Free Software Foundation
Richard Stallman หรือ RMS ผู้ก่อตั้งโครงการ GNU และ Free Software Foundation เปิดเผยว่าเขากำลังต่อสู้กับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตช้า follicular lymphoma โดยระบุว่าสถานการณ์มะเร็งของเขายังดี และหวังว่าจะอยู่คู่กับวงการ GNU ไปอีกหลายปี
Stallman ปรากฏตัวในงานฉลองโครงการ GNU ครบรอบ 40 ปี ในสภาพที่ไม่คุ้นเคยเพราะผมและหนวดเคราที่เป็นเอกลักษณ์หายไปหมด และเสียงของเขาไม่ดีนักในตอนพูด
ปัจจุบัน Stallman อายุ 70 ปีแล้ว เขาก่อตั้งโครงการ GNU ในปี 1983 และมูลนิธิ Free Software Foundation ในปี 1985 โดยซอฟต์แวร์หลายตัวในโครงการ GNU ถูกใช้งานแพร่หลายในโลกโอเพนซอร์สมาจนถึงปัจจุบัน เช่น glibc, Bash, GCC, Emacs, Grub, GIMP เป็นต้น
คณะกรรมการ Free Software Foundation (FSF) ออกแถลงการณ์ชี้แจง หลังจากทางคณะกรรมการประกาศเลือก Richard Stallman เข้ามาเป็นกรรมการ โดยไม่ได้แจ้งพนักงานหรือผู้ร่วมจัดการคนอื่นๆ ล่วงหน้า
ทางคณะกรรมการระบุว่า FSF ต้องการ Stallman เพราะเขามีความสามารถทั้งด้านเทคนิคและกฎหมายที่หาคนเทียบเท่าไม่ได้ สำหรับเรื่องพฤติกรรมนั้นเชื่อว่าหลังจากนี้เขาจะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
จากกรณี Richard Stallman (RMS) กลับมาเป็นกรรมการ Free Software Foundation (FSF) โลกโอเพนซอร์สเรียกร้องให้ปลดกรรมการทั้งคณะ ความเคลื่อนไหวจากฝั่งโลกโอเพนซอร์สมักมาจากหน่วยงานระดับเดียวกัน เช่น มูลนิธิโอเพนซอร์สอื่นๆ อย่าง GNOME, X.Org หรือ Mozilla
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากฝั่งบริษัทแล้ว แถมเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกโอเพนซอร์สคือ Red Hat ที่ออกมาประกาศหยุดสนับสนุนเงินให้ Free Software Foundation และกิจกรรม งานอีเวนต์ต่างๆ ที่สนับสนุนหรือจัดโดย FSF ทั้งหมด นอกจากนี้ พนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ Red Hat จำนวนมากก็ประกาศไม่เข้าร่วมกิจกรรมของ FSF ด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Free Software Foundation (FSF) มูลนิธิผู้ดูแลโครงการ GNU ประกาศแต่งตั้ง Richard Stallman (RMS) กลับมาเป็นกรรมการอีกคร้้ง หลังจากเขาลาออกไปเมื่อปี 2019 จากเหตุแสดงความเห็นปกป้องนักวิชาการที่ถูกดำเนินคดีล่วงละเมิศทางเพศ
Stallman ประกาศกลับมารับตำแหน่งในงาน LibrePlanet โดยไม่มีในกำหนดการล่วงหน้า สร้างความไม่พอใจต่อองค์กรโอเพนซอร์สอื่นๆ จากพฤติกรรมของ RMS ที่ปกป้องการล่วงละเมิศทางเพศ, เปรียบเทียบผู้มีอาการดาวน์ซินโดรมว่าเป็นสัตว์เลี้ยง, ไปจนถึงการการปกป้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก
Richard Stallman นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการซอฟต์แวร์เสรีประกาศลาออกจากมหาวิทยาลัย MIT และ Free Software Foundation หลังจากส่งอีเมลเข้าเมลกลางของห้องวิจัย CSAIL (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory)
อีเมลของ Stallman ปกป้อง Marvin Minsky หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกระบุว่ามีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ผ่านการจัดหาของ Jeffrey Epstein นักการเงินที่ถูกดำเนินคดีฐานล่วงละเมิดเด็ก โดย Stallman ระบุต่อให้ Marvin มีเพศสัมพันธ์จริงก็เป็นไปโดยความสมัครใจของเด็กเอง และไม่มีการใช้กำลัง
โครงการ GNU ออก Hurd (ระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งจาก GNU ที่ใช้ Kernel แบบ Mach) รุ่น 0.7 แล้ว
ปัจจุบัน Hurd รองรับสถาปัตยกรรมเฉพาะ 32-bit x86 เท่านั้น ส่วน 64-bit x86 อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา และกำลังหาอาสาสมัครเพื่อทำให้ Hurd รองรับสถาปัตยกรรมอื่นๆ ด้วย ระยะเวลาห่างกันของรุ่น 0.6 กับ 0.7 อยู่ที่ 6 เดือน (รวดเร็วกว่าเดิม) โดยมีการแก้บั๊ก และเพิ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น
ที่มา - Hurd 0.7 changelog
