายนี่เห็นด้วยว่าเรื่องไอทีอาจจะเป็นเรื่องใหม่ กฎหมายก็คงเป็นเรื่องที่การเมืองต้องมาจัดสรรผลประโยชน์ตรงนี้ให้ยุติธรรมต่อไป
ผมคิดว่าเพราะความตั้งใจที่แอปเปิลอยากจะให้สิ่งดีๆ กับผู้ใช้น่ะแหละครับเลยทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมา ผมคิดว่าแอปเปิลเองก็ชัดที่ตัวเองอยากจะสร้าง best devices เพื่อยอดขายที่สูงที่สุด โดยที่มีจุดยืนที่แข็งกร้าวสักหน่อย แต่ผมไม่เชื่อว่าแอปเปิลจะไม่แคร์ผู้ใช้ (เพราะยังไงผู้ใช้ก็จ่ายเงินให้แอปเปิล) แต่รูปแบบที่แอปเปิลแคร์ลูกค้าก็คงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ พร้อมกับการถกเถียงต่อไปว่าเป็นวิธีการที่เวิคหรือเปล่า
(ซ้ำๆ ลบๆ)
ประโยคนี้จาก engadget น่าสนใจมาก
สรุปสั้นๆ Apple กับ Adobe พูดความจริงแต่ไม่ทั้งหมด แค่ความจริงที่ตัวเองดูดีกันทั้งนั้น :D
ผมว่ารอดูในงาน D8 น่าจะสนุกนะ คงต้องสัมภาษณ์เรื่องนี้อีกแน่นอน หลังจากที่จดหมายออกมาแล้ว แล้วก็มีหลายฝ่ายตอบโต้ออกมา
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
มันเป็นเกมส์ธุรกิจ