วันที่ 27 เดือนที่แล้ว เป็นวันเกิดครบรอบ 30 ปีของโครงการ GNU ครับ (ข่าวเก่า 25 ปี GNU) หลัง ๆ ชื่อของ GNU อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก เมื่อเทียบกับ Linux หรือ GCC แต่อาจจะกล่าวได้ว่า GNU ทั้งในแง่เทคโนโลยี และ ปรัชญา เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมและวงการคอมพิวเตอร์ได้เติบโตมาถึงทุกวันนี้ และข่าวแถม Hurd kernel 0.5 ออกแล้ว
Richard Stallman ประธานมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ออกโรงมาอัด Ubuntu ในประเด็นเรื่องการดึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ จากฟีเจอร์เจ้าปัญหาใน Ubuntu 12.10 ที่แสดงรายการสินค้าจาก Amazon
ประเด็นของ Stallman คือซอฟต์แวร์เสรีหรือโอเพนซอร์ส มีจุดเด่นตรงที่เปิดเผยโค้ดทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ว่ามีอะไรแอบซ่อนอยู่ในซอฟต์แวร์หรือไม่ (และแก้ไขได้ถ้าพบปัญหา) ซึ่ง Ubuntu แหกธรรมเนียมนี้โดยใส่โค้ดที่ส่งข้อมูลคำค้นกลับไปยัง Canonical แล้วส่งไปยัง Amazon อีกต่อหนึ่ง
Free Software Foundation (FSF) สาขายุโรป ออกมาผลักดันแคมเปญ Free Your Android! เพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์เสรี-โอเพนซอร์สบน Android ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
FSF บอกว่าตัวระบบปฏิบัติการ Android เปิดซอร์สอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ยังมีซอฟต์แวร์อีกหลายส่วน โดยเฉพาะไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์และแอพที่ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ ยังเป็นซอฟต์แวร์แบบปิดซอร์สอยู่
FSF ในฐานะองค์กรผู้ผลักดันแนวคิดซอฟต์แวร์เสรี จึงออกแคมเปญตัวนี้เพื่อชักชวนให้ผู้ใช้ Android มาใช้ซอฟต์แวร์เสรีบนมือถือกันมากขึ้น ข้อเสนอของ FSF มีดังนี้
Free Software Foundation (FSF) ในฐานะผู้ดูแลสัญญาอนุญาต (license) ยอดนิยมหลายตัว ได้ออกแถลงการณ์ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตื่นตัวต่อฟีเจอร์ Secure Boot ที่ไมโครซอฟท์ต้องการให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ (OEM) เปิดใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งและบูตเข้าสู่ Windows 8 ได้อย่างปลอดภัย
"สัญญาอนุญาต" หรือ license หมายถึงข้อกำหนดที่บอกว่าเราทำอะไรกับซอฟต์แวร์ (รวมถึงงานสร้างสรรค์อื่นๆ) ได้บ้าง
ในโลกของซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์สก็มีสัญญาอนุญาตมาตรฐาน (เป็นแพ็กเกจสำเร็จรูป) ให้เลือกใช้ได้หลายชนิด ตามแต่ความต้องการของนักพัฒนาที่ต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการมีสัญญาอนุญาตจำนวนมากทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่อาจจะงงว่าควรเลือกแบบไหนอย่างไรดี
Free Software Foundation (FSF) ในฐานะผู้ดูแลสัญญาอนุญาตยอดนิยมหลายตัว ได้ออกเอกสารแนะนำนักพัฒนาว่าควรเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบไหนบ้าง
Free Software Foundation องค์กรที่สนับสนุนแนวคิดซอฟต์แวร์เสรี (เรามักรู้จักซอฟต์แวร์ใต้โครงการ GNU) ประกาศสนับสนุน WebM ของกูเกิลว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของวิดีโอบนเว็บ
FSF บอกว่า Flash นั้นเป็นซอฟต์แวร์ปิด ส่วน H.264 ก็ติดสิทธิบัตร ดังนั้น WebM จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะไม่มีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรมากวนใจ และเป็นซอฟต์แวร์เสรีด้วย
FSF ยังเปลี่ยนชื่อแคมเปญ PlayOgg ที่รณรงค์ให้คนใช้ฟอร์แมต Ogg มาเป็น PlayFreedom ไปพร้อมๆ กัน
ที่มา - FSF
ต่อจาก โต้จดหมายของสตีฟ จ็อบส์ ภาค 1 โดย OSNews ผมคัดบทความโต้สตีฟ จ็อบส์ มาให้อ่านกันอีกชิ้น บทความนี้มีน้ำหนักกว่าบทความแรก เพราะมันเขียนโดย John Sullivan แห่ง Free Software Foundation องค์กรที่มีภาพเรื่อง "ความเสรี" มากเป็นอันดับต้นๆ
หมายเหตุ: เช่นเดียวกับบทความชิ้นแรก อันนี้เป็นการเรียบเรียงและสรุปเนื้อหา ควรอ่านฉบับเต็มประกอบอีกครั้งหนึ่งครับ
John Sullivan เขียนบทความนี้ไปลงพิมพ์ในเว็บไซต์ Ars Technica เขาเริ่มต้นอย่างน่าสนใจว่า การมองดู "บริษัทซอฟต์แวร์ระบบปิด" สองแห่งโต้กันว่า อีกฝ่ายปิดกั้นเสรีภาพของผู้ใช้อย่างไร นั้นเป็นเรื่องเหนือจินตนาการมาก